Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

การเรียนรู้ - ทำให้เกิดไม่ได้ เกิดได้จากการเปิดโอกาส : SOLE

พิมพ์ PDF
สิ่งที่มนุษย์ต้องการ เพื่อการเรียนรู้คือ SOLE บรรยากาศที่เป็นอิสระ

การเรียนรู้ - ทำให้เกิดไม่ได้ เกิดได้จากการเปิดโอกาส : SOLE

ดู ที่นี่ Self-Organizing Learning Environment in the Cloud    เพราะมนุษย์มีธรรมชาติอยากเรียนรู้ หากไม่ถูกปิดกั้น

ขอบคุณ อ. นพ. ภูวัต จารุกำเนิดกนก ที่กรุณาส่งมาให้

วิจารณ์ พานิช

๑ ก.พ. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

ขอแนะนำให้กด link "ที่นี่" ด้านบน เป็นวีดีโอ ที่มีค่ามากครับ เป็นการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่

ขอบคุณ ซูกาตา มิตรา ผู้นำเสนอ และขอบคุณ นพ.ภูวัต จารุกำเนิดกนก และ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้นำมาเผยแพร่

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 10:25 น.
 

What I Saw at the Revolution : Hugh Gallagher เห็นการรณรงค์กู้ชาติ จากระบอบทักษิณ

พิมพ์ PDF
Yingluck Shinawatra, the prime minister, is merely the most recent public face of a powerful family dynasty that has a cobra choke on Thailand politics. It began with Yingluck's older brother Thaksin. For many, this former prime minister and multibillionaire is a saint, but he is also a fugitive, exiled in Dubai, with jail time waiting for him should he return to Thailand. He made sure his rule, from 2001 to 2006, was very profitable. Personal assets of more than $1.5 billion were frozen by the Thai government, still leaving Thaksin enough to pick up a Nicaraguan Diplomatic passport, buy England's Manchester City football team, then eventually settle into his Middle Eastern mansion. Now amid sheiks, he is rumored to be running the nation via Skype, through his sister. Opinions of Yingluck are not high in the Land of Smiles. Google the Thai word for stupid and she is in the top five results. The husband of a different Shinawatra sister was prime minister in 2008, and the future promises more of them. In October, a well-placed source within their party told the by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">Bangkok Post that Thaksin's son was being groomed for high political office.

What I Saw at the Revolution : Hugh Gallagher

อ่าน ที่นี่ เห็นการกอบกู้ประเทศไทยออกจากระบอบทักษิณ

วิจารณ์ พานิช

๑ ก.พ. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 10:29 น.
 

เลือกตั้ง ๒ ก.พ.๒๕๕๗

พิมพ์ PDF

เมื่อวาน (๑ ก.พ.๒๕๕๗) ผมยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า จะเลือกข้อใดใน ๒ ข้อ ดังนี้

 

๑.ไปเลือกตั้งและกาไม่เลือกใคร เพราะไม่เห็นด้วยกับการจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ ๒ ก.พ.๒๕๕๗ เนื่องจากเชื่อว่าไม่ทำให้ประเทศชาติได้รับผลดีจากการจัดเลือกตั้งในวันที่ ๒ ก.พ.๒๕๕๗ ประเทศชาติต้องเสียเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก และผลของการเลือกตั้งจะไม่เกิดผลในด้านการปฎิรูปเลยกลับทำให้เกิดการแตกแยกมากกว่าเดิม เสี่ยงกับการสูญเสียเลือดเนื้อของประชาชน สำหรับเหตุผลที่ผมคิดจะไปเลือกตั้งเพื่อไม่ให้ใครนำไปอ้างว่าผมไม่ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง และไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง และเป็นการรักษาสิทธของผม

 

