Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

คำนิยม หนังสือ “พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์”

พิมพ์ PDF
การรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือชุมชน ของนักวิชาการ ดำเนินการเพื่อนำผลงานวิชาการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และช่วยกันให้คำแนะนำให้ยกระดับผลงานวิชาการ ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เป็นกลไกสำคัญยิ่งของการพัฒนาวิชาการ

คำนิยม หนังสือ “พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์

 

 

คำนิยม

หนังสือ พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์

 

ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช

ประธานมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (ม.สคส.)

……………

 

ผมขอขอบคุณ ดร. เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์ บรรณาธิการ ที่ให้เกียรติผมเขียนคำนิยมหนังสือเล่มนี้   ทั้งๆ ที่ผมไม่มีความรู้เรื่องวิศวกรรมไฟฟ้าเลย   ผมเดาว่าคงเป็นเพราะชื่อรองของหนังสือ คือ “ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์”

ดร. เกียรติศักดิ์ และผมมีจริตร่วมกันในเรื่องนี้

หลังจากได้อ่านต้นฉบับของหนังสือ ผมก็เกิดปิติ ที่ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของพัฒนาการ  ที่ไม่ใช่แค่ของการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าของประเทศไทย ที่ดำเนินการมาครบ ๓๕ ปีเท่านั้น   แต่ได้เรียนรู้พัฒนาการของศาสตร์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าของประเทศไทยทั้งหมดทีเดียว   และเป็นช่วงเวลาที่ยาวกว่า ๓๕ ปี   การได้เห็นภาพรวมของเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นบ่อเกิดของปัญญา   หนังสือเล่มนี้จะเป็นขุมปัญญาของคนไทย   โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวงการวิศวกรรมไฟฟ้า   ไปอีกนานเท่านาน

ผมติดใจคำพูด (ที่จริงเขียน) ของ ศ. ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ ในบทที่ ๖ ที่กล่าวว่า “โดยหลักการแล้ววิศวกรรมไฟฟ้าก็คือฟิสิกส์ประยุกต์ วิศวกรไฟฟ้าก็คือนักฟิสิกส์ประยุกต์”

ในบทที่ ๗ เป็นเรื่องของนักฟิสิกส์ คือ ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน ที่ช่วยตอกย้ำคำกล่าวของ ศ. ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ ว่า ศาสตร์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า จะก้าวหน้าได้ ต้องมีพื้นฐานวิชาการที่มั่นคง    และผมขอเพิ่มเติมว่า ต้องมีการเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ อย่างกว้างขวางและเหมาะสมด้วย

การเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นเกิดขึ้นได้ง่าย หรือเป็นอัตโนมัติ ณ จุดประยุกต์ใช้ความรู้    คือ ณ จุดของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือพัฒนากระบวนการนั้น ต้องนำเอาความรู้จากศาสตร์ต่างๆ มาใช้อย่างบูรณาการ   ผมเคยอ่านพบว่า ในบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน ไอที มีการจ้าง นักมานุษยวิทยาสังคม (Social Anthropologist) มาทำหน้าที่ในหน่วยศึกษาความสัมพันธ์กับลูกค้า   มีหน้าที่เดินทางไปในประเทศต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมการใช้เครื่องมือไอทีของผู้คน   สำหรับนำมาบอกฝ่ายพัฒนา hardware และ software   ให้พัฒนาให้เหมาะสมต่อพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า

ผมจึงมีข้อเสนอต่อคณะผู้จัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย   ว่าควรพิจารณายกระดับการประชุมนี้ใน ๒ ประเด็นใหญ่    (๑) คือการส่งเสริมให้ฝ่าย “ผู้ใช้” หรือฝ่ายอุตสาหกรรม/ธุรกิจ นำเอาประสบการณ์ประยุกต์ใช้ความรู้ของตน (เท่าที่จะเปิดเผยได้) มานำเสนอในที่ประชุม    ซึ่งจะนำไปสู่โจทย์วิจัยให้แก่นักวิจัยในมหาวิทยาลัย   ให้ทำวิจัยตามโจทย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของฝ่ายผู้ใช้    และนำไปสู่ความร่วมมือกัน   และ (๒) การเชิญชวนให้นักวิจัยสาขาอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ที่มีผลงานวิจัยเกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าที่มีเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าอยู่ภายใน   ให้มานำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทยด้วย

หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ของการประชุมวิชาการเท่านั้น   แต่ยังนำเสนอเรื่องราวที่นำไปสู่พัฒนาการของศาสตร์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าของประเทศไทย อย่างน่าสนใจยิ่ง    ดังตัวอย่างบทที่ ๘ ศ. ดร. โมไนย ไกรฤกษ์ นักวิชาการสายพันธุ์ไทยแท้  และบทที่ ๑๐ บทบาทวิศวกรสตรี รศ. ดร. ทิพรัตน์ วงษ์เจริญ    ซึ่งจะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิชาการรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี   วิธีคิดในการพัฒนาตนเอง สร้างโอกาสแก่ตนเอง แบบไม่เดินตามแนวที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ของ ดร. ทิพรัตน์ น่าสนใจมาก

ที่จริง ทุกบทของหนังสือเล่มนี้ ให้ความรู้ และให้ข้อคิดที่มีคุณค่าสูงส่ง ทั้งสิ้น   โปรดอ่านคำนำของบรรณาธิการ เพื่อให้ได้คุณค่าในภาพรวม

หนังสือเล่มนี้บอกเราว่า การรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือชุมชน ของนักวิชาการ   ดำเนินการเพื่อนำผลงานวิชาการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน   และช่วยกันให้คำแนะนำให้ยกระดับผลงานวิชาการ ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น   เป็นกลไกสำคัญยิ่งของการพัฒนาวิชาการ

