Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ลือกตั้งอาจไม่ได้นำประเทศไปสู่ประชาธิปไตยเสมอไป

พิมพ์ PDF
รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ 
ชี้เลือกตั้งอาจไม่ได้นำประเทศไปสู่ประชาธิปไตยเสมอไป

สหรัฐฯ ชี้การเลือกตั้งอาจไม่ใช่เครื่องมือที่นำไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงเสมอไป หากผู้นำประเทศนั้น ๆ ขาดความโปร่งใส จนไม่สามารถมอบความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แก่ประชาชนได้

สำนักข่าวเอเอฟพี มีรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ ระบุ จอห์น แคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ แถลงเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (26 กุมภาพันธ์) ถึงประเด็นสถานการณ์ความไม่สงบในหลายประเทศบนโลก ที่เป็นผลมาจากแนวคิดแตกต่างทางการเมือง พร้อมเตือนว่า การเลือกตั้งไม่ใช่เครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงเสมอไปในหลายประเทศ

โดย จอห์น แคร์รี ได้กล่าวถึงกรณีเหตุประท้วงนานหลายเดือนที่นำไปสู่การก้าวลงจากตำแหน่งของอดีตประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูโควิช ของยูเครน ในฐานะตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของ "พลังประชาชน" ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ที่ได้ออกมารวมตัวกันประท้วงเพื่อเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตยอย่างชอบธรรม โดยมีการเคลื่อนไหวที่ยิ่งใหญ่และขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว เกินกว่าที่องค์กรการเมืองจะตั้งรับได้ทัน

การโค่นอำนาจประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูโควิช ที่เกิดขึ้นจากการรวมพลังของประชาชน และการรวมตัวของประชาชนชาวอียิปต์เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ผู้นำคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง ลงจากอำนาจเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตยไม่ได้หมายความว่าต้องมาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว

จอห์น แคร์รี กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทั้งสองประเทศคือกรณีศึกษาที่น่าสนใจว่า แม้รัฐบาลจะมาจากการเลือกตั้งตามกฎหมาย แต่ประเทศนั้นกลับขาดซึ่งแนวทางปฏิรูปอย่างเป็นระบบและโปร่งใส ที่จะสามารถมอบความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงให้กับประชาชน ผลที่ตามมาจึงเป็นการทุจริตอย่างแหลกลาญ และระบบอุปถัมภ์พวกพ้อง ที่ล้วนเป็นเครื่องทำลายเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น

"ประชาธิปไตยไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว คุณอาจมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่อาจไม่มีการปฏิรูปอย่างเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์" 

ทั้งนี้ จอห์น แคร์รี ยังปิดท้ายด้วยการย้อนกลับไปกล่าวถึงยูเครนในยุคยานูโควิช ว่าเต็มไปด้วยการบริหารบ้านเมืองอย่างฉ้อฉล ไม่คำนึงถึงศีลธรรมและประชาชนที่เป็นผู้มอบอำนาจให้ ไม่รับฟังเสียงของฝ่ายค้านและส่งพวกเขาเข้าคุกแทน ซึ่งนั่นไม่ใช่การปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

คัดลอกจาก facebook พิชาญ พงษ์พิทักษ์

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 มีนาคม 2014 เวลา 07:23 น.
 

เลขาธิการสหประชาประชาชาติ

พิมพ์ PDF
เลขาธิการสหประชาประชาชาติ
หักหน้า รัฐบาลไทย
สร้างความรุนแรงขึ้นมาเอง..ต้องแก้ไขเอง..

เลขา UN บัน คี มูน ปฏิเสธคำเชิญของ รมต.ต่างประเทศของไทย ที่ไม่รู้เอาหลักการหรือแนวคิดมาจากไหน ที่จะไปเชิญเขามาแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตอนนี้.โดย นายปัน คี มูน กล่าวแถมท้ายว่า ปัญหาความรุนแรงและความแตกแยกที่เกิดขึ้น รัฐบาลไทยต้องแก้ไขเอง เพราะเป็นผู้สร้างมันขึ้นมาเอง จึงไม่ควรที่จะดึงองค์กรใดๆจากต่างประเทศเข้ามาแทรกแซง ทั้งนี้เพราะปัญหาทั้งหมดรัฐบาลเป็นผู้ก่อต้องรับผิดชอบและแก้ไขให้ได้!!

