Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

คารวะครูคำนึง คงศรี ครูเพื่อศิษย์แห่งโรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม สมุทรสาคร

พิมพ์ PDF

เป็นบุญของผม ที่วันที่ ๒๕ พ.ย. ๕๖ ช่วงเช้า ผมตัดสินใจไปเยี่ยมชมโรงเรียนชั้นประถมตามที่ รศ. ดร. พิณทิพ รื่นวงษา แนะนำ

บันทึกนี้ ต้องอ่านต่อเนื่องจากบันทึกที่แล้ว เมื่อวันที่ ๓ ม.ค. ๕๗ นะครับ    คืออยู่ในกิจกรรมของการประชุมคณะกรรมการชี้ทิศทาง โครงการ Teacher Coaching (TC)  ซึ่งประชุมกันที่จังหวัดสมุทรสาคร    และถือโอกาสไปเยี่ยมชื่นชมโรงเรียนในโครงการ

จังหวัด  สมุทรสาคร อยู่ในพื้นที่ดำเนินการโครงการ TC ของทีม สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล    ช่วงเช้าวันที่ ๒๕ พ.ย. ๕๖ มีการกำหนดให้แยกย้ายกันไปเยี่ยมชมโรงเรียน ๒ โรงเรียน    และ ดร. พิณทิพ หัวหน้าโครงการของ ม. มหิดล แนะนำให้ผมไปเยี่ยมชมโรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม อำเภอกระทุ่มแบน   เพื่อชมกิจการของการเรียนการสอนชั้นประถม    แม้โรงเรียนนี้จะเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึง ม. ๖

ทำให้ผมมีบุญ ได้ชมวิธีการสอนภาษาไทย ของครูคำนึง คงศรี ชั้น ป. ๒/๒ ด้วยวิธี “สอนแบบไม่สอน”    หรือวิธีสอนแบบตั้งคำถาม    ทำให้ผมได้เรียนรู้เรื่อง สระ เ-ิอ อีกด้วย

มองอีกมุมหนึ่ง นี่คือการสอนให้นักเรียนคิด    ไม่ใช่สอนให้ท่องจำ

เมื่อเดินผ่านห้องเรียนห้องอื่น ผมนึกในใจว่า เขาจัดแถวโต๊ะเรียนแบบ classroom ซึ่งไม่ตรงกับ 21st Century Learning    แต่เมื่อเข้าไปในห้อง ป. ๒/๒   สัมผัสแรกคือ “นี่คือห้องเรียนแบบ สตูดิโอ อย่างง่าย    ไม่ต้องลงทุนใหม่เลย”

เราไม่ได้รับคำอธิบายล่วงหน้าใดๆ ทั้งสิ้นว่าจะมีการสาธิตวิธีจัดการเรียนรู้แบบครูตั้งคำถาม

เทวดาดลใจ ให้ผมไปยึดชัยภูมิที่เก้าอี้หลังห้อง    สังเกตการณ์พร้อมถ่ายรูปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในห้องเรียน ป. ๒/๒   ในวิชาภาษาไทย สอนโดยครูสาวคนหนึ่ง ที่ผมทราบภายหลังว่า ชื่อครูคำนึง คงศรี ครูอัตราจ้างของ อบจ. สมุทรสงคราม (รร. บ้านปล่องเหลี่ยม ย้ายมาสังกัด อบจ. สมุทรสงคราม)

ครูคำนึง สอนโดยใช้กระดาษแผ่นภาพที่เตรียมมาอย่างดี เป็นอุปกรณ์การสอน หรือการเรียนรู้    โดยสอนเรื่อง สระ เ-ิอ

เริ่มจากให้นักเรียนดูแผ่นภาพหนูบนก้อนเนย    ถามนักเรียนว่าเห็นอะไรบ้าง บางคนว่าเห็นหนู    “เห็นอะไรอีก” เห็นเนย   “ใครเขียนคำว่าเนยได้บ้าง”  นักเรียนยกมือกันสลอนและตื่นเต้นเพราะอยากเป็นคนออกไปเขียนที่กระดานขาว    ครูคำนึงชี้และเอ่ยชื่อ ให้นักเรียนคนหนึ่งออกไปเขียน   เมื่อเขียนถูกก็ได้รับรางวัลเป็นท้อฟฟี่หนึ่งก้อน