วิชาการที่เป็นเป้าหมายของหนังสือเล่มนี้คือ วิศวกรรมไฟฟ้า    ซึ่งในช่วงเวลา ๓๕ ปีที่ผ่านมามีการขยายตัวพัฒนาการเชื่อมโยงออกไปอย่างกว้างขวาง   ทำคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนอย่างเหลือคณา

วิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าใน ๓๕ ปีข้างหน้า จะก้าวหน้ารวดเร็วยิ่งกว่า ๓๕ ปีที่ผ่านมา   และผมขอทำนายว่า พัฒนาการจากมุมของฝ่ายธุรกิจ หรือฝ่ายประยุกต์ จะมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าพัฒนาการของฝ่ายวิชาการโดยตรง   ดังนั้นคณะผู้จัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย จึงควรพิจารณาเชื้อเชิญ “นักวิชาการ” หรือจริงๆ แล้วคือนักพัฒนา จากภาคธุรกิจเอกชน เข้าร่วมเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย    ผมคิดว่า นักวิชาการหรือนักพัฒนาในภาคธุรกิจเอกชนนี่แหละ คือผู้ดำเนินการข้าม “หุบเหวมรณะ” ที่ระบุในบทความของ ศ. ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์

และต้องไม่ลืมเชิญชวน นักวิจัย/พัฒนา ในสาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมด้วย

ผมขอขอบคุณคณะผู้จัดทำหนังสือ พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์เล่มนี้ แทนสังคมไทย   ผมเชื่อว่า หนังสือเล่มนี้จะทำหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิชาการและนักพัฒนาวิศวกรรมไฟฟ้าของไทยรุ่นใหม่ ไปอีกนานเท่านาน

วิจารณ์ พานิช

๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 04 มีนาคม 2014 เวลา 00:10 น.
 

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๒. นวัตกรรมการเรียนรู้

พิมพ์ PDF

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๒. นวัตกรรมการเรียนรู้

สถาบันคลังสมองฯ จัดให้เราไปเรียนรู้เรื่องนวัตกรรมการเรียนรู้    เราจึงได้ไปเห็นนวัตกรรมการเรียนรู้ หลากหลายรูปแบบ  ได้แก่

 

มหาวิทยาลัย Aston

· จัดตั้ง Centre for Learning Innovation & Professional Practice (CLIPP)

· CLIPP เปิดหลักสูตร

- An Introduction to Learning and Teaching in HE  จัดฝึกอบรมแก่อาจารย์ใหม่ ของมหาวิทยาลัยแอสตั้นทุกคน

- Postgraduate Certificate of Professional Practice in Higher Education   เปิดให้บริการแก่คนทั่วไปทั้งในสหราชอาณาจักร และต่างประเทศ   รวมทั้งกำลังร่วมกับมหาวิทยาลัยดานัง ประเทศเวียดนามเปิดหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติ

- RITE (Research Inspired Teaching Excellence) Programme

· การเรียนการสอนแบบ CDIO ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์   ที่เขาบอกว่า เป็นการขับเคลื่อนการเรียนรู้แบบใหม่เพื่อสร้าง the next generation engineers  เป็นรูปธรรมของ Integrated Learning  และ Learning by Doing   รวมทั้งเป็น PBL (Project-Based Learning) ที่ทรงพลังมาก   ผมไปพบรูปธรรมของการเรียนแบบลงมือทำ    แล้วต้องตามด้วยการ เขียนรายงาน ว่าในการปฏิบัตินั้น ได้เรียนรู้และเข้าใจทฤษฎี หรือหลักการอะไรบ้าง    เข้าใจอย่างไรจากมุมของการประยุกต์ใช้ความรู้นั้น    เพื่อให้เกิดการเรียนแบบรู้จริง (mastery learning)   ผมตีความว่า การเรียนแบบ CDIO ก็ตือการเรียนแบบ Active Learning หรือปฏิบัตินำ ทฤษฎีตาม นั่นเอง

 

มหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด

· จัดตั้ง Oxford Learning Institute ทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การสอน และการวิจัย   สำหรับการพัฒนาอาจารย์ของตนเอง   และสำหรับนำไปสู่นโยบาย   เน้นทำงานแบบ มีหลักฐานจากการวิจัยสนับสนุน   เขาบอกว่า สถาบันนี้ทำงานแบบ tailor – made ในบริบทของมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ดโดยเฉพาะ   ไม่เปิดโอกาสให้คนจากสถาบันอื่น ลงทะเบียนจ่ายเงินเข้ารับการอบรม

· มีการจัดตั้ง Oxford Hub เป็น SE(Social Enterprise) ทำหน้าที่ดึง นศ. เข้าร่วมทำงานอาสา เพื่อสังคม โดยที่การทำงานอาสานี้ เป็นการเรียนโดยลงมือทำ ได้ฝึกประยุกต์ใช้ความรู้ใน บริบทชีวิตจริง    ซึ่งเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้    และการทำงานอาสา จะเป็นการบ่มเพาะ ปลูกฝังนิสัยเห็นแก่ผู้อื่น และแก่ส่วนรวม   ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตที่ดี

· มีการจัดตั้งSkoll Centre for Social Entrepreneurship ขึ้นใน Said School of Business สำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านผู้ประกอบการสังคม

 

