Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๑๘. ระลึกรู้ของมือถ่ายภาพ

พิมพ์ PDF

เมี่อไปสัมผัสบรรยากาศใดๆ ผมจะหาทางถ่ายภาพเก็บไว้    เพื่อนำมาสังเกตเพิ่มเติม   ในบางกรณีก็เพื่อได้ซึมซับ หรือสัมผัสสุนทรียภาพ ที่ละเมียดละไม   และเพื่อนำมาไตร่ตรองตรวจตราภายหลัง ว่าวิธีถ่ายภาพให้งาม ทำอย่างไร   ถือเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง

มักจะมีคนมาเสนอบริการถ่ายภาพตัวผม กับวิวสถานที่นั้นๆ    ซึ่งผมมักจะปฏิเสธ   ด้วยคำตอบว่า ผมไม่ชอบถ่ายรูปตัวเอง    ชอบถ่ายรูปคนอื่นมากกว่า

แต่ถ้าเขามาขอถ่ายรูปด้วย ผมจะไม่ปฏิเสธ   ถือว่าเป็นการที่ผมให้เกียรติเขา

ผมไม่เข้าใจคุณประโยชน์ของการยึดถือแนวปฏิบัตินี้   จนมาคุยกับสาวน้อยบนโต๊ะอาหารเย็นวันที่ ๑๕ ก.ย. ๕๖   หลังกลับมาจากไปดูงานที่อังกฤษหมาดๆ

ผมระลึก หรือปิ๊งแว้บขึ้นว่า การที่ผมไม่สนใจถ่ายรูปตนเอง    ทำให้ผมมีปัจจุบันขณะกับสิ่งแวดล้อม รอบตัว    ผมจึงสังเกตเห็นวิวหรือสิ่งสวยงามที่อยู่โดยรอบในขณะนั้น    ผมจึงมีภาพถ่ายจากมุมที่คนอื่นไม่มี   มีภาพถ่ายสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่งดงามที่คนอื่นไม่เห็น

การที่คนเรามัวคิดถึงตนเอง    ทำให้เราพลาดโอกาสเห็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ แปลกใหม่ หรือสวยงาม ที่อยู่โดยรอบตัวเรา

เมื่อลดตัวตนลงได้   ความงดงามของสรรพสิ่งรอบตัวก็ปรากฏ    ทั้งที่สัมผัสได้ด้วยจักษุประสาท    และจักษุประสาทส่วนขยาย (คือกล้องถ่ายรูป)   และที่สัมผัสได้ด้วยประสาทรับรู้แบบอื่น

เมื่อลดตัวตนลงได้ โลกจึงงดงามขึ้น

 

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ก.ย. ๕๖

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:21 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๔. ส่งมอบประเทศไทยให้ลูกหลาน

พิมพ์ PDF

เมื่อวันที่ ๖ ก.ย. ๕๖ อดัม คาเฮน วิทยากร ที่ปรึกษาเพื่อก้าวข้ามความขัดแย้ง จากประเทศสหรัฐอเมริกา    ได้เข้ามาเป็นที่ปรึกษา จัดกระบวนการ “วิธีสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการออกแบบชุดภาพอนาคต” (Transformative Scenario Planning)  ในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง    ได้นำเสนอเรื่อง “ถอดบทเรียนเปลี่ยนอนาคต : ประสบการณ์ ๒๐ ปี จาก ๒๐​ประเทศทั่วโลก ของ อดัม คาเฮน”    และสื่อมวลชนได้เสนอข่าวที่ http://www.thairath.co.th/content/pol/368249, www.posttoday.com/245416/5 เครื่องมือหลุดบ่วงขัดแย้งจาก-คาเฮน

 

โครงการส่งมอบประเทศไทยให้ลูกหลานจะส่งมอบผลงานขั้นต้นในเดือนนี้    โดยหลากหลายฝ่าย จะต้องนำเอาไปดำเนินการต่อ   เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับกระบวนทัศน์ขึ้นในสังคมไทย   จนถึงจุด tipping point ก็จะเกิดผลที่การยุติความขัดแย้ง ที่ยังรุนแรงยิ่งในขณะนี้

 

