Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ร ๙ คือกษัตริย์เหนือกษัตริย์ทั้งปวง

พิมพ์ PDF

บันทึกส่วนตัว : วิษณุ เครืองาม “ร. คือกษัตริย์เหนือกษัตริย์ทั้งปวง”

บันทึกอันมีคุณค่า ทางประวัติศาสตร์ของ ดร.วิษณุ เครืองาม 

 ผู้คนจำนวนมากที่ได้อ่าน ต้องประทับใจ อย่างลึกซึ้งอย่างไร ทุกครั้งที่มีการนำมาแชร์ ก็อดแชร์ต่อไม่ได้ ด้วยความรู้สึก ประทับใจสุดซึ้ง ยิ่งกว่าเดิม...

ดังนั้น  ทุกท่านควรอ่าน บันทึกเรื่องราว ที่ควรรู้ของร.๙ ซึ่งดร.วิษณุฯ บันทึกตามที่ได้พบเห็นมา ด้วยตนเอง อย่างละเอียดงดงาม…

มีใจความดังนี้.-

"ในปี 2013 ผมทำงานอยู่ใน ทำเนียบรัฐบาล โดยทำหน้าที่ต่างๆ กันถึง 15 ปี ผมขอยืนยันว่า พระองค์ทรงมีมาตรฐานเดียว โดยตลอด จะต่างกันก็ที่โอกาส เช่น คณะรัฐมนตรีบางคณะ เข้ามาในช่วงที่ทรงพระประชวร บางคณะ มีราชการงานเมือง ต้องเข้าเฝ้าฯ ขอพระราชทาน มหากรุณาบ่อย หรือห่างตามเหตุการณ์

ในการมีพระราชดำริ พระราชดำรัส และการทรงงานใดๆ ไม่มีเลยสักเรื่อง ที่จะแสดงว่า ทรงรับเอาประโยชน์ส่วนพระองค์ แม้พสกนิกร จะเต็มใจถวายก็ตาม

สมัย จอมพลถนอมเป็นนายกฯ คราวหนึ่ง ประจวบโอกาส ครองราชย์ครบ 25 ปี (พ.ศ. 2514)   

รัฐบาลจะสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ และถาวรวัตถุใหญ่โต  ที่สุดในประเทศ ”ถวาย

รับสั่งว่า “สิ้นเปลือง และไม่เป็นประโยชน์ แก่ประชาชน สร้างถนน แก้รถติดดีกว่า” นี่คือที่มาของ “ถนนรัชดาภิเษก”

สมัยคุณบรรหารเป็นนายกฯ เคยกราบบังคมทูลว่า จะสร้างทาวเวอร์ หรือหอคอยสูงใหญ่ ข้างสะพานพระราม 9 ใช้เป็นหอดูวิว หอโทรคมนาคม และเฉลิมพระเกียรติ รับสั่งว่า "เทคโนโลยีสมัยนี้ ไม่ต้องสร้าง หอโทรคมนาคม เปลืองเงินเปล่าๆ ”

นายกฯ คนหนึ่ง เคยกราบบังคมทูลถามว่า ที่พระอนุสาวรีย์ กรมหลวงชุมพรฯ หน้าทำเนียบรัฐบาลนั้น ตอนพลบค่ำ คนมักมาจุดประทัดแก้บน บางทีก็ยิงปืน สนั่นหวั่นไหว ดังรบกวน มาถึงสวนจิตรฯ

รับสั่งว่า “อยู่ที่หลักการว่าทำอย่างนั้น ผิดกฎหมายไหม ถ้าผิดก็ต้องห้าม แต่ถ้าเป็นเสรีภาพ ก็ต้องปล่อยไป รำคาญหนวกหู ก็ต้องทน อย่าใช้มาตรฐานสวนจิตรฯ หรือทำเนียบรัฐบาล มาตัดสิน ”

สมัยนายกฯ ทักษิณ เคยกราบบังคมทูลว่า เมื่อประทับ รักษาพระองค์ ที่วังไกลกังวลอย่างนี้ รัฐบาลจะขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้สำนักพระราชวัง ปรับปรุงวังไกลกังวล ให้สะดวกสบาย สมกับที่จะใช้ เป็นที่ประทับยาวนาน