มหาวิทยาลัย นอร์ธแทมตัน

· การประกาศตนเองเป็น Social Enterprise ทั้งมหาวิทยาลัย    คือทำงานทุกด้านอย่างมืออาชีพ ผู้ประกอบการ   และด้วยจิตวิญญาณของการทำเพื่อสังคม   ผมมีข้อสังเกตว่า เมื่ออธิการบดี ตัดสินใจกำหนดปณิธานความมุ่งมั่น อย่าง กล้าแตกต่าง”    เขาก็ดำเนินการจัดการ การเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กันกับการจัดการการเรียนรู้   ว่าที่เขากำหนดปณิธานเช่นนั้น ในทางปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร   และจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง    ในลักษณะ ทำไปเรียนรู้ไป”    แบบเดียวกันกับที่ผมดำเนินการจัดการ สกวยุคก่อตั้ง เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว    และผมตีความว่า เป็นการทำงานแบบ เคออร์ดิค

· ในเอกสาร Raising the Bar : Strategic Plan 2010 – 2015 ของมหาวิทยาลัย   บอกเป้าหมายด้านนวัตกรรมการเรียนรู้เป็นนัย ว่า “By placing the student experience at the centre of activity we fulfil our commitment to transforming the lives of those who study and work with us.”   ผมตีความว่า คำว่า transforming the lives เป็นผลจากการเรียนรู้ ในแนวใหม่ หรือนวัตกรรมการเรียนรู้ นั่นเอง  

 

University College of London

· ที่เราไปดู เป็นเรื่องนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการเป็นผู้ประกอบการ   ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจ   และการเป็นผู้ประกอบการทางสังคม    เน้นความเข้มแข็งด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ UCL

 

 

ผมสังเกตว่า มหาวิทยาลัยที่เน้นสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้   หวังผลที่ตัวนักศึกษาในด้านการมีงานทำ (employability) เป็นหลัก   ตามด้วยคุณสมบัติสำคัญๆ อีกหลายอย่าง ได้แก่ การเป็นพลเมืองโลก (global citizenship)  ความรับผิดชอบต่อสังคม   การมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ    และผมตีความว่า การขับเคลื่อน USR (University Social Responsibility) และ SE (Social Entrepreneurship) ของมหาวิทยาลัยในอังกฤษ  น่าจะมีความหมายลึกๆ อยู่ที่การสร้างทักษะ/คุณสมบัติความเป็นมนุษย์ ที่จำเป็นสำหรับโลกยุคใหม่    คือคุณสมบัติ มีความคิดเพื่อส่วนรวม เห็นแก่ผลประโยชน์ของสังคม    ไม่ใช่คิดแต่ผลประโยชน์ของตนเอง หรือผลประโยชน์ใกล้ตัว

ตอนฟังเรื่อง UnLtd เมื่อวันที่ ๑๑ ก.ย. ๕๖   ผมเกิดความคิดว่า    น่าจะตีความจากฝั่งมหาวิทยาลัยได้ว่า UnLtd ช่วยสร้างplatform ของนวัตกรรมการเรียนรู้โดยการลงมือทำ (Learning by Doing)    โดยที่การลงมือทำ นั้นช่วยบ่มเพาะจิตสาธารณะ และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ   เพิ่มพูนความริเริ่มสร้างสรรค์ของมนุษย์ออกมา UnLtd จึงทำหน้าที่ทางอ้อม ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของสหราชอาณาจักร

ผมได้เรียนรู้ว่า สหราชอาณาจักร ขับเคลื่อนนวัตกรรมการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาของประเทศด้วย หลากหลายกลไก   ใช้เครื่องมือหลายตัวในการขับเคลื่อน    กลไกหลักคือ UKPSF  ซึ่งเขาไม่บังคับให้ใช้   แต่มีวิธีจูงใจให้ใช้    และพิสูจน์ให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยใดรู้จักใช้อย่างจริงจัง และอย่างมีขั้นตอนที่เหมาะสมต่อ บริบทของตน ก็จะทำให้นักศึกษาได้รับประโยชน์    เกิดความสามารถในการแข่งขันดึงดูดนักศึกษาเข้ามาเรียน    โดยทางหน่วยจัดสรรงบประมาณ (HEFCE, SFC, HEFCW) เขาก็ฉลาด   ว่าการจัดงบประมาณเป็น คูปองการศึกษาให้แก่ตัวนักศึกษา    เอาไปเลือกมหาวิทยาลัยเอาเอง    จะทำให้มหาวิทยาลัยต้องปรับตัว แข่งขันกันด้วยคุณภาพการศึกษา

มีการพูดกันว่า    การที่รัฐจัดสรรงบประมาณแก่มหาวิทยาลัยตามรายหัวนักศึกษา    ทำให้มหาวิทยาลัยมีพฤติกรรมไม่ดี   ไม่เอาใจใส่จัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และช่วยเหลือส่งเสริมให้ นศเรียนจบตามกำหนดเวลา ต่อไปจะมีระบบจัดสรรงบประมาณตามจำนวนบัณฑิตที่จบ    โดยจะต้องหาเครื่องมือตรวจสอบด้วย ว่าจบอย่างมีคุณภาพ

กลไกขับเคลื่อนนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ล้ำลึกมาก คือขบวนการ Social Entrepreneurship   ที่ผมตีความว่า เป็นการเรียนรู้ในระดับจิตวิญญาณ (spiritual development)  เปลี่ยนใจคน ๒ ด้าน   คือ (๑) จากคิดถึงแต่ผลประโยชน์ตน    มาคิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมด้วย   และ (๒) จากคิดแต่จะเป็นลูกจ้าง หางานทำ    ก็คิดสร้างงานเอง สร้างงานให้ตัวเอง    ซึ่งผมมองว่า สหราชอาณาจักรทำเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda)    เลยจากการต่อสู้ระหว่างพรรคที่ต่างอุดมการณ์    ไม่ว่าพรรคเลเบอร์หรือพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ต่างก็ขับเคลื่อนวาระแห่งชาตินี้   ทำให้เป็นขบวนการที่มีความต่อเนื่อง    และมหาวิทยาลัยต่างๆ ต้องค่อยๆ ปรับตัว หาทางดำเนินการเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

