Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ข่าวดี เรื่องการลงทุนวิจัยของประเทศในภาคเอกชน

พิมพ์ PDF

ข่าวจาก สวทน. ข่าวนี้ ทำให้ผมเริ่มเห็นความหวัง ในเรื่องการยกระดับประเทศไทยออกจาก middle income trap    เพราะในปี ๒๕๕๔ ภาคเอกชนไทยลงทุนวิจัยถึง ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท    เพิ่มจากของปี ๕๓ และ ๕๒ กว่าเท่าตัว    และในปี ๕๔ นั้น ภาคเอกชนไทยลงทุนวิจัยมากกว่าภาครัฐ    คือภาคเอกชนลงทุนร้อยละ ๕๒ ของทั้งประเทศ

 

เมื่อภาคเอกชนขึ้นมาเป็นฝ่ายนำในการวิจัย    สิ่งที่มหาวิทยาลัยจะต้องเร่ง คือ ผลิตนักวิจัยฝีมือดีเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว

 

โครงการผลิตนักวิจัยที่น่าจับตามองคือ พวอ. ของ สกว. เพื่อผลิตนักวิจัยให้แก่ภาคอุตสาหกรรม

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 17:03 น.
 

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

พิมพ์ PDF

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)มีมติแจ้งข้อกล่าวหาต่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี กรณีทุจริตการขายข้าวรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการจำนำข้าวของรัฐบาล นัดรับทราบข้อกล่าวหา 27 กุมภาพันธ์ 2557

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติให้ทำหนังสือแจ้งไปยัง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้รับทราบข้อกล่าวหากรณีทุจริตการขายข้าวรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับโครงการจำนำข้าวของรัฐบาล โดยเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ ในฐานะโฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. แถลงว่า ตามที่ประธานวุฒิสภาให้ส่งคำร้องขอให้วุฒิสภาถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย และมีเหตุควรสงสัยว่าปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าว โดยเพิกเฉยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้น 

ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติให้ไต่สวนข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวมาระยะหนึ่งแล้ว ปรากฏว่ามีพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคลและเอกสารยืนยันชัดเจนว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้รับหนังสือจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ทักท้วงว่าโครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาทุจริตอย่างมหาศาล โดยเฉพาะการทุจริตทุกขั้นตอนและทุกกระบวนการในการดำเนินการ 

อีกทั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ยังทราบเรื่องทุจริตในการดำเนินโครงการจากการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร และได้รับรายงานว่าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกว่าเสียหายถึง 2 แสนล้านบาท และชาวนาที่เข้าโครงการก็ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ประกอบกับมีหนังสือจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินให้ทบทวนและยุติโครงการดังกล่าวแล้วด้วย 

แต่แทนที่จะระงับยับยั้งโครงการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ มาตรา 11 (1) กลับยืนยันที่จะดำเนินโครงการต่อไป จึงแสดงถึงเจตนาของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ที่จะปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 178 อันเป็นเหตุแห่งการถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 270 คณะกรรมการ ป.ป.ช. 

ป.ป.ช. จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้มีหนังสือเรียก นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกกล่าวหามาพบและแจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบตามระเบียบไต่สวนการทุจริต ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 14.00 น.

คัดลอกจาก facebook ของคุณพิชาญ พงศ์พิทักษ์

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 16:57 น.
 

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นตามกฎหมาย

พิมพ์ PDF

การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) กลุ่มภาคเหนือ

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล

กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นตามกฎหมาย

ณ โรงแรมอโมร่า ท่าแพ จ.เชียงใหม่

17 มกราคม 2557

อ.จีระ : ผมเคยตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายอยากให้คนไทยอยู่ดีกินดี มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม

- วิทยุกระจายเสียง ต้องตั้งคำถามว่ามีเพื่ออะไร

- ประโยชน์ที่แท้จริง คือ ทุกคนต้องได้ประโยชน์

- คลื่นวิทยุ เป็นสมบัติของประเทศ กสทช.ต้องบริหารจัดการ

- การวิจัยไม่ได้เกี่ยวกับกฎหมายโดยตรง เกี่ยวกับการบริหารจัดการ เศรษฐกิจ สังคม

- ขอให้ทุกท่านทำให้วิทยุเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศไทย

- วันนี้เทคโนโลยีเป็นหัวข้อหนึ่งที่จะต้องพิจารณา

-ข้อดีของวิทยุ ผู้ประกอบการเป็นรายเล็กได้ เป็นเทคโนโลยีที่ไม่แพง ต้องมีสาระและให้ประโยชน์แก่ประชาชน แต่ทำอย่างไรถึงจะทำให้สิ่งเหล่านี้กระจายไป และทำประโยชน์ให้ประชาชนอย่างแท้จริง อะไรเป็นจุดอ่อนในอดีตและอนาคต

-ในประเทศสวีเดน และนอร์เวย์ ทำให้ประชาชนของเขาฉลาดขึ้น (Wiser Citizen)

- ขอสรุปว่าในวันนี้หากเราต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนที่มาเข้าร่วมประชุมในวันนี้ ตัวเราต้องถามตัวเองก่อนว่ามีความรู้จริงหรือไม่ในการทีจะไปถ่ายทอดความรู้ต่อ ขอเสนอแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาฝึกอบรม ทั้งเรื่องเทคโนโลยี Social media เน้นเรื่องระบบ 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

- ประเทศที่เจริญแล้ว คืออยากทำให้ประชาชนในประเทศฉลาดขึ้น เห็นอะไรถูก ผิดก็ต้องบอก สื่อต้องเป็นหลัก เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มองอนาคต มองความยั่งยืน รักษาความหลากหลายไม่ใช่เป็นเป้าหมายในการทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

- วิทยุเป็นเครื่องมือที่ถูกและสามารถกระจายได้ง่าย และสามารถเผยแพร่กระจายความรู้เรื่องสาระ ความรู้ได้ดีมาก ปัญหาในปัจจุบันนี้คือคลื่นวิทยุชุมชนทับซ้อนกับคลื่นวิทยุการบิน ถือเป็นปัญหาใหญ่

ความคิดเห็น: คุณมงคล คลื่นเสียงประชาชน จ.ลำพูน ตามกฎหมายไม่มีการบังคับเรื่องการใช้ภาษาของสื่อ แต่หากมีการขอให้สอบผู้ประกาศ ก็ยินดี การคิด การทำอะไรให้สังคมให้ตรงตามความต้องการของสังคมเป็นสิ่งที่ต้องทำ

ศุภชัย ยะคำป้อ : เครื่องบินที่บินผ่านไปผ่านมา สามารถรับคลื่นชุมชนได้ทุกคลื่น ต้องมีการลดปัญหา ที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง

คุณพิชญ์ภูรี: ขอเริ่มด้วยงานวิจัย และขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมวันนี้ การพัฒนาวิทยุกระจายเสียงและพัฒนาทุนมนุษย์ บางสถานีก็ไม่มีใบอนุญาต จึงเกิดปัญหาที่ต้องคุยกัน ซึ่งตามที่คุณสาธิตบอกว่าเราทำไปด้วยความไม่รู้ว่าไปรบกวนวิทยุการบิน อยากให้ทุกคนเป็นแนวร่วมกันต่อไป

ขอนำเสนอภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันของวิทยุกระจายเสียง

ความเป็นมา

พ.ศ. 2470 - ถือกำเนิด

พ.ศ. 2473 - สถานีวิทยุแห่งแรกของไทยสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท

ความมุ่งหมายเพื่อ “ส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย และการบันเทิงแก่พ่อค้าประชาชน”

สภาพการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2475- 2500

ยุคชาตินิยม/ข่าวสารสงคราม/โฆษณาชวนเชื่อ

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2407 – สถานีวิทยุเชิงพาณิชย์แห่งแรก คือ สถานีวิทยุกระจายเสียง ททท.

- พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยจอมพลสฤษดิ์เริ่มยุคการค้าในระบบอุปถัมภ์โดยเผด็จการทหาร

สภาพการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2511- 2520

การจัดระเบียบว่าด้วยวิทยุฯ ของทางราชการ

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2520 – มติรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์

ก่อตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย(อสมท.)

ความพยายามที่จะรวบอำนาจการควบคุมวิทยุกระจายเสียงมาไว้ในกรมประชาสัมพันธ์

สภาพการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2532- 2540

ยุคอุตสาหกรรมการสื่อสารระบบทุนนิยมเสรี

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2532 – การเปลี่ยนแปลงให้เอกชนรับสัมปทาน หรือ เช่าช่วงเวลาจากรัฐ

มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด

พ.ศ.2540 – การปฏิรูปสื่อโดยรัฐบาล คมช.

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนปฏิรูป

กรรมสิทธิ์ในความถี่- เป็นของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะรัฐโดยส่วนราชการ ธุรกิจเอกชน และชุมชนมีสิทธิ์ใช้และเข้าถึงได้โดยเท่าเทียมกัน

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงภายหลังการปฏิรู

ใบอนุญาตคลื่น- เป็นของผู้ประกอบการโดยได้รับอนุญาตจากองค์กรอิสระ กสทช.ตามพรบ. องค์กรคลื่นและพรบ.กิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ.2543

- ในมาตรา 12 พรบ.กิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2543 ให้สิทธิ์แก่กรมประชาสัมพันธ์ในการใช้คลื่นความถี่วิทยุ-โทรทัศน์

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนการปฏิรู

ใบอนุญาตประกอบการสถานีวิทยุ(โทรทัศน์)

- ส่วนราชการไม่ต้องขอใบอนุญาต ได้รับยกเว้นตาม พรบ. วิทยุและโทรทัศน์ 2498

- เอกชนต้องขออนุญาตจาก กกช. กรมประชาสัมพันธ์ตาม พรบ.วิทยุและโทรทัศน์ 2498 และกฎกระทรวงฉบับที่ 14

- ส่วนราชการอาจดำเนินการบริหารสถานีเองหรือให้สัมปทาน (เวลา) แก่เอกชนทั้งหมดหรือให้เพียงบางส่วนและผลิตรายการเองบางส่วน

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงภายหลังการปฏิรูป

- เป็นของผู้ประกอบการโดยได้รับอนุญาตจากองค์กรอิสระ กสช. ตาม พรบ.องค์กรคลื่นความถี่ และพรบ.กิจการวิทยุและโทรทัศน์ฯ ซึ่งแบ่งประเภทใบอนุญาตเป็น

1.สื่อของรัฐ (บริการสาธารณะ)

2.สื่อของธุรกิจเอกชน(ค้ากำไร)

3.สื่อของภาคประชาชน (ไม่ค้ากำไร) เช่นสื่อชุมชน

ข้อสังเกต : มีการกระจายการใช้และการเข้าถึงคลื่นออกไปสู่ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชนโดยตรง ลดการผูกขาดของรัฐลงไป ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนการปฏิรูป

การให้สัมปทาน : - ส่วนราชการให้สัมปทานแก่เอกชนที่เป็นบุคคล หรือผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทนายหน้าค้าเวลาหรือผู้ผลิตสื่อในลักษณะการเช่าเหมาทั้งคลื่นหรือการประมูลคลื่น โดยอาจมีสัญญาหรือไม่มีสัญญาสัมปทาน

- ในกรณีที่มีสัญญาเช่น การสร้างสถานีแห่งใหม่อาจมีเงื่อนไขแบบ BTO หรือ BOT และระยะเวลาสัมปทานค่อนข้างยาว 20-30 ปี (เช่น ช่อง 3,ไอทีวี)

ข้อสังเกต : มีผู้รับสัมปทานสองประเภท

1.นายหน้าค้าเวลา 2.ผู้ประกอบการสื่อและผู้ผลิตรายการ

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงหลังการปฏิรูป

ยกเลิกระบบการให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชน โดยส่วนราชการต่าง ๆ เปลี่ยนมาเป็นระบบการได้รับใบอนุญาตโดยตรง

ข้อสังเกต : ลดความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ระหว่างส่วนราชการและธุรกิจเอกชน ในทางเศรษฐกิจและการเมืองทำให้ระบบโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกมากขึ้นโดยเอกชนต้องรับผิดชอบเนื้อหาสาระรายการ

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนการปฏิรูป

การให้เช่าเหมาเวลา

ส่วนราชการให้เอกชนที่เป็นบริษัทนายหน้าค้าเวลา เช่าเหมาเวลา (สถานีวิทยุ) ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการนำเวลาไปให้เช่าต่อโดยแบ่งเป็นช่วงเวลา (เช่น 2,4,6,8 ชม./วัน/เดือน) ให้ผู้ผลิตรายการขนาดกลางหรือรายการอิสระเช่าช่วงนำไปผลิตรายการ

บริษัทเอกชนผู้เช่าเหมารายใหญ่ มักมีสถานี 5-50 สถานีในเครือของคนข้อสังเกต : ผู้ประกอบการเช่าเหมาเวลาเป็นคนกลางจัดการด้านการตลาด ส่งผลให้เวลามีราคาแพง และกระจายไปทั่วถึง

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงหลังการปฏิรูป

การให้เช่าเหมาเวลา

ยกเลิกการเช่าเหมาและการเช่าช่วงเวลาโดยผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้รับผิดชอบบริหารเวลาการจัดและการผลิตรายการด้วยตนเอง

- กสทช.วางหลักเกณฑ์ส่งเสริมผู้ผลิตรายการอิสระและรายย่อยที่รวมตัวกันด้วยการให้ใบอนุญาตสถานีขนาดเล็กและขนาดกลางและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเช่าเหมาเวลาปรับฐานะเป็นผู้รับใบอนุญาตโดยการรวมกลุ่มผู้เช่าช่วงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสถานีหรือซื้อรายการจากผู้ผลิตเหล่านี้ และมีการแบ่งเวลาให้ผู้ประกอบการรายย่อย ตามกรอบของกฎหมาย

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนการปฏิรูป

ผู้ชมผู้ฟัง

แบ่งออกเป็น

1. ผู้ที่เป็นมวลชนกลุ่มใหญ่ตรงกับเป้าหมายของบริษัทโฆษณาสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น กลุ่มแม่บ้าน ,กลุ่มวัยรุ่น, กลุ่มเกษตรกร ซึ่งนิยมรายการบันเทิงประเภทละครตลกเบาสมอง/ดนตรี

2. ผู้ที่เป็นมวลชนหรือฐานการเมืองของรัฐ

3. ผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม เช่น นักธุรกิจ ชนชั้นกลางในเมืองใหญ่

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงหลังการปฏิรูป

ผู้ชมผู้ฟัง

แบ่งออกเป็น

1.ผู้ที่เป็นมวลชนกลุ่มใหญ่ ตรงกับเป้าหมายของบริษัทโฆษณา เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มเกษตรกร ซึ่งนิยมรายการบันเทิงประเภท ละคร ตลก เบาสมอง ดนตรี

2. ผู้ที่เป็นมวลชนหรือฐานการเมืองของรัฐ

3. ผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม .ซึ่งกระจายหลากหลาย รวมทั้งกลุ่มผู้รับในท้องถิ่น

4. กลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มต่าง ๆ จะมีโอกาสได้รับชมรายการแบบทางเลือก

5. ประชาชนมีโอกาสใช้สิทธิ “พูด” ได้โดยตรงในกรณีที่ไม่ได้รับบริการจาก 1-4

การทัศนศึกษาและดูงาน ณ ประเทศสวีเดน และประเทศนอร์เวย์

ประเทศสวีเดน The Swedish Broadcasting Commission (SBC)

ปัญหาของการนำสื่อในทางที่ผิดค่อนข้างน้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องดูแลสิ่งที่ผิดจริยธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของกสทช.

