Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๖๔. เที่ยวเมืองมรดกโลก Olinda, บราซิล

พิมพ์ PDF

ช่วงเช้าวันที่ ๑๐ พ.ย. ๕๖ คณะ ๕ คน นำโดย ภิเศก - วิม เป็นหัวหน้าทัวร์  มีลูกทัวร์คือ ศ. นพ. พงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์, รศ. นพ. สุวัฒน์ เบญจพรพิทักษ์, และ ผม   ไปเที่ยวเมืองโบราณมรดกโลกของ ยูเนสโก ชื่อ Olinda อยู่ทางเหนือของ Recife ที่เราไปพัก และประชุม 3rd Global Forum on Human Resources for Health ไปทางรถยนต์ประมาณครึ่งชั่วโมง

เมืองนี้อายุเกือบ ๕๐๐ ปี เริ่มเป็นอาณานิคมของคนปอร์ตุเกส - สเปน เพื่อปลูกอ้อย   เคยเปลี่ยนไปอยู่ใต้ดัทช์ช่วงเวลาสั้นๆ   เวลานี้มีชื่อเสียงเป็นเมืองท่องเที่ยว    ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต   และถือเป็นพื้นที่เริ่มต้นของวัฒนธรรมประเทศบราซิล สมัยคริสตศตวรรษที่ ๑๖   กิจกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดและทำเงินเข้าเมืองมากมายในปัจจุบัน คือเทศกาล คาร์นิวาล

ที่จริงตอนที่ อ. ภิเศก และ อ. วิมติดต่อโรงแรมขอให้หาไกด์และรถพาไป โอลินดา และพาชมเมือง เรซิเฟ   แต่ไกด์ไม่ว่าง ได้แต่รถ ที่คนขับอัธยาศัยดีมาก เสียแต่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้    ผมมาคิดภายหลังว่า หากได้ไกด์จะวิเศษมาก เราจะได้ฟังประวัติศาสตร์ของการที่คนขาวมายึดครองโลกใหม่   และเข่นฆ่าคนพื้นเมืองอย่างน่าอนาจ    ผมคิดว่าสมัยก่อนคนขาวมองคนผิวอื่นเหมือนไม่ใช่คน เช่นจับคนดำไปเป็นทาส   แต่นั่นเป็นอดีต

เมืองเก่าที่สร้างโดย ปอร์ตุเกส ย่อมมีโบสถ์คาทอลิคมาก   และมีถนนปูด้วยก้อนหิน แบบเมืองเก่าในยุโรป    เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเขา    ผมอ่านพบใน วิกิพีเดียว่า ที่ตั้งเมืองบนเขาเพื่อประโยชน์ในการกำจัดสิ่งปฏิกูล   และเพื่อการป้องกันเมืองจากข้าศึก

ที่แรกที่เขาพาเราไปชมคือโบสถ์เก่ามาก ชื่อ Seminario de Olinda   สร้าง ค.ศ. 1550   ลักษณะเหมือนโบสถ์ แต่คำว่าseminary แปลว่าโรงเรียนสอนศาสนา    เราไม่มีบัตรอนุญาตจึงเข้าไปชมข้างในไม่ได้ มาทราบภายหลัง นึกเสียดายที่ไม่ได้ชมข้างใน    อ่านพบภายหลังว่า นี่คือตัวอย่างอาคาร ที่สร้างในบราซิล ช่วงศตวรรษที่ 16   เคยโดนพวกดัทช์เผา    แล้วสร้างใหม่ใน ค.ศ. 1661 จากนั้นเราบอกให้โชเฟอร์พาไป Information Center    จึงได้แผนที่และคำแนะนำสถานที่ไปชม และร้านอาหารเที่ยง

ผมไปติดใจต้นหูกวางใหญ่สง่างาม ๒ ต้นที่หน้าอาคาร Information Center   ใบหูกวางของบราซิลงดงามกว่าของบ้านเรา    เขานิยมปลูกกันทั่วไป   และมีลักษณะแบบในรูป

สถานที่ที่สวยที่สุดเป็นจุดที่ ๒ คือ Sao Francisco Convent   มีกระเบื้องเคลือบประดับผนังอาคารเป็นเรื่องราวของพระเยซู สวยงามมาก    สร้าง ค.ศ. 1585   จุดที่ ๓ เดินไปจากจุดที่ ๒   คือโบสถ์ Se de Olinda (Alto da Se) เขาบอกว่า เป็นอาคารที่คนมาชมมากที่สุดใน โอลินดา      เมื่อเดินเข้าไปในโบสถ์ทะลุไปด้านในมีวิวอ่าวสวยมาก