เขาใช้กลไกภาคเยาวชน ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วย    ให้เยาวชนได้ริเริ่มดำเนินการกันเอง    ดังตัวอย่างที่เราไปเห็นคือ Oxford Hub (ขับเคลื่อนจิตอาสา และการเป็นผู้ประกอบการสังคม), NACUE (ขับเคลื่อนการเป็นผู้ประกอบการ

ย้อนกลับมาดูที่บ้านเรา    เมื่อไรเราจะมีวาระชาติ ที่ก้าวเลยการต่อสู้เอาชนะกันระหว่างพรรคการเมือง    หรือระหว่างเจ้าของพรรคการเมือง    และดำเนินการต่อเนื่อง สร้างความเข้มแข็งให้แก่บ้านเมืองในระยะยาว    ไม่ใช่บั่นทอนบ้านเมืองอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ก.ย. ๕๖  ปรับปรุง ๑๗ ก.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 22:05 น.
 

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๓. การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้

พิมพ์ PDF

 

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๔. ความเป็นผู้ประกอบการ

นิยามหรือความหมาย ของความเป็นผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัย ไม่ชัดเจน ไม่มีมาตรฐาน   ผมขอรวบรวมมาจากการฟัง ถาม สังเกต และ ลปรร. กับคณะที่ไปดูงานด้วยกัน

หลังจากไปฟังการนำเสนอในการดูงาน และกลับมาไตร่ตรองแล้ว ผมฟันธงว่า ความเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship)เป็นสมรรถนะ (competency) ที่ต้องการอย่างหนึ่งของบัณฑิตทุกสาขา ในทุกประเทศ สำหรับยุคศตวรรษที่ ๒๑   โดยที่จริงๆ แล้ว ต้องมีการปลูกฝังพัฒนามาตั้งแต่ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย   และต้องยิ่งกระตุ้น ในการเรียนรู้ระดับมหาวิทยาลัย

ผมตีความและนิยามเอาเองว่า ความเป็นผู้ประกอบการหมายถึง ความสามารถนำเอา สินทรัพย์ (assets) ที่อยู่เฉยๆ ไม่ก่อประโยชน์ใดๆ   มาจัดการหรือดำเนินการให้เกิดมูลค่า คุณค่า หรือผลกำไร

เมื่อตีความและนิยามเช่นนี้แล้ว   บทบาทของมหาวิทยาลัยกับความเป็นผู้ประกอบการจึงหมายถึง การที่มหาวิทยาลัยทำให้นักศึกษาของตน เปลี่ยนแปลงขั้นรากฐาน (transform) จากวิญญาณผู้บริโภค   มาสู่วิญญาณผู้ผลิต   หรือให้มีน้ำหนักของ วิญญาณผู้ผลิต มากกว่าวิญญาณผู้บริโภค

การตีความ และนิยามเช่นนี้ สอดคล้องกับแนวทาง 21st Century Learning   ซึ่งเน้นที่เรียนโดยปฏิบัติ (learning by doing)  เพื่อให้นักเรียน/นักศึกษา เรียนโดยการผลิตหรือสร้างความรู้   ซึ่งก็คือ เป็นการนำเอา ความสามารถ หรือศักยภาพภายในตัว นศ. ที่อยู่เฉยๆ มาทำหน้าที่ ผู้ผลิต” ความรู้ เผื่อแผ่แก่เพื่อน ในกระบวนการเรียนรู้เป็นทีม   หรือเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนเอื้อเฟื้อกัน    ในลักษณะ collaborative learning   ซึ่งก็จะช่วยบ่มเพาะนิสัยร่วมมือ (collaboration) หรือเป็นหุ้นส่วนกัน (partnership)   ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการเป็นมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills)

การหล่อหลอมวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการ   กับการเรียนรู้ตามแนวทางแห่งศตวรรษที่ ๒๑   จึงเป็น ๒ หน้าของเหรียญเดียวกัน

ในระดับมหาวิทยาลัย / หน่วยงาน ต้องมีความสามารถในการหารายได้มาใช้ในการทำหน้าที่ สถาบันอุดมศึกษาให้แก่สังคม   มหาวิทยาลัยจึงเป็นผู้ประกอบการสังคม   หรือที่ท่าน ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน เรียกว่า เป็นวิสาหกิจสังคม (Social Enterprise)  คือทำธุรกิจเพื่อหารายได้มาเลี้ยงตัวเอง    โดยหวัง ผลประกอบการหรือ กำไร” เป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อสังคม

ความสัมพันธ์กับรัฐ ตามอุดมคติของผู้ประกอบการ จึงไม่ใช่การ ขอ” งบประมาณ   แต่เป็นการเจรจากัน ว่ามหาวิทยาลัยนั้นๆ จะทำประโยชน์อะไรบ้าง ให้แก่สังคม   โดยรัฐ ซื้อ” บริการเหล่านั้น ตามอัตราที่เหมาะสม กับคุณภาพของผลงาน ของมหาวิทยาลัยนั้น ที่เคยทำผลงานไว้

วิธีคิดแบบนี้ เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมไทยเพียงใด   ผมไม่มีคำตอบ   เพราะสังคมของเรา ยังมีลักษณะสังคมอุปถัมภ์ หรือต่างตอบแทนกัน แบบพวกใครพวกมัน    ไม่ได้เน้นที่การซื้อบริการตามคุณภาพ ของผลงาน