ข้อสำคัญคุณภาพของประชาชนมีคุณภาพมาก บทบาทของรัฐในการดูแลคุณภาพวิทยุจะน้อย เพราะสถานีวิทยุสามารถดูแลกันเองได้ ต่างจากประเทศไทยที่ต้องให้บทบาทของภาครัฐดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะประเทศสวีเดนเน้นเรื่องการมี Freedom of speech

หน่วยงานของประเทศไทย ต้องมีการวิจัยวิเคราะห์ว่าถ้ามีการร้องเรียนจากประชาชนจะทำอย่างไร

กสทช.ไม่สามารถควบคุมดูแลรายการวิทยุได้ทั้งหมดเพราะมีจำนวนมาก

ส่วนประเทศนอร์เวย์ไม่ดูเรื่อง Content

สรุปได้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว Commissioner ปลอดจากการเมือง

ประเทศนอร์เวย์ ดูงานที่ The Norwegian Media Authority

  • -มีการวางแผนเรื่อง digital radioมาแล้ว 2 ปี มีทฤษฎี Migration ให้เวลาถึงปี2018
  • -มีความหวังในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกับประเทศไทย
  • -ข้อเสีย ประชาชนส่วนมากร่ำรวย วิทยุไม่มีปัญหาอะไร ดูแลเฉพาะสัญญาที่ไม่ถูกต้อง เงื่อนไขไม่ถูกต้อง แต่ไม่ดูเรื่อง Content ให้ผู้ประกออบการดูแลกันเอง
  • -2ประเทศ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ของคน บางครั้งมีสื่อเข้าแทรกแซง

คนระดับรากหญ้าในประเทศไทยมีประมาณ 50-60% หากไม่สามารถพัฒนาคนได้ ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องวิทยุได้ ต้องยกระดับผู้ฟังให้เป็นคนที่คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ตัดสินใจด้วยตัวเองได้ ต่อไปก็สามารถควบคุมได้ด้วยตัวเอง

การวิจัยครั้งนี้เป็นเส้นทางการพัฒนาคนในวงการวิทยุ ต้องพัฒนาคนฟังด้วย ถึงแม้จะมีจำนวนมากก็ตาม ต่างกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่สามารถควบคุมดูแลได้ด้วยตัวเอง ซึ่งวัดกันที่ฐานของปีระมิด

องค์กรในประเทศนอร์เวย์ดูแลเฉพาะการให้ใบอนุญาตเท่านั้น

ดูงานที่ The Norwegian Broadcasting Corporation (NRK)เน้นการทำงานเพื่อส่วนรวม ต้องการทำให้ประชาชนในประเทศฉลาดขึ้น

สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประเทศไทยที่ยังมีการเหลื่อมล้ำ เรื่องเศรษฐกิจ ใช้สื่อในทางที่ผิด

สิ่งสำคัญที่สุดคือ เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา เน้นเรื่อง Infrastructure แต่ไม่เน้นเรื่องการพัฒนาคน การศึกษา มีอิทธิพลของการเมือง ไม่ลงทุนเรื่องคนอย่างแท้จริง หากเราทุ่มไปที่ประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่จะทำให้ประเทศพัฒนามาก

หน่วยงานบางหน่วยงานมีน้อยมาก ไม่ถึง 50 คนก็สามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพได้

พื้นฐานของคนในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน โดยที่วิทยุจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ในแต่ละประเทศ

คุณพิชญ์ภูรี

กรอบคำถาม

วิทยุกระจายเสียง

1. เนื้อหา และการสร้างสรรค์รายการ ปัญหา ปัจจุบัน และในอนาคต

สภาพสถานการณ์ปัจจุบัน

คุณมงคล:

ปัญหาที่เกิดคือ ความไม่มั่นคงของสถานีวิทยุภาคประชาชน กฎหมายทำลายความเป็นธรรมชาติ ความสุขของการทำงาน มีการประมูลทำให้เกิดความวุ่นวายและสูญเสีย คือไม่สามารถแข่งกับผู้ที่มีเงินเยอะๆ ได้

ทางออกที่ไปประมูล ทำให้เกิดความวุ่นวายในอนาคต ขอเสนอเรื่องนี้ว่ากสทช.ควรรีบดำเนินการไม่ให้เกิดขึ้นอีก

คุณสถาพร:

เรื่องการพัฒนาคน ผมมาจากวิทยุชุมชนเล็กๆสามารถเปิดโอกาสให้ไปดูงานได้หรือไม่

อ.จีระ: เสนอมาได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้วิจัยเท่านั้น

คุณพิชญ์ภูรี: ขอเสนอให้มีความคิดเห็นเรื่องการวิจัยในกลุ่มภาคเหนือ

อาจารย์ปณพร:

เรื่องกฎหมายมาตรา 47 องค์การอิสระกสทช.จ้องมีการจัดให้เป็นเสรีและเป็นธรรม ประเภทบริการชุมชน กสทช.ต้องมีการจัดสรรให้ ส่วนประเภทธุรกิจ เอกชน ผู้เสียเปรียบคือรายย่อย มีการรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องสิทธิว่ากสทช.ต้องโอบอุ้มให้รายย่อยยังอยู่ได้

ในเรื่องเนื้อหา จากการวิจัย เรื่องวิทยุชุมชนมีบทบาทคือสถานีกระจายข้อมูลข่าวสาร ท้องถิ่น วิทยุบริหารชุมชน คือ รับใช้ชุมชน รับใช้ท้องถิ่น วิถีชีวิต เน้นสาระความรู้ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ของทางล้านนา

สัดส่วนผังรายการเน้น สาระความรู้ 70% บันเทิง 30%

อ.จีระ: หากไปสำรวจผู้ฟังภาคเหนือ เน้นศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา เคยมีการสำรวจมาแล้วหรือไม่

อาจารย์ปณพร:: ต้องเช็คทั้ง 2 ทาง คือ ผู้ฟัง ด้วย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทำงานอยู่ที่บ้าน เน้นใช้ภาษาท้องถิ่น

อ.จีระ: สามารถยืนยันได้จากการดูงานเช่นกัน ถ้าผลวิจัยออกมาแล้ว

คุณพิชญ์ภูรี: ต้องใช้งบเท่าไหร่ในการจัดตั้งวิทยุชุมชน

อาจารย์ปณพร:: ทั้งประเทศ 80,000-100,000 บาทต่อปี หรือ 1-3 ปีแรกควรให้เท่าไหร่

บางท่านอยากให้มาจากกสทช. 50% และออกเอง 50%

คุณพิชญ์ภูรี: ความเป็นไปได้ในการรวมกลุ่มเป็นสมาคมและแบ่งเป็นช่วงเวลาอย่างยุติธรรม

อาจารย์ปณพร: ผังรายการที่จัดเป็นจิตอาสา ไม่ได้เป็นมืออาชีพ ไม่มีค่าตอบแทน คนที่ฟังก็เป็นคนในชุมชน ไม่สามารถแบ่งเป็นช่วงเวลาได้เพราะทุนต่างกันไม่เหมือนวิทยุเอกชน

วิทยุเอกชน การเมือง และอื่นๆที่ทับคลื่นมากมาย ไม่ใช่เฉพาะชุมชนเท่านั้น วิทยุชุมชนใช้ระบบอาสาสมัครเป็นหลัก ส่วนใหญ่วิทยุภาคเหนือ เปิด8 โมง ปิด 18.00 น. หรือขึ้นกับความพร้อมของชุมชนนั้นๆ

คุณ…… : ไม่สามารถจะไปแบ่งกลุ่มเชิงเทคนิค หรือ Time sharing อยากให้มองสภาพชุมชน อาชีพ ซึ่งมองแล้ววิทยุชุมชนแยกไม่ได้อย่างแน่นอน

รูปแบบของการจัดการต้องมีรูปแบบที่ชัดเจนและหลากหลายกันไป

คุณพิชญ์ภูรี: อยากให้ทุกคนหาทางออก ท่านใดเป็นชุมชนกึ่งธุรกิจ รวมถึงเรื่องการเมือง อยากให้ความเห็นกับเรื่องนี้

คุณมงคล: การแบ่งกลุ่มสมาคมก็ทำอยู่แต่ยังไม่เป็นไปได้ด้วยดี ต้องมีกสทช.เข้าร่วมกำกับด้วย การรวมแต่ละจังหวัด ยังไม่สำเร็จ วิทยุธุรกิจกึ่งชุมชน เป็นมืออาชีพไม่เดือดร้อน แต่วิทยุชุมชนจริงๆนั้นหาทุนจากการถอดผ้าป่า วิทยุธุรกิจ 90% ไม่สามารถแบ่งเวลาได้ ต้องออกเวลาเต็มๆ

การนำเสนอวิทยุธุรกิจชุมชน ต้องนำเหตุการณ์ของชุมชนออกข่าวทุกวัน แสวงหารายได้ และช่วยเหลือตัวเองได้และสามารถเข้าถึงชุมชนได้จริงๆ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละภาคส่วนด้วย

คุณพิชญ์ภูรี: คุณมงคลแบ่งออกจากที่จัดกลุ่มไว้ 3 กลุ่ม หากมีการประมูลก็กลัวว่าโอกาสเหล่านี้ก็หายไป

คุณมาณพ ชัยประสิทธิ์ กสทช.เชียงใหม่ : ไม่ต้องกลัวว่าหากเป็นระบบดิจิตอลแล้วไม่มีคลื่น เรื่องคลื่นรบกวนไม่ต้องกังวลเพราะปีนี้ต้องนำเครื่องไปตรวจมาตรฐานในด้านต่างๆ หรือเครื่องไทยทำ

คุณพิชญ์ภูรี: ขอกลับมาเรื่องเนื้อหกา

คุณกัณภัทร แม่แตง เชียงใหม่: เป็นวิทยุชุมชนสำหรับคนทำงานชาวไร่ ชาวสวน ที่ไม่มีเวลามาวัด อยากให้ธรรมะเข้าถึงทุกๆคน สิ่งที่ได้กลับมาคือ ร่วมจัดงานเป็นจำนวนมาก วัดไม่มีคลื่นรบกวน วัดไม่ได้ประโยชน์ ต้องการให้คนที่ต้องการได้บุญจริงๆ และจดทะเบียนกับกสทช.เรียบร้อยแล้ว

  • -ผู้ฟัง (ชุมชน และชุมชนกึ่งธุรกิจ)

คุณพรชัย 103.25 : วิทยุชุมชนนั้นศักยภาพของผู้ที่บริหารจัดการเป็นความยากลำบาก เพราะสังคมเปลี่ยนไป การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครเริ่มหายาก ได้นำเสนอว่า แต่ละชุมชนมีศักยภาพที่ไม่เสมอกัน

มีการนำเสนอว่า นำสิ่งๆดีๆแต่ละช่องมาไขว้กัน ระหว่างสถานีวิทยุชุมชน ผ่านเทคโนโลยีด้านอินเตอร์เนต ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน ถ้าเรามีสถานีกลางจะเป็นไปได้หรือไม่ ในทางกฎหมายจะเป็นได้หรือไม่ แต่การไขว้กันก็มีโอกาสเป็นไปได้ ทุกชุมชนที่ไขว้กันก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด

อ.จีระ : อยากให้เสนอโครงการทรัพยากรมนุษย์ของชุมชน ซึ่งในอนาคตต้องเป็นชุมชนที่อยู่ในโลกาภิวัตน์ด้วย

อาจารย์...... : กลยุทธ์ลักษณะของสื่อที่สร้างศรัทธาให้ประชาชน หากกสทช.ไม่กำกับดูแล ก็อาจจะมีคลื่นของวัดออกมากมายก็เป็นไปได้

คุณพิชญ์ภูรี: ต้องเน้นผู้ฟัง และต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย

คุณมาณพ ชัยประสิทธิ์ กสทช.เชียงใหม่: มีการกำหนดอยู่แล้วว่าต้องมีการ Monitor สถานีนั้นๆ ถ้ามีสถานีไหนที่คนร้องเรียน ก็ต้องตรวจสอบก่อน คือ เตือน และ ถอนใบอนุญาต

ทางสถานี Monitor กันเองอยู่แล้ว มีเรื่องร้องเรียนกันมาทุกวัน

คุณ : นอกจาก Monitor แล้ว ต้องมีการ Training ด้วย รายการวิทยุต้องให้ประโยชน์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือจัดอบรมบ้าง

คุณนักจัดรายการ: นักจัดรายการบางคนไม่มีคอนเซปของตัวเอง การแก้ไขต้องแก้ที่ตัวบุคคล ว่าต้องดูแลบุคลากรด้วย เวลามีการเตือนก็เตือนมาที่นายสถานี ไม่ได้เตือนนักจัดรายการ

คุณพิชญ์ภูรี: นักจัดรายการเป็นผู้ส่งข่าวความรู้ เป็นนักวิเคราะห์เองด้วย

ดนุพิทย์ เทวิน ผู้นำท้องถิ่น: อยากให้ยืนอยู่ในหลักของคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ และภาษาที่จะใช้ ในช่วงปีใหม่มีนักจัดรายการนำเสนอในการใช้ภาษาคำเมือง แต่มีข้อตำหนิคือ ใช้ภาษาไม่ได้ 100%

คุณมงคล ชัยวุฒิ : ในระยะต่อไป ผู้จัดรายการต้องมีวิธีการจัดข้อมูลเพื่อนำเสนอ วัตถุดิบเหล่านั้นต้องผ่านความคิดสร้างสรรค์ ทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านั้นน่าสนใจ สถิติพบว่าคนเสพสื่อวิทยุน้อยลงเรื่อยๆ ถ้าไม่แก้ไขเรื่องนี้

คุณมงคล ยองเพชร: วิทยุธุรกิจ การไขว้กันจะยาก แต่สิ่งที่จะนำเสนอการตั้งกรอบ ต้องมีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ เด็กสมัยใหม่ไม่รู้คำเมืองเก่าๆ

อาจารย์ : Case จากทางสถานี คือเรื่อง Content วัตถุประสงค์ ไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ เนื่องจากไม่เคยปฏิบัติ เครือข่าย 10 สถานี 12.00-13.00 เป็นข่าวจากหลายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ซึ่งเกิดเป็นเครือข่ายได้

คุณสาธิต: ปัญหาที่เกิดคนสร้างสื่อ สื่อสร้างคน คนเรารู้กรอบกติกา แต่ไม่ทำกรอบกติกาทุกคน ถ้าคนสร้างสื่อเป็นคนดี คนที่รับสื่อก็ต้องดี ถ้าทุกคนอยู่ในกรอบ การกำกับของกสทช.ก็ง่ายขึ้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่กฎหมาย แต่อยู่ที่ตัวคน

อ.ประสพสุข: การส่งกระจายเสียงวิทยุ มีวิทยุชุมชนกึ่งธุรกิจอยู่ภายใต้ ถึงแม้จะเป็นแปดหมื่น ถึง หนึ่งแสนบาท เมื่อจำเป็นต้องเอาโฆษณาเข้ามา วิทยุชุมชน ก็คิดเช่นเดียวกับวิทยุชุมชนกึ่งธุรกิจแม้ว่ากสทช.จะบอกว่าเรื่องที่แข่งขันกันนั้นก็ผิดกฎหมายกันทั้งคู่ ปัญหาของกสทช.ก็มีปัญหาตรงที่ไปกำกับดูแลไม่ได้ บางท่านเสนอเรื่องการลดค่าใช้จ่ายของวิทยุชุมชน โดยการไขว้สถานี ซึ่งเป็นทางการแก้ปัญหาหนึ่ง แทนที่จะใช้วิทยุไททัม ทั้งหมดขึ้นอยู่กับคุณภาพของบุคลากร หมายถึงทุกๆฝ่าย จริงๆแล้วควรให้ความร่วมมือระหว่างกันมากกว่าร้องเรียนกันเอง เพราะฉะนั้นจริยธรรม จรรยาบรรณของกลุ่มแรก คือ ผู้บริหารสถานีเกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานี รวมกันเป็น Self-regulate หรือให้กสทช.เป็นตัวกลาง ความร่วมมือจะนำไปสู่ Win win solution

กลุ่มที่ 2 คือ นักจัดรายการ ต้องมีจรรยาบรรณของนักจัดรายการที่ต้องได้รับการพัฒนา

กลุ่มที่ 3 Media regulator ผู้ฟังควรรู้สิทธิของตัวเอง ควรจัดรายการประเภทไหนถึงถูกใจคนฟัง

ประเด็นสุดท้ายวิทยุชุมชนเป็นสื่อที่ให้ความรู้ พัฒนาสติปัญญาของชุมชน ผู้สูงวัย คือผู้ทำงานอยู่ที่บ้าน ต้องคิดว่าทำอย่างไรถึงพัฒนาวิทยุชุมชนให้ถูกใจกลุ่มเยาวชนและเด็กๆบ้าง

กลุ่มภาคเหนือ มีปัญหาเรื่องการรวมกลุ่มที่ไม่เป็นเอกภาพ อยากให้กสทช.เป็นแกนกลางของกลุ่มวิทยุชุมชนในภาคเหนือ เพื่อความเป็นปึกแผ่นมากกว่าให้เขาทำกันเอง

คุณวรวุฒิ: ขอใช้มาตรฐานเป็นตัวนำ ต้องมีการพัฒนามาตรฐาน กระบวนการในการพัฒนาและปฏิรูปต้องดูว่ามีอะไรบ้าง ผู้ส่งสาร ไม่ใช่เรื่องคนอย่างเดียว เรื่องอุปกรณ์ส่ง เรื่องสถานะส่ง ถ้าผู้ส่งมีมาตรฐานพอ ก็มองเรื่องผู้ฟังเป็นเรื่องรอง

อ.จีระ: การพัฒนาทุนมนุษย์ด้วย 8K’s + 5K’s และการบริหารทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ

Standard มีมาตรฐาน

Quality มีคุณภาพ

Excellence มีความเป็นเลิศ

Benchmarking เทียบเคียงกับคู่แข่งได้

Best Practice เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุด

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

บรรยากาศของการเรียน 4L’s

Learning Methodology วิธีการเรียนรู้

Learning Environment บรรยากาศการเรียนรู้

Learning Opportunities โอกาสการเรียนรู้ มีการประทะกันทางปัญญา

Learning Communities ชุมชนแห่งการเรียนรู้

ทุกวันนี้ต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องข้ามศาสตร์

คุณสมศักดิ์: มีการร้องเรียนไปที่ CALL CENTER ถ้าเรื่องอาหารและยา ถามสาธารณะสุขจังหวัดว่าออกได้หรือไม่ ปัญหาเรื่องการร้องเรียนก็ลดลง กสทช.เขต วิทยุชุมชนต้องรู้จักเพียงพอต่อความต้องการ อยากให้มูลนิธิจัดการอบรมแบบนี้อีก

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 17:51 น.
 