ประวัติ :

ชื่อ-นามสกุล : บัน คี มูน

วันเดือนปีเกิด : วันที่ 13 มิถุนายน 2487 

ถิ่นกำเนิด : หมู่บ้านอุมซอง ทางเหนือของเมืองจุงเจียง ประเทศเกาหลีใต้

ชื่อคู่สมรส : ยู ซูน แต๊ก นามสกุลเดิมของคู่สมรส 

จำนวนบุตร-ธิดา : 3 คน บุตร 1 คน ธิดา 2 คน

ประวัติครอบครัว 

นายบัน คี มูน เติบโตมาในครอบครัวที่มีปัญหาล้มละลาย เป็นพี่ชายคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 7 คน มีน้องชาย 4 คนและน้องสาว 2 คน

การศึกษา 
- ปี 2528 จบปริญญาโททางด้านรัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปี 2513 จบปริญญาตรีทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
- การศึกษา นักเรียนแลกเปลี่ยนในโครงการของสภากาชาด ซึ่งเขาชนะเลิศจากการแข่งขันภาษาอังกฤษ และได้ไปศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ตำแหน่งปัจจุบัน 
- 2 มกราคม 2550 เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ คนที่ 8

การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ 
- ผู้อำนวยการคณะรัฐมนตรีต่างประเทศของยูเอ็น
- หัวหน้าคณะผู้แทนเกาหลีใต้ประจำยูเอ็น
- ประธานการประชุมสมัชชายูเอ็นครั้งที่ 56 
- มกราคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้
- รัฐมนตรีการค้าของเกาหลีใต้
- 19 ตุลาคม 2549 ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้
- 14 ธันวาคม 2549 เข้าพิธีสาบานรับตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) คนที่ 8
- 2 มกราคม 2550 เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ คนที่ 8 (ต่อจากนายโคฟี อันนัน นับเป็นชาวเอเชียคนที่ 2 ที่เข้ารับตำแหน่งนี้ และเป็นหนึ่งในศิษย์เก่าที่น่าภาคภูมิใจคนหนึ่งของวิทยาลัยเคเนดีของฮาร์วาร์ด (Hardvard's Kennedy School)

ทำงานอื่นๆ : รองประธานคณะกรรมการควบคุมดูแลความร่วมมือด้านนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้

คัดลอกจาก facebook พิชาญ พงษ์พิทักษ์

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 มีนาคม 2014 เวลา 07:27 น.
 

เรียนเพื่อคะแนน หรือเรียนเพื่อตัวเอง

พิมพ์ PDF
ค่านิยมเรียนเพื่อสอบ สอนเพื่อสอบ เป็นมารร้ายตัวใหญ่ที่สุดของการศึกษาไทย ที่เราต้องช่วยกันกำจัดให้ได้

 

จากข้อคิดเห็นของ อ. ภาทิพ ใน บันทึกนี้ ทำให้ผมได้เข้าใจว่า    การศึกษาไทยในปัจจุบัน ได้สร้างค่านิยมผิดๆ ให้แก่นักเรียน อย่างน่าตกใจ    ค่านิยมผิดๆ นี้ จะเป็นตัวทำลายเด็ก

ค่านิยมเรียนเพื่อสอบ สอนเพื่อสอบ เป็นมารร้ายตัวใหญ่ที่สุดของการศึกษาไทย    ที่เราต้องช่วยกันกำจัดให้ได้

สิ่งที่ครู/อาจารย์ ต้องทำคือ   หมั่นพูดคุยกับศิษย์ ว่าเรียนไปทำไม    การเรียนจะมีคุณประโยชน์อะไร แก่ชีวิตของศิษย์ในภายหน้า    หากไม่เรียน ศิษย์จะพลาดโอกาสอะไรในชีวิต

ให้ศิษย์ได้เข้าใจว่า สิ่งที่สำคัญ หรือเป็นเนื้อแท้ของการเรียน คือการเรียนรู้ที่แท้จริง    ไม่ใช่คะแนน   ตัวคะแนนเป็นเพียงเครื่องสะท้อน บอกว่าตัวเด็กได้เรียนรู้อะไรไปแค่ไหนแล้ว