ที่เราไปศึกษาดูงาน ได้เห็นความแตกต่างอย่างยิ่ง ระหว่างความเป็นผู้ประกอบการของ University of Northampton  กับ UCL (University College London)   เพราะสองมหาวิทยาลัยนี้มี สินทรัพย์” แตกต่างกัน   คือ UCL เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นเยี่ยมของโลก   มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในขั้นแนวหน้า    ดังนั้น กิจกรรมของ Social Enterprise ของเขาที่ชื่อ UCL Business ก็คือ TLO (Technology Licensing Office) ในชื่อเก่านั่นเอง   และกิจกรรม SE ของนักศึกษาของ UCL ก็มักอยู่บน technology platform ที่ได้จากผลงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยนั่นเอง   ดังกรณีที่ศาสตราจารย์ Muki Haklay เล่าให้เราฟังเรื่อง ‘Extreme Citizen Science’ Group ที่ผนวกพลังพลเมือง (citizen) กับพลังเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน   เพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคม   โดยที่ในที่นี้เทคโนโลยีคือ Web-based mapping โดยใช้ GPS    กิจกรรมหนึ่งที่กลุ่มนี้ทำ คือทำแผนที่เสียงรบกวน ที่ก่อมลภาวะทางเสียง (noise pollution)  และอาจจำไปประยุกต์ใช้ดำเนินการแก้ปัญหาสังคมได้อีกมากมาย อาจารย์ผู้นี้ได้ตั้ง SE ชื่อ Mapping for Change โดยได้รับการสนับสนุนจาก UnLtd

แต่ SE ของ University of Northampton จุดแข็งคือนโยบายของมหาวิทยาลัย ที่ถือว่าตัวมหาวิทยาลัย ทั้งมหาวิทยาลัย เป็นSE (Social Entreprise)  และทำหน้าที่สร้างคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะผู้ประกอบการ และมีจิตสาธารณะ คือเป็น Social Entrepreneur  เท่าที่เราไปฟังนักศึกษา ๓ กลุ่มมาเล่ากิจการ SE ของเขา   ก็อยู่บนฐานของความริเริ่มสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของนักศึกษาแต่ละกลุ่มเป็นหลัก   โดย นศ. คนที่ผมประทับใจที่สุดคือคุณ Marvin คนผิวดำผู้กลับใจ    จากเป็นเด็กเกเร ก่อปัญหาให้แก่สังคม   กลายเป็นนักธุรกิจ ตั้งบริษัทฝึกอบรมศิลปะการออกแบบ เพื่อการค้นพบตนเองของเยาวชน

อีกมิติหนึ่งของมหาวิทยาลัย นอร์ธแทมตัน ในการยกระดับความเป็นมหาวิทยาลัย SE ของตน    คือการเข้าไปถือหุ้นของ CIC(Community Interested Company)  ชื่อ Goodwill Solutions เพื่อใช้ฐานธุรกิจ เพื่อสังคมของ Goodwill Solutions เป็นที่ฝึกจิตใจเพื่อสังคมให้แก่นักศึกษา และเพื่อทำงานวิชาการด้าน ธุรกิจเพื่อสังคม จากประสบการณ์ของ Goodwill Solutions

ส่วน SE ของมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด เน้นทำงานวิชาการด้านนี้

Entrepreneurship ในระดับอาจารย์   อาจารย์ต้องแสดงความสามารถในการหารายได้ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม   หรือกล่าวใหม่ว่า ต้องแสดงหลักฐานว่า ทำไมต้องมีตนเองอยู่ในหน่วยงาน หรืออยู่ในมหาวิทยาลัย   ไม่ใช่บอกว่าตนเองสมัครเข้ามาทำงานแล้ว ต้องได้รับความมั่นคงในหน้าที่การงาน และรายได้

รายการดูงานรายการสุดท้ายเป็นหน่วยงานส่งเสริมวิญญาณนักประกอบการ (นักประกอบการทั่วไป ไม่ใช่นักประกอบการสังคม) ให้แก่นักศึกษา ชื่อ NACUE (The National Association of College and University Entrepreneurs)    ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่ค้ากำไร ตั้งขึ้นโดยนักศึกษา เมื่อ ๔ ปีที่แล้ว    โดยทำกิจกรรม ๓ กลุ่ม  (๑)​ เชื่อมโยงเครือข่าย ด้วยวิธีการที่หลากหลาย รวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดธุรกิจโดยนักศึกษา   (๒) จัดอีเว้นท์ และการประชุม  (๓) ทำวิจัย และสื่อสารนโยบาย

เนื่องจากทั้งรัฐบาล และหลายๆ ฝ่ายในสหราชอาณาจักร มองว่าประเทศจะพัฒนาและแข่งขันได้ในยุคนี้   ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง NACUE จึงพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในเวลา ๔ ปี   โดยตอนนี้มีเจ้าหน้าที่ ๔๐ คน   อายุเฉลี่ย ๒๓ ปี   นี่คือตัวอย่างของความเป็นผู้ประกอบการตัวจริง

ความเป็นผู้ประกอบการมี ๒ แบบ   คือประกอบธุรกิจเพื่อกำไรตามแบบธุรกิจทั่วๆ ไป    กับ ประกอบการเพื่อสังคม   โดยที่ ๒ แบบนี้ไม่แยกกันเด็ดขาด    เพราะธุรกิจค้ากำไร ก็ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ ของสังคมด้วย   ต้องไม่ประกอบธุรกิจโดยหวังกำไรสูงสุด โดยไม่เอาใจใส่ว่าตัวธุรกิจนั้นก่อผลร้ายต่อสังคม อย่างไรบ้าง    ไม่สนใจลดผลร้ายลงไป   ซึ่งนี่คือหลักการการประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม    สรุปว่า ธุรกิจแบบแรก เน้นกำไรที่เป็นตัวเงินเป็นหลัก   ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นรอง