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง บริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

พิมพ์ PDF

การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) กลุ่มภาคตะวันออก

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง

บริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557

โรงแรมไดอาน่า  by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; font-weight: bold !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">รีสอร์ท การ์เด้น จ.ชลบุรี

คุณพิชญ์ภูรี: เนื้อหาวันนี้เพื่อนำไปสู่แผนพัฒนากิจการกระจายเสียง ถ้าเห็นว่าแบบสอบถามขาดด้านไหนไปก็ขอให้ทุกท่านช่วยร่วมกันปรับปรุง

วันนี้มีการแชร์ประสบการณ์ที่ได้ไปดูงานที่นอร์เวย์ สวีเดน

ศ.ดร.จีระ: ขอขอบคุณผู้ประกอบการวิทยุ เจ้าของสถานี ผู้นำท้องถิ่น ผู้แทนเมืองพัทยา หากเรามีสื่อวิทยุที่มีประโยชน์ต่อประเทศทำให้สังคมดีขึ้น ทำให้คนมีความรู้มากขึ้น อย่างเช่นประเทศนอร์เวย์สวีเดนสื่อวิทยุทำให้คนในประเทศฉลาดมากขึ้น ประเทศไทยก็ควรจะพัฒนาสื่อวิทยุให้มีประโยชน์ต่อประชาชนเช่นกัน วันนี้ไม่ได้ทำเฉพาะ Focus group อยากมองถึงอนาคตร่วมกันในเรื่องของการพัฒนาสู่อาเซียน

กสทช.เป็นองค์กรที่มีภารกิจหลายอย่าง เรื่องวิทยุเป็นเรื่องสำคัญ มูลนิธิดูแลเรื่องวิจัยฯ เป้าหมายคือ เรามาที่นี่เพื่ออะไร What need to be done

สื่อต้องทำให้สังคมดีขึ้นเช่น ประเทศ สวีเดน นอร์เวย์ยังเปิดโอกาสให้พวก Immigrant จากอิหร่านเปิดโอกาสให้ทำวิทยุชุมชน วิทยุจึงเป็นเทคโนโลยีที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย

ผู้ประกอบการวิทยุต้องพัฒนาศักยภาพของคน การใฝ่รู้ ต้องมีแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องพัฒนาตัวเอง และต้องมีคุณธรรมจริยธรรม

กสทช.ดูแลสื่อทุกชนิด เป็นองค์กรที่มีอิทธิพลมาก แต่ต้องถามว่าทำให้สังคมเป็นสังคมที่ฉลาด ทันเหตุการณ์ เขาถึงประชาชน แล้วหรือยัง

ในฐานะทีเป็นหัวหน้าทีมวิจัย ทุกท่านที่เสนอแผนวันนี้ เป้าหมายหลักคือช่วยกันให้ความเห็นว่าเส้นทางเดินนโยบายของวิทยุจะเป็นอย่างไร อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วม ขอบคุณผู้แทนทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และทำอย่างต่อเนื่อง

ถ้าเราสามารถพัฒนาคนให้เป็นรูปธรรมได้ วงการวิทยุจะดีกว่านี้อีกมาก ควรมีองค์กรที่นำไปสู่เป้าหมายของประชาชน ทั้งเรื่อง

การเมือง

เทคโนโลยี

เศรษฐกิจ

สังคม

เสนอแนะโครงการที่จะพัฒนาทุนมนุษย์ในวงการวิทยุ เช่น ที่เชียงใหม่มีการถกเถียงเรื่องการสอบใบผู้ประกาศวิทยุ

ถ้าเราจะพัฒนาทุนมนุษย์แล้วต้องคิดว่า purpose ของเราอยู่ที่ไหน

อ.ทำนอง : เป้าหมายของวันนี้คือ

1. สภาพปัจจุบันว่าสถานการณ์กิจการกระจายเสียงตอนนี้เป็นอย่างไร ทั้งเรื่อง

- การเมือง

- เทคโนโลยี

- เศรษฐกิจ

- สังคม

2. มาตรฐาน เป็นอย่างไร

3. ความต้องการของชุมชนประชาชน ว่าต้องการอะไร โดยเฉพาะผู้ประกอบการ

4. เรื่องกฎหมาย

- เพื่อการสร้างสรรค์

- เพื่อความปลอดภัย

- เพื่อประโยชน์สาธารณะ

ดร.จีระ: ในสถานการณ์ปัจจุบัน ต้องเน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก 2 ประเทศ คือ นอร์เวย์ และสวีเดน คือ พลเมืองสามารถเช็คกันเองได้ นั่นก็คือ พื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ของสังคม สามารถSanction กันเอง Commissioner ของเขาทำเรื่องสัญญา แต่ไม่ดูเรื่อง Content ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่กสทช.ต้อง Monitor ทุกเรื่อง

ปัญหาของไทย คือ ทำอย่างไรที่จะแก้ปัญหาปีระมิดข้างล่าง กสทช.ต้องพัฒนาพื้นฐานผู้ฟัง ในอนาคตคงต้องใช้เวลา 10-20 ปี

สวีเดน เป็นองค์กรที่ไม่ได้อิสระแบบกสทช. ไม่ได้เลือกวุฒิสมาชิก แต่รัฐบาลเป็นผู้โปร่งใส งบประมาณได้รับโดยตรงจากภาษีอากรของประชาชน พลเมืองเป็นผู้ที่มีฐานความคิด คิดเป็นวิเคราะห์เป็น มีคุณธรรม จริยธรรมต่างกับไทยที่ยังมีการเอารัดเอาเปรียบ หรือเรียกว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา หน้าที่ของพวกเราคือต้องร่วมกัน Monitor ร่วมกันตรวจสอบ

คุณพิชญ์ภูรี: พ.ศ. 2473 เริ่มทดลองออกอากาศครั้งแรกในประเทศไทย สถานีวิทยุแห่งแรกของไทยสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท

วัตถุประสงค์ คือ ความมุ่งหมาย “ส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย และการบันเทิงแก่พ่อค้าประชาชน”

พ.ศ. 2475- 2500 เป็นช่วงแรกของการดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียง เป็นยุคชาตินิยม อำนาจอยู่ในมือทหาร ออกพ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อสถานีวิทยุเชิงพาณิชย์แห่งแรกสถานีวิทยุกระจายเสียง ททท.

พ.ศ. 2511-2520 การจัดระเบียบว่าด้วยวิทยุฯ ของทางราชการ

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2520 – มติรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ก่อตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.)

วัตถุประสงค์ ความพยายามที่จะรวบอำนาจการควบคุม วิทยุกระจายเสียงมาไว้ในกรมประชาสัมพันธ์

ปัญหาที่เริ่มเกิด คือ ด้านผลประโยชน์

สภาพการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2532- 2540ยุคอุตสาหกรรมการสื่อสารระบบทุนนิยมเสรี

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2532 – การเปลี่ยนแปลงให้เอกชนรับสัมปทานหรือ เช่าช่วงเวลาจากรัฐ การเติบโตแบบก้าวกระโดดที่ไม่เปิดเผยคือระบบอุปถัมภ์ นายทุนใช้เงินเยอะ ในการเช่าช่วงเวลา

พ.ศ.2540 – การปฏิรูปสื่อโดยรัฐบาล คมช.

การเตรียมพร้อมสู่ DIGITAL RADIO ต้องมีการเตรียมพร้อมเรื่องคลื่นความถี่ ข้อมูลวันนี้ทำให้กสทช. รับข้อมูลได้ดีขึ้น

ผอ.เจษฎา สุขนิยม กสทช.เขต 5 จ.จันทบุรี:

ปี 50 พ.ร.บ. ออกมาให้เหลือองค์กรเดียว หน้าที่ปัจจุบัน คือ กำดับดูแลทางด้านปลายน้ำ

เรื่องจริงของกัปตันเวลาบินผ่านประเทศไทย นักบินจะได้ยินเสียงโฆษณาจากประเทศไทยในวิทยุการบิน ซึ่งต้องมีการบังคับใช้กฎหมายกับทางสถานีทั้งหมด 454 สถานี ในจันทบุรี

การประมูล 3 จี ทีวีดิจิตอล 24 สถานี เงินไปไหน ซึ่งเราต้องช่วยกันร่างกฎเกณฑ์กติกาเพื่อพัฒนาประเทศไทย เพื่อปฎิรูปจากอะแนลอค ไปเป็นการใช้ใบอนุญาตตอนนี้เปลี่ยนผ่านมาแล้ว 27 สถานี

การกำกับดูแล ที่ดีที่สุด คือต้องการเรื่อง Self-regulator ต้องคิดว่าเราจะทำอย่างไรได้บ้าง

เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียง พรบ. วิทยุ 2518 พรบ. จัดสรรคลื่น 2553 หน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดจำเป็นต้องเชิญมาเพื่อมาพูดเรื่องการกำกับดูแลโฆษณาชวนเชื่อ

กรณีที่เจ้าหน้าที่กสทช.ของคณะเทคนิคไปพบทุกท่าน เราไปพบด้วยความจริงใจ ขอความร่วมมือจากทุกท่าน เพื่อไม่ให้ไปรบกวนกับกิจการอื่น หรือ วิทยุการบิน เพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่ถูกต้อง

ปัญหาด้านกฎหมาย จากการปฏิรูปสื่อ วิทยุชมชนที่เกิดขึ้น คือ กำเนิดตัวเองแต่สถานะทางกฎหมายตามมาทีหลัง หากจะเปลี่ยนเป็นระบบ Digital ที่สำคัญคือ ทำอย่างไรที่จะทำให้อยู่อย่างเป็นสุข ไม่เบียดเบียนกัน คลื่นวิทยุเป็นทรัพยากรของมวลมนุษยชาติ ความถี่เป็นของทุกคนในโลก แต่เทคโนโลยีทุกวันนี้จะทำอย่างไรที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อ.จีระ: วันนี้สังคมไทยต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ต้องดูแลเรื่องสื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุด ประเด็นที่อ.ทำนองคือ ถ้าไม่ช่วยให้วิทยุเป็นสื่อที่มีค่า เพราะฉะนั้นคนใช้สื่อวิทยุก็ลดลง ระดับอายุของคนฟังส่วนใหญ่เป็นวัยสูงอายุ ต้องคิดว่าทำอย่างไรจะมีกลุ่มวัยรุ่นมาฟังสื่อวิทยุมากขึ้น transitional period รอยต่อของงานวิจัยคือ 20 ปี และน่าจะทำให้คนรุ่นใหม่ตื่นตัวมากขึ้น หากได้เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี กฎหมาย สังคมการเรียนรู้ ก็จะทำให้งานวิจัยรอด

คุณนคร จ.ระยอง: ทำวิทยุชุมชน ทำตั้งแต่ปี 2548 วิทยุเข้าถึงทุกส่วนคือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง แต่ปัญหาตอนนี้คนขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดความละอายใจต่อบาป มีความเห็นแก่ตัวมาก ต้องให้ผอ.เจษฎา ตรวจสอบว่ามีคลื่นวิทยุใหม่เกิดขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่ทับซ้อนคลื่น

เรื่องข้อกฎหมายเรื่องการประมูลคลื่นวิทยุ เราไม่มีทุน ไม่มีโอกาสประมูลแน่นอน เรื่องการกฎหมายการประมูลอยากให้เปลี่ยนกฎหมายนี้ไปเลย

มาตรฐานทางเทคนิค เสา 60 เมตร กำลังส่ง 500 เราต้องยอมกัน ต้องหาจุดตรงกลางทำให้เดินไปได้

ความต้องการชุมชนพื้นที่เกษตรกรรม อยู่ด้วยความพอเพียง ขอฝากเรื่องกฎหมายไปยังกสทช.ว่าไม่ต้องรู้เรื่องกฎหมายไม่เกิน 10 ข้อ ทั้งสาธารณะ วิทยุธุรกิจ และชุมชน

คุณพิชญ์ภูรี: วิทยุชุมชนบางที่ทำธุรกิจเพื่อเลี้ยงตัวเอง ที่ไม่ต้องเบียดบังเงินกองทุน ซึ่งเรียกว่าธุรกิจเชิงชุมชน กลุ่มนี้เปิดเผยว่าทำอย่างไรถึงจะส่งฐานข้อมูลนี้ไปยังกสทช.ได้ ขอโอกาสให้กลุ่มนี้เมื่อมีการประมูล อาจจะเป็นการจัดสรรพื้นที่

อ.จีระ: งานวิจัยหากสำเร็จได้ต้องเน้นความตั้งใจ องค์ความรู้ ทุนน้อย ปัญญามาก โอกาสของคนธรรมดาเข้าสู่วิทยุมีมากกว่าเรื่อง TELECOM และ digital TV เราต้องเปิดช่องว่าให้เดินไปได้ ทุกวันนี้ต้องสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง

คุณลัญชนา: ขอพูดเรื่องการกำกับดูแล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทุกวันนี้พูดได้ว่า ผู้ใดครองสื่อผู้นั้นครองโลก

ทุกคนก็อยากทำสื่อ แต่วิธีการแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนรู้จริง บางคนรู้ไม่จริงเลยเกิดปัญหา ดิฉันเป็นเจ้าของสถานีวิทยุชุมชนไม่เกี่ยวกับธุรกิจ ไม่เห็นด้วยกับกสทช.กับการกำกับดูแลด้วยตัวเอง เพราะแต่ละจังหวัดแตกย่อยเป็นหลายชมรม หลายสมาคม แล้วใครจะเป็นผู้กำกับดูแลจริงๆ ซึ่งมันยากมาก

อ.จีระ: ทรัพยากรไทยกับนอร์เวย์ต่างกันเรื่องทรัพยากรมนุษย์ หากเมืองไทยพร้อมเราทำ แต่หากไม่พร้อมก็ยังต้องใช้การแทรกแซงที่ต้องยุติธรรมกับทุกฝ่าย

คุณลัญชนา: การพัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ของคนฟัง หากคนฟังชอบนักจัดรายการคนฟังก็จะเชื่อ นักจัดรายการวิทยุต้องเน้นความถูกต้อง เน้นคุณธรรม จริยธรรม หากไม่มีก็ไม่สามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้

เรื่องเสา เรื่องกำลังส่ง เห็นด้วยว่าวันนี้ต้องอยู่ระดับนี้ คือระดับกลาง ๆ เสา 60 เมตร กำลังส่ง 500

ขอฝากเรื่องกฎหมายที่ออกมาต้องชัดเจนทุกข้อ

คุณพิชญ์ภูรี: การกำกับดูแลตัวเองของกสทช.ตอนนี้เป็นเพียงแนวคิด ยังไม่ออกเป็นตัวบทกฎหมาย

ศรากร FM 105: เห็นด้วยกับเครื่องส่ง เสา 60 เมตร กำลังส่ง 500 วัตต์ เรื่องกำกับดูแลตัวเองนั้นประเทศไทยต้องมีกฎหมาย และตัวคุณธรรม จริยธรรมเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกฎหมาย

เห็นด้วยกับกสทช.ที่แบ่งเป็น 3 รูปแบบของสถานี และมีผังการจัดรายการ อยากให้แก้ปัญหาต่างๆดังนี้

เรื่องคลื่นแทรก แทรกกันเอง และแทรกกับวิทยุการบิน

เรื่องเนื้อหาที่ทำลายสังคม ปลุกระดม สร้างความรุนแรง หลอกลวง

เห็นด้วยที่ต้องมีใบอนุญาตในกรอบ และการออกอากาศ อยากให้สถานีมีการจัดเก็บ มีการบันทึกเทปการใช้งาน เพื่อให้กสทช.เอาไปตรวจสอบได้

