Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ปฏิรูปประเทศไทยแบบถาวร (๑) โดย ศ. กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ

พิมพ์ PDF

ปฏิรูปประเทศไทยแบบถาวร (๑) โดย ศ. กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ

คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าความคิดฝังใน ที่ขาดวิจารณญาณที่ตนมีอยู่เป็นตัวสร้างอคติและความเดียดฉันท์ขึ้นในสังคมหรือวัฒนธรรมของตนเอง:  นักส้งคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาได้ ชี้ให้เห็นว่านี่คือสภาวะที่กำลังเกิด  “การกั้นเขตทางวัฒนธรรม”  ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เกิดจากการคิดแบบถือพวกทางสังคม

ปฏิรูปประเทศไทยแบบถาวร (๑)  โดย ศ. กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ

ทำความเข้าใจการคิดแบบถือพวก   อ่านได้ที่ 561219_ปัญหาของการคิดแบบถือพวกทางสังคม.pdf

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

ปฏิรูปประเทศไทยแบบถาวร (๒) โดย ศ. กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ

เรามีธรรมชาติของการรับรู้และธรรมชาติของการเชื่อโดยสัญชาตญาณ–ไม่ว่ามันจะคลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนไปเพียงใด  แทนที่จะใช้มาตรฐานเชิงปัญญาในการคิด

ปฏิรูปประเทศไทยแบบถาวร (๒)  โดย ศ. กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ

ทำความเข้าใจการคิดแบบถืออัตตา   อ่านได้ที่  561220_ปัญหาของของการคิดแบบถืออัตตา.pdf

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

ปฏิรูปประเทศไทยแบบถาวร (๓) โดย ศ. กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ

สามารถต้านทานการเย้ายวนใจจากอคติ  จากความรังเกียจเดียดฉันท์ที่รุนแรงที่สุดได้  ทั้งยังสามารถต้านทานการวิงวอนโอ้โลมนานาชนิดได้

ปฏิรูปประเทศไทยแบบถาวร (๓)  โดย ศ. กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ

ทำความเข้าใจการคิดแบบมีวิจารณญาณ   อ่านได้ที่ 561221_วิสัยทัศน์สู่สังคมที่มีวิจารณญาณ.pdf

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

หมายเหตุ

ผมได้อ่านบทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช เรื่อง "ปฎิรูปประเทศไทยแบบถาวร โดย ศ.กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ " ซึ่งมีด้วยกัน 3 ตอน แต่ละต้อนต้องเข้าไปอ่านจาก link ที่อาจารย์นำมา post ไว้ แต่ผมทดลองกดตาม link ที่ให้มา แต่การดาวน์โหลดช้ามาก ผมไม่ได้สามารถดาวน์โหลดได้สำเร็จ ถ้าท่านใดมีเอกสารของ ศ.กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ โปรดนำมาเผยแพร่ด้วยครับ เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ท่านที่สนใจ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

24 ธันวาคม 2556

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2013 เวลา 18:39 น.
 

ความหลากหลายและความเป็นชุมชนในศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF

ปาฐกถารางวัล Johan Skytte 2006 เรื่อง E Pluribus Unum : Diversity and Unity in the Twenty-First Century. The 2006 Johan Skytte Prize Lecture   โดย Robert D. Putnam    บอกเราว่า โลกในยุคต่อไปผู้คนในแต่ละสังคมจะมีความแตกต่างหลากหลายมากขึ้น    ผลในระยะสั้นคือจะเกิดความตึงเครียด    แต่ในระยะยาวความหลากหลายนี้จะเป็นพลัง

ปาฐกถานี้เต็มไปด้วยข้อมูล ที่เป็นผลการวิจัยที่ซับซ้อน (multivariate analysis)  และต้องออกแบบอย่างดีจึงจะน่าเชื่อถือ    ผมไม่มีสติปัญญาจะประเมินความน่าเชื่อถือได้     จึงได้แต่เชื่อในชื่อ Robert Putnam