ครูคำนึงยกป้ายรูปเด็กเดิน  รูปงานวันเกิด  รูปกะปิหรือเคย  รูปธนบัตรหรือเงิน  รูปใบเตยทั้งที่เป็นต้นไม้และที่เป็นดารา    แล้วให้นักเรียนเขียนคำว่า เดิน เกิด เคย เงิน เตย ลงบนกระดานขาวข้างรูปแต่ละรูป    เมื่อยกรูปออกไป เหลือแต่คำ เดิน เกิด เคย เงิน เตย   ครูคำนึงก็ตั้งคำถามให้นักเรียนเรียนรู้สระ เ-ิอ   ให้รู้ว่าสระเ-ิอ มีสระ - ิ อยู่ข้างบน   แต่มีข้อยกเว้น หากสระ เ-ิอ มีตัว ย สะกด จะมีการลดรูป สระ -ิ หายไป

เป็นบรรยากาศการเรียนที่นักเรียนสนุก ตื่นตาตื่นใจ   เห็นได้จากแววตาของนักเรียนในชั้น   เห็น student engagement ต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน

ผมยิ่งตื่นตาตื่นใจ เมื่อครูคำนึงบอกให้นักเรียนแต่ละคนนึกคำที่มีสระ เ-ิอ ไว้    ใครนึกไม่ออกให้ปรึกษาเพื่อในกลุ่ม    แล้วแจกกระดาษแก่นักเรียน ให้เขียนคำที่มีสระ เ-ิอ ที่ตนนึกไว้   เอามาเขียนบอกเพื่อนในชั้น    ถึงตอนนี้เวลาล่วงเลยไปมาก เราโดนตามให้ไปขึ้นรถกลับเพื่อไปประชุมต่อ ที่โรงแรม เซ็นทรัล เพลส

ผม AAR กับตัวเอง   ว่าผมได้ไปพบ ครูเพื่อศิษย์ ที่มีวิธี “สอนแบบไม่สอน”    คือสอนแบบตั้งคำถาม ให้นักเรียนได้ฝึกการคิด อยู่ตลอดเวลา    ซึ่งตรงกับ 21st Century Learning

ก่อนออกจากห้อง ป. ๒/๒ ผมกระซิบถามครูคำนึง ว่าเอาวิธีสอนแบบนี้มาจากไหน   เธอบอกว่าคิดขึ้นเอง    สอนแบบนี้มา ๑๒ ปีแล้ว

ผมไปถาม ผอ. โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม   ผอ. อุเทน เมืองท่าไม้ ว่าครูคำนึงได้ค่าตอบแทนเท่าไร   ท่านบอกว่า เป็นครูอัตราจ้างของ อบจ. เงินเดือนคงที่ ๑๕,๐๐๐ บาท    ย้ายมาอยู่ที่นี่ ๔ ปี  โดยย้ายมาจากโรงเรียนเอกชน

ผมให้ความเห็นไปว่า ควรไปบอกทาง อบจ. สมุทรสงคราม ให้หาทางเพิ่มค่าตอบแทนแก่ครูคำนึง ให้เหมาะสมตามความสามารถ    มิฉนั้นจะโดนแย่งตัวไปเสีย    ท่าน ผอ. อุเทน บอกว่า ท่านก็เป็นห่วงอยู่เหมือนกัน ว่าจะเสียครูคำนึงไป เพราะค่าตอบแทนไม่ดึงดูดพอ

ผมจงใจนำเรื่องครูคำนึงมาเล่า    เพื่อจะบอกว่า ครูที่มีความสามารถขนาดนี้ ดีกว่าครู คศ. ๓ ที่ผลการประเมินนักเรียนตกเป็นส่วนใหญ่    ครูคำนึงจึงควรได้ค่าตอบแทนเท่ากับครู คศ. ๓   หากระบบค่าตอบแทนของ อบจ. สมุทรสาครไม่ล้าหลังติดกรอบราชการ

แต่ถ้า อบจ. สมุทรสาคร ไม่สนใจ   ผมก็ยุให้โรงเรียนเอกชนไปแย่งตัวครูคำนึง เพื่อเป็นการให้คุณค่าครูเพื่อศิษย์    ในขณะที่ระบบราชการแข็งตัวเกินไป

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ พ.ย. ๕๖

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 07 มกราคม 2014 เวลา 09:09 น.
 

