Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๖๙. ชื่นใจในการทำหน้าที่ บอร์ด

พิมพ์ PDF

วันที่ ๒๑ และ ๒๒ พ.๕๖ผมได้เสพความชุ่มชื่นหัวใจ    จากการทำงานรับใช้สังคม ด้วยการเป็น บอร์ด ของหน่วยงานที่ทรงคุณค่ายิ่งต่อสังคม ๒ องค์กร

องค์กรแรกคือ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส ที่มี ศ. นพ. ประเวศ วะสี เป็นประธาน   ดร. เสนาะ อูนากูล เป็นรองประธาน   และกรรมการที่เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมืองอีกหลายท่าน    มูลนิธินี้ทำงานมา ๓ ปี   มีการจัดองค์กร และทำงานอย่างมืออาชีพ บวกกับจิตกุศลหรืออาสาสมัคร   ทำงานเพื่อสังคม

ดร. เสนาะ ได้แนะนำให้ทีมจากบริษัทปูนซีเมนต์ไทย มาจัดระบบการบริหารงาน   ทำระเบียบข้อบังคับต่างๆ    และระบบตรวจสอบ   ทำให้งานเป็นระบบขึ้นมากอย่างน่าพอใจ   ขั้นตอนต่อไปคือการมีกลไกตรวจสอบ compliance   คือตรวจสอบว่า มีการดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับที่กำหนด

กิจกรรมที่ดำเนินการรวมแล้วเป็น วงเงินปีละเกือบ ๔๐ ล้านบาท    โดยที่รายรับกับรายจ่ายพอๆ กัน   แต่เมื่อคิดค่าเสื่อมราคาของอาคาร จะติดลบประมาณปีละ ๑๐ ล้าน   คณะกรรมการจึงมีมติให้ดำเนินการรับบริจาคให้ชัดเจนขึ้น   ซึ่งหมายความว่า ให้อำนวยความสะดวกต่อผู้ศรัทธา และต้องการบริจาค   แต่ไม่มีการกระตุ้นหรือชักชวนให้บริจาค    และคณะกรรมการจัดหาทุนที่นำโดยคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ก็จะไปปรึกษาหารือหาวิธีเพิ่มกองทุนสนับสนุนการดำเนินการ

ที่จริง หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ทำงานเทียบมูลค่าแล้ว มากกว่า ๔๐ ล้านอย่างมากมาย   เพราะงานหลายส่วนดำเนินการโดยอาสาสมัคร   โดยอาศัยความสามารถในการเชื่อมโยงเครือข่ายของผู้อำนวยการหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ คือ นพ.​บัญชา พงษ์พานิช

ผมจึงมีความสุข ที่ได้มีส่วนร่วมเป็นกรรมการ ช่วยกันกำกับดูแลองค์กรสาธารณกุศลแห่งนี้

องค์กรที่สอง คือ สถาบันคลังสมองของชาติ ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ความเข้มแข็งของสถาบันและระบบอุดมศึกษา    ในลักษณะทำงานหารายได้เลี้ยงตัวเอง    โดยได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินปีละ ๙ ล้านบาท    รวมวงเงินดำเนินการ รายรับรายจ่ายก็เท่าๆ กัน    และเกือบเท่ากับของหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ    องค์กรนี้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และมีการพัฒนาและวิวัฒนาการในการทำงานดีขึ้นมากมายในช่วง ๔ ปีที่ผ่านมา ที่ ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง มาเป็นผู้อำนวยการ

ประธาน บอร์ด ของสถาบันคลังสมองฯ คือ ศ. ดร. พจน์ สะเพียรชัย   และมีกรรมการที่เป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมืองเช่นเดียวกัน    และที่ซ้อนกับของมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส คือคุณหญิงชฎา กับผม

ปีนี้มีการเสนอให้ปรับการบริหารงานภายใน เพื่อให้ประหยัด และการตอบแทนพนักงานเป็นไปตามผลประกอบการยิ่งขึ้น    โดยที่มีการวิเคราะห์กิจการเป็น ๓ ชั้น   ชี้ให้เห็นว่าชั้นกลางเป็นงานหลัก  ประกอบด้วย ๒ กลุ่มงาน  ที่เป็นงานหลักและทำงานเลี้ยงตัวเองได้    คืองานกลุ่ม ฝึกอบรมด้านธรรมาภิบาลอุดมศึกษา     กับงานกลุ่ม study visit และ workshop เพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา

หน้าที่ของ บอร์ด คือ กำกับดูแลเชิงรุก ใน 3 mode ของการทำหน้าที่ธรรมาภิบาล    เพื่อให้องค์กรทำหน้าที่ยังประโยชน์แก่สังคมได้อย่างแท้จริงตามเป้าหมาย   อย่างน่าเชื่อถือ   และอย่างต่อเนื่องยั่งยืน 3 mode คือ Fiduciary Mode, Strategic Mode,และ Generative Mode

ผมเคยเขียนเปรียบเทียบการกำกับดูแลองค์กร ๓ แบบ คือ อุดมศึกษา  มูลนิธิ  และธุรกิจ ไว้ ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๓.๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 07 มกราคม 2014 เวลา 09:06 น.
 

คารวะครูคำนึง คงศรี ครูเพื่อศิษย์แห่งโรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม สมุทรสาคร

พิมพ์ PDF

เป็นบุญของผม ที่วันที่ ๒๕ พ.ย. ๕๖ ช่วงเช้า ผมตัดสินใจไปเยี่ยมชมโรงเรียนชั้นประถมตามที่ รศ. ดร. พิณทิพ รื่นวงษา แนะนำ

บันทึกนี้ ต้องอ่านต่อเนื่องจากบันทึกที่แล้ว เมื่อวันที่ ๓ ม.ค. ๕๗ นะครับ    คืออยู่ในกิจกรรมของการประชุมคณะกรรมการชี้ทิศทาง โครงการ Teacher Coaching (TC)  ซึ่งประชุมกันที่จังหวัดสมุทรสาคร    และถือโอกาสไปเยี่ยมชื่นชมโรงเรียนในโครงการ

จังหวัด  สมุทรสาคร อยู่ในพื้นที่ดำเนินการโครงการ TC ของทีม สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล    ช่วงเช้าวันที่ ๒๕ พ.ย. ๕๖ มีการกำหนดให้แยกย้ายกันไปเยี่ยมชมโรงเรียน ๒ โรงเรียน    และ ดร. พิณทิพ หัวหน้าโครงการของ ม. มหิดล แนะนำให้ผมไปเยี่ยมชมโรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม อำเภอกระทุ่มแบน   เพื่อชมกิจการของการเรียนการสอนชั้นประถม    แม้โรงเรียนนี้จะเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึง ม. ๖

ทำให้ผมมีบุญ ได้ชมวิธีการสอนภาษาไทย ของครูคำนึง คงศรี ชั้น ป. ๒/๒ ด้วยวิธี “สอนแบบไม่สอน”    หรือวิธีสอนแบบตั้งคำถาม    ทำให้ผมได้เรียนรู้เรื่อง สระ เ-ิอ อีกด้วย

มองอีกมุมหนึ่ง นี่คือการสอนให้นักเรียนคิด    ไม่ใช่สอนให้ท่องจำ

เมื่อเดินผ่านห้องเรียนห้องอื่น ผมนึกในใจว่า เขาจัดแถวโต๊ะเรียนแบบ classroom ซึ่งไม่ตรงกับ 21st Century Learning    แต่เมื่อเข้าไปในห้อง ป. ๒/๒   สัมผัสแรกคือ “นี่คือห้องเรียนแบบ สตูดิโอ อย่างง่าย    ไม่ต้องลงทุนใหม่เลย”

เราไม่ได้รับคำอธิบายล่วงหน้าใดๆ ทั้งสิ้นว่าจะมีการสาธิตวิธีจัดการเรียนรู้แบบครูตั้งคำถาม

เทวดาดลใจ ให้ผมไปยึดชัยภูมิที่เก้าอี้หลังห้อง    สังเกตการณ์พร้อมถ่ายรูปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในห้องเรียน ป. ๒/๒   ในวิชาภาษาไทย สอนโดยครูสาวคนหนึ่ง ที่ผมทราบภายหลังว่า ชื่อครูคำนึง คงศรี ครูอัตราจ้างของ อบจ. สมุทรสงคราม (รร. บ้านปล่องเหลี่ยม ย้ายมาสังกัด อบจ. สมุทรสงคราม)