ความเป็นผู้ประกอบการแบบที่สอง เน้นผลประโยชน์ต่อสังคมเป็นหลัก    เงินกำไรเป็นรอง

ใน Ppt นำเสนอของ Prof. Muki Haklay ระบุนิยามของคำว่า ผู้ประกอบการสังคม (Social Entrepreneur) ดังนี้

- UnLtd นิยามว่า เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์  แรงบันดาลใจ  ความมุ่งมั่น  และการลงมือทำ เพื่อเปลี่ยนโลกให้ดีกว่าที่เป็นอยู่

- Ashoka นิยามว่า เป็นบุคคลที่มีวิธีที่แปลกใหม่ ในการแก้ปัญหาที่สำคัญของสังคม   เป็นคนที่ทะเยอทะยาน และลงมือทำอย่างคงเส้นคงวา   เข้าไปแก้ปัญหาสำคัญของสังคม   และเสนอแนวความคิดใหม่   เพื่อการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง

ผมเขียนบันทึกนี้แบบตีความสุดๆ   ไม่ทราบว่าเป็นการตีความเข้าป่าเข้าดง   ไปหรือไม่   ท่านผู้อ่านพึงอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ก.ย. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 22:18 น.
 

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๓. การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้

พิมพ์ PDF

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๓. การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้

ผมร่วมคณะศึกษาดูงานของสถาบันคลังสมอง ไปสหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ ๘ ๑๓ ก.ย. ๕๖   โดยมีเป้าหมายในใจว่า ต้องการไปดูว่าการทำหน้าที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยของอังกฤษ ต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลง อย่างไรบ้าง เพราะอะไร เขามีการจัดระบบการทำงานอย่างไร

ไปเห็นรูปธรรมของขบวนการพัฒนาอาจารย์ ด้านการเรียนการสอน และสนับสนุนการเรียนรู้  โดย

· การจัดตั้ง HEA เป็นองค์กรอิสระขึ้นมาทำหน้าที่ขับเคลื่อน

· HEA ร่วมกับภาคี สร้างเครื่องมือ UKPSF ขึ้นมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน   โดยไม่บังคับ แต่ชักชวน และสร้างคุณค่าของการเป็น Fellow ของ HE Academy    Fellowship มีอายุ ๓ ปี และมี ๔ ระดับ    สะท้อนหลักการว่า อาจารย์ต้องเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

· มหาวิทยาลัยจัด Workshop ฝึกอาจารย์ใหม่ ให้มีทักษะในการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนการเรียนรู้ และการประเมิน   เพื่อช่วยให้อาจารย์เข้าเป็น Fellow ของ HE Academy ได้   และมีหน่วยงานช่วยเหลืออาจารย์ที่สนใจยกระดับของการเป็น Fellow ขึ้นสู่ระดับที่สูงขึ้น (มี ๔ ระดับ จากขั้นต่ำสู่ขั้นสูง คือ Associate Fellow, Fellow, Senior Fellow, และ Principal Fellow)

· มีหลักสูตรประกาศนียบัตร และปริญญาโท ด้านการเรียนการสอน ที่มหาวิทยาลัย แอสตัน จัดโดย CLIPP (Centre for Learning Innovation & Professional Practice)    ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอนโดยเฉพาะ

· มหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด มีOxford Learning Institute ทำหน้าที่พัฒนาทักษะด้านการเรียนการสอน และการสนับสนุนการเรียนรู้    ให้แก่อาจารย์ และแก่นักศึกษา    โดยหลักสูตรและกิจกรรมของเขาจัดให้เหมาะแก่สถานการณ์ หรือบริบท ของมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด

· มหาวิทยาลัย นอร์ธแทมตัน ระบุไว้ใน KPI ด้าน Intellectual Resource ตัวหนึ่ง   ว่าดูที่ร้อยละของอาจารย์ที่มีคุณวุฒิด้านการเรียนการสอน (% of Academics with formal or accredited teaching qualifications)   แต่เขาไม่ได้เล่า ว่าเขาช่วยเหลืออาจารย์ให้ได้คุณวุฒิเหล่านั้นอย่างไร

เราไปดูงานเพียง ๔ มหาวิทยาลัย และบางมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ดูเรื่องการพัฒนาอาจารย์    แต่ผมเดาว่า ในสหราชอาณาจักร มีกระแสรุนแรงมาก ในเรื่องการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน    เพื่อให้อาจารย์จัด การเรียนการสอนแบบใหม่ ที่เน้น Active Learning   ไม่เน้นการสอนแบบบรรยายอย่างแต่ก่อน    เพื่อประโยชน์ของนักศึกษา    และได้ทราบว่า กระแสต่อต้านการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ไม่น้อย    ซึ่งก็เป็นธรรมดาโลก

มีเอกสารแนะนำอาจารย์ใหม่ เผยแพร่โดย University of Wales น่าอ่านมาก อ่านได้ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๗ ก.ย. ๕๖  ปรับปรุง ๒๘ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 22:24 น.
 