เครื่องมือสำคัญอย่างยิ่ง ตามที่ระบุในปาฐกถาของ อดัม คาเฮน คือ สภาพจิตที่เรียกว่า presencing ซึ่งเข้าใจยากมาก   ผมเข้าใจว่าหมายถึงสภาพจิตที่อยู่กับภายในของตนเอง    พร้อมที่จะใช้พลังเพื่อสร้างศักยภาพ แห่งอนาคต   ไปสู่การลงมือทำให้เกิดผลได้ตามจิตมุ่งมั่น

 

ผมตีความต่อว่า    จุดสำคัญคือการหลุดจากวังวนแห่งความขัดแย้งในอดีต    มาอยู่กับปัจจุบัน    แล้วใช้ฐานที่มั่นปัจจุบัน    ในการสั่งสมพลัง เพื่อไปดำเนินการสร้างอนาคตที่ตนใฝ่ฝันร่วมกันที่จะให้เกิด

 

สภาพเช่นนี้  คนที่มีส่วนร่วมต้องไม่รอให้คนอื่นเป็นผู้ลงมือ    ตนเองต้องเป็นผู้กระทำ ไม่ใช่ผู้รอคอย    ไม่ใช่ผู้รอให้คนอื่นทำ แล้วตนจึงตาม   ต้องมีผู้ที่อยู่ในสภาพ presencing มากพอ   จึงจะเกิดพลังร่วม

 

ต้องใช้ฐานที่มั่นที่อยู่กับจิตที่มั่นอยู่กับภายในตน   และมีความปรารถนาอันแรงกล้า ที่จะให้อนาคตมีภาพ หรือสภาพ ตามที่ตนใฝ่ฝัน   ความใฝ่ฝันร่วมโดยคนจำนวนมาก จะเป็นพลังมหัศจรรย์ ให้ความใฝ่ฝันนั้นเป็นจริง

 

ผมฝันจะมีส่วนร่วมกันส่งมอบประเทศไทยที่ผู้คนมีความสามัคคีกัน เลิกแบ่งพวกแบ่งฝ่าย เพื่อเอาชนะคะคานกัน

สังคมไทยในอุดมคติ เขียนไว้ในรายงานของคณะปฏิรูป อ่านได้ ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๘ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:40 น.
 

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๑๐. ดูเขา แล้วย้อนดูเรา

พิมพ์ PDF

ผมตั้งใจเขียนบันทึกชุดเดินทางไปดูงานที่อังกฤษ ๑๐ บันทึกนี้ ด้วยการตีความอย่างสุดๆ    ไม่เขียนแบบบันทึกการดูงาน    ซึ่งเมื่ออ่านทบทวนบันทึกที่ ๑ - ๙ แล้ว    ก็พบว่าได้ “ย้อนดูตัว” ไปมากมายแล้ว     ในลักษณะรำพึงรำพัน    ซึ่งแน่นอนว่า มีความคิดที่ปนอคติส่วนตัวออกมาด้วย    กล่าวอย่างนี้แปลว่า ไม่รับรองความถูกต้อง

 

ข้อแตกต่างกันมากระหว่างอังกฤษกับไทย ในเรื่องระบบอุดมศึกษา    แตกต่างกันอย่างฟ้ากับดิน  หรือคนละกระบวนทัศน์   คือระบบการจัดการอุดมศึกษา ของเขารัฐบาลคิดเรื่องใหญ่ๆ เป้าหมายใหญ่ๆ ระยะยาว  ว่าจะต้องการให้อุดมศึกษาทำประโยชน์ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรให้แก่สังคม   แล้วเขาก็สร้าง เงื่อนไขต่างๆ (เช่นออกกฎหมายเปลี่ยนระบบการเงิน)    เพื่อให้อุดมศึกษาหาวิธีสนอง    โดยแต่ละสถาบัน ทำแตกต่างกัน   เพราะแต่ละสถาบันมีประวัติความเป็นมา จุดแข็งจุดอ่อนแตกต่างกัน    เขาบริหารระบบ โดยบอกเป้า และสร้างเงื่อนไขที่แตกต่าง    แล้วปล่อยให้สถาบันอุดมศึกษาหาวิธีปรับตัวเอาเอง    ไม่กำหนดรายละเอียดของขั้นตอนการทำงาน อย่างของประเทศไทย

 

อังกฤษจัดการระบบอุดมศึกษาแบบ Complex Adaptive Systems    ในขณะที่ไทยจัดการแบบ Simple & Linear System

 