วิชชุดา สมาคมสื่อภาคตะวันออก: ขอแสดงความคิดเห็นด้านคุณธรรม จริยธรรม เนื้อหาที่เป็นทุนแก้การจัดรายการ เรื่อง CSR ให้กับวิทยุชุมชน

  • -ภาครัฐ กับ ภาคี ควรทำร่วมกัน
  • -สร้างพันธะสัญญาที่กำกับดูแลตัวเอง ผู้ใช้สื่อต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ใช้ นักจัดรายการต้องรับผิดชอบด้านคุณธรรม จริยธรรม
  • -เรื่องเนื้อหานั้นต้องมีการแบ่งกลุ่มอายุผู้ฟัง
  • -Active citizen เนื้อหาฟังง่าย ใส่เนื้อหาความรู้ พัฒนาการเด็กทางด้านสมองได้
  • -ต้องให้ประโยชน์กับผู้ฟัง
  • -เรื่อง CSR Matching ควรจะมีอะไร ที่ทำให้ภาคีอยู่รอด และเป็นประโยชน์กับสังคม
  • -เรื่องใบผู้ประกาศ ทดลองจด MOU อยากรู้ว่าเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน พอทำแล้วเกิดปัญหา ข้อดี คือ มีความรู้ ข้อเสีย กสทช.ไม่ได้สร้างความมั่นใจว่าต้องมี ผู้จัดรับบทหนักมาก มีข้อระเบียบเยอะมาก ทำให้บริหารจัดการยาก
  • -สิ่งที่ควรทำอย่างจริงจัง คือ สำนึกของนักจัดรายการ ที่เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และ เรื่องเนื้อหาสาระ ความรู

อ.จีระ:

ทฤษฎี 8K

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ทฤษฎี 5K’s

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

ผศ.จำเริญ : ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยุ

1. ด้านการผลิตรูปแบบรายการ

2. ด้านเทคนิคเครื่องส่งวิทยุชุมชน

3. ด้านการจัดการเทคโนโลยีเครื่องส่ง เครื่องส่งที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีปัญหาเรื่องคลื่นรบกวนน้อยลง แต่ค่อนข้างราคาแพง

- เรื่องพัฒนาทุนมนุษย์หากมีหน่วยงานสนับสนุนลงไปพัฒนาในชุมชนเลยจะเกิดประโยชน์มาก จะทำให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการเมือง ชีวิตความเป็นอยู่จะดีขึ้น

คุณจุฑามาศ: ทำวิจัยสื่อมวลชนท้องถิ่น จ.ชลบุรี พบปัญหา คือ มุมมองของสื่อ ปัจจัยของการอยู่รอดของสื่อมวลชนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี

ปัญหาของหนังสือพิมพ์ร่วมกัน คือ ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ ที่เราต้องย่อยอด

  • -ขาดทักษะความรู้ ขาดคนทำงาน
  • -สิ่งที่คุกคามสื่อมวลชน คือ สื่อใหม่ ได้แก่ Social media
  • -สิ่งสำคัญ ที่ต้องมีคือความรับผิดชอบ
  • -ตัวผู้รับสาร ต้องมีคุณภาพ

อ.พงศ์สิน: เน้นไปที่การบริหารสถานี ทำงานวิจัยเรื่องวิทยุชุมชนมา 3-4 เรื่อง การบริหารจัดการที่ดี ก็จะทำให้สถานียั่งยืน

1. เน้นไปที่ตัวบุคคล แบ่งหน้าที่ชัดเจน อาสาสมัครทำอย่างจริงจัง

2. รายได้ต้องหาเอง ในชุมชนทำปุ๋ยชีวภาพ

คุณลัญชนา: เรื่องการเมืองมีปัญหา เพราะพูดเรื่องฝั่งตัวเองดี ฝั่งตรงข้ามไม่ดี ปัจจุบันนี้ในชุมชน ลูกถูกปลูกฝังเรื่องการเมือง ไม่เคารพสถาบัน

คุณกังวาฬ: ขอแย้งความเห็นของอ.จีระ ที่เด็กรุ่นใหม่ไม่ฟังวิทยุ เพราะเด็กจะฟังคลื่นๆใหญ่ๆ ไม่ใช่วิทยุชุมชน ขอแนะนำให้วิทยุชุมชนปรับตัวเอง ควรมี application เปิดพื้นที่ให้คนติดตามได้ ไม่ต้องเสียค่าเวลา มี 2 way communication คนฟังสามารถตอบโต้กันได้ทันที ซึ่งสามารถปรับให้ตรงกับlifestyleของผู้ฟัง

กสทช. ควรมี survey ว่าผู้ฟังมี lifestyle อย่างไร เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ฟังมากขึ้น

ผอ.เจษฎา : กสทช.มีอำนาจออกใบกำกับอนุญาตกิจการกระจายเสียง แต่เรื่องอินเตอร์เนต เป็นเรื่องของกระทรวงICT

ผศ.จำเริญ: ขอแชร์ว่าถ้าผ่าน Social media ก็ไม่ถือว่าเป็นวิทยุชุมชนแล้ว ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัญหาในอนาคต

คุณภคพล จากระยอง: สนับสนุนเรื่องผู้ฟังคนรุ่นใหม่ เนื่องจากทำรายการค่อนข้างยาก ปัจจุบันมีสังคมออนไลน์ครบแล้ว ใครไม่เข้าใจก็สามารถถาม GOOGLE ได้ ก็ไม่ต้องผ่านดีเจแล้ว สังคมไทยเป็นสังคมที่ชอบการดูมากกว่าการอ่าน เขียน พอมี youtube วัยรุ่นใช้เวลาการดูพวกนี้มากกว่า เมื่อapplication มันจะทำให้ควบคุมยาก

คุณชัยพร: ข้อสังเกต คือ ทำอย่างไรให้เกิดมาตรฐานเครื่องส่ง ผู้รับสื่อ ผู้ส่งสื่อ

อ.ประสพสุข: ปัญหาเรื่องกฎหมาย เนื่องจากออกตามหลังตลอด การจัดระเบียบภายหลังเป็นเรื่องยุ่งยาก กฎหมายไม่ทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น

ประเทศไหนสังคมซับซ้อนก็จะมีตัวบทกฎหมายเยอะมาก Watchdog ทำหน้าที่เฝ้าระวัง ให้กับกลุ่มผู้ฟัง

  • -เครื่องมือ อุปกรณ์ทั้งหลาย กระบวนการซ่อมบำรุงไม่มี
  • -คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องวิทยุกระจายเสียงเยอะมาก
  • -เจ้าของสถานี
  • -ผู้สนับสนุนรายการ เป็นเรื่องสำคัญ
  • -ผู้ผลิตรายการ
  • -ผู้ดำเนินรายการ

เหตุผลคือทรัพยากรมนุษย์ขาดความรู้เรื่องกฎหมาย ขาดการฝึกอบรม ขาดความรู้ความเข้าใจ แนะนำควรมีองค์กรที่ให้ความรู้ความเข้าใจ กับ ผู้สนับสนุนรายการ - ผู้ผลิตรายการ และ ผู้ดำเนินรายการ

คุณนคร: เครื่องส่งควรกำหนดมาตรฐานออกมาเลย กสทช.ควรเช็คมาตรฐานเครื่องส่ง

คุณมลิพร จังหวัดชลบุรี: เรื่องใบผู้ประกาศ ที่ผอ.เจษฎา บอกไม่มีกฎหมายบังคับ ทำให้รู้สึกเสียใจมาก เพราะเสียค่าใช้จ่ายในการอบรมมาก อยากให้นักจัดมีมาตรฐาน ที่เน้นเรื่องการพูด การใช้ภาษา

ผอ.เจษฎา: พรบ 2498 กรมประชาสัมพันธ์กำหนดชัดเจนว่าผู้ประกาศข่าวต้องได้รับใบอนุญาต พรบ 2551 ไม่มีบังคับเรื่องนี้ ณ ปัจจุบัน มีกลุ่มงานผู้ผลิตสื่อ ที่พัฒนาผู้ประกาศข่าว ผู้ผลิตมีคุณภาพ แต่ในตัวกฎหมายไม่มี

คุณวิชดา : การอบรมผู้ประกาศมีปัญหาเยอะ เพราะต้องใช้เงิน ขอฝากกสทช.ว่าควรไปในทิศทางเดียวกัน เขต 7 ยกเลิกโครงการ แต่เจ้าหน้าที่ที่ลงเขต บอกต้องทำ ซึ่งไม่มีทิศทางไปในทิศทางเดียวกัน มีความล้มเหลวในการบริหารจัดการเรื่องการอบรม

ผอ.เจษฎา: มีประกาศราชกิจจานุเบกษา 1 ก.พ. 2556 ว่าต้องมีใบผู้ประกาศ แต่ในกฎหมายใหญ่ไม่ได้มีเขียนไว้

คุณพิชญ์ภูรี: คนที่รับงานจากกสทช.ยังไม่มีมาตรฐานไปในทิศทางเดียวกัน กองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องได้รับการผลักดัน

การวิจัยภาคเหนือ เอาเงินวิจัยกองทุนมาใช้กับวิทยุชุมชนได้เท่าไหร่

อ.ทำนอง: เรื่องการกำกับดูแลตามกฎหมายต้องปรับปรุงมาก

การกำกับดูแลพันธะสัญญาซึ่งยังไม่เกิด

และเรื่อง Social solution กำกับดูแลโดยผู้ฟัง และผู้ฟังจะกำกับดูแลสถานีได้อย่างไร

คุณวรวุฒิ: 4 ประเด็นสั้นๆ

1. กลุ่มผู้ส่งสาร ดีเจ ผู้บริหารสถานี คนที่รับผิดชอบนำสารไปยังผู้ฟัง ให้มีมาตรฐาน และต้องพัฒนากลุ่มผู้ส่งสารเพื่อให้มีศักยภาพพร้อม

ดีเจ ต้องมีใบประกาศ ต้องผ่านการอบรม และเป็นไปตามกฎหมายได้หรือไม่ ต้องมีการ work out ต่อไป

2. มาตรฐาน เน้นเครื่องส่ง เครื่องมือ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีการรองรับมาตรฐาน

3. เรื่องกระบวนการการควบคุม ทั้งผู้ส่งสาร มาตรฐาน การจัดการต่างๆ เช่น สถานีวิทยุใกล้เคียงกัน ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นสถานี Zoning กฎหมาย ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ

คำถาม คือ เรากระจายอำนาจจากกสทช. ไปยังท้องถิ่น และชุมชนได้หรือไม่ เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกระจายเสียง

กรณีการกำกับดูแลตัวเอง ถ้าสามารถรวมกลุ่มกันเองในระดับประเทศ และมีกฎหมายรองรับความเป็นชุมชนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องกำกับดูแล

จาก อรัญประเทศ จ.สระแก้ว : ในปัจจุบันเหลือนักจัดรายการน้อยมาก ปัจจุบันเหลือนักจัดที่มีคุณภาพ ไม่มีเรื่องปัญหาคลื่นความถี่ สื่อจากสระแก้วมีการรวมตัวที่ดีมาก มีจรรยาบรรณ สระแก้วมี 60 คลื่น และดีทุกคลื่น และขอฝากว่าไม่ขอให้มีการประมูล และนักจัดรายการตัวจริงก็คือประชาชน

ผอ.เจษฎา: สำนักงานมีศูนย์ไกล่เกลี่ยช่วยเหลือ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีเป็นสันติวิธี หากเอาผลประโยชน์เป็นที่ตั้งระบบไกล่เกลี่ยคงทำได้ยาก

ประเด็นคุณอเนกถามว่าหากมีการจาบจ้วงสถาบัน กสทช.และกรอมน. จะเป็นเจ้าภาพ ในการกรั่นกรอง ประสานกับกสทช.โดยตรง และให้กสทช.จัดเก็บข้อมูล และแจ้งความต่อเจ้าพนักงานต่อไป

ผอ.สุปรานี: ขอเสนอด้านการเสนอว่า วิทยุชุมชนเป็นของประชาชน อยากให้ประชาชนมีส่วนร่วม ควรใช้องค์ประกอบด้านเป้าหมายที่ชัดเจน มีกิจกรรมอะไรบ้าง มีหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม ถ้ากลุ่มผู้จัดวิทยุชุมชนใช้หลักกลยุทธ์เข้ามาช่วย ใช้ชุมชนเป็นฐานในการบริหารจัดการ มีการประเมินตรวจสอบ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกกระบวนการ แล้วทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 17:54 น.
 

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

พิมพ์ PDF

สรุปการประชุม Focus Group (กลุ่มภาคกลาง)

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล

กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2557

ณ โรงแรมริชมอนด์ ถ.รัตนาธิเบศร์ จ.นนทบุรี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- การทำวิจัยให้เอา Focus Group ทุกภาคส่วนมาเป็นแนวทางพัฒนาต่อไป มีความตั้งใจและเป้าหมายเพื่อให้วิทยุเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้นโยบายระหว่างประเทศ

- การพัฒนางานในอนาคตเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีคุณธรรม จริยธรรม ประเทศจะได้อยู่รอด

- กรอบแนวคิดเริ่มจากการมีความสามารถเพื่อส่วนรวม

What need to be done? And What good for the country?

- เน้นการทำงานเพื่อส่วนรวม ไม่มีประโยชน์แอบแฝง

- มุ่งหมายให้สื่อได้ปะทะกับสังคมและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง บางครั้งสื่ออาจเอียงไปบ้าง เพราะสื่อเป็นเจ้าของธุรกิจ ต้องยอมรับว่าทุนนิยมเข้ามาเยอะ

Methodology

1.Review เกี่ยวกับการวิจัยสื่อวิทยุทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเอกสารต่าง ๆ ให้ศึกษาคณะทำงานของ กสทช. ด้วย

2. การไปดูงานต่างประเทศ มีสวีเดน และนอร์เวย์ เพื่อดูมาตรฐานของวิทยุที่เจริญแล้วเน้นอะไรบ้าง

วิทยุชุมชน คือการสร้างความสามัคคี สร้างความอบอุ่นในชุมชน

วิทยุการเมืองยังไม่จับ มาเอาอะไรกับวิทยุเล็ก ๆ

อย่ามองที่ผู้ประกอบการเล็ก ๆ ให้มองที่ตัวเองก่อนว่า กสทช.ทำอย่างไร

การประสานงานกับองค์กรภาครัฐ ปี 2554 ไม่เห็นใครออกมาเลย มีเพียงวิทยุเล็ก ๆ ช่วยประสานกันทั้งหมด แล้ว กสทช. ก็ไปจับพวกเขา

วิทยุขนาดเล็ก รักที่จะสร้างสรรค์ สังคมให้ดีเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน แม้จะต้องหารายได้ สร้างสรรค์สังคมให้สวยงาม

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อยากให้เน้นประโยชน์สูงสุด และมีคุณธรรม จริยธรรมกำกับ

คุณกิตติชัย ภูชนะ ประธานเครือข่ายระวังภัยทางสังคม จ.ชลบุรี

มี 70 สถานีรวมอยู่ในกลุ่ม ปัญหาทั้งหมด กสทช. มีส่วนในการทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้น ที่ผ่านมาได้สัมผัสวิทยุชุมชน แต่ก่อนวิทยุชุมชนสร้างความรัก ความกลมเกลียวกันมาก เป็นการรวมกลุ่มในชุมชนออกคลื่น 300-400 วัตต์ ส่งได้ 50 กม. กล้าตั้งสถานี และมีบทบาทในการสร้างความสามัคคีในชุมชน ต่อมาวิทยุชุมชนเริ่มมีมากขึ้น จึงมีประกาศการจัดระเบียบจาก กสทช. บังคับให้คนที่ลงทะเบียนบังคับอยู่ที่ 500 วัตต์ แต่เจ้าของผลิตภัณฑ์ที่มีเงินมหาศาลตั้งใหม่ มี 3,000-10,000 วัตต์ กลายเป็นว่าคนที่อยู่ในร่องในรอยถูกบีบ

คนที่เข้าไปอยู่ในกรอบ 500 วัตต์ แต่เจอคน 3,000 วัตต์ แย่งโฆษณาไป ทำให้คนลงทะเบียนถูกต้องอยู่ไม่ได้

อย่าให้วิทยุชุมชนอดอยากปากแห้ง ถ้าทำมาหากินไม่ได้ ไม่สามารถเลี้ยงเครือข่ายได้ พอมีสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ยื่นเขามา เขาก็อาจจะรับสิ่งนั้น

คุณเบญจพร พงษ์ประดิษฐ์ ผู้จัดรายการวิทยุ F.M.98.00 MHz และผู้จัดรายการรู้รักแผ่นดิน

กสทช. มีเป้าหมายหลักเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวสยาม

แต่ที่สังคมวุ่นวายเพราะคำพูดของคน ประเด็นคือสิ่งที่ทำนั้นทำเป้าเพื่อชาติบ้านเมืองหรือไม่ วิทยุชุมชนควรจัดมาเพื่อประโยชน์แผ่นดิน ไม่ใช่เพื่อเงินในกระเป๋า

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทบาทของกสทช.ในอนาคต เรื่องกองทุนน่าจะเป็นงานวิจัยที่สำคัญ

ครูบาต้นน้ำ

นโยบายวิทยุชุมชน มหาบัว วิทยุชุมชนคือวิทยุตามเสียงเป็นเสียงตามสาย เพื่อประโยชน์ท้องถิ่น ที่ต้องอาศัยความร่วมมือกัน แต่ กสทช.มาให้เซ็นตามกฎหมาย ต้องเป็นพ.ร.บ. เสนอและประชุมหลัก มี สว.วิทยุชุมชนเข้ามาค้านกสทช.