แล้วเดินไปที่จุดที่ ๔ คือตลาดที่หน้าโบสถ์ Se   และเมื่อเดินไปอีกหน่อยก็เป็นตลาดของฝาก และเครื่องศิลปะบราซิล    ซึ่งผมดูไม่เป็น ได้แต่ถ่ายรูปเก็บไว้ดู    แถวนี้อาคารสวยงาม ถือเป็นย่านศิลปะสมัยใหม่    จากนั้นเดินไปจุดที่ ๕ คือพิพิธภัณฑ์ทางศาสนา ในโบสถ์ Sao Salvador do Mundo (1584) และหอชมวิว (Caixa d’Agua – 1934)   ตอนนั้นเวลาราวๆ ๑๑ น. แม่ชีกำลังสวด เราจึงเข้าไปชมไม่ได้

โชเฟอร์พาเราขึ้นรถ ผ่านย่าน คาร์นิวาล   ไปที่อาคารเก็บหัวโขนงาน คาร์นิวาล (จุดที่ ๖)    และไปที่จุดที่ ๗ คือ Monastery of Sao Bento ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก ทั้งตัวอาคารภายนอก   และภายใน

จุดสุดท้ายคือร้านอาหาร    ไปกินอาหารเที่ยง ชื่อร้าน Estrella do Mar อยู่ริมทะเล    เขาถามว่าจะนั่งข้างล่างหรือข้างบน อ. ภิเศกเลือกข้างบน    ทำให้เราได้นั่งรับลมเย็นสดชื่นมาก หลังจากเดินฝ่าแดดเปรี้ยงมา    เราสั่งอาหาร ๓ อย่าง คือ สลัด  ปลา  และเนื้อ   พบว่า เนื้ออร่อยที่สุด    อ. วิมสั่งน้ำส้มคั้น เขาเสิร์พมาเป็นเหยือก คั้นสดๆ    และไม่เติมน้ำตาล    เราเลี้ยงอาหารโชเฟอร์ด้วย โดยเขาสั่งมากินต่างหาก แต่นั่งโต๊ะเดียวกัน   เรานั่งกินเกือบจะอิ่ม คุณหมอสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กับเพื่อนฝรั่งมากินที่ร้านเดียวกัน    ว่าโชเฟอร์แท็กซี่พามา

อิ่มแล้ว โชเฟอร์พาไปชมเมืองเก่า ซึ่งเป็นย่าน downtown Recife    ดูได้นิดหน่อยเราบอกให้เขากลับโรงแรม เพราะเราต้องอาบน้ำแต่งตัว ขึ้นรถไปพิธีเปิดการประชุม

ข้อความชื่อสถานที่ในบันทึกนี้อาจคลาดเคลื่อน    เพราะผมเอาแผนที่ที่ได้จาก Information Center มาเทียบเคียงกับรูปที่ถ่ายมา    ไม่มีคนอธิบายใดๆ ทั้งสิ้น   เพราะคนที่นี่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ในทุกที่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ พ.ย. ๕๖

by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">โรงแรม Golden Tulip, Recife, Brazil 

หมายเหตุ ผมไม่ได้คัดลอกรูปภาพที่อาจารย์วิจารณ์ นำมาเผยแพร่ เนื่องจากเคยคัดลอกมาลงแต่พอเปิดเข้าไปดูปรากฎว่าไม่มีรูปภาพใดติดเลย ดังนั้นถ้าท่านใดสนใจอยากจะชมภาพ โปรดติดตามไปดูใน link ที่ผมคัดลอกมาได้แก่ http://www.gotoknow.org/posts/557400

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2013 เวลา 13:41 น.
 

ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ

พิมพ์ PDF

ยาปฏิชีวนะ ซึ่งค้นคว้าขึ้นมาปกป้องชีวิตมนุษย์    กำลังจะกลายเป็นเพชรฆาตคร่าชีวิตมนุษย์    ดังระบุในบทบรรณาธิการของนิตยสาร Science  ฉบับวันที่ ๑๕ พ.ย. ๕๖  เรื่อง Time to deal with antibiotics เขียนโดย Donald Kennedy อดีตอธิการบดีของมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด และอดีตบรรณาธิการของวารสาร Science