รวมทั้งจะปรับปรุง โรงพยาบาลหัวหิน ให้ทันสมัยพร้อม ทุกประการ รับสั่งว่า การปรับปรุงโรงพยาบาล เป็นประโยชน์แก่ทุกคน ถ้ามีงบก็ควรทำ แต่การปรับปรุงวังไกลกังวล เป็นเรื่องสะดวก สบายใจ “ แค่นี้ก็พออยู่พอเพียงแล้ว ”

รัฐบาลหลายคณะ เคยออกกฎหมาย ที่มุ่งจะเฉลิมพระเกียรติ เช่นใช้คำว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ” ทรงมีพระราชกระแส ให้รัฐบาล นำกลับไปปรับปรุง เพราะ “ ไม่อาจทรงสถาปนา พระองค์เองได้ ”

 เช่นเดียวกับที่ใน พ.ศ. 2512 ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย ในร่างพระราชบัญญัติ ยศทหาร ซึ่งถวายพระยศทางทหาร เป็น จอมพล จนร่างพระราชบัญญัตินั้น ตกไปเองในที่สุด

ตลอดรัชกาล ทรงลงพระปรมาภิไธย ตรากฎหมายมาแล้ว ทั้งที่เป็น พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา นับหมื่นฉบับ ทรงวินิจฉัยฎีกานักโทษ ฎีการ้องทุกข์ ขอพระราชทาน ความเป็นธรรม อีกหลายพันราย บางราย ขอพระราชทานยืมเงิน บางรายขอความเป็นธรรม เรื่องแต่งตั้งโยกย้าย รายหนึ่งพ่อตาย ลูกชายบวชหน้าไฟให้พ่อ อยู่มาก็ไม่ยอมสึก แม่มีลูกชายคนเดียว ทำหนังสือถวายฎีกาว่า เดือดร้อนหนัก ขอพระมหากรุณา ให้ลูกสึกมาช่วยเลี้ยงแม่เถิด โปรดให้ตรวจสอบ แล้วมีพระราชกระแสว่า แท้จริงแม่ไม่ได้ อยากให้ลูกสึก แต่ปัญหาคือ แม่ลำบากยากจน จึงโปรดให้ กรมประชาสงเคราะห์เข้าไปช่วยดูแล สอนอาชีพให้ และหาเครื่องมือ ทำมาหากินไปให้แม่ ลงท้ายแม่ก็ทำมาหากินได้ ส่วนลูกก็อยู่ไป จนเป็นสมภาร

พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวฯ ทรงสงเคราะห์ ทั้งส่วนรวม และพระองค์เอง เพื่อจะได้มีพระพลานามัยดี ทรงงานเพื่อส่วนรวมต่อไป จึงทรงดนตรี  ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ ทรงเล่นคอมพิวเตอร์ ทรงฉายภาพ ทรงกีฬา ทรงวาดรูป ปั้นรูป ทรงงานไม้งานช่าง จะทรงจับงานด้านใด ก็ทรงทำได้ดีไปหมด

มีเรื่องที่ประชาชนไม่ทราบคือ ทรงสนพระราชหฤทัย เป็นพิเศษ ในเรื่องภาษาไทย การศึกษา ระบบสิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข และพุทธศาสนา

ส่วนที่ทรงพระปรีชาอย่างยิ่ง คือเรื่องดิน น้ำ ระบบระบายน้ำ และการแก้ปัญหาจราจรนั้น ล้วนเป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้ว

เมื่อครั้งผมเป็นเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ผมเคยได้รับ พระมหากรุณา พระราชทานคำแนะนำ เรื่องการใช้ถ้อยคำ ภาษาไทยหลายหน ครั้งหนึ่ง ผมได้ถวาย "รายชื่อ”บุคคล ให้ทรงแต่งตั้ง รับสั่งถามว่า ตั้งกี่คน ผมกราบบังคมทูลว่า คนเดียว ตรัสว่า คนเดียวเรียกว่า “ ชื่อ” ถ้า “ รายชื่อ ” ต้องหลายคน

อีกคราวหนึ่ง มีหนังสือกราบบังคมทูลว่า “ ทูลเกล้าทูลกระหม่อม มาเพื่อทรงพิจารณา ” ทรงพระสรวล ตรัสว่า “ ถ้าทูลเกล้าทูลกระหม่อม ก็อยู่บนกระหม่อม ยังไม่ถึงฉัน ถ้าจะให้ถึงฉัน ต้องทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายมาเพื่อทรงพิจารณา ”