ความเป็นชุมชน หรือความรู้สึกอบอุ่นว่ามีเพื่อน มีเครือข่ายสังคม    เป็นทั้งเรื่องมีเครือข่ายจริงๆ   และเรื่องของความรู้สึก(perception)    อ่านในปาฐกถานี้แล้ว จะเห็นว่า “ความรู้สึก” ของมนุษย์นี้ มันซับซ้อน และอาจไม่ตรงตามสามัญสำนึก    เช่น อ่านตามรูปที่ ๓ - ๖ แล้วจะสรุปได้ว่า ความรู้สึกไม่ปลอดภัย ในชุมชนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาตินั้น   ไม่ใช่ตัวการอยู่ที่คนต่างเชื้อชาติ แม้ต่อคนชาติพันธุ์เดียวกัน ก็รู้สึกไม่ปลอดภัย    และความไม่เชื่อถือ ไม่มั่นใจ (social trust ต่ำ)    ไม่ได้มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น    แต่มีต่อสถาบัน เช่นต่อรัฐบาลท้องถิ่นด้วย

ทำให้อดหวนคิดมาถึงเมืองไทยไม่ได้ว่า    สภาพบ้านเมืองของเราเวลานี้    แม้จะเป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน    แต่ก็มีความไม่ไว้วางใจกันสูงมาก   ผมตีความว่า (ไม่ทราบตีความถูกหรือไม่) เวลานี��� social capital ในสังคมไทยตกต่ำลงอย่างน่ากลัว

ปาฐกถานี้ เริ่มต้นโดยบอกว่า การมีเครือข่าย มี social capital มีผลต่อสุขภาพของคน    ผมตีความต่อในฐานะหมอว่า    ทำให้สุขภาพจิตดี  ภูมิคุ้มกันโรคดี  เป็นโรคต่างๆ ยากขึ้น รวมทั้งโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง

กลับมาที่ผลการวิจัยที่นำเสนอในปาฐกถา    เขาสรุปว่า เวลานี้คนอเมริกันรู้สึกไม่สบายใจ ที่สังคมอเมริกันมีความหลากหลาย คือมีคนต่างชาติเข้าเมืองมากขึ้น

ผมได้รู้จักคำ social distance, social identity   เขาบอกว่า เมื่อคนเรามี social distance ระหว่างกันน้อย    ก็จะเกิดความรู้สึกว่ามี social identity เดียวกัน คือเป็นพวกเดียวกันทางสังคม    ผมตีความง่ายๆ ว่า หาก social distance น้อย คนเราจะรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน   หาก social distance ห่างกัน ก็จะรู้สึกว่าเป็นคนละพวก    ย้ำว่านี่เป็นความรู้สึก    และเขาบอกว่า เมื่อคนเราเปลี่ยน social identity ของตน พฤติกรรมจะเปลี่ยนด้วย

social identity นี่แหละคือเครื่องมือช่วยให้ความหลากหลายทางเชื้อชาติ กลายเป็นพลัง    โดยจะต้องมีมาตรการทางสังคม และทางอื่นๆ เพื่อสร้าง shared identity ขึ้นในสังคมนั้นๆ    คือแต่ละคนต่างก็มี identity จำเพราะของตน   และในขณะเดียวกัน ก็มี shared identity ร่วมกับคนเชื้อชาติ (หรือศาสนา หรือ ฯลฯ) อื่นด้วย

เขายกตัวอย่างความสำเร็จในการสร้าง shared identity ในสหรัฐอเมริกา    เช่น เวลานี้ในกองทัพอเมริกัน มีสภาพเป็นสถาบันที่ “บอดสี”    คือไม่มีความรู้สึกแบ่งแยกผิวสี   และยกตัวอย่างอิทธิพลของศาสนาคาทอลิก ในการสร้าง shared identity ระหว่างคนต่างเชื้อชาติ