๒.ไม่ไปเลือกตั้งเพื่อแสดงให้เห็นว่าผมไม่เห็นด้วยกับการจัดการเลือกตั้งในวันที่ ๒ ก.พ.๒๕๕๗ เหตุผลในการเลือกไม่ไปเลือกตั้ง เพราะเห็นว่า รัฐบาลรักษาการไม่มีคุณสมบัติที่ทำให้ผมและประชาชนเป็นจำนวนมากไว้ใจให้เป็นรัฐบาลรักษาการ ผลงานจากการบริหารจัดการบ้านเมื่องที่ผ่านมา มีแต่สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างมากมายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รัฐบาลรักษาการไม่ได้คิดถึงประเทศชาติ ไม่ฟังเสียงจาก กกต ซึ่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง ไม่ฟังเสียงทักท้วงจากหลายๆฝ่าย  รัฐบาลรักษาการขาดคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งๆที่ทำความเสียหายให้กับบ้านเมืองอย่างมากมายแล้ว ควรละอายใจและขอโทษประชาชน และลาออกเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมมือกันปฎิรูปประเทศชาติอย่างแท้จริง

 

เมื่อคืนทราบว่าเขตหลักสี่ที่ผมต้องไปเลือกตั้งประกาศว่า "เขตหลักสี่ไม่มีการเลือกตั้ง " ทำให้ผมสบายใจเพราะว่าไม่ต้องตัดสินใจเลือกข้อ ๑ หรือ ข้อ ๒ เพราะจริงๆแล้วทั้งสองข้อมีเหตุผลเดียวกัน แต่ยังเกิดการสัปสนอีกเพราะมีการ ออกข่าวมาว่า ประชาชนในเขตหลักสี่ต้องไปแจ้งที่เขตหลักสี่ภายใน 7 วันถ้ายังต้องการรักษาสิทธิในการเลือกตั้ง เพราะถ้าไม่ไปแสดงความจำนงว่าต้องการใช้สิทธิในการเลือกตั้งภายใน ๗ วัน ถือว่าเป็นผู้ที่ไม่ต้องการใช้สิทธิไปเลือกตั้ง จึงถือว่าหมดสิทะธิตามกฎหมาย

ผมเกรงว่าการปล่อยข่าวนี้ออกมาจะทำให้คนที่ไปแจ้งความจำนง จะถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลว่าเป็นผู้เห็นด้วยกับการให้มีการเลือกตั้งในวันที่ ๒ ก.พ.แต่ถูกขัดขวางสิทธิ และนำไปใช้เป็นจำนวนผู้เสียหายและนำไปฟ้อง กกปส

 

ผมคิดว่าในกรณีนี้ ประชาชนในเขตหลักสี่และเขตเลือกตั้งที่ทาง กกต ประกาศให้ยกเลิกการเลือกตั้งในวันที่ ๒ ก.พ.๒๕๕๗ ไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความจำนงว่าต้องการไปใจสิทธิเลือกตั้ง และจะไม่ถูกตัดสิทธิใดๆทั้งสิ้น ยินดีรับฟังความเห็นจากท่านผู้รู้ทุกท่านครับ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๒ ก.พ.๒๕๕๗

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 12:29 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๘๘. โยนิโสมนสิการแผนพัฒนาประเทศ สู่อำนาจปัญญาเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย

พิมพ์ PDF

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๘๘. โยนิโสมนสิการแผนพัฒนาประเทศ สู่อำนาจปัญญาเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย

 

ในการสัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๒๖ พ.๕๖ ซึ่งผมได้บันทึกสาระของการพูดคุยไว้แล้ว ในบันทึกนี้ ทีมของสภาพัฒน์มอบเอกสารเส้นทางประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน และวารสารเศรษฐกิจและสังคม จำนวนหนึ่ง เป็นการตอบแทน

