Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๖๗. สารภาพความเข้าใจผิด

พิมพ์ PDF

ระหว่างนั่งเครื่องบิน เอมิเรตส์ กลับจาก Sao Paulo บราซิล ไป ดูไบ วันที่ ๑๒ พ.ย. ๕๖    ผมทดลองใช้เครื่องให้ความเพลิดเพลินในเครื่องบินชั้นธุรกิจ   ซึ่งมีจอทีวีสัมผัสขนาดใหญ่อยู่ตรงหน้า (ด้านหลังพนักพิงที่นั่งข้างหน้า)    ผมทดลองเลือกสิ่งให้ความเพลิดเพลินหลายอย่าง    แต่มาเลือกฟังเพลงร้องสมัยเก่าเป็นหลัก

เพลงชุดแรกเป็นของ แฟรงค์ สินาตรา    ชุดที่ ๒ เป็นของ Ray Charles – The Genius of Ray Charles  ซึ่งผมไม่เคยรู้จัก    แต่ฟังตอนนี้รู้สึกว่าเพราะ

เพลงแบบนี้สมัยก่อนผมรู้สึกว่าหนวกหู    แต่ตอนอายุมากขึ้นผมฝึกตนเองให้รู้จักความไพเราะหรือความงามของศิลปะด้านต่างๆ  ที่คนเขาว่าดี   คล้ายๆ เรียนวิชา Art Appreciation ด้วยตนเอง    ทำความเข้าใจว่าศิลปะมันมีบริบทเรื่องราวที่มาที่ไปตามยุคสมัย

สมัยผมเริ่มหนุ่มเป็นยุคเพลงร็อค    และเอลวิส พริสลีย์ กำลังดัง    เด็กหนุ่มสาวคลั่งใคล้และเลียนแบบ    มีคนตัดผมทรงเดียวกัน    ร้องเพลงและแสดงท่าทางเลียนแบบ     ผมบอกตัวเองให้ห่างจากเรื่องพวกนี้ กลัวตนเองจะเสียคน    และไม่อยากเสียเวลาเรียนไปกับ เรื่องไม่เป็นเรื่อง”    คือผมหลงปฏิเสธศิลปะแทบทุกชนิด    มองด้านลบ    ว่ามันเป็นสิ่งเย้ายวนให้หลงใหล    ทำให้ชีวิตไปในทางเสื่อม    ไม่มีเวลาเอาจริงเอาจังกับวิชาการ

สมัยอยู่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เพื่อนคนหนึ่งซึ่งมาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน เตือนผมว่า “All work and no play makes Jack a dull boy.”   ซึ่งก็น่าจะมีส่วนจริง

ความเข้าใจผิดที่รุนแรงคือเรื่องเล่นดนตรี    ผมเคยฝึกเป่าขลุ่ยด้วยตนเอง (ขลุ่ยไม้ไผ่) และซื้อหีบเพลงปากมาหัดเป่าเป็นเพลง    แต่ไม่ได้เอาจริงเอาจัง    ไม่มีใครฝึกให้    แล้วก็เบื่อไปเอง    ทำให้ในภาพรวมของชีวิต ผมเป็นคน บอดเกือบสนิท” ในด้านศิลปะ   ซึ่งที่จริงแล้วมันเป็นอีกภาษาหนึ่งของชีวิต    เมื่อแก่พอมีเวลาบ้างผมจึงชดเชยด้วยการเอาใจใส่สังเกตความงาม ความไพเราะ   และการประเทืองอารมณ์สุนทรีย์ด้วยศิลปะ

เปิดเปลี่ยนอัลบั้มไปเรื่อยๆ พบ Mike Oldfield – Tubular Bells  เป็นเครื่องดนตรีรูปร่างแปลก   เขามีคำอธิบายเกิดขึ้นในปี1973  ผมฟังแล้วไม่ชอบ หนวกหู ไม่มีเสียงทุ้มให้

เปิดต่อไปพบ Elton John – Goodbye Yellow Brick Road 1973   มารู้จักชื่อของเขาเมื่อไม่กี่ปี   แสดงความแคบของผม    ในคำอธิบายเอ่ยชื่อเพลง Candle in the Wind ว่าเป็นเพลงยอดนิยม    ผมลองฟังแล้วไม่ชอบเพลงประเภทนี้