อังกฤษใช้ยุทธศาสตร์จัดการเปลี่ยนแปลงระบบแบบ empowerment   ในขณะที่ไทยใช้ยุทธศาสตร์ top-down, command and control   ซึ่งได้ผลในการสร้างการเปลี่ยนแปลงต่างกัน    และสร้างอารมณ์คนละแบบในกลุ่ม ผู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (หรือถูกเปลี่ยนแปลง)    ในแบบอังกฤษ จะมี prime mover หรือ change agent จำนวน หนึ่ง จากทุกระดับการทำงาน   ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำดำเนินการเปลี่ยนแปลง    หรือจริงๆ แล้ว เขาอาจทำแนวนั้น มาก่อนแล้ว แต่ไม่มีคนเห็น   แต่ในระบบใหม่ เขาจะกลายป็นดาราขึ้นมาทันที   คนเหล่านี้จะมีพลังมาก ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

 

ไทยเราใช้ยุทธศาสตร์ผู้มีอำนาจกำหนดรายละเอียดแบบพิมพ์เขียวในการสร้างบ้าน (ผมเพิ่งพบว่า นายกรัฐมนตรี และคนในรัฐบาลชอบพูดคำว่า blueprint)   ทั้งๆ ที่ในการเปลี่ยนแปลงระบบที่ซับซ้อน ไม่มีทางเขียนพิมพ์เขียวได้    ในแนวทางนี้ “ดารา” คือผู้มีอำนาจ   คือนักการเมือง และข้าราชการระดับสูง    คนในระดับผู้ปฏิบัติไม่มีโอกาสเป็นดารา

 

ผมมีความเชื่อ (โดยไม่รู้ว่าเชื่อถูก หรือเชื่อผิด) ว่าคนเรามีความสร้างสรรค์อยู่ในตัวทุกคน   และความสร้างสรรค์นั้นจะออกมาทำคุณประโยชน์ หากมีโอกาส หรือมีการให้โอกาส (empowerment)    ในสังคมที่ความสัมพันธ์ในสังคมมีความเท่าเทียมกันสูง    หรือเป็นสังคมแนวระนาบ   โอกาสที่คนจะทำงาน สร้างสรรค์ให้แก่สังคมจะมาก

 

แต่ในทางตรงกันข้าม สังคมแนวดิ่ง เน้นใช้อำนาจสั่งการในรายละเอียด    โอกาสที่คนจะทำงาน สร้างสรรค์ให้แก่สังคมจะน้อย

 

คณะไปศึกษาดูงานมีเป้าหมายไปศึกษา ๒ เรื่อง    คือเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอน   กับการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการสังคมให้แก่นักศึกษา    ซึ่งผมตีความว่า ทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องเดียวกัน    คือการทำหน้าที่อุดมศึกษา เพื่อสร้างคุณค่าในมิติใหม่ๆ ให้แก่นักศึกษา     ซึ่งก็คือการดึงศักยภาพในการ สร้างสรรค์ออกมา ทั้งเพื่อทำธุรกิจเพื่อกำไรเป็นเงิน และผลประโยชน์แบบอื่น เพื่อประโยชน์ตน   และเพื่อทำธุรกิจ ที่มีเป้าหมายเพื่อสังคมที่ดีขึ้น

 

การสร้างคุณค่าดังกล่าวแก่นักศึกษา ทำไม่ได้โดยวิธีสอนที่อาจารย์สอนวิชาแบบเก่า    แต่ทำได้โดยอาจารย์เปลี่ยนมาทำหน้าที่ตามกรอบมาตรฐานการทำหน้าที่อาจารย์(PSF) ในบันทึกแรกของชุดนี้

 

ที่จริงสังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดกว้าง เปิดรับพัฒนาการต่างๆ ในโลกได้อย่างรวดเร็ว    แต่เมื่อรับมาแล้ว เราทำ ๓ อย่าง ที่เชื่อมโยงกัน คือ

 

๑. เราทำแบบแยกส่วน ต่างหน่วยงานต่างทำ หรือบ่อยครั้งแย่งซีนกัน

๒. เราทำแบบผิวเผิน  เอามาแต่ส่วนเปลือก จับแก่นไม่ได้    หรืออาจจงใจเอาแต่เปลือก ไม่เอาแก่น