ครูคำนึง สอนโดยใช้กระดาษแผ่นภาพที่เตรียมมาอย่างดี เป็นอุปกรณ์การสอน หรือการเรียนรู้    โดยสอนเรื่อง สระ เ-ิอ

เริ่มจากให้นักเรียนดูแผ่นภาพหนูบนก้อนเนย    ถามนักเรียนว่าเห็นอะไรบ้าง บางคนว่าเห็นหนู    “เห็นอะไรอีก” เห็นเนย   “ใครเขียนคำว่าเนยได้บ้าง”  นักเรียนยกมือกันสลอนและตื่นเต้นเพราะอยากเป็นคนออกไปเขียนที่กระดานขาว    ครูคำนึงชี้และเอ่ยชื่อ ให้นักเรียนคนหนึ่งออกไปเขียน   เมื่อเขียนถูกก็ได้รับรางวัลเป็นท้อฟฟี่หนึ่งก้อน

ครูคำนึงยกป้ายรูปเด็กเดิน  รูปงานวันเกิด  รูปกะปิหรือเคย  รูปธนบัตรหรือเงิน  รูปใบเตยทั้งที่เป็นต้นไม้และที่เป็นดารา    แล้วให้นักเรียนเขียนคำว่า เดิน เกิด เคย เงิน เตย ลงบนกระดานขาวข้างรูปแต่ละรูป    เมื่อยกรูปออกไป เหลือแต่คำ เดิน เกิด เคย เงิน เตย   ครูคำนึงก็ตั้งคำถามให้นักเรียนเรียนรู้สระ เ-ิอ   ให้รู้ว่าสระเ-ิอ มีสระ - ิ อยู่ข้างบน   แต่มีข้อยกเว้น หากสระ เ-ิอ มีตัว ย สะกด จะมีการลดรูป สระ -ิ หายไป

เป็นบรรยากาศการเรียนที่นักเรียนสนุก ตื่นตาตื่นใจ   เห็นได้จากแววตาของนักเรียนในชั้น   เห็น student engagement ต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน

ผมยิ่งตื่นตาตื่นใจ เมื่อครูคำนึงบอกให้นักเรียนแต่ละคนนึกคำที่มีสระ เ-ิอ ไว้    ใครนึกไม่ออกให้ปรึกษาเพื่อในกลุ่ม    แล้วแจกกระดาษแก่นักเรียน ให้เขียนคำที่มีสระ เ-ิอ ที่ตนนึกไว้   เอามาเขียนบอกเพื่อนในชั้น    ถึงตอนนี้เวลาล่วงเลยไปมาก เราโดนตามให้ไปขึ้นรถกลับเพื่อไปประชุมต่อ ที่โรงแรม เซ็นทรัล เพลส

ผม AAR กับตัวเอง   ว่าผมได้ไปพบ ครูเพื่อศิษย์ ที่มีวิธี “สอนแบบไม่สอน”    คือสอนแบบตั้งคำถาม ให้นักเรียนได้ฝึกการคิด อยู่ตลอดเวลา    ซึ่งตรงกับ 21st Century Learning

ก่อนออกจากห้อง ป. ๒/๒ ผมกระซิบถามครูคำนึง ว่าเอาวิธีสอนแบบนี้มาจากไหน   เธอบอกว่าคิดขึ้นเอง    สอนแบบนี้มา ๑๒ ปีแล้ว

ผมไปถาม ผอ. โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม   ผอ. อุเทน เมืองท่าไม้ ว่าครูคำนึงได้ค่าตอบแทนเท่าไร   ท่านบอกว่า เป็นครูอัตราจ้างของ อบจ. เงินเดือนคงที่ ๑๕,๐๐๐ บาท    ย้ายมาอยู่ที่นี่ ๔ ปี  โดยย้ายมาจากโรงเรียนเอกชน

ผมให้ความเห็นไปว่า ควรไปบอกทาง อบจ. สมุทรสงคราม ให้หาทางเพิ่มค่าตอบแทนแก่ครูคำนึง ให้เหมาะสมตามความสามารถ    มิฉนั้นจะโดนแย่งตัวไปเสีย    ท่าน ผอ. อุเทน บอกว่า ท่านก็เป็นห่วงอยู่เหมือนกัน ว่าจะเสียครูคำนึงไป เพราะค่าตอบแทนไม่ดึงดูดพอ