ที่จริงสังคมไทยในภาพรวมมีความสามารถสูงในการสร้าง shared identity ระหว่างคนเชื้อชาติไทย  จีน  ไทยภูเขา    และในประวัติศาสตร์ สังคมไทยเป็นสังคมที่ผู้คนเป็นลูกผสม   ถือเป็นความสำเร็จในการสร้างกระบวนการ social assimilation ตามธรรมชาติ

เรื่องความหลากหลายและความเป็นชุมชน    มี shared social idendity ในสังคมไทย ในยุคนี้ น่าจะเป็นโจทย์วิจัยทางสังคมศาสตร์ ที่มีคถณประโยชน์ต่อสังคมอย่างยิ่ง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ พ.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2013 เวลา 19:55 น.
 

ออกกำลังพอเหมาะกระตุ้นสมอง

พิมพ์ PDF
นอกจากการออกกำลังกายอย่างจริงจังแล้ว การให้เด็กได้เคลื่อนไหวขยับตัว (เช่นตบมือ กระโดด ปรบมือเข้าจังหวะ) เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ระหว่างคาบเรียน ช่วยเพิ่มสมาธิจดจ่อ

ออกกำลังพอเหมาะกระตุ้นสมอง

บทความเรื่อง Smart Jocks เขียนโดย Steve Ayan    ตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ในปี ค.ศ. 2010    และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ The Science of Education ในปี 2012  บอกว่า การออกกำลังพอเหมาะ และสม่ำเสมอ ช่วยให้สมองดี

ที่จริงข้อสรุปนี้เป็นที่รู้กันอยู่แล้ว   แต่ส่วนที่รู้เพิ่มขึ้นมาคือคำอธิบายว่า การออกกำลังไปทำอะไรให้แก่สมอง   และสมองส่วนไหนที่ดีขึ้น    รวมทั้งหลักฐานจาการวิจัยในสัตว์ทดลอง และในคน

ส่วนของสมองที่ถูกกระตุ้นคือExecutive Function (EF) ซึ่งทำหน้าที่ด้านการวางแผนและควบคุมพฤติกรรม   และการออกกำลังที่มีคุณค่าต่อสมองคือ การออกกำลังแบบ แอโรบิก    แต่จริงๆ แล้วการเคลื่อนไหวร่างกายมีประโยชน์ทั้งสิ้น

ในปี ๒๕๕๑ มีผู้รวบรวม สังเคราะห์ผลการวิจัย ๑๒ เรื่อง ที่ทดลองให้นักเรียนออกกำลังกายแล้ววัดผลที่สมองและการเรียน   สรุปได้ว่า การออกกำลังกายทำให้ความฉลาดเพิ่มขึ้น   เพิ่มความริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะการวางแผน   รวมทั้งเพิ่มสมรรถนะด้านคณิตศาสตร์และการอ่าน

อีกรายงานหนึ่ง รวบรวมผลการวิจัย ๑๗ เรื่อง เกี่ยวกับการจัดเวลาที่โรงเรียนให้เด็กได้ออกกำลังกาย   สรุปว่า การใช้เวลาเพื่อการออกกำลังกายทุกวัน สูงถึงวันละ ๑ ชั่วโมง    ไม่มีผลเสียต่อผลการศึกษา    กลับตรงกันข้าม คือผลการศึกษาดีขึ้น    ทั้งๆ ที่เวลาสำหรับการเรียนอ่านเขียนคิดเลขน้อยลง

ในชั้นเรียน EF ที่ดีขึ้น ช่วยให้นักเรียนมีสมาธิอยู่กับการเรียน   รู้จักตัดสินใจว่าเมื่อไรจะจดหรือถาม   รวมทั้งรู้จักจัดเวลาทำการบ้าน    เชื่อกันว่า การออกกำลังกาย ช่วยทำให้ความจำใช้งาน (working memory) ขยายขึ้น    ความจำใช้งานหมายถึงความสามารถในการจำเรื่องราวชุดหนึ่งไว้ชั่วขณะ เพื่อใช้สมองคิดตัดสินใจ    เช่นจำตัวเลขสองสามตัว เพื่อคิดเลขในใจ