เปิดไปที่เพลงคลาสสิค    เริ่มฟังเพลงของโมสาร์ท โอ้โฮชอบ    ฟังแล้วสบายหู  ให้ความสดชื่น

เรื่องเพลง หรือศิลปะนี้    ผมเคยมีเพื่อนสนิทคนหนึ่งสมัยเรียนแพทย์ ชื่อชวลิต ภัทราชัย    เสียชีวิตไปกว่าสิบปีแล้ว    เขาเป็นคนกรุงเทพ  เรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ    ชอบดนตรี (เล่นหีบเพลงปาก)    ชอบฟังเพลง    ตอนเขาไปอยู่ที่อเมริกา เขาส่งเทปเพลงที่สะสมไว้มาให้ผมบ่อยๆ    ช่วยให้ผมได้รู้จักเพลงประเภทต่างๆ    ผมเลือกฟังเพลงที่ชอบ

เครื่องอำนวยความเพลิดเพลินบนเครื่องบิน Airbus 777-300 ของสายการบิน เอมิเรตส์ นี้ ใช้สะดวกมาก   เป็น touch screen  จอใหญ่ ขนาดราวๆ 18 นิ้ว จนทำให้ใจผมใคร่ครวญชีวิตของตนเอง    ว่ามีความเข้าใจผิดอยู่มากในสมัยเด็กๆ    มีอคติต่อสิ่งต่างๆ ที่ไม่ใช่การเรียนและงานโดยตรง    ทำให้ชีวิตไม่ผ่อนคลาย    มาปรับปรุงตอนแก่ ก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง    ไม่ได้มากกว่าได้

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๓ พ.๕๖

บนเครื่องบินจาก เซา เปาโล ไปดูไบ

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 03 มกราคม 2014 เวลา 09:04 น.
 

สอนเด็กให้เป็นคนดี : ๑๘. บทส่งท้าย

พิมพ์ PDF

บันทึก ๑๙ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ Teaching Kids to Be Good People : Progressive Parenting for the 21st Century เขียนโดย Annie Fox, M.Ed. 

ตอนที่ ๑๘ นี้ ตีความจากบทส่งท้ายซึ่งสั้นนิดเดียว    ความว่า ในขั้นตอนการเลี้ยงลูก หรือทำหน้าที่พ่อแม่นี้    เราค่อยๆ ถอยออกมาทีละนิดๆ ในแต่ละปี    เปิดโอกาสให้ลูกค่อยๆ จัดการชีวิตของตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ

หน้าที่ของพ่อแม่คือ ทำให้ตนเองเป็นที่ต้องการลดลงเรื่อยๆ    จนในที่สุดหมดหน้าที่    แต่รากฐานคุณสมบัติ ๘ ข้อที่พ่อแม่ช่วยให้ลูกสร้างขึ้นในตน   จะให้คุณต่อชีวิตของลูก ไปตลอดชีวิต

 

 

วิจารณ์ พานิช

๙ เม.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 03 มกราคม 2014 เวลา 08:58 น.
 

สหมิตรครู (co-educators / co-teachers)

พิมพ์ PDF
ตัวช่วยครู ด้านความรู้เชิงเนื้อหา (content knowledge) ซึ่งครูไม่มี หรือมีไม่เพียงพอ หรือไม่มีประสบการณ์การใช้ความรู้เหล่านั้น

สหมิตรครู (co-educators / co-teachers)

เพื่อให้ทีมนักเรียนสามารถทำโครงงานที่เป็น “งานจริง” (authentic project) ได้   ไม่กังวลว่าครูมีพื้นความรู้ที่เป็นเนื้อหาวิชา (content knowledge) ไม่พอ   ที่จะช่วย โค้ช นักเรียน   จึงมีคำแนะนำให้ครูและนักเรียน รู้จักใช้ตัวช่วย คือ “สหมิตรครู”   ซึ่งมีรายละเอียดเป็นวีดิทัศน์ ที่ http://screencast.com/t/s3i7pFV066

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 03 มกราคม 2014 เวลา 11:16 น.
 

ปลุกด้านมืดในตัวคุณ

พิมพ์ PDF
ความน่าสนใจของสารคดีชิ้นนี้ อยู่ที่การนำการทดลองทางจิตวิทยาต่างๆ มาเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเราสามารถกลายเป็นทรราชได้อย่างไร

ปลุกด้านมืดในตัวคุณ

อ่านได้ ที่นี่ น่าอ่านมาก มีความเป็นวิชาการเรื่องธรรมชาติด้านลบของมนุษย์   เขียนจากภาพยนตร์ BBC เรื่อง 5 Steps to Tyranny

วิจารณ์ พานิช

๑ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 02 มกราคม 2014 เวลา 13:34 น.
 