ผมเอามาพลิกๆ ดู และถามตนเองว่ากิจการต่างๆ ของสภาพัฒน์ เท่าที่ผมเห็น    จะเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทย ออกจากกับดักรายได้ปานกลาง     และให้ประเทศไทยเข้าสู่สภาพ สังคมเข้มแข็ง ๓ มุม” ได้ไหม    สังคม ๓ มุม คือสังคมมั่นคง  สังคมสีเขียว  และสังคมวัฒนธรรม ตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

คำตอบคือ ประเทศไทยเรายังขาดกลไกเชิงสถาบันเพื่อการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกเชิงปัญญาที่เป็นอิสระจากอำนาจ ทั้งหลาย สำหรับช่วยเป็นแรงส่งการดำเนินการที่ซับซ้อนและปรับตัว (complex-adaptive) ยิ่ง คือการพัฒนาประเทศ   โดยใช้ อำนาจปัญญา เป็นอำนาจที่ ๔    เพิ่มจากอำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  และ อำนาจตุลาการ ในสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร อย่างในปัจจุบัน เราต้องการอำนาจปัญญาที่เข้มแข็ง เป็นอิสระ และซื่อสัตย์

สภาพัฒน์ ไม่อยู่ในฐานะนั้น เพราะเป็นหน่วยราชการ    ผู้บริหารของสภาพัฒน์ต้องประนีประนอมกับนักการเมือง    ผู้มีอำนาจให้คุณให้โทษตนได้ ไม่สามารถทำงานวิจัยแบบวิเคราะห์เจาะลึกตรงไปตรงมา และบอกแก่สังคมแบบไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมได้    คือสภาพัฒน์ยังเป็นกลไกรัฐบาล ไม่ใช่กลไกประเทศไทย และเก่งยกร่างแผนพัฒนาที่ประนีประนอม    แต่ไม่เก่งเลยในช่วงของการดำเนินการตามแผน

ผมได้รับแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนา ฉบับที่ ๑๑ ด้วย  โดยมี ดรณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธาน ผมมีโอกาสไปประชุมครั้งแรกครั้งเดียว    แล้วไม่ได้ไปอีก   เพราะเขาไม่นัดประชุมล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ    ใช้วิธีนัดตามที่ประธาน สะดวก    นัดทีไรผมไม่ว่างสักที    ตอนไปประชุม ผมเสนอให้ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (จริงๆ คือสารสนเทศ - information) ที่สื่อสารกว้างขวางได้ และชาวบ้านเข้าใจ    โดยมีดัชนีชุดหนึ่งของ สังคมมั่นคง  สังคมสีเขียว  และสังคมวัฒนธรรม ให้เห็นแนวโน้มความเคลื่อนไหว

จะเห็นว่า ความเสื่อมโทรมของสังคมไทยในช่วง ๑๐ ปีเศษที่ผ่านมา ในด้านการเมือง ที่ขบวนการมวลมหาประชาชน ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศไทย นั้น    ไม่มีสัญญาณจากสภาพัฒน์ออกมาเตือนสังคมเลย

และสภาพัฒน์ ไม่ได้จับประเด็นสำคัญหลัก ๒ อย่างตามความเห็นของคุณบรรยง พงษ์พานิชที่นี่ (ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างมากคือ เรื่องผลิตภาพกับเรื่องการกระจายรายได้ ขึ้นมาเป็นเป้าหมายหลักของการขับเคลื่อน

 

จะว่าสภาพัฒน์ ทำงานไม่ดีก็คงไม่ถูก    เพราะงานหลายอย่างของสภาพัฒน์ ก็ช่วยประสานการเคลื่อนสังคมไทย ไปข้างหน้าอย่างเป็นระบบและอย่างมีสารสนเทศสนับสนุน   เพียงแต่ว่ายังขาดงานส่วนที่เป็นการจัดทำสารสนเทศเชิงลึก และเป็นวิชาการมากๆ    โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบที่ไม่เข้าใครออกใคร ซึ่งเป็นบทบาทสร้าง อำนาจปัญญาให้แก่สังคมไทย

 