แต่การออกกำลังกาย มีผลน้อย ต่อทักษะด้านการรับรู้ (perceptual skills) เช่น การจำลักษณะสิ่งของ ความคล่องแคล่วด้านภาษา   และมีผลน้อยต่อทักษะมิติสัมพันธ์

จะให้การออกกำลังกายให้ผลดีต่อสมอง ต้องออกกำลังนานพอสมควร    ดังมีผลการทดลอง ให้เด็กอ้วน  ๙๔ คน อายุระหว่าง ๗ - ๑๑ ปี ออกกำลังแบบแอโรบิก (วิ่งเหยาะ กระโดดเชือก หรืออื่นๆ) ๕ วันต่อสัปดาห์ แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือกลุ่มออกกำลังวันละ ๒๐ นาที กับกลุ่มวันละ ๔๐ นาที   มีการวัดสมรรถนะของสมองก่อนเริ่มโครงการ และหลังออกกำลังสม่ำเสมอ ๑๕ สัปดาห์   พบว่าสมรรถนะของสมองด้านการวางแผน  ด้านการมีสมาธิจดจ่อ  และด้านการจัดการข้อมูล ดีขึ้นเฉพาะกลุ่มที่ออกกำลังวันละ ๔๐ นาที   กลุ่มที่ออกกำลังวันละ ๒๐ นาที และกลุ่มไม่ทำอะไรเลย (กลุ่มควบคุม) สมรรถนะของสมองทั้งสามด้านนั้นไม่ดีขึ้น

นอกจากการออกกำลังกายอย่างจริงจังแล้ว   การให้เด็กได้เคลื่อนไหวขยับตัว (เช่นตบมือ กระโดด ปรบมือเข้าจังหวะ) เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ระหว่างคาบเรียน ช่วยเพิ่มสมาธิจดจ่อ

การทดลองในหนู บอกว่าการออกกำลังช่วยเพิ่มฮอร์โมนกระตุ้นการเติบโตของสมอง คือ VEGF (vascular endothelial growth factor) และ BDNF (brain-derived neurotropic factor)    และการทดลองในคนก็พบว่า การออกกำลังช่วยเพิ่มระดับ BDNF ในเลือดของผู้ถูกทดลอง ๑๖ คน

วิจารณ์ พานิช

๑๗ พ.ย. ๕๖

,

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2013 เวลา 19:57 น.
 

กรรมของการบินไทย

พิมพ์ PDF
เปรียบเทียบกันไม่ได้หรอกค่ะ เขาซื้อเครื่องบินโดยไม่ต้องผ่าน ครม.

กรรมของการบินไทย

เช้าวันที่ ๒๑ ธ.ค. ๕๖   ผมไปเปลี่ยนเที่ยวบินที่ห้องบัตรโดยสารการบินไทย สนามบินสุวรรณภูมิ   ได้โอกาสคุยกับเจ้าหน้าที่ว่าบริการของการบินไทยไม่เด่นอย่างสมัยก่อน   โดยผมเล่าว่า ผมเพิ่งบินไปบราซิลด้วยสายการบิน เอมิเรตส์ บริการและเครื่องบินดีกว่าการบินไทยมาก

เธอตอบว่า "เปรียบเทียบกันไม่ได้หรอกค่ะ   เขาซื้อเครื่องบินโดยไม่ต้องผ่าน ครม."

คมเหลือเกิน สาวการบินไทย

ผมได้โอกาสยิงตรง   "ไม่ใช่การบินไทยเท่านั้นหรอกที่ย่อยยับเพราะคอรัปชั่นของนักการเมือง   บ้านเมืองของเราด้วย"   "พวกคุณควรชวนกันไปร่วมแสดงพลังต่อต้านคอรัปชั่นที่ราชดำเนินกันให้มากๆ"

"ไปกันจนแทบจะไม่มีคนทำงานแล้วละค่ะ"

สายวันนั้น อ่านข่าว นสพ. พบว่า ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ดีดีการบินไทยลาออก

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2013 เวลา 18:24 น.
 