ตัวแทนจากวิทยุ จ.นนทบุรี

การกระจายเสียงในชุมชนค่อนข้างมีความสุข ไม่ต้องมีโฆษณาก็อยู่ได้ แต่ที่สูงมากเพราะเป็นทุนนิยม

โครงการการกำกับดูแลวิทยุชุมชนจะทำอะไร ถึงไม่ใช่ปัญหา เราจะกำกับดูแลอย่างไรทั้งสาธารณะ ธุรกิจ ให้กติกาอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

เสายิ่งสูงเท่าไหร่ การก่อกวนยิ่งมาก

การให้บริการชุมชนเสมือนเป็นหอกระจายข่าววิทยุชุมชน จึงอยากให้มีการดูแลกันเอง ทำอย่างไรในการดูแลผู้ประกอบการวิทยุมี 3 ส่วนสำคัญ

ทางด้านเทคนิคจึงสำคัญที่สุด ฝากเรื่องเทคนิค การกระจาย 20 ตารางกม. น่าจะมีปัญหา ตราบใดที่ไม่มีคลื่นใกล้เคียงกันน่าจะไปได้ไกล

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คลื่นดิจิตอลเรดิโออาจจะแพงหรือยุ่งยากมากกว่า เป็นเทคโนโลยีที่เสริมกันได้ เมื่อไรพร้อมก็จะวิ่งมาสู่ดิจิตอล

คุณภาพของคนมีคุณธรรมจริยธรรม จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีหลักสูตรการพัฒนาคน

เริ่มจากพื้นฐานก่อน และกลับมาสู่ที่ภาคชนบท

งานของ กสทช.เรื่องทุนมนุษย์ ต้องให้เขามีความเข้าใจกัน สร้างคุณธรรม จริยธรรมในวงการวิทยุ

ต้องการให้สื่อปฏิรูปความคิด สร้างค่านิยม ถ้าวิทยุชุมชนทำดี กองทุนต้องให้เขา ถ้าทำไม่ดีต้อง Sanction กัน

กสทช. ต้องเป็นปฏิปักษ์ และวิ่งไปสู่เป้าหมายนั้น

ถ้าเราคิดถึงเป้าหมายส่วนรวม วิทยุจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนที่ถูกที่สุด และสามารถแก้ปัญหาสังคมได้

หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของเทศบาล

หอกระจายข่าวปีที่ 32 ร่วมกับวิทยุชุมชนครั้งแรก จะเห็นว่าวิทยุชุมชนไม่สามารถได้เงินจากองค์กรท้องถิ่นได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่สนับสนุนให้ท้องถิ่น การควบคุมดูแล มีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่ช่วยดูแลวิทยุชุมชนได้ บอกแนวทางช่วยวิทยุชุมชนได้

แนวทางรวม ๆ ประชาสัมพันธ์โดยท้องถิ่น ทำงานด้านสื่ออยู่แล้ว

วิทยุที่แบ่งแยกและมีปัญหาเกิดขึ้น โดยปกติจะแข่งขันเรื่องความดัง และความไกล

วิทยุชุมชนที่เป็นสาธารณะ แต่โฆษณาไม่ได้ จะเอาเงินตรงไหนมา ที่แข่งกันเพราะอยากดัง และปากท้องไม่มี ต้องจ้างดีเจดัง ๆ มา

ถ้ามีกฎหมายหรือวิธีอะไร ให้ส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์รายงาน จะเกิดประโยชน์มากกว่าหาข้อสรุปแบบนี้

สถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพมหานคร

เสนอคุณธรรม จริยธรรมการบริการชุมชน และเป้าหมายเพื่อระบุชัดเจน จะเป็นเบ้าหลอมให้สังคมสู่เป้าหมายเดียวกัน เสนอการศึกษาหน้าที่พลเมืองที่ดี

หลักสูตรที่สำนักพิมพ์เสริมขึ้นมาทำให้เกิดผลดีและความแปลกแยกในสังคมเช่นเดียวกัน

วิทยุชุมชนบางคลื่นฟังไม่ได้ ไม่ว่าเป็นวิทยุชุมชนหรือก่อการ เราต้องมีการกีดกรอบและให้เคารพในกฎหมาย

คุณชาญยุทธ ศรีพรหม ผู้อำนวยการสถานีวิทยุชุมชนเขาเพิ่ม F.M. 92.00 MHzจ.นครนายก

ทุกคนมองที่ช่องว่างอยากได้ของตนเอง อยากให้มองว่าทำอย่างไรถึงร่วมกันได้ ต้องดูว่าระดับที่จะทำได้ขนาดไหน

กสทช.ให้มองว่าเสียงส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับเท่าไหร่เป็นมาตรฐานกลาง เช่น 1,000 วัตต์ รับได้แต่ห้ามเกิน

อยากให้มีข้อมูลต่าง ๆ ถึงกันระหว่างผู้ประกอบการและกสทช.

อยากให้มองที่เป้าหมายแล้ววิทยุชุมชนเกิดได้แน่นอน เพิ่มหรือลบได้หรือไม่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิทยุเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยและทันเหตุการณ์ ถ้าให้วิทยุเกิดประโยชน์ ความรู้ รักชาติบ้านเมืองแทนที่จะขัดแย้งกัน

คิดถึงประเทศ คิดถึงส่วนรวมแล้วอยู่ได้ด้วย

บทบาทกสทช.ในอนาคตและเสริมจุดเดิมได้จะประสบความสำเร็จ

คุณสรวิชญ์ ไชยเลิศ เลขาธิการสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการ

มีการอบรมสัมมนาประกาศเจตนารมย์วิทยุกระจายเสียงและวิทยุบังคับ ทำเป็นรูปเล่ม ให้มีการรวมตัวและดูแลกันเป็นอย่างไร พบ 2 เรื่องที่เห็นเป็นปัญหา คือ

1. มาตรการของ กสทช.มีการกำหนดอยู่ที่ 500 วัตต์ไม่ควรเกิน แต่ปัจจุบันเกิน อยากให้ กสทช.มีการจำกัดอย่างชัดเจน มีการส่งคลื่น ระงับสัญญาณ ถอนสิทธิ์ แต่ กสทช. มีบุคลากรไม่เพียงพอที่จะไปตรวจจับ มาตรการการจับมือร่วมกัน องค์กรวิชาชีพความร่วมมือมีการรวมกลุ่มกันอย่างชัดเจน ส่งเสริมการอบรม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่งเสริมเสรีภาพสิทธิต่าง ๆ ปกป้องสิทธิทั้งผู้ฟังและชุมชน มีจริยธรรมที่ประสานกับกสทช.ได้ เราจะให้สถานีวิทยุมี สส.สังกัด ทุกคนปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด

ถ้าไม่ปฏิบัติจะเป็นแกะดำ จะให้กสทช.ดำเนินการอย่างไร โดยที่แต่ละสมาคมจะเป็นหูเป็นตาและควบคุมกันเองด้วย

2. การสนับสนุนให้กับองค์กร วิทยุปัจจุบันจะสู้กับพวกทีวี ฟรีทีวีไม่ได้ เพราะได้ทั้งภาพและเสียง ถ้าจะมีกองทุนต่าง ๆ ช่วยสนับสนุนจะเป็นการดี เพราะหางบโฆษณาได้เยอะ ปัจจุบัน กสทช.บังคับให้เป็นนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะก่อให้เกิดต้นทุนในการปิดงบ ถ้าไม่มีการสนับสนุนจะไปหาโฆษณาที่เกินจริง ดังนั้น กสทช.ต้องมีตัวนี้สนับสนุนไม่งั้นอยู่ไม่ได้ไม่เช่นนั้น เขาจะไปหาเงินจากการเมือง และโฆษณาเกินจริง จึงอยากให้เน้นการควบคุมดูแลซึ่งกันและกันในเชิงสมาคมได้

เมื่อกสทช.ตั้งให้เป็นบริษัท เป็นไปไม่ได้ที่หารายได้ 100-1000 ล้าน ดังนั้นการสนับสนุนของกสทช.ต้องมากกว่าโทรทัศน์ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำเงินเพื่ออยู่รอด

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

เห็นข้อแตกต่างของข้อเสนอกันอยู่

วิทยุกระจายเสียงเล็ก ยังมีความแตกต่างของข้อเสนอเช่น 500 วัตต์หรือบางครั้งเกินไป บางท่าน 300 วัตต์ บางครั้ง 1000 วัตต์ ไม่มีมาตรฐานแล้ว

  • คุณทินกร ชูวงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ (บริหารทางอากาศ) 
    บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

เข้าใจว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ในอนาคตเป็นอย่างไร การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการรบกวนซึ่งกันและกัน จะแก้ปัญหาอย่างไรในเชิงเทคนิค กฎหมายและการกำกับดูแลต้องสร้างกระบวนการที่ยอมรับและเพื่อการพัฒนา เชื่อว่าไม่มีอะไร 100 % ที่สมบูรณ์แบบ อยากให้มองว่าอนาคตกฎหมายจะพัฒนาไปอย่างไร ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

ด้วยวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชน โดยให้ประชาชนหรือชุมชนได้มีส่วนร่วม ประโยชน์การจัดตั้งทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมว่าต้องการอะไรในเรื่องนั้น ส่วนร่วมเป็นเสียงจากผู้ประกอบการ ถ้าหากนิยามชุมชนชัดเจน การมีส่วนร่วมน่าจะเบ็ดเสร็จได้ตรงนั้น และชุมชนจะไม่ใช้ 20 ตารางกิโลเมตรตลอดไป

คุณสกลชัย บุญสรรค์ รองประธานและสมาคมวิทยุและโทรทัศน์ จ.ชัยนาท

กสทช.กำหนดอยู่แล้วว่าชุมชนควรเป็นเท่าไหร่ ๆ กลายเป็นลูกครึ่งวิทยุชุมชน เพราะว่าแต่ก่อนทำเป็นธุรกิจ มีร้านก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้นมาโฆษณามากมาย ความเป็นชุมชนเยอะ แต่ปัจจุบันน้อยลงพอสมควร เนื่องจากความโลภของมนุษย์ ใช้จ่ายมากขึ้นความต้องการมากขึ้น ความเป็นวิทยุธุรกิจเข้ามา

ถ้าเป็นไปได้อยากให้ไปในระดับจังหวัด เช่น จ.ชัยนาทจะได้ครบทั้งคนฟัง จะดีมาก

ชมรมผู้ประกอบการวิทยุจังหวัดชัยนาท พอถึงจุดหนึ่งน่าจะเป็นสมาคมเพื่อรวมกลุ่มในจังหวัดกันเอง การดูแลกันเอง มีจรรยาบรรณ ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง ที่สร้างให้ตัวเองอยู่แล้ว

เสนอการรวมกลุ่มให้แต่ละจังหวัดให้ดูแลกันเอง ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี จากจังหวัด เป็นภาค แต่ละพื้นที่มีความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองไม่เหมือนกัน รวมเป็นระดับภาค ระดับประเทศ โดยมี กสทช.เป็นแม่งาน

ปัญหาคือ เรื่องของรายได้ คนเป็นวิทยุธุรกิจโฆษณาได้ 75% วิทยุชุมชนห้ามโฆษณา ยกเว้นการโฆษณาเชิงสร้างสรรค์สามารถทำได้ การสนับสนุนไม่ค่อยได้ใช้มาก

ถ้าอยากจะช่วยด้วยความจริงใจให้บอกมาว่าจะทำอย่างไรกับเรา เพราะตอนนี้เป็นเสมือนสุญญากาศ สิ่งที่จะต้องพัฒนาค่อนข้างยากแต่ไม่ยากเกินกว่าคนจะทำได้

อาจารย์พรนภา แก้วลาย หัวหน้าสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.รังสิต

ทุกอย่างที่ต้องการบางครั้งเป็นเสมือนนามธรรม บางครั้งโดนกระแสสังคม ทำให้ลืมคุณธรรม จริยธรรมบ้าง แต่เป็นแง่ดีที่แสดงแง่คิดตรงนี้

กสทช. เขต 1 นนทบุรี

จะน้อมนำปัญหาต่าง ๆ ไปให้ผอ.ทราบ

ในเรื่องการตรวจสอบการใช้คลื่น การรบกวนคลื่นจะมีการเบาบางได้ ทั้งกำลังส่ง การแปลกปลอม

20 จังหวัด การรบกวนแต่ละจุดอาจไม่ทันการณ์

คุณสรวิชญ์ ไชยเลิศ เลขาธิการสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการ

ถ้าสถานีแต่ละที่ไม่ให้ความร่วมมือเราจะทำอย่างไร ให้กสทช.ดูแล บางสถานีเป็นแกะดำ ไม่ทำตาม ทำอย่างไรให้แจ้งละเมิด มีบทกำหนด รวมตัวแจ้งว่ามีอะไรเกิดขึ้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต่างประเทศคลื่นยังอยู่ที่ไปรษณีย์ กสทช. ดูแค่นโยบาย แต่ไทยรวบไว้หมดเลย

กสทช.เหมือนองค์กรที่มีอำนาจมาก กสทช.ต้องฟังเสียงจากรากหญ้าด้วย ต้องไม่ดาวกระจาย เลือกบางส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อเรา ถ้าอยู่ไม่ได้ กสทช.ต้องช่วย หรือช่วยตัวเอง ไม่ใช่อยู่ไม่ได้ไปหานักการเมือง หรือโฆษณาเกินจริง นั่นแหละทำลายประเทศ

ในอนาคตประเทศไทยจะมีความสวยงามมากขึ้น

ครูบาต้นน้ำ

- จะจัดระเบียบในวิทยุชุมชน ถ้า กสทช.จะเป็นวิทยุที่เปลี่ยนระบบใหม่ ขอให้กสทช.เปิดกว้างสำหรับวิทยุชุมชนแล้วแบ่งแขนง เช่น ศึกษา ศาสนา แพทย์

- จุดที่วิทยุชุมชนไปชนกับวิทยุการบินมีอะไรที่ป้องกัน จะได้ไม่ต้องมานั่งแก้ หาข้อมูลที่มีทั้งข้อเสียและข้อดี

- เคยคุยกับที่ประชุมสงฆ์อยากให้ตรวจสอบว่าจุดไหนที่วิทยุชุมชนไปรบกวนให้ทำอะไรเป็นสเกลงาน

คุณธนพภณ ปิ่นชัยโย ผู้อำนวยการวิทยุชุมชน How Radio จ.สระบุรี

- ที่พูดมาทั้งหมดอยากให้สรุปให้ได้ใจความ อยากให้เขียนชัด ๆ ไม่ต้องตีความ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้ชัดเจน

- อยากให้กสทช.ถามวิทยุว่าต้องการอะไร ให้เขาได้ไหม ถ้าให้ก็ทำได้

คุณกิตติชัย ภูชนะ ประธานเครือข่ายระวังภัยทางสังคม จ.ชลบุรี

- เอากฎหมายเป็นตัวตั้ง เหมือน กสทช.มีกฎหมายเป็นตัวให้เราทำตาม จุดนี้คือจุดแก้ไข วิทยุชุมชนมีหลายประเภท บางประเภททำถูกต้อง บางประเภทก็น่าสงสารเช่น บางประเภทให้โฆษณาให้แค่ 6 นาที บางชุมชนได้จัดให้มีการรวมกลุ่มกันคิดต่าง ๆ นาๆ