ขอชื่นชมรายการของคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา

พิมพ์ PDF

เพิ่งชมรายการทีวีช่อง 3 ในรายการ "มุมมองการเมืองจากนักวิชาการจุฬา" เป็นการนำเสนอความคิดเรื่องการเมื่องที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ของนักวิชาการ 2 ท่านจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดยคุณ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ช่วงเวลา 17.30-17.50 น วันที่ 7 มกราคม 2557 ผมขอชื่นชมคุณสรยุทธ ที่จัดรายการโดยนำนักวิชาการสองท่านมาแสดงความคิดเห็นที่ตรงกันในบางประเด็นและขัดแย้งโดยสิ้นเชิงในเรื่องของการปฎิบัติที่เกี่ยวข้องในการนำม็อบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทั้งสองท่านแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลและไม่มีอคิติหรือเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ขัดแย้งกันในปัจจุบัน คุณสรยุทธ์ดำเนินรายการโดยปล่อยให้นักวิชาการทั้งสองโต้เถียงกันอย่างเสรีและยุติธรรม คอยสรุปและตีความและให้นักวิชาการแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการอีกท่าน สุดท้ายจบลงที่ต้องการแสดงให้เห็นว่า คนที่มีมุมมองต่างกันเป็นพีน้องกัน ต่างกันที่ความคิดเห็น แต่ยอมรับฟังเหตุผลที่แตกต่างและอยู่ร่วมกันอย่างพี่น้องได้โดยไม่มีการใช้กำลังหรือแบ่งแยก รายการนี้ทำให้ผู้รับฟังได้รับความรู้และความเข้าใจที่มาที่ไปของความคิดเห็นของแต่ละฝ่าย อยากขอให้ผู้ดำเนินรายการท่านอื่นๆทำตามแบบอย่างของคุณสรยุทธ ผมเห็นช่อง 9 และช่อง 11 ทีดำเนินรายการติดตามการเมื่องในปัจจุบัน แต่เป็นการนำเสนอเพียงด้านเดียวเลือกวิทยากรมาแสดงความคิดเห็นที่ดูเหมือนเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ให้โอกาสวิทยากรที่มีความคิดเห็นต่างอยู่ในเวทีเดียวกัน

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

7 มกราคม 2557

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 07 มกราคม 2014 เวลา 18:25 น.
 

เวทีเสวนาค่ายพลเมือง 5 ม.ค. 2557

พิมพ์ PDF

เวทีเสวนาค่ายพลเมือง

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๕ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 06 มกราคม 2014 เวลา 07:15 น.
 

องค์กรต้านคอรัปชั่นเสนอ ๕ แนวทางต้านทุจริต

พิมพ์ PDF
ต้องมีการปฏิรูป 5 ข้อ ซึ่งเป็นข้อเสนอมาตรการกำจัดคอร์รัปชั่น 'ก่อนการเลือกตั้ง' เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน

องค์กรต้านคอรัปชั่นเสนอ ๕ แนวทางต้านทุจริต

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๕ ม.ค. ๕๗

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 06 มกราคม 2014 เวลา 07:19 น.
 

ข้อเสนอต่อประเทศไทย โดย บรรยง พงษ์พานิช ตอนที่ 5-7

พิมพ์ PDF
มีคำสำคัญอยู่ 5 คำ 1. ความเหลื่อมล้ำ 2. พรรคพวกนิยม 3. คอร์รัปชัน 4. ผลิตภาพที่แท้จริง 5. บทบาทอำนาจรัฐ เป้าหมายของข้อเสนอผมมีง่ายๆ ครับ ข้อ 1. ข้อ 2. ข้อ 3. จะต้องลดต้องขจัดให้ลดน้อย จนถึงหมดไป (ข้อ3.) ให้ได้ ส่วนข้อ 4. จะต้องหาทางเพิ่มให้ได้ ส่วนข้อ 5. นั้นจะต้องปรับให้เหมาะสม เพิ่มบางเรื่อง ลดบางเรื่อง กระจายเสียให้มาก หาสมดุลให้ได้

ข้อเสนอต่อประเทศไทย โดย บรรยง พงษ์พานิช ตอนที่ 5-7

อ่านได้ที่ 567 เป็นข้อวิเคราะห์ที่หลักแหลมและรอบรู้ยิ่ง     ช่วยให้เกิดความเข้าใขเพื่อต่อต้าน ระบอบทักษิณ

วิจารณ์ พานิช

๕ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 06 มกราคม 2014 เวลา 07:17 น.
 


หน้า 400 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8560033

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า