พ่อแม่นั้นสำคัญไฉน (ต่อการปลูกฝังนิสัยลูก)

พิมพ์ PDF
เด็กจะมีพฤติกรรมที่บ้าน กับที่โรงเรียนแตกต่างกัน ดังนั้นหากครูต้องการปรับปรุงพฤติกรรมของเด็กที่โรงเรียน เช่นลดความก้าวร้าว หรือขยันเรียนมากขึ้น การปรับปรุงความประพฤติที่บ้านจะไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่โรงเรียน การแก้ไขต้องเป็นการแก้ไขที่โรงเรียน (school-based intervention)

พ่อแม่นั้นสำคัญไฉน (ต่อการปลูกฝังนิสัยลูก)

บทความเรื่อง Do Parents Matter? เขียนโดยบรรณาธิการของ Scientific American, Jonah Lehrer  จากการสัมภาษณ์ Judith Rich Harris (ผู้เขียนหนังสือ The Nurture Assumption : Why Children Turn Out the Way They Do, 1998, revised 2009)     ตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ในปี ค.ศ. 2009    และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ The Science of Education ในปี 2012  บอกว่าชีวิตของคนเรานั้น ซับซ้อนยิ่ง   มีปัจจัยที่หลากหลายซับซ้อน ที่กำหนดวิถีชีวิตคนแต่ละคน

เดิมคนเราเชื่อกันว่าพ่อแม่เป็นผู้ “ปั้น” หรือ “ปลูกฝัง” พื้นฐานชีวิตให้แก่ลูก    แต่หนังสือ The Nurture Assumption บอกว่าเราเข้าใจผิด   พ่อแม่มีบทบาทน้อยกว่าที่เราคิดมาก ในส่วนของการกำหนดพฤติกรรมของลูก    เพื่อน (peer group) ต่างหากที่มีอิทธิพลสูงมาก

เขียนแบบนี้ทะเลาะกันตาย   หนังสือ The Nurture Assumption จึงเขียนแบบ “ยั่วให้แย้ง”   เขียนแย้ง ความเชื่อทั่วไป เพื่อหาโอกาสอธิบายเหตุผล    ซึ่งก็ได้ผล เกิดการทำความเข้าใจ หาหลักฐานอิทธิพลของการเลี้ยงดู ของพ่อแม่ กันกว้างขวางกว่าเก่า

ถ้าถามความเห็นของผม ผมว่าพ่อแม่มีส่วนสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงชีวิต ๕ - ๗ ปีแรก    ที่บรรยากาศความรักความอบอุ่นใกล้ชิด จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสมอง    สร้างความสมดุลระหว่าง วงจรสมองส่วน “บนลงล่าง” (เหตุผลความยับยั้งชั่งใจนำ)  และส่วน “ล่างขึ้นบน” (อารมณ์ความรู้สึกนำ)    แล้วเมื่อลูกเริ่มพัฒนาสังคมกับเพื่อน เรียนรู้ที่จะค่อยๆ ดำรงชีวิตอิสระจากพ่อแม่ในช่วงวัยรุ่น ความสำคัญ หรืออิทธิพลของพ่อแม่จะค่อยๆ ลดลง    แต่ผมเชื่อว่าอิทธิพลของพ่อแม่จะไม่มีวันหมดไป

กลับมาที่บทความจากการสัมภาษณ์    เป้าหมายของบทความนี้ ต้องการเปรียบเทียบบทบาทของครู กับบทบาทของพ่อแม่    นักจิตวิทยาตั้งแต่ ฟรอยด์ มาถึง สกินเนอร์ ต่างก็โทษพ่อแม่ (เน้นที่แม่) หากลูกเกเร หรือก่อปัญหาสังคม แต่แฮร์ริสเถียง ว่าการเลี้ยงลูกมีได้หลายวิธี และยังไม่มีหลักฐานว่าวิธีไหนดีกว่ากัน