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๔. ความเป็นผู้ประกอบการ

พิมพ์ PDF

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๔. ความเป็นผู้ประกอบการ

นิยามหรือความหมาย ของความเป็นผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัย ไม่ชัดเจน ไม่มีมาตรฐาน   ผมขอรวบรวมมาจากการฟัง ถาม สังเกต และ ลปรร. กับคณะที่ไปดูงานด้วยกัน

หลังจากไปฟังการนำเสนอในการดูงาน และกลับมาไตร่ตรองแล้ว ผมฟันธงว่า ความเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship)เป็นสมรรถนะ (competency) ที่ต้องการอย่างหนึ่งของบัณฑิตทุกสาขา ในทุกประเทศ สำหรับยุคศตวรรษที่ ๒๑   โดยที่จริงๆ แล้ว ต้องมีการปลูกฝังพัฒนามาตั้งแต่ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย   และต้องยิ่งกระตุ้น ในการเรียนรู้ระดับมหาวิทยาลัย

ผมตีความและนิยามเอาเองว่า ความเป็นผู้ประกอบการหมายถึง ความสามารถนำเอา สินทรัพย์ (assets) ที่อยู่เฉยๆ ไม่ก่อประโยชน์ใดๆ   มาจัดการหรือดำเนินการให้เกิดมูลค่า คุณค่า หรือผลกำไร

เมื่อตีความและนิยามเช่นนี้แล้ว   บทบาทของมหาวิทยาลัยกับความเป็นผู้ประกอบการจึงหมายถึง การที่มหาวิทยาลัยทำให้นักศึกษาของตน เปลี่ยนแปลงขั้นรากฐาน (transform) จากวิญญาณผู้บริโภค   มาสู่วิญญาณผู้ผลิต   หรือให้มีน้ำหนักของ วิญญาณผู้ผลิต มากกว่าวิญญาณผู้บริโภค

การตีความ และนิยามเช่นนี้ สอดคล้องกับแนวทาง 21st Century Learning   ซึ่งเน้นที่เรียนโดยปฏิบัติ (learning by doing)  เพื่อให้นักเรียน/นักศึกษา เรียนโดยการผลิตหรือสร้างความรู้   ซึ่งก็คือ เป็นการนำเอา ความสามารถ หรือศักยภาพภายในตัว นศ. ที่อยู่เฉยๆ มาทำหน้าที่ ผู้ผลิต” ความรู้ เผื่อแผ่แก่เพื่อน ในกระบวนการเรียนรู้เป็นทีม   หรือเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนเอื้อเฟื้อกัน    ในลักษณะ collaborative learning   ซึ่งก็จะช่วยบ่มเพาะนิสัยร่วมมือ (collaboration) หรือเป็นหุ้นส่วนกัน (partnership)   ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการเป็นมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills)

การหล่อหลอมวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการ   กับการเรียนรู้ตามแนวทางแห่งศตวรรษที่ ๒๑   จึงเป็น ๒ หน้าของเหรียญเดียวกัน

ในระดับมหาวิทยาลัย / หน่วยงาน ต้องมีความสามารถในการหารายได้มาใช้ในการทำหน้าที่ สถาบันอุดมศึกษาให้แก่สังคม   มหาวิทยาลัยจึงเป็นผู้ประกอบการสังคม   หรือที่ท่าน ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน เรียกว่า เป็นวิสาหกิจสังคม (Social Enterprise)  คือทำธุรกิจเพื่อหารายได้มาเลี้ยงตัวเอง    โดยหวัง ผลประกอบการหรือ กำไร” เป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อสังคม

ความสัมพันธ์กับรัฐ ตามอุดมคติของผู้ประกอบการ จึงไม่ใช่การ ขอ” งบประมาณ   แต่เป็นการเจรจากัน ว่ามหาวิทยาลัยนั้นๆ จะทำประโยชน์อะไรบ้าง ให้แก่สังคม   โดยรัฐ ซื้อ” บริการเหล่านั้น ตามอัตราที่เหมาะสม กับคุณภาพของผลงาน ของมหาวิทยาลัยนั้น ที่เคยทำผลงานไว้

วิธีคิดแบบนี้ เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมไทยเพียงใด   ผมไม่มีคำตอบ   เพราะสังคมของเรา ยังมีลักษณะสังคมอุปถัมภ์ หรือต่างตอบแทนกัน แบบพวกใครพวกมัน    ไม่ได้เน้นที่การซื้อบริการตามคุณภาพ ของผลงาน

ที่เราไปศึกษาดูงาน ได้เห็นความแตกต่างอย่างยิ่ง ระหว่างความเป็นผู้ประกอบการของ University of Northampton  กับ UCL (University College London)   เพราะสองมหาวิทยาลัยนี้มี สินทรัพย์” แตกต่างกัน   คือ UCL เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นเยี่ยมของโลก   มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในขั้นแนวหน้า    ดังนั้น กิจกรรมของ Social Enterprise ของเขาที่ชื่อ UCL Business ก็คือ TLO (Technology Licensing Office) ในชื่อเก่านั่นเอง   และกิจกรรม SE ของนักศึกษาของ UCL ก็มักอยู่บน technology platform ที่ได้จากผลงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยนั่นเอง   ดังกรณีที่ศาสตราจารย์ Muki Haklay เล่าให้เราฟังเรื่อง ‘Extreme Citizen Science’ Group ที่ผนวกพลังพลเมือง (citizen) กับพลังเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน   เพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคม   โดยที่ในที่นี้เทคโนโลยีคือ Web-based mapping โดยใช้ GPS    กิจกรรมหนึ่งที่กลุ่มนี้ทำ คือทำแผนที่เสียงรบกวน ที่ก่อมลภาวะทางเสียง (noise pollution)  และอาจจำไปประยุกต์ใช้ดำเนินการแก้ปัญหาสังคมได้อีกมากมาย อาจารย์ผู้นี้ได้ตั้ง SE ชื่อ Mapping for Change โดยได้รับการสนับสนุนจาก UnLtd