ในทางพระพุทธศาสนา ก็ปรากฎว่าทรงรอบรู้ ทั้งในทางปฎิบัติ และปริยัติ ทรงรู้จักพระเป็นอันมาก เมื่อตรัสถึง เหตุการณ์ครั้งใด จะทรงย้อนไปถึง เรื่องราวครั้งเก่าก่อน เช่น “ ครั้งสมเด็จ พระสังฆราช ยังเป็นพระญาณวราภรณ์ ” “ ครั้งเจ้าคุณประยุทธ ยังเป็นพระราชวรมุนี ” และเคยตรัสเล่า เรื่องราว ความเป็นอัครศาสนูปถัมภก ว่า ต้องทรงอุปถัมภ์ และคุ้มครอง ทุกศาสนา โดยไม่เลือกปฎิบัติ

 

ทรงเล่าพระราชทานว่า ครั้งหนึ่ง ควีนจากประเทศหนึ่ง ทูลถามว่า พุทธศาสนาไม่มีพระเจ้า แล้วชาวพุทธ นับถืออะไรกัน เหตุใดไม่ยกพระพุทธเจ้า เป็น God เสียเลย?ทรงตอบว่า พุทธศาสนานับถือ “ ธรรม ”(คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า) เรานับถือธรรมยิ่งกว่า องค์พระพุทธเจ้าเสียอีก เพราะธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองโลก และได้ตรัสเล่าต่อไปว่า แม้ศาสนาอื่น ก็ยังต้องทรงอุปถัมภ์ ฉะนั้นในฝ่ายพุทธศาสนา ขอให้ทุกคน วางใจเถิดว่า จะเป็น เถรวาท มหายาน รามัญนิกาย มหานิกาย ธรรมยุต ก็ต้องทรงคุ้มครอง และพระราชทาน ความเป็นธรรม เสมอกัน

รัชกาลที่ 5 นั้น อะไรที่ไม่เคยมี และไม่มีคนไทยคนใด นึกว่าชีวิตนี้จะมี แต่ก็ทรงบันดาล หรือวางรากฐาน ให้มีจนได้ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล รถไฟ ไปรษณีย์ เลิกทาส จนคนรุ่นก่อนหน้านั้น ต้องคิดว่าเหลือเชื่อจริงๆ

แต่ รัชกาลที่ 9 นั้น อะไรที่ควรจะมี ควรจะคิดออก ควรจะทำมานานแล้ว แต่ผู้มีอำนาจหน้าที่ ไม่ใคร่คิดไม่ใคร่ทำ ก็ทรงบันดาล หรือวางรากฐานเสียเอง ให้มี-ให้เป็นขึ้น เช่น เขื่อน ฝาย ประตูระบายน้ำ ถนน สะพาน การสงเคราะห์ คนเป็นโรคเรื้อน คนประสบภัยธรรมชาติ การแก้ปัญหาจราจร การเพิ่มผลผลิตการเกษตร การแก้ปัญหาความยากจน ปัญหาพลังงาน ฯลฯ

สมัยผมเป็นเลขาธิการ ครม. ต้องทูลเกล้าฯ ถวายเอกสาร ใส่ซองขนาดใหญ่สีขาว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย รับสั่งว่า ต่อไปหน้าซอง ไม่ต้องเขียนเลขที่หนังสือ จะได้หมุนเวียน กลับลงมาใช้หลายหน ไม่ต้องทิ้ง แม้แต่เรื่องเล็กๆ ก็ควรประหยัด เวลาร่างกฎหมาย โปรดให้ถวายปะหน้า 2 แผ่น เผื่อว่า ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว หมึกซึมเลอะ จะได้ประหยัดเวลา ไม่ต้องรอถวายใหม่ เวลาตั้งรัฐมนตรีใหม่ จะต้องเข้า เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฎิญาณ พระองค์ตรัสว่า ให้รีบมา จะได้รีบไปทำงาน  ไม่ต้องห่วงว่า ติดเสาร์อาทิตย์ ประเทศไทย พระเจ้าแผ่นดิน ไม่มีวันหยุดราชการ...พระมหากรุณาธิคุณปานนี้ จะหาได้จากที่ไหนอีก เจ้าประคุณเอ๋ย!