ต้นเหตุเกิดจากการใช้ผิดประเภท และใช้อย่างพร่ำเพรื่อ สนองความโลภในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์    ใช้ยานี้ในสัตว์ปกติ เพื่อช่วยให้สัตว์โตเร็ว    ก่อให้เกิดแบคทีเรียต้านยาปฏิชีวนะแพร่หลายไปทั่ว

นี่คือตัวอย่างของประเด็นที่ความรู้ด้านการวิจัยมีชัด    แต่ผู้มีอำนาจตัดสินใจยังชักช้าอยู่เพราะมีกลุ่มผลประโยชน์    สิ่งที่ต้องทำเพื่อปกป้องมนุษยชาติคือกำหนดข้อบังคับ ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ ยกเว้นสัตว์ป่วย

และในคนก็เช่นเดียวกัน ต้องไม่ใช้ยานี้อย่างพร่ำเพรื่อ

ไม่ว่าอะไรก็ตาม ใช้อย่างพร่ำเพรื่อเป็นโทษทั้งสิ้น    รวมทั้งอำนาจด้วย    ดังจะเห็นต่อไปในกรณีการเมืองไทย

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๑ พ.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2013 เวลา 13:31 น.
 

ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มจากข้างล่าง

พิมพ์ PDF

ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มจากข้างล่าง

วิธีการที่เสนอโดยรัฐบาลรักษาการจะไม่ได้ผล เพราะรวบอำนาจโดยฝ่ายเดิม ที่เป็นผู้ก่อปัญหารวบอำนาจรวมศูนย์ และคอรัปชั่น

ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มจากข้างล่าง

ความเห็นของคุณสน รูปสูง ดูได้ที่ http://clip.thaipbs.or.th/file-9673#.UrumCN7y01M.facebook

เป็นความเห็นที่หลักแหลมยิ่ง ของคนระดับชาวบ้าน

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ธ.ค. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2013 เวลา 14:20 น.
 

สื่อต่อชาวโลก Message to the world from Thailand

พิมพ์ PDF

สื่อต่อชาวโลก Message to the world from Thailand

เราต้องการประชาธิปไตย แต่ไม่ใช่ประชาธิปไตยจอมปลอมของรัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด

สื่อต่อชาวโลก  Message to the world from Thailand

ดูได้ที่ http://www.youtube.com/watch?feature=youtu.be&v=3P8oTAQCJVs&desktop_uri=%2Fwatch%3Fv%3D3P8oTAQCJVs%26feature%3Dyoutu.be&app=desktop

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2013 เวลา 14:22 น.
 

เสริมพลังภาคประชาชน

พิมพ์ PDF

ช่วงสุดสัปดาห์ ๒ - ๓ พ.ย. ๕๖ ผมมีโอกาสอยู่กับบ้านทั้งสองวัน    มีเวลาอ่านงานของ สกว. ๒ เรื่องใหญ่ๆ    คือ (๑) ผลงานวิจัยที่ฝ่ายต่างๆ ของ สกว. เสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกผลงานวิจัยเด่น ประจำปี ๒๕๕๖   รวม ๒๕ เรื่อง    จะคัดเลือกให้รางวัล ๑๐ เรื่อง    และ (๒) รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยพัฒนาระบบการประเมินผลแบบเสริมพลัง เพื่อการพัฒนางานพื้นที่ (ระยะที่ ๒) จะประชุมนำเสนอและวิพากษ์วันที่ ๔ พ.ย. ๕๖

อ่านผลงานทั้งสองชิ้นแล้ว ผมเกิดความสุข    เพราะได้เห็นความเข้มแข็งของงานวิจัยไทย    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานวิจัยที่สร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน

อ่านผลงานวิจัยเด่น ๒๕ เรื่องแล้ว ผมอยากยกย่องทั้ง ๒๕ เรื่อง    เพราะเด่นจริงๆ ทั้งสิ้น

ที่ผมติดใจมากเป็นพิเศษได้แก่  (๑) ชุดโครงการอ่าวปัตตานี ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูอ่าวปัตตานี  (๒) โครงการการศึกษารูปแบบการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของโรงเรียนและชุมชน  (๓) โครงการผลิตแอนติบอดีสำหรับรักษาโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี

โครงการที่ ๓ เป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์    ที่มีการคิดแนวทางที่ใหม่เอี่ยมไม่มีคนคิดทำมาก่อน   ผมจะไม่เล่า    จะเล่า ๒ เรื่องแรก