๓ ราปรับให้เข้ากับสังคมไทย    หรือเข้ากับผลประโยชน์ที่ซับซ้อนในสังคม ที่มีอยู่แล้ว    ซึ่งก็จะไปสอดรับกับข้อ ๑ และข้อ ๒

 

และเมื่อประกอบเข้ากับระบอบการบริหารบ้านเมืองแบบควบคุม-สั่งการ หรือเน้นอำนาจแนวดิ่ง    การหาลู่ทางพัฒนาระบบอุดมศึกษาของเราในแง่มุมต่างๆ จึงทำได้อย่างจำกัด   ย้ำว่าทำได้ เพราะเราเปิดกว้าง adopt เร็ว    และ adapt ด้วย    แต่ทั้ง adopt & adapt นั้น จะผิวเผินหรือศรีธนญชัย    ไม่เกิดผลดีจริงจัง   เนื่องจากเหตุผล ตามคำอธิบายที่กล่าวแล้ว

ผมภาวนาให้ข้อคิดเห็นเชิงรำพึงรำพันนี้ เป็นสิ่งที่ผิด ไม่ตรงกับความเป็นจริง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:45 น.
 

URAP 2013

พิมพ์ PDF
ประเทศไทย อันดับมหาวิทยาลัย “ตกทั้งแผง” เพราะรัฐบาลไทยทำตรงกันข้ามกับมาเลเซีย ทั้งๆ ที่มีนโยบายให้ประเทศหลุด middle-income trap เช่นเดียวกัน

URAP 2013

ผมได้รับ อีเมล์ จาก รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ดังนี้

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2556 มีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ใน University Ranking By Academic Performance 2013 (URAP 2013) จำนวน 16 แห่ง ตามลำดับ (Country Ranking/World Ranking) โดยรวม เมื่อเทียบกับปี 2012 ดังนี้

Mahidol University (1/368 จากเดิมอันดับ 356)

Chulalongkorn University (2/439 จากเดิมอันดับ 418)

by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">Chiang Mai University (3/648 จากเดิมอันดับ 621)

Khon Kaen University (4 จากเดิมอันดับ 5/802 จากเดิมอันดับ 805)

Prince of Songkla University (5 จากเดิมอันดับ 4/820 จากเดิมอันดับ 775)

Kasetsart University (6/931 จากเดิมอันดับ 903)

King Mongkut's University of Technology Thonburi (7/1285 จากเดิมอันดับ 1230)

Thammasat University (8/1344 จากเดิมอันดับ 1293)

Suranaree University of Technology (9/1485 จากเดิมอันดับ 1458)

Asian Institute of Technology (10/1563 จากเดิมอันดับ 1465)

King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang (11/1566 จากเดิมอันดับ 1536)

Naresuan University (12/1588 จากเดิมอันดับ 1570)

Srinakharinwirot University (13 จากเดิมอันดับ 14/1717 จากเดิมอันดับ 1711)

Silpakorn University (14 จากเดิมอันดับ 13/1767 จากเดิมอันดับ 1654)

Mae Fah Luang University (15 จากเดิมอันดับ 16/1767 จากเดิมอันดับ 1867)

Mahasarakham University (16 จากเดิมอันดับ 15/1880 จากเดิมอันดับ 1761)

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย URAP 2013 ปรากฏว่าอันดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศของไทยเปลี่ยนไปน้อยมาก แต่อันดับมหาวิทยาลัยโลกของไทยแย่ลงแทบทุกสถาบัน (ยกเว้นมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่อันดับโลกขยับขึ้น และมหาวิทยาลัยบูรพาซึ่งได้รับการจัดเป็นอันดับ 17 ของไทย และ 1878 ของโลกในปี 2555 ไม่ได้รับการจัดอันดับในปี 2556 นี้ ทั้งนี้เกณฑ์ในการพิจารณาจัดอันดับ URAP 2013 ยังเป็นเกณฑ์เดิมที่ใช้ใน URAP 2012 คือประกอบด้วยตัวชี้วัด 6 ตัว คือ 1) Number of Articles 2) Citation 3) Total Document 4) Journal Impact Total 5) Journal Citation Impact Total 6) International Collaboration