ที่จริงเรามีสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)    มี วช., สวทช., สวรส., สกว., สวก., สวทน.   แต่ยังไม่มีการใช้พลังของหน่วยงานเหล่านี้อย่างเต็มที่    ไม่มีการพัฒนานักวิจัยระดับยอดอย่างจริงจังและเป็นระบบ    ไม่มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนอย่างที่แถลงนโยบาย    กล่าวได้ว่านโยบายรัฐบาลในเรื่องสนับสนุนการวิจัยนั้น ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา เป็นนโยบายประเภท ดีแต่ปาก”    ไม่ได้ทำจริงจัง    ในรัฐบาลที่เพิ่งลาออกไปมีรัฐมนตรีที่เข้ามาทำลายระบบการวิจัย ด้วยซ้ำ

 

ตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่มีระบบอำนาจปัญญาที่เข้มแข็ง เป็นอิสระ และซื่อสัตย์    ประเทศไทยจะพัฒนายกระดับขึ้นไป ได้ยาก หรือไม่ได้เลย

การปฏิรูปประเทศไทย ต้องคำนึงถึงการสร้างระบบปัญญาของประเทศ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๕ ม.๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 20:25 น.
 

Vote No – No Vote : ศ. ดร. เขียน ธีระวิทย์

พิมพ์ PDF
ผมเชื่อว่าการเลือกตั้งคราวนี้ จะเป็นโมฆะ ไม่ไปเลือกก็ไม่เสียสิทธิ แต่รัฐเสียเงินเลือกตั้งเปล่า 3,800 ล้านบาท เพราะเรามีรัฐบาลขี้โกง

Vote No – No Vote  : ศ. ดร. เขียน ธีระวิทย์

 

ความเห็นส่วนตัวของผม.......

 

สำหรับคนที่ไม่เอาระบอบทักษิณนั้น ที่เพียง 2 ทางเลือก คือ VOTE NO      หรือ    NO VOTE

1. สำหรับคนที่ต้องการรักษาสิทธิบางประการตามข้อ 2 ก็เชิญไปเลือกตั้ง VOTE NO     จะได้ผล ถ้าการเลือกตั้งคราวนี้ไม่เป็นโมฆะ

2, ส่วนผมจะไม่ไปลงคะแนนเพราะ

2.1 ผมยอมเสี่ยงเสียสิทธิทางการเมืองบางประการ ซึ่งไม่สำคัญสำหรับผม (ไม่เคยใช้อยู่แล้ว)

2.2 ผมต้องการแสดงเชิงสัญลักษณ์ว่า ไม่ยอมรับรัฐบาลในระบอบทักษิณ ที่ละเมิดกฎหมายและรัฐธรรมนูญซ้ำซากหมดความชอบธรรมที่จะเป็นรัฐบาลและเป็นเจ้าภาพในการจัดการเลือกตั้ง

2.3 ถ้าไปเลือกตั้งโดย  VOTE NO     ถึงแม้จะมีคะแนนมากกว่าผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดและเป็นเหตุ ให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่ในที่สุด ผลก็จะได้ส.ส.ฝูงแกะของทักษิณซึ่งจะเลวร้ายกว่าสภาผู้แทนที่ถูกยุบไปแล้ว เสียอีก (ตามกฎหมายเลือกตั้ง ม. 88,89,9)

2.4 ถ้ามีคนไปลงคะแนนน้อย เช่นน้อยกว่า 50 % จะมีผลเท่ากับปฏิเสธความชอบธรรมของรัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎร

2.5 ผมเชื่อว่าการเลือกตั้งคราวนี้ จะเป็นโมฆะ  ไม่ไปเลือกก็ไม่เสียสิทธิ แต่รัฐเสียเงินเลือกตั้งเปล่า 3,800 ล้านบาท เพราะเรามีรัฐบาลขี้โกง

 

เขียน ธีระวิทย์

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 20:16 น.
 


หน้า 391 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559390

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า