3. มีการทำ Questionnaire เพื่อการปรับปรุงและแก้ไข

  • -การทำ In-depth Interview
  • -Focus Group 6 Cluster รับฟังความคิดเห็นของตัวละครต่าง ๆ
  • สิ่งสำคัญคือการเอา Diversity มาเป็น Harmony ให้ได้ ลูกศรของความคิดต้องไม่ทะเลาะกันต้องนำสู่การสร้างมูลค่าให้ได้ รวมแล้วคือจะปรับปรุงนโยบายวิทยุโทรทัศน์ได้อย่างไร
  • วิทยุเป็นเทคโนโลยีซึ่งเป็นสมบัติของปวงชนชาวไทยการวิเคราะห์ขอให้วิเคราะห์จากความจริง อดีตคืออะไร อนาคตคืออะไร ปัจจุบันคืออะไรและแถมสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ปล่อยไปเรื่อย ๆก่อน วันนี้มีวิทยุหลายชนิด บางวิทยุมีประโยชน์สูงสุด บางวิทยุสร้างปัญหา บางวิทยุไม่มีกฎหมายรองรับเลย
  • โจทย์ของงานวิจัยครั้งนี้
  • 1. ทำอย่างไรถึงมองวิทยุในอนาคตให้เป็นไปตามกฎหมาย (กฎหมายเป็นมิติหนึ่งของวิทยุ)
  • 2. เทคโนโลยีสร้างปัญหาที่มีผลต่อการดำเนินงานอย่างไร อาทิการทับคลื่นเทคโนโลยี งานอาจไม่สามารถแก้ได้ทุกเรื่อง แต่ทุกท่านสามารถเสนอแนะเรื่องเทคโนโลยี ตัวอย่างที่สวีเดนและนอร์เวย์มีการใช้ระบบดิจิตอลในการดำเนินงาน การเน้นที่ความหลากหลายของพื้นที่ และวัฒนธรรม
  • 3. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
  • 4. ผลกระทบทางสังคม
  • เสนอแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งผู้ประกอบการ ผู้ประกาศ ชุมชน ตัวละครต้องดำเนินงานไปสู่ Value Diversity แต่อย่าให้ความหลากหลาย conflict
  • พระครูบาต้นน้ำ
  • - พระสายหลวงตามหาบัว ได้ดำเนินการด้านวิทยุแบบไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่าย วัตถุประสงค์ ปัจจัยจากศาสนาพุทธทั่วโลก จะทำอย่างไรหรือมีนโยบายอย่างไร
  • คุณสรวิชญ์ ไชยเลิศ สมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการ
  • - เป็นนักแต่งนักเขียน มาจากสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการจัดตั้งขึ้นเพื่อดูแล กำกับกันเอง มีประธานคือคุณจิตรลดา เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลสมุทรปราการ เอฟ.ซี ต้องการกำกับดูแลประชาชนให้ปฏิบัติตามจริยธรรม คุณธรรม และไม่ให้ทำผิดกฎหมาย
  • คุณทินกร ชูวงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ (บริหารทางอากาศ) 
    บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
  • - มีส่วนหนึ่งที่อยู่ในส่วนวิทยุ และเป็นส่วนที่ดูแลวิทยุที่ไม่มีผลประโยชน์ธุรกิจ เป็นในเชิงเรื่องการบริการมาตรฐานในระดับสากล เท่าที่ผ่านมาเรื่องที่เกิดขึ้นในคลื่นวิทยุ และสถานการณ์ต่าง ๆ มองย้อนคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พื้นฐานที่เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มีกฎหมายดูแล ถ้าเอาเข้าระบบสิ่งที่เกิดขึ้นตรงนี้ต้องแก้ไข ให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด
  • คุณสมเกียรติ แก้วไชย ผู้จัดการงานวิศวกรรม บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
  • ปัญหาที่พบคือ
  • - การรบกวนคลื่นวิทยุการบิน สิ่งที่ทำได้ขณะนี้คือพอทราบว่ามาจากแหล่งใดจะโทรไปคุย ไปทำความเข้าใจ บางครั้งเข้าใจ บางครั้งไม่เข้าใจ
  • - ทรัพยากรความถี่ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาคลื่นรบกวน ถ้าช่วยให้สื่อกระจายมากขึ้น จราจรทางอากาศจะดีขึ้น ต่างชาติจะพอใจมากขึ้น
  • - อยากให้ดูตัวอย่างของเมียนมาร์ ปัญหาเรื่องความถี่แทบไม่มีเลย สังเกตได้ว่าความถี่พม่าค่อนข้างชัดเจน แต่ไทยพบว่ามีคลื่นรบกวนการสื่อสารตามเขตชายแดน
  • - วิทยุการบินมีการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยุชุมชนโดยตลอดในการมีปัญหา ตอนหลังก็พยายามเข้ามาสู่กสทช.มากขึ้น
  • คุณสิรเชษฐ์ ตุ้มทอง เลขาธิการสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.ลพบุรี
  • อยู่ตรงเขาพระงาม กรมสรรพสาวุธ
  • - ดูคลื่นหลักของหน่วยงานทหารของรัฐ กองบิน 2 กองทัพอากาศ คลื่นหลัก 98.75 MHz
  • - การบริหารเวลาโดยภาพรวม คลื่นหลักมีการบริหารโดยให้เอกชนมา Take over ไป 
    มีการถูกซื้อเวลา ต่อมาคลื่นชุมชนเกิดได้ ตั้งแต่ปี 2549 และปี 2550
  • - มีการตั้งสมาคมดูแลกัน จดทะเบียนสมาคมจังหวัดในการดูแลกระจายเสียงวิทยุ
  • - มีการทำสื่อสาธารณะ สร้างสรรค์สังคม มีการทำข่าวประกาศ การถ่ายทอดสดงานสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • - ข่าวด้านการศึกษา สังคม อาชีพ มีการทำเมลสื่อแจกกัน
  • - ภาพของชุมชนเมื่อกสทช.ได้ตรวจสอบการทดลองออกอากาศบางคลื่นได้ออกมากแล้ว
  • - การประมูลความถี่ที่เป็นอยู่มี 2 อำนาจ คือ นักการเมือง และนักธุรกิจ

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

วิทยุกระจายเสียงของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี 2540 กว่าจะเป็นคลื่นใช้เวลา 10 ปี ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติเยอะมาก

ปี 2475 – 2500 มีโฆษณาชวนเชื่อแฝงอยู่

ปี 2510 เริ่มมีการจัดระบบ

ปี 2522 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง

ปี 2532 – 2540 เป็นทุนนิยมการสื่อสาร กำลังเปลี่ยนเป็นเสรี ยุคนี้เริ่มมีการปฏิรูปสื่อ ดึงสื่อทั้งหมดเข้ามาเป็นของชาติ จากระบบสัมปทานเป็นใบอนุญาต มีรอยต่อกฎหมาย บางช่วงให้วิทยุชุมชนขาย มีวิทยุชุมชนหลายแบบสอนเข้ามา

หลังปี 2540 เริ่มมีการแบ่งระบบ

1. สื่อของรัฐ

2. สื่อธุรกิจเอกชน

3. สื่อภาคประชาชน ที่ชุมชนทำอยู่

การทำ Focus Group

1. อยากทราบเงินสนับสนุนกองทุนเป็นเท่าไหร่ แต่เงินกองทุนตอนนี้ไม่ชัด บางภาคเริ่มทำงานวิจัยไปแล้ว ถ้าดำเนินการวิทยุชุมชนว่ากองทุนสนับสนุนเท่าไหร่

2. อยากยืนด้วยลำแข้งของตนเอง แต่เข้าไปประมูลได้

นอกเหนือจากงานวิจัยยังมีแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของวิทยุกระจายเสียงซ้อนอยู่ ได้รับการพัฒนาวิทยุเพียงพอหรือไม่ บางแห่งปัจจัยไม่มี การสนับสนุนทางเทคนิคไม่พอ

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์เวลาโดนป้อนอย่างไรส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้น ที่ทางรัฐครอบสื่อไว้ก็เพื่อเป็นความมั่นคง

ปี 2543 มีการจัดตั้งสายงานดูแลประชาชนเรียกร้องมากขึ้น จึงต้องมีการดูแลตนเอง ให้กรมประชาสัมพันธ์ออกใบอนุญาตหลายแห่ง แต่ตอนหลังมีคนขอทำวิทยุมากขึ้นจึงเกิดการปล่อยฟรีมากขึ้นแต่ไม่ให้โฆษณา ซึ่งทางวิทยุบอกอยู่ไม่ได้ เลยให้มีโฆษณาแค่ 10 นาทีและทำให้วิทยุมีเกิดขึ้นเรื่อย ๆ กว่าพันราย

พ.ร.บ. ปี 2551 มีการจัดระเบียบแยกวิทยุเป็น 3 ประเภท

1. วิทยุเพื่อสาธารณะ (โฆษณาไม่ได้ แสดงได้แต่โลโก้อย่างเดียว)

2. วิทยุธุรกิจ (โฆษณาได้ แต่ต้องมีการประมูลคลื่นอย่างเดียว)

3. ชุมชน (พัฒนามาจากหอกระจายข่าวหมู่บ้าน มีชุมชนที่หลากหลาย เลยบัญญัติวิทยุชุมชนไว้ แยกกลุ่มตามชุมชน ท้องถิ่น อุตสาหกรรม ให้กองทุนสนับสนุนเงินให้วิทยุเลี้ยงตัวอยู่ได้เพื่อให้มีกำไร)

ปัญหาคือวิทยุชุมชนไม่เข้าตามนิยามนี้จึงไม่สามารถยื่นขอใบอนุญาตได้ เนื่องจากกฎหมายมีข้อจำกัด ไม่ให้อำนาจ ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้แก้ข้อจำกัดอย่างนั้น หลายแห่งเกิดปัญหาเยอะ อาทิ การสร้างความร่ำรวยให้กลุ่มคนบางกลุ่ม ปัญหาการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี ผู้ประกอบการไม่มีจิตสำนึก การขยายสัญญาณบางครั้งขยายจนรบกวนเป็นคลื่นแทรก เป็นการรบกวนสิทธิ์ วิทยุชุมชน ทำให้เรารบกวนสิทธิ์คนอื่น วิทยุชุมชน จึงเกิดปัญหา ทำอย่างไรถ้าเราสั่งซื้อคลื่น ทำอย่างไรไม่ให้มีการกวน มีการบล็อกคลื่นสัญญาณ ทำอย่างไรให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้ทั้งภาคธุรกิจ และชุมชน สังคมสงบสุขได้เพราะพวกเราเอง เราต้องมีวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ การนำเสนอข่าวสารจำเป็นสำหรับชุมชนในกลุ่ม ขอให้ทุกคนละวางประโยชน์ส่วนตน ทำอย่างไรวิทยุชุมชนที่มีอยู่เข้าไปสู่ระบบกฎหมายได้อย่างถูกต้อง กฎหมายมีข้อเสนออย่างไรถึงไม่รบกวนสิทธิ์ผู้อื่นทั้งทรัพย์สินส่วนบุคคล และข่าวสารต่าง ๆ

โจทย์ของวันนี้ต้องมีหลายรูปแบบหลายความคิด ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เส้นทางไปสู่เป้าหมายยังขรุขระอยู่ พัฒนาความรู้ของประชาชนเป็นสังคมที่น่าอยู่ มีความยั่งยืนเป็นเป้าหมายเพื่อระยะยาว

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

1. ต้องการทราบสถานการณ์ความจริงปัจจุบัน

2. เรื่องเทคนิคปัจจุบันที่มีอยู่เป็นอย่างไร

3. ความต้องการภาคประชาชน ผู้ประกอบการ

4. การกำกับดูแล จากการไปสัมผัสที่เชียงใหม่  by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">พัทยา ได้กรอบกำกับ 3 เสาหลัก คือ

เสาที่ 1 กำกับดูแลโดยภาครัฐ กสทช.

อยากให้พูดเรื่องตัวบทกฎหมายที่มีอยู่ การบังคับใช้กับการพัฒนาในอนาคต อยากเพิ่มเติมตรงไหน

เสาที่ 2 อยากให้ตั้งสมาคมดูแลกันเอง มีการสร้างจรรยาบรรณ และให้คนอื่นทราบด้วย อาจดูแลด้วย

1. ตนเอง เขียนจรรยาบรรณ และคลื่นอื่นทราบหรือไม่

2. ขอความร่วมมือจาก กสทช.หรือไม่ อยากให้กฎหมายมีอะไรบ้าง

3. การกำกับดูแลโดยผู้ฟัง (Social Sanction) มีประชาชนร้องเรียนหรือไม่ อาจต้องมีการทำวิจัยในเรื่องนี้

คุณวรวุฒิ โตมอญ

กลุ่มคนที่มาที่นี่มาจากหลายบทบาทหน้าที่ อยากเชิญชวนให้คนลืมบทบาทหน้าที่ของตนเองลงก่อนในเบื้องต้น สิ่งที่อยากเห็นคือเห็นอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคม

กลุ่มแรก คือผู้ส่งสาร เอาสาระไปสู่ประชาชน

ขอให้ดูเรื่องสิทธิและหน้าที่ว่าขัดแย้งกันหรือไม่ สถานีวิทยุที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้คำนึงถึงสิทธิของคนอื่นหรือไม่

ในวงการวิทยุด้วยกัน ถ้าจะทำให้มีมาตรฐานเหมือนแพทย์สภา ควบคุมกันเอง หรือทนายความควบคุมกันเอง เห็นด้วยหรือไม่ และมีแนวคิดอย่างไร

คุณธนพภณ ปิ่นชัยโย ผู้อำนวยการวิทยุชุมชน How Radio จ.สระบุรี

งบประมาณสนับสนุนต่อเดือนที่จะให้น้อยไป และในความเป็นจริงไม่ได้ซึ่งถ้าได้ต้องใช้ความสามารถในการเขียนโครงการให้ดีและต้องทำตามนั้น ซึ่งบางครั้งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ถ้าจะให้ให้ไปเลยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และให้เขียนแค่รายงานส่ง

คุณอภิวิชญญ์ ทิพย์รัตน์ ผู้อำนวยการสถานี Zoom Radio 102.75 MHz

วิทยุชุมชน หรือวิทยุธุรกิจท้องถิ่น เกิดมาก่อน กสทช.หรือกทช. สมัยก่อนวิทยุชุมชนอยู่กันเองได้ ด้วยเสา 30 เมตร คลื่นส่ง 30 วัตต์ คนฟังก็ฟังอย่างมีความสุขและสามารถเข้าถึงประชาชนได้ 100 % ถ้าจะพึ่งวิทยุใหญ่ ๆ มีความเป็นไปได้ยากจึงต้องใช้ชุมชน

ปัญหาเกิดตั้งแต่เริ่มมี กทช. พยายามออกกฎระเบียบมากมาย ในส่วนผู้ประกอบการพยายามปรับให้สู่ระเบียบ แต่ ณ วันนั้น ถึงวันนี้ ยังไม่มีระเบียบที่เป็นรูปธรรม ต่อมามีกสทช. ก็ออกกฎระเบียบมากมาย ผู้ประกอบการชุมชนทำตามกำลังที่มีอยู่ไม่ทราบกฎหมาย กฎระเบียบ ต่อมาออกกฎหมาย พ.ร.บ. จัดสรรคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียง สังเกตได้เลยว่ากฎหมายเมืองไทยแค่ 15 นาทีผ่าน ไม่มองถึงว่าอดีตทำอย่างไรมา ไม่ได้ลงไปถึงหัวใจของระดับรากหญ้า กสทช. ตั้งกฎ ระเบียบ นั่งเทียนอย่างเดียว และจับเขาตลอดเวลา

ปัญหาคือ กสทช. ไม่ดูแลเลย วิทยุรากหญ้าให้ทำอะไรก็ทำ ปัจจุบันวิทยุธุรกิจเปิด 3,000 – 5,000 รายมีการเปิดแทรกกันก็เป็นปัญหา แต่ขอขอบคุณในส่วนวิทยุการบินที่ออกไปให้ความรู้ ตรวจคลื่น วิทยุท้องถิ่น

วิทยุชุมชน คือการสร้างความสามัคคี สร้างความอบอุ่นในชุมชน

วิทยุการเมืองยังไม่จับ มาเอาอะไรกับวิทยุเล็ก ๆ

อย่ามองที่ผู้ประกอบการเล็ก ๆ ให้มองที่ตัวเองก่อนว่า กสทช.ทำอย่างไร

การประสานงานกับองค์กรภาครัฐ ปี 2554 ไม่เห็นใครออกมาเลย มีเพียงวิทยุเล็ก ๆ ช่วยประสานกันทั้งหมด แล้ว กสทช. ก็ไปจับพวกเขา

วิทยุขนาดเล็ก รักที่จะสร้างสรรค์ สังคมให้ดีเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน แม้จะต้องหารายได้ สร้างสรรค์สังคมให้สวยงาม

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อยากให้เน้นประโยชน์สูงสุด และมีคุณธรรม จริยธรรมกำกับ