ทั้งนี้ รายละเอียดทั้งหมดของการจัดอันดับ URAP 2013 สามารถดูได้ที่เว็บลิงค์ต่อไปนี้

http://www.urapcenter.org/2013

ผมจึงขอส่งเรื่องนี้มายังอาจารย์ เพื่อพิจารณานำขึ้นบล็อกสภามหาวิทยาลัย เพื่อ ลปรร. กันต่อไปตามที่อาจารย์จะเห็นสมควรด้วย จักขอบคุณยิ่ง

มงคล รายะนาคร

ผมขอเพิ่มเติมว่า   ที่จริงมหาวิทยาลัยไทยพัฒนาขึ้นในภาพรวม   แต่พัฒนาขึ้นช้ากว่าภาพรวมของโลก   อันดับของเราจึงตกลง   ประเทศที่อันดับของมหาวิทยาลัยดีขึ้นอย่างชัดเจน และ “ขึ้นทั้งแผง” คือมาเลเซีย   เพราะรัฐบาลของเขามีนโยบายส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่มหาวิทยาลัย   เพื่อใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศให้หลุดกับดักรายได้ปานกลาง

ประเทศไทย อันดับมหาวิทยาลัย “ตกทั้งแผง”    เพราะรัฐบาลไทยทำตรงกันข้ามกับมาเลเซีย   ทั้งๆ ที่มีนโยบายให้ประเทศหลุด middle-income trap เช่นเดียวกัน

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ต.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:54 น.
 

Ranking มหาวิทยาลัยแบบใหม่ : ผูกกับระบบการเงินการคลังด้านอุดมศึกษา

พิมพ์ PDF

บทความเรื่อง Higher Education.  Universities challenged : Barack Obama wants degrees to be better value for money ลงพิมพ์ใน นิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ ฉบับวันที่ ๓๑ ส.ค. ๕๖

 

โลกสมัยนี้ อะไรๆ ก็ต้องใช้เงิน    เรียนมหาวิทยาลัยก็ต้องลงทุน    ดังกรณีโชเฟอร์แท็กซี่ ที่อ้างในบทความ    คุยว่าลูกสาวของตนเรียนจบปริญญาตรีด้านนิเทศศาตร์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน    โดยเบื้องหลังคือ จ่ายไป เกือบ ๕ ล้านบาท ($140,000)    ซึ่งผู้เขียนบทความบอกว่า เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้ม    เพราะการทำงานหนังสือพิมพ์ ไม่ต้องมีปริญญาก็เข้าทำงานได้    จึงเกิดประเด็นว่า ต้องมีการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยในด้านความคุ้มค่าในการเข้าเรียน    ซึ่งก็หมายความว่า การเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่มีชื่อเสียง ก็ไม่ช่วย    ต้องดูกันเป็นรายสาขาวิชาไป

 

บทความบอกว่า ปธน. โอบามา สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการจัดระบบ ranking มหาวิทยาลัยแบบใหม่   ที่เน้นมูลค่าเพิ่มที่บัณฑิตได้รับจากมหาวิทยาลัย    คือดูว่าค่าเล่าเรียนเท่าไร  โอกาสจบมากน้อยแค่ไหน    จบแล้ว ออกไปทำงานมีรายได้เท่าไร    จะใช้ ranking นี้ในปีการศึกษา 2015 ในการจัดลำดับการให้เงินกู้เพื่อการศึกษา

 

ทำให้หวนคิดกลับมาที่บ้านเรา    เงิน กยศ. มีการให้กู้เพื่อเรียนในมหาวิทยาลัยที่คุณภาพต่ำ มากน้อยแค่ไหน   มีหลายแห่งโฆษณาหาผู้เข้าเรียนว่า เรียนฟรี    เพราะเข้าเรียนแล้ว กู้ กยศ. ได้ทุกคน

 

บทความชิ้นนี้บอกเราว่า    สถาบันอุดมศึกษาแค่สอบคัดเลือกรับนักศึกษาเข้าเรียน ยังไม่พอ    ต้องรับผิดชอบจัดการเรียนการสอน ให้จบการศึกษาตามเวลาที่กำหนด    และให้มีทักษะและความรู้ออกไปทำงาน เลี้ยงตัว และทำประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างดี    ในกรณีประเทศไทย ควรมีการจัดระบบข้อมูลเพื่อบอกแก่สังคม ในข้อนี้    นี่คือ university ranking แนวใหม่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ก.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:36 น.
 


หน้า 383 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8601338

facebook

Twitter


บทความเก่า