มาตรฐานการศึกษา

พิมพ์ PDF

มาตรฐานการศึกษา

 

เรามักเข้าใจผิด ว่ามาตรฐานการศึกษาอยู่ที่ กกอ./สกอ.    จริงๆ แล้ว นั่นเป็นเพียงส่วนเดียว    เป็นมาตรฐานในกระดาษ    ยังมีส่วนมาตรฐานในการปฏิบัติ   มาตรฐานในวัฒนธรรม    มาตรฐานในคุณธรรม   และอื่นๆ อีกมากมาย จาระไนไม่หมด

เมื่อวันที่ ๑๘ พ.ย. ๕๖ ผมได้รับฟังเรื่องเล่าจากผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง    เรื่อง ดร. ก  จบจากต่างประเทศ ไปรับราชการใช้ทุนในมหาวิทยาลัย ร ในต่างจังหวัด   และพบว่าลูกศิษย์เกือบทั้งหมดไม่ตั้งใจเรียน   และเรียนอ่อนมาก    ถึงเวลาสอบ ผลคือตกค่อนชั้น

เมื่อมีผลสอบออกมา    ก็มีชายชุดดำ เป็น สมาชิก อบต. (ผมไม่แน่ใจว่าท่านเล่าว่าเป็นนายก อบต. หรือเปล่า) มาหา ดร. ก  ว่าลูกของตนจะสอบตกได้ไง   อาจารย์สอนอย่างไร เด็กสอบตกค่อนห้อง    ถ้าไม่แก้คะแนน จะมีเรื่อง

ดร. ก ยังอ่อนเยาว์ในเรื่องเช่นนี้    จึงไปขอคำปรึกษาจากอธิการบดี    ได้รับคำแนะนำว่า    ทาง อบต. เขาช่วยเหลือมหาวิทยาลัยมาก   หากไม่ช่วยลูกของสมาชิก อบต. ท่านนี้ ต่อไปความช่วยเหลืออาจลดลง    จึงแนะนำให้แก้เกรด

ดร. ก งุนงงและอึดอัดต่อคำแนะนำ    และในที่สุดก็ต้องแก้เกรด   แต่ก็ทำใจไม่ได้    ในที่สุดก็ลาออกจากมหาวิทยาลัย ร    ไปทำงานที่อื่น

ผมมีคำถามเพื่อเป็นความรู้ว่า เหตุการณ์ทำนองนี้มีเกิดที่อื่นอีกไหม   เกิดบ่อยไหม

ป้องกันอย่างไร

ผมมีคำแนะนำว่า วิธีป้องกันแบบตัดไฟแต่หัวลม คือ อาจารย์ต้องฝึกวิธีสร้าง student engagement    หรือฝึกวิธีทำให้เรียนสนุก   ดังปรากฎในหนังสือ ครูเพื่อศิษย์ : สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งดาวน์โหลดได้ฟรี    โดยมหาวิทยาลัยที่เผชิญปัญหา นศ. เรียนอ่อนและไม่ตั้งใจเรียนควรมีคนศึกษาหนังสือเล่มนี้ และจัด training workshop แก่ครู    และจัดให้มี PLC Student Engagement  ให้อาจารย์ได้ ลปรร. เทคนิคหรือเคล็ดลับ ที่ช่วยให้ นศ. เรียนสนุก และเรียนแล้วรู้จริง

นี่คือวิธีบริหารมาตรฐานการศึกษา ในระดับปฏิบัติ    ใกล้ตัวนักศึกษาที่สุด    และเป็นของจริงแท้ที่สุด

มาตรฐานที่แท้ อยู่ที่การปฏิบัติ   ไม่ได้อยู่ในกระดาษ

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2013 เวลา 19:47 น.
 


หน้า 408 จาก 557
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8591666

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า