คุณกิตติชัย ภูชนะ ประธานเครือข่ายระวังภัยทางสังคม จ.ชลบุรี

มี 70 สถานีรวมอยู่ในกลุ่ม ปัญหาทั้งหมด กสทช. มีส่วนในการทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้น ที่ผ่านมาได้สัมผัสวิทยุชุมชน แต่ก่อนวิทยุชุมชนสร้างความรัก ความกลมเกลียวกันมาก เป็นการรวมกลุ่มในชุมชนออกคลื่น 300-400 วัตต์ ส่งได้ 50 กม. กล้าตั้งสถานี และมีบทบาทในการสร้างความสามัคคีในชุมชน ต่อมาวิทยุชุมชนเริ่มมีมากขึ้น จึงมีประกาศการจัดระเบียบจาก กสทช. บังคับให้คนที่ลงทะเบียนบังคับอยู่ที่ 500 วัตต์ แต่เจ้าของผลิตภัณฑ์ที่มีเงินมหาศาลตั้งใหม่ มี 3,000-10,000 วัตต์ กลายเป็นว่าคนที่อยู่ในร่องในรอยถูกบีบ

คนที่เข้าไปอยู่ในกรอบ 500 วัตต์ แต่เจอคน 3,000 วัตต์ แย่งโฆษณาไป ทำให้คนลงทะเบียนถูกต้องอยู่ไม่ได้

อย่าให้วิทยุชุมชนอดอยากปากแห้ง ถ้าทำมาหากินไม่ได้ ไม่สามารถเลี้ยงเครือข่ายได้ พอมีสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ยื่นเขามา เขาก็อาจจะรับสิ่งนั้น

คุณเบญจพร พงษ์ประดิษฐ์ ผู้จัดรายการวิทยุ F.M.98.00 MHz และผู้จัดรายการรู้รักแผ่นดิน

กสทช. มีเป้าหมายหลักเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวสยาม

แต่ที่สังคมวุ่นวายเพราะคำพูดของคน ประเด็นคือสิ่งที่ทำนั้นทำเป้าเพื่อชาติบ้านเมืองหรือไม่ วิทยุชุมชนควรจัดมาเพื่อประโยชน์แผ่นดิน ไม่ใช่เพื่อเงินในกระเป๋า

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทบาทของกสทช.ในอนาคต เรื่องกองทุนน่าจะเป็นงานวิจัยที่สำคัญ

ครูบาต้นน้ำ

นโยบายวิทยุชุมชน มหาบัว วิทยุชุมชนคือวิทยุตามเสียงเป็นเสียงตามสาย เพื่อประโยชน์ท้องถิ่น ที่ต้องอาศัยความร่วมมือกัน แต่ กสทช.มาให้เซ็นตามกฎหมาย ต้องเป็นพ.ร.บ. เสนอและประชุมหลัก มี สว.วิทยุชุมชนเข้ามาค้านกสทช.

ตัวแทนจากวิทยุ จ.นนทบุรี

การกระจายเสียงในชุมชนค่อนข้างมีความสุข ไม่ต้องมีโฆษณาก็อยู่ได้ แต่ที่สูงมากเพราะเป็นทุนนิยม

โครงการการกำกับดูแลวิทยุชุมชนจะทำอะไร ถึงไม่ใช่ปัญหา เราจะกำกับดูแลอย่างไรทั้งสาธารณะ ธุรกิจ ให้กติกาอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

เสายิ่งสูงเท่าไหร่ การก่อกวนยิ่งมาก

การให้บริการชุมชนเสมือนเป็นหอกระจายข่าววิทยุชุมชน จึงอยากให้มีการดูแลกันเอง ทำอย่างไรในการดูแลผู้ประกอบการวิทยุมี 3 ส่วนสำคัญ

ทางด้านเทคนิคจึงสำคัญที่สุด ฝากเรื่องเทคนิค การกระจาย 20 ตารางกม. น่าจะมีปัญหา ตราบใดที่ไม่มีคลื่นใกล้เคียงกันน่าจะไปได้ไกล

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คลื่นดิจิตอลเรดิโออาจจะแพงหรือยุ่งยากมากกว่า เป็นเทคโนโลยีที่เสริมกันได้ เมื่อไรพร้อมก็จะวิ่งมาสู่ดิจิตอล

คุณภาพของคนมีคุณธรรมจริยธรรม จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีหลักสูตรการพัฒนาคน

เริ่มจากพื้นฐานก่อน และกลับมาสู่ที่ภาคชนบท

งานของ กสทช.เรื่องทุนมนุษย์ ต้องให้เขามีความเข้าใจกัน สร้างคุณธรรม จริยธรรมในวงการวิทยุ

ต้องการให้สื่อปฏิรูปความคิด สร้างค่านิยม ถ้าวิทยุชุมชนทำดี กองทุนต้องให้เขา ถ้าทำไม่ดีต้อง Sanction กัน

กสทช. ต้องเป็นปฏิปักษ์ และวิ่งไปสู่เป้าหมายนั้น

ถ้าเราคิดถึงเป้าหมายส่วนรวม วิทยุจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนที่ถูกที่สุด และสามารถแก้ปัญหาสังคมได้

หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของเทศบาล

หอกระจายข่าวปีที่ 32 ร่วมกับวิทยุชุมชนครั้งแรก จะเห็นว่าวิทยุชุมชนไม่สามารถได้เงินจากองค์กรท้องถิ่นได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่สนับสนุนให้ท้องถิ่น การควบคุมดูแล มีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่ช่วยดูแลวิทยุชุมชนได้ บอกแนวทางช่วยวิทยุชุมชนได้

แนวทางรวม ๆ ประชาสัมพันธ์โดยท้องถิ่น ทำงานด้านสื่ออยู่แล้ว

วิทยุที่แบ่งแยกและมีปัญหาเกิดขึ้น โดยปกติจะแข่งขันเรื่องความดัง และความไกล

วิทยุชุมชนที่เป็นสาธารณะ แต่โฆษณาไม่ได้ จะเอาเงินตรงไหนมา ที่แข่งกันเพราะอยากดัง และปากท้องไม่มี ต้องจ้างดีเจดัง ๆ มา

ถ้ามีกฎหมายหรือวิธีอะไร ให้ส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์รายงาน จะเกิดประโยชน์มากกว่าหาข้อสรุปแบบนี้

สถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพมหานคร

เสนอคุณธรรม จริยธรรมการบริการชุมชน และเป้าหมายเพื่อระบุชัดเจน จะเป็นเบ้าหลอมให้สังคมสู่เป้าหมายเดียวกัน เสนอการศึกษาหน้าที่พลเมืองที่ดี

หลักสูตรที่สำนักพิมพ์เสริมขึ้นมาทำให้เกิดผลดีและความแปลกแยกในสังคมเช่นเดียวกัน

วิทยุชุมชนบางคลื่นฟังไม่ได้ ไม่ว่าเป็นวิทยุชุมชนหรือก่อการ เราต้องมีการกีดกรอบและให้เคารพในกฎหมาย

คุณชาญยุทธ ศรีพรหม ผู้อำนวยการสถานีวิทยุชุมชนเขาเพิ่ม F.M. 92.00 MHzจ.นครนายก

ทุกคนมองที่ช่องว่างอยากได้ของตนเอง อยากให้มองว่าทำอย่างไรถึงร่วมกันได้ ต้องดูว่าระดับที่จะทำได้ขนาดไหน

กสทช.ให้มองว่าเสียงส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับเท่าไหร่เป็นมาตรฐานกลาง เช่น 1,000 วัตต์ รับได้แต่ห้ามเกิน

อยากให้มีข้อมูลต่าง ๆ ถึงกันระหว่างผู้ประกอบการและกสทช.

อยากให้มองที่เป้าหมายแล้ววิทยุชุมชนเกิดได้แน่นอน เพิ่มหรือลบได้หรือไม่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิทยุเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยและทันเหตุการณ์ ถ้าให้วิทยุเกิดประโยชน์ ความรู้ รักชาติบ้านเมืองแทนที่จะขัดแย้งกัน

คิดถึงประเทศ คิดถึงส่วนรวมแล้วอยู่ได้ด้วย

บทบาทกสทช.ในอนาคตและเสริมจุดเดิมได้จะประสบความสำเร็จ

คุณสรวิชญ์ ไชยเลิศ เลขาธิการสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการ

มีการอบรมสัมมนาประกาศเจตนารมย์วิทยุกระจายเสียงและวิทยุบังคับ ทำเป็นรูปเล่ม ให้มีการรวมตัวและดูแลกันเป็นอย่างไร พบ 2 เรื่องที่เห็นเป็นปัญหา คือ

1. มาตรการของ กสทช.มีการกำหนดอยู่ที่ 500 วัตต์ไม่ควรเกิน แต่ปัจจุบันเกิน อยากให้ กสทช.มีการจำกัดอย่างชัดเจน มีการส่งคลื่น ระงับสัญญาณ ถอนสิทธิ์ แต่ กสทช. มีบุคลากรไม่เพียงพอที่จะไปตรวจจับ มาตรการการจับมือร่วมกัน องค์กรวิชาชีพความร่วมมือมีการรวมกลุ่มกันอย่างชัดเจน ส่งเสริมการอบรม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่งเสริมเสรีภาพสิทธิต่าง ๆ ปกป้องสิทธิทั้งผู้ฟังและชุมชน มีจริยธรรมที่ประสานกับกสทช.ได้ เราจะให้สถานีวิทยุมี สส.สังกัด ทุกคนปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด

ถ้าไม่ปฏิบัติจะเป็นแกะดำ จะให้กสทช.ดำเนินการอย่างไร โดยที่แต่ละสมาคมจะเป็นหูเป็นตาและควบคุมกันเองด้วย

2. การสนับสนุนให้กับองค์กร วิทยุปัจจุบันจะสู้กับพวกทีวี ฟรีทีวีไม่ได้ เพราะได้ทั้งภาพและเสียง ถ้าจะมีกองทุนต่าง ๆ ช่วยสนับสนุนจะเป็นการดี เพราะหางบโฆษณาได้เยอะ ปัจจุบัน กสทช.บังคับให้เป็นนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะก่อให้เกิดต้นทุนในการปิดงบ ถ้าไม่มีการสนับสนุนจะไปหาโฆษณาที่เกินจริง ดังนั้น กสทช.ต้องมีตัวนี้สนับสนุนไม่งั้นอยู่ไม่ได้ไม่เช่นนั้น เขาจะไปหาเงินจากการเมือง และโฆษณาเกินจริง จึงอยากให้เน้นการควบคุมดูแลซึ่งกันและกันในเชิงสมาคมได้

เมื่อกสทช.ตั้งให้เป็นบริษัท เป็นไปไม่ได้ที่หารายได้ 100-1000 ล้าน ดังนั้นการสนับสนุนของกสทช.ต้องมากกว่าโทรทัศน์ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำเงินเพื่ออยู่รอด

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

เห็นข้อแตกต่างของข้อเสนอกันอยู่

วิทยุกระจายเสียงเล็ก ยังมีความแตกต่างของข้อเสนอเช่น 500 วัตต์หรือบางครั้งเกินไป บางท่าน 300 วัตต์ บางครั้ง 1000 วัตต์ ไม่มีมาตรฐานแล้ว

  • คุณทินกร ชูวงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ (บริหารทางอากาศ) 
    บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

เข้าใจว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ในอนาคตเป็นอย่างไร การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการรบกวนซึ่งกันและกัน จะแก้ปัญหาอย่างไรในเชิงเทคนิค กฎหมายและการกำกับดูแลต้องสร้างกระบวนการที่ยอมรับและเพื่อการพัฒนา เชื่อว่าไม่มีอะไร 100 % ที่สมบูรณ์แบบ อยากให้มองว่าอนาคตกฎหมายจะพัฒนาไปอย่างไร ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

ด้วยวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชน โดยให้ประชาชนหรือชุมชนได้มีส่วนร่วม ประโยชน์การจัดตั้งทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมว่าต้องการอะไรในเรื่องนั้น ส่วนร่วมเป็นเสียงจากผู้ประกอบการ ถ้าหากนิยามชุมชนชัดเจน การมีส่วนร่วมน่าจะเบ็ดเสร็จได้ตรงนั้น และชุมชนจะไม่ใช้ 20 ตารางกิโลเมตรตลอดไป

คุณสกลชัย บุญสรรค์ รองประธานและสมาคมวิทยุและโทรทัศน์ จ.ชัยนาท

กสทช.กำหนดอยู่แล้วว่าชุมชนควรเป็นเท่าไหร่ ๆ กลายเป็นลูกครึ่งวิทยุชุมชน เพราะว่าแต่ก่อนทำเป็นธุรกิจ มีร้านก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้นมาโฆษณามากมาย ความเป็นชุมชนเยอะ แต่ปัจจุบันน้อยลงพอสมควร เนื่องจากความโลภของมนุษย์ ใช้จ่ายมากขึ้นความต้องการมากขึ้น ความเป็นวิทยุธุรกิจเข้ามา

ถ้าเป็นไปได้อยากให้ไปในระดับจังหวัด เช่น จ.ชัยนาทจะได้ครบทั้งคนฟัง จะดีมาก

ชมรมผู้ประกอบการวิทยุจังหวัดชัยนาท พอถึงจุดหนึ่งน่าจะเป็นสมาคมเพื่อรวมกลุ่มในจังหวัดกันเอง การดูแลกันเอง มีจรรยาบรรณ ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง ที่สร้างให้ตัวเองอยู่แล้ว

เสนอการรวมกลุ่มให้แต่ละจังหวัดให้ดูแลกันเอง ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี จากจังหวัด เป็นภาค แต่ละพื้นที่มีความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองไม่เหมือนกัน รวมเป็นระดับภาค ระดับประเทศ โดยมี กสทช.เป็นแม่งาน

ปัญหาคือ เรื่องของรายได้ คนเป็นวิทยุธุรกิจโฆษณาได้ 75% วิทยุชุมชนห้ามโฆษณา ยกเว้นการโฆษณาเชิงสร้างสรรค์สามารถทำได้ การสนับสนุนไม่ค่อยได้ใช้มาก

ถ้าอยากจะช่วยด้วยความจริงใจให้บอกมาว่าจะทำอย่างไรกับเรา เพราะตอนนี้เป็นเสมือนสุญญากาศ สิ่งที่จะต้องพัฒนาค่อนข้างยากแต่ไม่ยากเกินกว่าคนจะทำได้

อาจารย์พรนภา แก้วลาย หัวหน้าสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.รังสิต

ทุกอย่างที่ต้องการบางครั้งเป็นเสมือนนามธรรม บางครั้งโดนกระแสสังคม ทำให้ลืมคุณธรรม จริยธรรมบ้าง แต่เป็นแง่ดีที่แสดงแง่คิดตรงนี้

กสทช. เขต 1 นนทบุรี

จะน้อมนำปัญหาต่าง ๆ ไปให้ผอ.ทราบ

ในเรื่องการตรวจสอบการใช้คลื่น การรบกวนคลื่นจะมีการเบาบางได้ ทั้งกำลังส่ง การแปลกปลอม

20 จังหวัด การรบกวนแต่ละจุดอาจไม่ทันการณ์

คุณสรวิชญ์ ไชยเลิศ เลขาธิการสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการ

ถ้าสถานีแต่ละที่ไม่ให้ความร่วมมือเราจะทำอย่างไร ให้กสทช.ดูแล บางสถานีเป็นแกะดำ ไม่ทำตาม ทำอย่างไรให้แจ้งละเมิด มีบทกำหนด รวมตัวแจ้งว่ามีอะไรเกิดขึ้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต่างประเทศคลื่นยังอยู่ที่ไปรษณีย์ กสทช. ดูแค่นโยบาย แต่ไทยรวบไว้หมดเลย

กสทช.เหมือนองค์กรที่มีอำนาจมาก กสทช.ต้องฟังเสียงจากรากหญ้าด้วย ต้องไม่ดาวกระจาย เลือกบางส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อเรา ถ้าอยู่ไม่ได้ กสทช.ต้องช่วย หรือช่วยตัวเอง ไม่ใช่อยู่ไม่ได้ไปหานักการเมือง หรือโฆษณาเกินจริง นั่นแหละทำลายประเทศ

ในอนาคตประเทศไทยจะมีความสวยงามมากขึ้น

ครูบาต้นน้ำ

- จะจัดระเบียบในวิทยุชุมชน ถ้า กสทช.จะเป็นวิทยุที่เปลี่ยนระบบใหม่ ขอให้กสทช.เปิดกว้างสำหรับวิทยุชุมชนแล้วแบ่งแขนง เช่น ศึกษา ศาสนา แพทย์

- จุดที่วิทยุชุมชนไปชนกับวิทยุการบินมีอะไรที่ป้องกัน จะได้ไม่ต้องมานั่งแก้ หาข้อมูลที่มีทั้งข้อเสียและข้อดี