ปี 2538 สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี สวรรคต ลองคิดดูว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงวิปโยค ขนาดไหน แม้เสด็จไปทรงสดับ พระพิธีธรรม ที่พระที่นั่งดุสิตฯ ทุกราตรี แต่ทราบกันบ้าง หรือไม่ว่า พอพระสวดจบ เสด็จลงมาประทับ ที่พระที่นั่ง ราชกรัณยสภาใกล้ๆ กัน กลับพระราชทานคำแนะนำ การแก้ปัญหาจราจร แทบทุกคืน...

ปี 2553 อยู่ระหว่างประชวร ประทับในโรงพยาบาล  พระราชกรณียกิจอื่น ภายนอกโรงพยาบาล ทรงงดเสียเกือบสิ้น แต่การเสด็จไปเปิด ประตูระบายน้ำ คลองลัดโพธิ์ ทอดพระเนตร โครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม และเปิดสะพานระบายการจราจร เพื่อพสกนิกร ของพระองค์ เป็นเรื่องที่ทรงถือ เป็นกิจสำคัญกว่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นยอดแห่งผู้อดทน อดกลั้น ในการประกอบ พระราชกรณียกิจนั้น ย่อมมีทั้งร้อน ทั้งหนาวยาวนาน และน่าเหนื่อย หนัก ดูเอาจาก การพระราชทาน ปริญญาบัตรเถิด แม้แต่ที่ต้องทรงอดกลั้น ด้วยขันติบารมี ในคำจ้วงจาบ หรือระคายเคือง เบื้องพระยุคลบาท อีกไม่รู้เท่าไร อย่าลืมว่า พระชนมพรรษา 83 แล้ว ทรงงานมา 64 ปีแล้ว

ดะไลลามะ เคยพูดว่า “ใครอย่ามาชมตัวข้าพเจ้าเลย ว่าเป็นยอดคน ไปดูพระเจ้าแผ่นดินเมืองไทย ก่อนเถิด ”ผมเคยไปเฝ้าฯ กษัตริย์จิกมี แห่งภูฎาน ได้ตรัสว่า “กษัตริย์ของท่าน เป็นแบบอย่างของข้าพเจ้า ในการจะครองราชย์ ให้พสกนิกรรัก ”

 

สุลต่านบรูไน ซึ่งทรงทำหน้าที่ เป็นผู้แทนกษัตริย์ 25 ประเทศ ถวายพระพร ในคราวฉลองการครองราชย์ ครบ 60 ปี เมื่อ พ.ศ. 2549 เคยทูลว่า "การครองราชย์นานถึง 60 ปี เป็นเพียงตัวเลข สำคัญอยู่ที่ว่า 60 ปีนั้น ได้ทรงทำอะไรบ้าง"

“ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า  ฝ่าพระบาททรงทำทุกอย่าง ตลอด60 ปี ให้เป็นประโยชน์ต่อชาวไทย ชาวเอเชีย และชาวโลก วาระนี้ จึงทรงเป็นความภาคภูมิใจ ของบรรดา พระราชามหากษัตริย์ ทั้งปวง โดยทั่วกัน ”

เมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี 2552 มีพระราชดำรัส ตอนหนึ่งว่า "ความสุขสวัสดีของพระองค์ จะมีได้ ก็ด้วยการที่ บ้านเมือง มีความสงบเรียบร้อย”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์นี้ ทรงมีแต่ให้พวกเรา  มาตลอด แต่พระราชดำรัสนี้ มีนัยเป็นทั้งสิ่งที่ “ ทรงหวัง” “ ทรงบอกให้รู้ ” และ ” ทรงขอ ” ซึ่งน่าจะทรงมีพระราชประสงค์ ยิ่งกว่าคำถวายพระพร “ทรงพระเจริญ ”

ไหนว่าเนื้อหาแห่งเพลง สรรเสริญพระบารมี มีว่า  "ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดังหวังวรหฤทัย" แล้ว

เรื่องอย่างนี้ เรา-คนไทย จะพร้อมใจกัน จัดถวายได้ไหม ?"

 

เครดิต :  บันทึกส่วนตัวของ ดร.วิษณุ เครืองาม


       


หน้า 9 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559488

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า