ต้องให้ศิษย์เกิดความเชื่อว่า การเรียนนั้น เป้าหมายเพื่ออนาคตของตนเอง    ไม่ใช่เรียนเพื่อคะแนน

ครูต้องมีทักษะในการชวนศิษย์ “ทบทวนไตร่ตรอง” (reflection/AAR) ว่าตนได้เข้าใจบทเรียน ที่ผ่านไปแล้วอย่างไรบ้าง    ส่วนไหนที่มีเป้าหมายต้องการเรียนรู้ แล้วได้เรียนรู้มากกว่าที่คิด    เพราะอะไร   ส่วนไหนที่ยังรู้น้อย เพราะอะไร    จะปรับปรุงวิธีการเรียนของตนอย่างไรบ้าง    และคิดว่า จะเอาความรู้ที่ได้ ไปทำอะไรในช่วงเป็นนักเรียน    และเอาไปทำอะไรตอนทำงานเป็นผู้ใหญ่แล้ว     กระบวนการแบบนี้ มีอยู่ในหนังสือ ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ ที่ครูเรฟ คอยหมั่นปลุกใจลูกศิษย์ตัวน้อยๆ ชั้น ป. ๕   จนเกิดความมั่นใจตัวเอง เกิดแรงบันดาลใจต่อการเรียนเพื่ออนาคตของตนเอง

 

 

วิจารณ์ ​พานิช

๓ ก.พ. ๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 มีนาคม 2014 เวลา 13:36 น.
 

เรียนโดยลงมือทำ : ๖. AAR นักเรียนนักทำงาน และสร้างสรรค์

พิมพ์ PDF

บันทึกชุดเรียนโดยลงมือทำ รวม ๖ ตอนนี้ ตีความจากหนังสือ Who Owns the Learning? : Preparing Students for Success in the Digital Age โดย Alan November ซึ่งผมตีความว่า เป็นเรื่องการใช้ digital technology ช่วยให้เกิด active learning หลากหลายรูปแบบ    ทำให้เปลี่ยนแปลงบทบาทของนักเรียน เป็นผู้ทำงานสร้างสรรค์ หรือสร้างความรู้เพื่อการเรียนรู้ของตน   ครูเปลี่ยนไปทำหน้าที่ โค้ช หรือ “คุณอำนวย” (learning facilitator)

ตอนที่ ๖ ซึ่งเป็นตอนจบ    เป็นทบทวนสะท้อนความคิด (reflection)  หรือ AAR  หรือโยนิโสมนสิการ    ว่าหนังสือเล่มนี้บอกอะไรเราบ้าง

หัวใจของเรื่องที่ผู้เขียน คือ Alan November สื่อคือ    ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ นี้ นักเรียนต้องย้อนกลับไป เรียนเหมือนสมัยที่สังคมยังเป็นสังคมเกษตรกรรม คือเด็กเรียนจากการทำงาน    เพื่อให้การเรียนรู้เป็น กระบวนการเรียนที่จริงแท้(authentic learning)    เกิดผลการเรียนแบบรู้จริง(mastery learning)    โดยเด็กสมัยก่อนเรียนโดยช่วยพ่อแม่ทำฟาร์ม    Alan November จึงเสนอโมเดลการเรียนรู้แบบทำฟาร์มสมัยใหม่   ที่เขาเรียก ดิจิตัล ฟาร์ม    คือใช้โลกดิจิตัล เป็นเครื่องช่วยให้นักเรียนทำงานเพื่อเรียนรู้

จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้คือ ชี้แนวทางทำงานที่หลากหลายให้นักเรียนจัดแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ ทำงานเป็นทีม    เพื่อเอื้อเฟื้อช่วยเหลือการเรียนรู้ในหมู่เพื่อนและเอื้อเฟื้อออกไปภายนอก กว้างขวางออกสู่โลกด้วย    เป็นการบ่มเพาะนิสัยและทักษะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  และการเป็นพลเมืองโลก

และแน่นอนว่า การเข้าไปฝึกฝนการใช้เทคโนโลยี ไอซีที  และใช้ตัวสารสนเทศที่ค้นได้ อย่างชาญฉลาดและรู้เท่าทัน    จะเป็นการวางพื้นฐานชีวิตที่สำคัญในอนาคต ที่ระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร และโซเชี่ยลมีเดียจะก้าวหน้าไปในลักษณะที่คาดไม่ถึง    พื้นความรู้นี้จะช่วยสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้แก่นักเรียน