- เคยคุยกับที่ประชุมสงฆ์อยากให้ตรวจสอบว่าจุดไหนที่วิทยุชุมชนไปรบกวนให้ทำอะไรเป็นสเกลงาน

คุณธนพภณ ปิ่นชัยโย ผู้อำนวยการวิทยุชุมชน How Radio จ.สระบุรี

- ที่พูดมาทั้งหมดอยากให้สรุปให้ได้ใจความ อยากให้เขียนชัด ๆ ไม่ต้องตีความ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้ชัดเจน

- อยากให้กสทช.ถามวิทยุว่าต้องการอะไร ให้เขาได้ไหม ถ้าให้ก็ทำได้

คุณกิตติชัย ภูชนะ ประธานเครือข่ายระวังภัยทางสังคม จ.ชลบุรี

- เอากฎหมายเป็นตัวตั้ง เหมือน กสทช.มีกฎหมายเป็นตัวให้เราทำตาม จุดนี้คือจุดแก้ไข วิทยุชุมชนมีหลายประเภท บางประเภททำถูกต้อง บางประเภทก็น่าสงสารเช่น บางประเภทให้โฆษณาให้แค่ 6 นาที บางชุมชนได้จัดให้มีการรวมกลุ่มกันคิดต่าง ๆ นาๆ

ในอนาคตข้างหน้า วิทยุชุมชนโฆษณาไม่ได้ วิทยุธุรกิจต้องประมูล เหมือนการล็อกไม่ให้ไปไหน มีประโยชน์ได้หลายทาง เหมือนอย่างโอทอปหรือวิทยุชุมชน

- วิทยุชุมชนกับวิทยุธุรกิจเกือบจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อยากนำเสนอว่าถ้าเป็นไปได้ว่าทุกสถานีอยู่ที่ 500 วัตต์ จะดังอยู่ที่อำเภอนั้น แต่ถ้ารายใหญ่อยากประมูลก็ให้ประมูลกันไป

สินค้าที่โฆษณาในอำเภอ น่าจะอนุรักษ์วิทยุชุมชน วิทยุธุรกิจชุมชนเอาไว้

คุณสรวิชญ์ ไชยเลิศ เลขาธิการสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการ

บางสถานีเป็นวิทยุชุมชน บางสถานีเป็นธุรกิจ สถานีที่จดเป็นวิทยุชุมชนบางรายมีการหลบเลี่ยงหารายได้ธุรกิจ ถ้าจับได้จะมีการปรับหรือไม่ กสทช. บังคับให้สถานีเป็นนิติบุคคล ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ อย่างไรก็ตามต้องรวมกลุ่มกันให้วิทยุเผยแพร่คุณธรรม จริยธรรมให้อยู่ได้ ถ้าไม่เกิดการควบคุมกันได้ กสทช.จะทำอย่างไรให้ร่วมมือกันได้

คุณสรยุทธ์ ไพโรจน์ อ.หนองแค จ.สระบุรี

เป็นส่วนหนึ่งอยู่ตรงกลาง ฟังมานานแล้วยังไม่เห็นตัวบทกฎหมายของกสทช.ที่ออกมาว่ามาตรา 1, 2, 3,……เป็นอย่างไร อยากให้กสทช.ออกกฎหมายมาเผยแพร่ได้หรือไม่จะได้มาคุยกันหาแนวทางปฏิบัติกัน จะได้เดินทางได้ถูกทาง

กฎหมายอยู่ตรงไหน ในส่วนความเหลื่อมล้ำ วิทยุไม่มีความเหลื่อมล้ำกัน มีการแอบแฝงเป็นเรื่องปากท้อง และครอบครัวนิด ๆ

คุณกิตติชัย ภูชนะ ประธานเครือข่ายระวังภัยทางสังคม จ.ชลบุรี

วิทยุชุมชนจริง ๆ ก็อยากเป็นวิทยุชุมชน แต่ที่น่าเสียดายวิทยุธุรกิจจ่าย หมื่นเจ็ดร้อยบาท (รวมภาษี) ปีนี้ก็จ่ายหนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยบาท แต่ยังมีวิทยุเถื่อนที่ทำมาแล้วกี่ปีก็ไม่มีการจ่ายเงิน ก็ให้เกิดความน้อยใจจากผู้ที่ทำถูกกฎหมาย

ฉลวย แจ้มสุนทร ผู้อำนวยการสถานีวิทยุบ้านนา จ.นครนายก

วิทยุธุรกิจ วิทยุสาธารณะ วิทยุชุมชน อยากให้มีคำจำกัดความ กฎหมายมีหรือไม่ การควบคุมเป็นอย่างไร อยากรู้ข้อมูลธุรกิจว่าต้องทำขนาดไหน กฎหมายบอกมาหรือไม่

ธุรกิจ สาธารณ ชุมชน มีกฎหมายควบคุมหรือไม่เป็นอย่างไร

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

กฎหมายกำกับวิทยุ กับการจัดสรรคลื่นความถี่ รัฐทำ กสทช.ได้รับมอบหมายมา

สถานีวิทยุคนออกใบอนุญาตได้คือกรมไปรษณีย์โทรเลข ออกได้เฉพาะรัฐเท่านั้น

รัฐธรรมนูญ 40 ออกไว้ อยู่ระหว่างร่างกฎหมาย มีหอกระจายข่าว ให้ชุมชนดูแลตนเอง ควบคุมกันเอง มีนโยบายให้กรมประชาสัมพันธ์ ไม่รบกวนกัน มีหลักเกณฑ์ว่าคลื่นกำลังส่งเท่าไหร่ มีกลุ่มวิ่งเข้าหารัฐบาล

ปี 2550 มีร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มีกทช. และกสทช.ดูแล จนปี 2550 มีการปฏิวัติ ปี 2551 มีการออกกฎหมายที่คุมโดยเฉพาะระบุสถานีวิทยุ 3 ประเภท มีสาธารณะ ธุรกิจ ประกอบกิจการแสวงหากำไร

วิทยุชุมชน คือการรวมกลุ่มกันของชุมชนเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ชุมชน ห้ามมีโฆษณา

วิทยุธุรกิจต้องมีการเปิดประมูล โดยมีการจัดสรรเท่านั้น วิทยุใดอยู่โดยชอบด้วยกฎหมายให้อยู่โดยชอบต่อไป ยังไม่มีการประกาศคืนคลื่น สถานีที่จะเกิดขึ้นใหม่จึงยังทำไม่ได้

วิทยุชุมชนเข้านิยามของกฎหมายด้วย

พ.ร.บ. ปี 2543 ให้ชั่วคราว ปี 2553 ไม่ได้กำหนดใบชั่วคราว ต้องรีบจัดการให้เสร็จให้เข้ากรอบกฎหมาย ถ้าเห็นว่ากฎหมายไม่ดี เป็นปัญหาก็ให้ความเห็นไป ก็ต้องมีมาตรฐานมีกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ผู้ร่างต้องให้ประชาชนมีบทบาทเพื่อเสริมสร้างท้องถิ่น สร้างตนเอง สื่อสำคัญ ผู้เขียนพยายามเขียนตีกรอบ ให้อ่านพ.ร.บ.ปี 2541 จะเข้าใจนิยามและความหมายดี

วิทยุชุมชน เขียนกฎหมายให้กองทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อให้อยู่ได้ ให้ชุมชนเผยแพร่ข่าวสารให้

เนื้อหาสาระวิทยุที่จะออกเป็นอย่างไร มีขั้นตอนการกำกับดูแลทั้งหมดในตัวบทกฎหมาย บางทีอาจมองปัญหาของเรา ว่าเราอยู่ในกฎหมายหรือนอกกฎหมาย เรามีคุณธรรม จริยธรรมหรือยัง เคยคิดถึงลูกหลานหรือไม่

ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย บ้านเมืองไม่สงบสุข ทุกคนยืนอยู่ไม่ได้ ถ้าทุกคนพยายามออกนอกระบบ ทำไมไม่คิดว่าเราต้องยืนได้ด้วยตนเอง ถ้าจิตไม่พัฒนาไป บ้านเมืองลำบาก ถ้าคิดว่าเราอยากสบายกว่าคนอื่น แล้วคลื่นรบกวนคนอื่น กรอบของกฎหมายคือไม่ให้รบกวนกัน ให้ทุกคนเคารพสิทธิ์ การแผ่สัญญาณกระจายคลื่นเท่าไหร่

1. ขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม

2. คิดถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นคนอื่น

คุณจิรสุข ชินะโชติ

ที่พาดพิงว่าสื่อของรัฐโดนครอบงำ ไม่ได้เป็นเฉพาะช่องนี้ แต่เป็นมานานแล้ว เพราะผู้ใหญ่เป็นสื่อของรัฐบาล ใครเป็นรัฐบาลต้องทำตาม ไม่อย่างงั้นจะโดนย้าย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รัฐครอบงำได้คือประเทศด้อยพัฒนา สิ่งสำคัญคือการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม

คุณจิรสุข ชินะโชติ นักสื่อสารมวลชนชำนาญการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

การพัฒนาคน ปัจจุบันสื่อก้าวไกลคนสามารถเห็นคนจัดได้

อยากเน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

ผู้บริหารที่อยู่ข้างบนต้องเข้าใจการประกอบการของภาคสนามด้วย

ต้องบริหารจัดการสมัยใหม่ อยากให้ดูตัวอย่างที่สวีเดน นอร์เวย์ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี

เทคนิคสำคัญมาก ไม่ใช่เฉพาะการพัฒนาเทคนิคที่อยู่ในประเทศ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

8K’s ตัวที่ทำให้เป็นคนเก่งคือปัญญา และจริยธรรม คิดเป็น วิเคราะห์เป็น มีกรอบพัฒนาจริยธรรมไว้ และให้เรียนรู้เรื่องการเงินด้วย

ในอนาคตข้างหน้าอยากให้มีโอกาสรับใช้ กสทช.

คุณธนพภณ ปิ่นไชโย ผู้อำนวยการวิทยุชุมชน How Radio จ.สระบุรี

- กสทช.มีตัวตรวจจับคลื่นที่คลื่นไหนพูดลามก สามารถตรวจจับและพัฒนาได้

- คนที่ขัดและพูดไม่ถูกต้องต้องเบรก การจัดคนมาตีกันไม่ใช่หน้าที่ของสื่อที่ถูกต้อง

- คนเราอยากจะโตได้ ไม่ได้โตมาจากตัวเรา โตได้จากพ่อแม่ ทำอะไรนึกถึงพ่อแม่

- ทุกวันนี้ คนไม่เคยคิดถึงห่วงเราอยู่ข้างหลัง นี่คือคติสอนใจเราได้

คุณสรวิชญ์ ไชยเลิศ เลขาธิการสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการ

- ควรเน้นเรื่องการรู้จักผิดชอบชั่วดี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- อยากให้เชื่อมไปในอาเซียนด้วย

- ประเทศไทยต้องอยู่ได้ด้วยระยะยาว ไม่ใช่ระยะสั้น ถ้ามีโอกาสทำงานร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง เป้าหมายงานวิจัยสู่การพัฒนาคน

- ถ้าเป็นความต้องการของผู้ฟังในวันนี้ หลายคนพอใจมากสำหรับการพัฒนาวิทยุอย่างแท้จริง

คุณสกลชัย บุญสรรค์ รองประธานและสมาคมวิทยุและโทรทัศน์ จ.ชัยนาท

เรื่องเนื้อหาการผลิต การพัฒนามนุษย์มีหลายด้าน อยากให้มี Center ของข้อมูลจริง ๆ การพัฒนาเนื้อหาน่าจะทำให้เป็นแบบเดียวกันทั่วประเทศจะได้กลายเป็น Center เดียวกัน และพบว่ายังไม่มีที่ไหนทำ ปัจจุบันไม่มีการดึงข้อมูลเป็นส่วนกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก

กสทช.คิดจะทำอย่างไรกับวิทยุอย่างพวกเราบ้านในอนาคต และปัจจุบันวิทยุชุมชนยังเกิดขึ้นได้หรือไม่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เป็นเรื่องที่น่าทำมากในการเป็น Center ของข้อมูล

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

การเปิดวิทยุชุมชนเพิ่มเติม ผิดกฎหมาย ผิดตั้งแต่เสาที่ไม่ได้รับรองโดย กสทช
เป็นธุรกิจแอบแฝง ผิดกฎหมาย เป็นความโลภของมนุษย์

วิทยุชุมชนต้องเป็นชุมชน

กสทช.ไม่อาจละเลยกฎหมายได้ มีความผิดที่ไม่ทำ

ในระหว่างที่มีกฎหมายและยังไม่เข้าระบบ ก็ต้องช่วยกันอย่าทำให้เกินกรอบ ผิดกฎหมายอาญา และทุกอย่าง

คุณจิรสุข ชินะโชติ นักสื่อสารมวลชนชำนาญการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ปัญหาของวิทยุกระจายเสียง

วิทยุชุมชนเล็ก ๆ ฝนตกฟ้าร้องก็ต้องปิด เนื่องจากรบกวนเช่นกัน

คุณกิตติชัย ภูชนะ ประธานเครือข่ายระวังภัยทางสังคม จ.ชลบุรี

เสนอให้ฐานข้อมูลสามารถใส่ที่ Thailandradio.net สามารถใส่ข้อมูลเป็นศูนย์กลางได้ ให้ดาวน์โหลด ได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตัวอย่างรายการสถานีเชียงใหม่สามารถไขว้รายการเพื่อให้เกิดความหลากหลายและมีข้อมูลมากขึ้น

ความคิดเห็น

1. ฝากมูลนิธิในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดำเนินกิจการกระจายเสียง เช่นจรรยาบรรณวิชาชีพ

2. ผังรายการ มีการบูรณาการวัฒนธรรมที่หลากหลาย สื่อเป็นส่วนกลางสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบูรณาการ สามารถทำชุมชนต้นแบบ ไม่ว่าจะเป็นศิลปวัฒนธรรม วิชาชีพ

3. ตัวบทกฎหมายต้องตีความ ดำเนินการที่กสทช.ทั้งหมด

คุณธนพภณ ปิ่นไชโย ผู้อำนวยการวิทยุชุมชน How Radio จ.สระบุรี

อยากให้มีการจัดในพื้นที่ แลกเปลี่ยนข่าวสารร่วมกัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าสื่อมีจริยธรรม จะทำให้มี Content เพื่อช่วยให้สังคมดีขึ้น

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่แต่ละท่านนำเสนอจะนำเสนอว่ามีข้อมลผู้ประกอบการอย่างไร

- งานวิจัยที่อาจารย์จีระ ทำหมดเลย ในฐานะกรรมการอยากขอบคุณทุกท่าน สิ่งใดเสนอมาส่งกลับอยู่แล้ว

- ฝากให้อ่านเล่มที่ กสทช. แจกจะเป็นประโยชน์มาก

อาจารย์พรนภา แก้วลาย หัวหน้าสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.รังสิต

- การพัฒนาบุตรหลาน อบรมให้รู้ลักษณะงาน การอยู่ร่วมกัน การทำงานโดยต่อไป

จะอยู่อย่างไรที่ Win Win และอยู่ร่วมกันได้ เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

- การทำต่อเนื่องต้องค่อย ๆ ทำ อาจเริ่มจากชุมชนแต่ละที่ แต่ละแห่ง แต่ละภาค อยากให้ทุกท่านแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แก้ปัญหา พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

- ตัวละครคือผู้ฟัง จะสร้างผู้ฟังอย่างไรให้สามารถวิเคราะห์ ตัดสินใจในสิ่งถูกต้องได้ด้วย

คุณวรวุฒิ โตมอญ

- เรื่องคน เรื่องทุนมนุษย์ คนใช้วัสดุอุปกรณ์คือพวกเรา การควบคุมตรวจสอบกันเอง ท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วยหรือไม่ คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกา

- ในอนาคตควรมีการกำหนดโซนนิ่งนอกเหนือจากตัวคลื่นแล้ว คนที่รับประโยชน์ ได้ประโยชน์ในชุมชนควรมีส่วนร่วมในการตอบและให้ความรู้ในการใช้เวลาถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารเท่าไหร่ ควรมีความรู้กี่เปอร์เซ็นต์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในอนาคตถ้าการพัฒนาผู้ประกอบการวิทยุ ผู้ฟังและท้องถิ่นไปได้ดี จะดีมาก

ในอนาคตข้างหน้า การรู้จักกันก็แบ่งปันกัน

จะไปทำ Focus group เล็ก ๆ ที่ชัยนาท

เราน่าเป็นตัวอย่างที่ดีของวิทยุชุมชนของอาเซียน

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 18:05 น.
 


หน้า 386 จาก 557
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8589842

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า