แต่ SE ของ University of Northampton จุดแข็งคือนโยบายของมหาวิทยาลัย ที่ถือว่าตัวมหาวิทยาลัย ทั้งมหาวิทยาลัย เป็นSE (Social Entreprise)  และทำหน้าที่สร้างคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะผู้ประกอบการ และมีจิตสาธารณะ คือเป็น Social Entrepreneur  เท่าที่เราไปฟังนักศึกษา ๓ กลุ่มมาเล่ากิจการ SE ของเขา   ก็อยู่บนฐานของความริเริ่มสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของนักศึกษาแต่ละกลุ่มเป็นหลัก   โดย นศ. คนที่ผมประทับใจที่สุดคือคุณ Marvin คนผิวดำผู้กลับใจ    จากเป็นเด็กเกเร ก่อปัญหาให้แก่สังคม   กลายเป็นนักธุรกิจ ตั้งบริษัทฝึกอบรมศิลปะการออกแบบ เพื่อการค้นพบตนเองของเยาวชน

อีกมิติหนึ่งของมหาวิทยาลัย นอร์ธแทมตัน ในการยกระดับความเป็นมหาวิทยาลัย SE ของตน    คือการเข้าไปถือหุ้นของ CIC(Community Interested Company)  ชื่อ Goodwill Solutions เพื่อใช้ฐานธุรกิจ เพื่อสังคมของ Goodwill Solutions เป็นที่ฝึกจิตใจเพื่อสังคมให้แก่นักศึกษา และเพื่อทำงานวิชาการด้าน ธุรกิจเพื่อสังคม จากประสบการณ์ของ Goodwill Solutions

ส่วน SE ของมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด เน้นทำงานวิชาการด้านนี้

Entrepreneurship ในระดับอาจารย์   อาจารย์ต้องแสดงความสามารถในการหารายได้ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม   หรือกล่าวใหม่ว่า ต้องแสดงหลักฐานว่า ทำไมต้องมีตนเองอยู่ในหน่วยงาน หรืออยู่ในมหาวิทยาลัย   ไม่ใช่บอกว่าตนเองสมัครเข้ามาทำงานแล้ว ต้องได้รับความมั่นคงในหน้าที่การงาน และรายได้

รายการดูงานรายการสุดท้ายเป็นหน่วยงานส่งเสริมวิญญาณนักประกอบการ (นักประกอบการทั่วไป ไม่ใช่นักประกอบการสังคม) ให้แก่นักศึกษา ชื่อ NACUE (The National Association of College and University Entrepreneurs)    ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่ค้ากำไร ตั้งขึ้นโดยนักศึกษา เมื่อ ๔ ปีที่แล้ว    โดยทำกิจกรรม ๓ กลุ่ม  (๑)​ เชื่อมโยงเครือข่าย ด้วยวิธีการที่หลากหลาย รวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดธุรกิจโดยนักศึกษา   (๒) จัดอีเว้นท์ และการประชุม  (๓) ทำวิจัย และสื่อสารนโยบาย

เนื่องจากทั้งรัฐบาล และหลายๆ ฝ่ายในสหราชอาณาจักร มองว่าประเทศจะพัฒนาและแข่งขันได้ในยุคนี้   ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง NACUE จึงพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในเวลา ๔ ปี   โดยตอนนี้มีเจ้าหน้าที่ ๔๐ คน   อายุเฉลี่ย ๒๓ ปี   นี่คือตัวอย่างของความเป็นผู้ประกอบการตัวจริง

ความเป็นผู้ประกอบการมี ๒ แบบ   คือประกอบธุรกิจเพื่อกำไรตามแบบธุรกิจทั่วๆ ไป    กับ ประกอบการเพื่อสังคม   โดยที่ ๒ แบบนี้ไม่แยกกันเด็ดขาด    เพราะธุรกิจค้ากำไร ก็ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ ของสังคมด้วย   ต้องไม่ประกอบธุรกิจโดยหวังกำไรสูงสุด โดยไม่เอาใจใส่ว่าตัวธุรกิจนั้นก่อผลร้ายต่อสังคม อย่างไรบ้าง    ไม่สนใจลดผลร้ายลงไป   ซึ่งนี่คือหลักการการประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม    สรุปว่า ธุรกิจแบบแรก เน้นกำไรที่เป็นตัวเงินเป็นหลัก   ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นรอง

ความเป็นผู้ประกอบการแบบที่สอง เน้นผลประโยชน์ต่อสังคมเป็นหลัก    เงินกำไรเป็นรอง

ใน Ppt นำเสนอของ Prof. Muki Haklay ระบุนิยามของคำว่า ผู้ประกอบการสังคม (Social Entrepreneur) ดังนี้

- UnLtd นิยามว่า เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์  แรงบันดาลใจ  ความมุ่งมั่น  และการลงมือทำ เพื่อเปลี่ยนโลกให้ดีกว่าที่เป็นอยู่

- Ashoka นิยามว่า เป็นบุคคลที่มีวิธีที่แปลกใหม่ ในการแก้ปัญหาที่สำคัญของสังคม   เป็นคนที่ทะเยอทะยาน และลงมือทำอย่างคงเส้นคงวา   เข้าไปแก้ปัญหาสำคัญของสังคม   และเสนอแนวความคิดใหม่   เพื่อการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง

ผมเขียนบันทึกนี้แบบตีความสุดๆ   ไม่ทราบว่าเป็นการตีความเข้าป่าเข้าดง   ไปหรือไม่   ท่านผู้อ่านพึงอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ก.ย. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 22:27 น.
 


หน้า 380 จาก 557
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8591595

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า