นี่คืออีกรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้ ที่จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนบรรลุทักษะ ๓ร  ๑ว   คือทักษะการสร้างแรงบันดาลใจ  การเรียนรู้  ความร่วมมือ  การมีวินัยในตน    รวมทั้งทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ทั้งชุด

จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้สำหรับสังคมไทยคือ เขาเน้นที่การใช้เทคโนโลยี ไอซีที มากเกินไป    ละเลยเรื่องราวในชีวิตจริงที่นักเรียนเข้าไปทำงานได้มากมาย    เช่น (๑) เข้าไปดูแลความสะอาดเป็นระเบียบ เรียบร้อย ของโรงเรียน ในสารพัดแง่มุม    เพื่อช่วยกันทำให้เป็นโรงเรียนที่ร่มรื่นน่าอยู่น่าเรียน    ความเป็นระเบียบ เรียบร้อย และให้ความสุขนี้ตีความได้กว้างขวางมาก รวมทั้งสภาพบรรยากาศที่ปลอดการข่มเหงรังแก    มีที่เล่นออกกำลังกาย มีที่ให้ฝึกคุณลักษณะ (พหุปัญญา) เด่นพิเศษของแต่ละคน   (๒) เข้าเป็นทีมอาสาพัฒนา ชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ หรือตัวนักเรียนอาศัยอยู่    นี่ก็มีประเด็นให้ทำเพื่อการเรียนรู้มากมาย เช่น การจัดการขยะ  การดูแลสภาพแวดล้อม  การดูแลคนชรา ผู้พิการ ผู้ป่วย    การเป็นพี่เลี้ยงเด็กเล็ก   การจัดการป่าชุมชน  เป็นต้น

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑ ม.ค. ๕๗

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 19:22 น.
 

KM วันละคำ : ๖๒๔. วิธีเก็บเกี่ยว Tacit Knowledge

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑๒ ก.พ. ๕๗ คุณหมอสมศักดิ์ชวนทีมเขียนหนังสือ Tacit Knowledge ที่ร่วมกันเขียนร่างแรกเสร็จ มาร่วมประชุม เพื่อ สุนทรียสนทนากัน หาทางใช้ Tacit Knowledge ของแต่ละคนทำความเข้าใจ Tacit Knowledge เพื่อเขียนออกมาเป็นหนังสือ

การอ่านต้นร่างหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผมตระหนักว่า จริงๆ แล้วคนเราใช้ Tacit Knowledge มาก    ใช้อยู่ทุกขณะจิต    โดยไม่รู้ตัว    ทั้งใช้ผิดๆ และใช้อย่างถูกต้อง    ทั้งใช้แบบก่ออกุศลกรรม และก่อกุศลกรรม

แต่ที่ผมคิดว่ามีพลังลี้ลับ ที่เรายังไม่ค่อยได้จับมาใช้ คือ Collective Tacit Knowledge    และ Dynamic Tacit Knowledge    โดยที่ TK สองบริบทนี้เกี่ยวข้องหรือซ้อนทับกัน

TK ของปัจเจก มีพลังสู้ของทีมงานไม่ได้เลย     เพราะของทีมงาน เกิดการหมุนเกลียวความรู้ เพื่อยกระดับความรู้ ได้ง่าย    ซึ่งก็คือ ใช้พลังของความเป็นพลวัต (Dynamism) ของการทำงานร่วมกัน

ถามว่า ใช้ “เคียว” อะไร เกี่ยวข้าว TK    และเอาบรรจุลงภาชนะอะไร

“เคียว” คือ พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้  จิตใจแบ่งปัน  ความเอื้ออาทรไว้วางใจต่อกัน  รับฟังกัน  ชื่นชมยินดีในความสำเร็จของกันและกัน  รวมทั้งการมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ร่วมกัน

ภาชนะใส่ TK คืองาน การทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ  ผลงานที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการทำงานที่ได้รับการยกระดับขึ้น  และตัวผู้ปฏิบัติงานทุกคน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ก.พ. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 19:32 น.
 


หน้า 385 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8598862

facebook

Twitter


บทความเก่า