เขียนอย่างนี้ผมขอเถียงบ้าง   ว่าเรารู้แน่ว่าหลักการเลี้ยงลูกที่ถูกกับการเลี้ยงลูกที่ผิดแยกกันได้ชัดเจน   วิธีที่ผิดคือ ทำให้ลูกขาดความรักความเอาใจใส่    ไม่รู้จักฝึกพัฒนาการด้านจิตใจให้แก่ลูก ดังที่ผมตีความหนังสือ Teaching Kids to Be Good People  ออกเผยแพร่ในบันทึกชุด สอนเด็กให้เป็นคนดี

กลับมาที่ แฮร์ริส ใหม่    เขาบอกว่าเขาต้องการเน้นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์   เขาค้นคว้าอย่างละเอียด พบว่าความเชื่อเดิมๆ นั้น เมื่อค้นหาหลักฐาน พบว่าอ่อนเต็มที   และผลการวิจัยใหม่ๆ ที่มีหลักฐานแข็งแรง ค้านความเชื่อเดิม    หลังจากนั้นก็มีงานวิจัยที่รัดกุมมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะเริ่มมีความเข้าใจว่า พันธุกรรม (nature) มีบทบาทมากในการกำหนดบุคลิก    การศึกษาอิทธิพลของการเลี้ยงดู (nurture) โดยพ่อแม่จึงต้อง ระมัดระวังให้มาก   เพราะจะปะปนกับอิทธิพลของปัจจัยด้านพันธุกรรมได้ง่าย

แฮร์ริส เสนอ Group Socialization Theory และขยายความให้ชัดเจนขึ้นว่า   พัฒนาการทางสังคมของแต่ละคน ประกอบด้วย ๓ ขั้นตอน คือ  (๑) ความสัมพันธ์ (relationship)  ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกอยู่ในส่วนนี้ (๒)​ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (socialization)   (๓) ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เพื่อแข่งขันร่วมมือเปรียบเทียบ จนรู้ว่าตนเองถนัดเรื่องอะไร

ทีนี้ก็มาถึงบทบาทครู   แฮร์ริสมีข้อเสนอที่น่าสนใจมาก ว่าเด็กจะมีพฤติกรรมที่บ้าน กับที่โรงเรียนแตกต่างกัน    ดังนั้นหากครูต้องการปรับปรุงพฤติกรรมของเด็กที่โรงเรียน เช่นลดความก้าวร้าว  หรือขยันเรียนมากขึ้น   การปรับปรุงความประพฤติที่บ้านจะไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่โรงเรียน   การแก้ไขต้องเป็นการแก้ไขที่โรงเรียน (school-based intervention)

เขาอธิบายพฤติกรรมของนักเรียนในชั้นเรียนว่า   เด็กมีแนวโน้มจะแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือเด็กเรียน (pro-school group)  กับเด็กเบื่อเรียน (anti-school group)    แล้วกลุ่มเด็กเบื่อเรียนก็จะค่อยๆ เรียนล้าหลังลง    ครูต้องรู้วิธีป้องกันไม่ให้ชั้นเรียนเกิดการแบ่งกลุ่มเช่นนี้   ซึ่งหากชั้นเรียนเล็ก (เช่น ๒๐ คน) ครูจะดูแลได้ง่ายกว่าชั้นเรียนใหญ่ (เช่น ๔๐ คน)

เขาไม่ได้เขียนว่า วิธีป้องกันเด็กไม่ให้แบ่งกลุ่ม ออกเป็นกลุ่มเด็กเบื่อเรียน ทำอย่างไร   ผมเข้าใจว่าสภาพเช่นนี้เกิดในชั้นมัธยม เมื่อนักเรียนกำลังแสวงหาตัวตน   ว่าตนเองถนัดเรื่องอะไร    หากครูช่วยส่งเสริมให้ศิษย์ค้นพบความถนัดและความชอบของตนเอง ผ่านการเรียนแบบลงมือปฏิบัติ    นักเรียนทุกคนจะได้เป็นคนสำคัญ (คนเด่น) ในบางเรื่อง   ไม่มีใครเลยที่ไม่เด่น   สภาพเบื่อห้องเรียนก็จะไม่เกิดขึ้น   ย่อหน้าสุดท้ายนี้เป็นการเดาของผมเอง   น่าจะมีคนนำไปเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ธ.ค. ๕๖

 

 

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 02 มกราคม 2014 เวลา 13:36 น.
 


หน้า 402 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8556963

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า