ผมจงใจนำเรื่องครูคำนึงมาเล่า    เพื่อจะบอกว่า ครูที่มีความสามารถขนาดนี้ ดีกว่าครู คศ. ๓ ที่ผลการประเมินนักเรียนตกเป็นส่วนใหญ่    ครูคำนึงจึงควรได้ค่าตอบแทนเท่ากับครู คศ. ๓   หากระบบค่าตอบแทนของ อบจ. สมุทรสาครไม่ล้าหลังติดกรอบราชการ

แต่ถ้า อบจ. สมุทรสาคร ไม่สนใจ   ผมก็ยุให้โรงเรียนเอกชนไปแย่งตัวครูคำนึง เพื่อเป็นการให้คุณค่าครูเพื่อศิษย์    ในขณะที่ระบบราชการแข็งตัวเกินไป

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ พ.ย. ๕๖

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 07 มกราคม 2014 เวลา 09:09 น.
 

ขอชื่นชมรายการของคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา

พิมพ์ PDF

เพิ่งชมรายการทีวีช่อง 3 ในรายการ "มุมมองการเมืองจากนักวิชาการจุฬา" เป็นการนำเสนอความคิดเรื่องการเมื่องที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ของนักวิชาการ 2 ท่านจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดยคุณ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ช่วงเวลา 17.30-17.50 น วันที่ 7 มกราคม 2557 ผมขอชื่นชมคุณสรยุทธ ที่จัดรายการโดยนำนักวิชาการสองท่านมาแสดงความคิดเห็นที่ตรงกันในบางประเด็นและขัดแย้งโดยสิ้นเชิงในเรื่องของการปฎิบัติที่เกี่ยวข้องในการนำม็อบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทั้งสองท่านแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลและไม่มีอคิติหรือเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ขัดแย้งกันในปัจจุบัน คุณสรยุทธ์ดำเนินรายการโดยปล่อยให้นักวิชาการทั้งสองโต้เถียงกันอย่างเสรีและยุติธรรม คอยสรุปและตีความและให้นักวิชาการแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการอีกท่าน สุดท้ายจบลงที่ต้องการแสดงให้เห็นว่า คนที่มีมุมมองต่างกันเป็นพีน้องกัน ต่างกันที่ความคิดเห็น แต่ยอมรับฟังเหตุผลที่แตกต่างและอยู่ร่วมกันอย่างพี่น้องได้โดยไม่มีการใช้กำลังหรือแบ่งแยก รายการนี้ทำให้ผู้รับฟังได้รับความรู้และความเข้าใจที่มาที่ไปของความคิดเห็นของแต่ละฝ่าย อยากขอให้ผู้ดำเนินรายการท่านอื่นๆทำตามแบบอย่างของคุณสรยุทธ ผมเห็นช่อง 9 และช่อง 11 ทีดำเนินรายการติดตามการเมื่องในปัจจุบัน แต่เป็นการนำเสนอเพียงด้านเดียวเลือกวิทยากรมาแสดงความคิดเห็นที่ดูเหมือนเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ให้โอกาสวิทยากรที่มีความคิดเห็นต่างอยู่ในเวทีเดียวกัน

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

7 มกราคม 2557

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 07 มกราคม 2014 เวลา 18:25 น.
 

เวทีเสวนาค่ายพลเมือง 5 ม.ค. 2557

พิมพ์ PDF

เวทีเสวนาค่ายพลเมือง

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๕ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 06 มกราคม 2014 เวลา 07:15 น.
 

องค์กรต้านคอรัปชั่นเสนอ ๕ แนวทางต้านทุจริต

พิมพ์ PDF
ต้องมีการปฏิรูป 5 ข้อ ซึ่งเป็นข้อเสนอมาตรการกำจัดคอร์รัปชั่น 'ก่อนการเลือกตั้ง' เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน

องค์กรต้านคอรัปชั่นเสนอ ๕ แนวทางต้านทุจริต

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๕ ม.ค. ๕๗

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 06 มกราคม 2014 เวลา 07:19 น.
 


หน้า 401 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8601154

facebook

Twitter


บทความเก่า