เรื่องแรก เรื่องอ่าวปัตตานี เป็นชุดโครงการวิจัย ที่มีโครงการวิจัยย่อย ๔ โครงการ ได้แก่ (๑) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มเยาวชน  ด้านการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหายาก   (๒) รูปแบบที่เหมาะสม ในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนของชุมชน  (๓) บทบาทของเยาวชนในการคลี่คลาย ความขัดแย้งในการจับสัตว์น้ำอย่างสันติวิธี บ้านตะโละสมิแล  (๔) การจัดการทรัพยากรของชุมชน โดยการจัดทำซังปะการังเทียมแบบพื้นบ้าน

ความงดงามอยู่ที่มีเครือข่ายสถาบันร่วมวิจัยหลายหน่วยงาน    ที่มีบทบาทอยู่แล้วในพื้นที่    เมื่อมาร่วมมือกันโดยมีโครงการวิจัยเป็นตัวเชื่อมประสาน    ก็เกิดการเสริมพลังภาคประชาชน    หน่วยงานดังกล่าวได้แก่ ศูนย์บริหารจัดการประมงทะเล จ. ปัตตานี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งปัตตานี, ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ ๔ จ. สงขลา     โดยภาคประชาสังคมที่ได้รับการเสริมพลัง และร่วมวิจัยคือ สมาคมประมงพื้นบ้าน จังหวัดปัตตานี

งานวิจัยชาวบ้านแบบนี้ ต้องการ “คุณอำนวย” (facilitator) หรือพี่เลี้ยง ช่วยชวนคิดชวนตั้งโจทย์    ซึ่งในโครงการนี้คือ นส. สุวิมล พิริยธนาลัย

ความประทับใจต่อโครงการนี้คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ในด้าน  (๑) การสร้างกลุ่มคน เพื่อการพัฒนาพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี  (๒) การร่วมกันปกป้องแหล่ง ทรัพยากรชุมชน  (๓) การสร้างองค์ความรู้ สำหรับนำไปผลักดันนโยบายอย่างได้ผล  ใช้แก้ปัญหาอย่างได้ผล  และใช้ต่อยอดเป็นชุดความรู้อื่นๆ  (๔) เกิดภาคีเครือข่ายระหว่างนักวิจัยที่เป็นชาวบ้าน กับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่สอง เรื่องการพัฒนาเยาวชนโดยความร่วมมือของโรงเรียนและชุมชน   เป็นเรื่องโรงเรียน บ้านกุดเสถียร จ. ยโสธร   ที่เคยเป็นโรงเรียนขนาดเล็กมาก (นักเรียน ๓๐ คน)    ดำเนินการวิจัย ๑๘ เดือน ระหว่างปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๒   โดยมีชาวบ้านเป็นหัวหน้าโครงการ   ครูและผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้ร่วมวิจัย    เป้าหมายคือเปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้ของครู   โดยจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง ในกิจกรรมจริง    มีชาวบ้านเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้   เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานมีชีวิตชีวา  และเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์   และผลการสอบดีขึ้นอย่างมากมาย    จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น ๑๑๕ คน

อ่านเรื่องราวของโรงเรียนกุดเสถียรได้ ที่นี่ และ ที่นี่ เป็นตัวอย่างของการวิจัยสร้างพลังประชาชนฟื้นการศึกษา

ทั้ง ๒ เรื่องข้างบน เป็นตัวอย่างเอามาต่อยอด ปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ทั้งสิ้น    และเป็นตัวอย่างเรื่อง co-educator หรือ co-teacher

ส่วนโครงการวิจัยพัฒนาระบบการประเมินผลแบบเสริมพลัง เพื่อการพัฒนางานพื้นที่ (ระยะที่ ๒) มีข้อค้นพบตรงกับที่ผมสรุปกับตนเองมาเกือบ ๑๐ ปีแล้ว ว่า ในหน่วยราชการไทย มีสิ่งดีๆ ความรู้หรือเทคนิคดีๆ อยู่    แต่ไปไม่ถึงชาวบ้าน หรือชาวบ้านเข้าไม่ถึง    ชาวบ้านต้องการกระบวนการ เสริมพลัง (empower) ให้เข้าถึง    โดยที่ต้องเป็นการเข้าถึงแบบอิสระและมีเกียรติ    ไม่ใช่เข้าถึงแบบต้องลดเกียรติ เป็นคล้ายๆ ขอทาน   อ่านข้อประทับใจของผม ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๘ ธ.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2013 เวลา 05:43 น.
 


หน้า 405 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8560273

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า