Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๕๗. เถียง Malcolm Gladwell

พิมพ์ PDF

หนังสือเล่มใหม่ของ Malcolm Gladwell ชื่อ David and Goliath: Underdogs, Misfits and the Art of Battling Giantsh ผมถือไปอ่านต่อบนเครื่องบิน ระหว่างเดินทางไปบราซิล    อ่านแล้วเกิดปิ๊งแว้บ ว่าเรื่องที่เขานำมาเล่าอย่างน่าอ่านน่าติดตามนั้น    เราไม่จำเป็นต้องสรุปอย่างที่เขาพยายามสรุปให้เราฟัง/เข้าใจ

กล่าวอย่างนี้ ไม่ได้หมายความว่า Gladwell ผิดนะครับ    ข้อสรุปของเขาถูกต้อง และประเทืองปัญญาอย่างยิ่ง    ประเด็นเรียนรู้ตามในหนังสือเล่มนี้ ถ้า Gladwell ไม่เอามาชี้ให้เห็น ผมจะไม่มีวันเข้าใจ

แต่ ในความเป็นจริง หนึ่งเรื่อง สรุปได้หลายบทเรียน”    ผมจึงลองสรุปข้อเรียนรู้จากเรื่องในหนังสือเล่มเดียวกันนี้แหละ    แต่สรุปด้วยทฤษฎีหรือหลักการอื่น

ข้อสรุปนี้ไม่รับรองว่า เป็นของผมล้วนๆ  หรือด้วยอิทธิพลของไวน์ที่อร่อยยิ่ง ของสายการบิน เอมิเรตส์ ชื่อ Chateau Phelan Segur 2004 St Estephe

ประเด็นหลักของหนังสือเล่มนี้ของ มัลคอล์ม แกลดเวลล์ คือ    ยุทธศาสตร์การเอาชนะการต่อสู้ของผู้อ่อนแอกว่า     ต้องใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะกับข้อได้เปรียบของตนเอง    ไม่ใช่หลงใช้ยุทธศาสตร์ที่ยึดถือกันโดยทั่วไป ที่ก่อความได้เปรียบแก่ผู้แข็งแรง    ลูกเล่นและวิธีหาข้อมูลเรื่องราวมาเล่า และนำสู่ข้อสรุป ให้ทั้งความบันเทิงในการอ่าน และได้ปัญญา … เหมือนเดิม

แต่ … ผมหาข้อสรุปใหม่ ข้อเรียนรู้ใหม่ (ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใหม่ เพราะใช้ทฤษฎีที่เล่าต่อๆ กันมาเป็นพันปีต่อเรื่องที่ แกลดเวลล์เล่า    ว่า ไม่ว่าผู้แข็งแรงกว่า หรือผู้อ่อนแอกว่า  ยุทธศาสตร์เพื่อการเอาชนะคือ รู้เขา - รู้เรา” (รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง) ของ ซุนวู

อ่านเรื่องราวที่เดวิด ตัดหัวโกไลแอท แล้ว    ผมเห็นด้วยว่า โกไลแอท มีดีอย่างเดียวคือตัวโต และพละกำลังมาก    แต่มีข้อด้อยสุดๆ คือโง่    คิดว่าการต่อสู้มีแบบเดียวคือฟาดกันด้วยดาบ    เดวิดตัวเล็กและไม่มีเกราะ รู้เขา” ว่ารบตามรูปแบบในสมัยนั้น คือรบประชิด ฟาดกันด้วยดาบ แพ้แหงๆ    ไม่มีทางเอาชนะพลังของยักษ์ได้    ต้องรบระยะห่าง ใช้กระสุนก้อนหิน    ป๊อกเดียวยักษ์ล้ม และลุกยาก เพราะเกราะเหล็กหนักตั้ง ๕๐ กิโล    ชั่วพริบตาศีรษะยักษ์ก็หลุดจากร่างมาอยู่ในมือเดวิด

เดวิด ฉลาด ที่รู้เขา ว่าเขา (โกไลแอทแรงมาก มีเกราะป้องกัน แต่งุ่มง่าม และโง่    มายืนท้าโดยไม่คิดว่ามีวิธีต่อสู้กันแบบอื่น    เช่น เหวี่ยงกระสุนใส่หัวได้โดยวิธีง่ายๆ แต่อาศัยฝีมือ    เดวิดใช้โอกาสเลือกวิธีต่อสู้ ที่ตนได้เปรียบ   โดยที่โกไลแอท ก็เลือกวิธีต่อสู้แบบที่ตนถนัด แต่ไม่ใช่ผู้กำหนดวิธีการต่อสู้   ย่อมแพ้แล้วตั้งแต่แรก   เพราะโกไลแอท ไม่ รู้เขา”    และไม่มีวิธีกำหนดเงื่อนไขของการต่อสู่ให้ตนได้เปรียบ

ตัดฉากมาที่ นิวยอร์คย่าน Brownsville ที่มีอัตราอาชญากรรมสูงที่สุดในนิวยอร์ค เรื่องวิธีการที่หัวหน้าตำรวจ ชื่อ Joanne Jaffe ใช้ในการแก้ปัญหาอาชญากรรม    ซึ่งสรุปได้ว่า ตำรวจใช้วิธีการของนักจิตวิทยา    คือให้ความเห็นอกเห็นใจครอบครัวที่มีวัยรุ่นนักก่อปัญหา    โดยไม่เรียน ออกมามีชีวิตก่อกวนความสงบสุขของสังคม    อ่านวิธีการของหัวหน้านายตำรวจหญิงคนนี้แล้ว    ผมยกนิ้วให้ ว่า หลักการที่ทำใหเธอประสบความสำเร็จ คือ รู้เขา” เข้าใจเขา    ว่าครอบครัวที่มีเด็กที่เราตราว่าเหลือขอนั้นเขาอยู่กันอย่างไร เขาคิดอย่างไร   เข้าไปแสดงความเห็นใจเขา เข้าใจเขา ช่วยให้เขาเข้มแข็งขึ้น   อัตราอาชญากรรมลดลงกว่ายี่สิบเท่าใน ๓ ปี

เรื่องจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมือง ๓๐ ปี   ระหว่างผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิค กับผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแต๊นท์ ในไอร์แลนด์เหนือ   ก็มาจากการใช้อำนาจ แบบไม่เข้าใจความคิดของผู้เกี่ยวข้อง   คือไม่ รู้เขา รู้เรา”   โดยที่ แกลดเวลล์ อธิบายว่า เพราะไม่เข้าใจ Principle of Legitimacy (หลักการของความชอบธรรม)   ได้แก่ (๑) ผู้ถูกกระทบโดยกติกา มีส่วนกำหนดกติกา  (๒) กติกานั้นต้องสมเหตุสมผล และใช้อย่างคงเส้นคงวา   (๓) บังคับใช้อย่างเสมอหน้า ไม่เลือกปฏิบัติ

อ่านเรื่องราวของ IRA  และสงครามกลางเมืองในไอร์แลนด์ แล้ว ผมนึกถึงเหตุการณ์ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ในปัจจุบัน   ผมอยากให้ผู้รับผิดชอบสร้างสันติสุขใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ อ่านหนังสือเล่มนี้

การเถียง แกลดเวลล์ ครั้งนี้ ไม่ได้เถียงแบบไม่เห็นพ้อง   แต่เถียงว่า มีวิธีตีความแบบอื่นได้ด้วย

ถ้าครูยอม หรือส่งเสริมให้ศิษย์เถียงครู หรือเถียงตำรา ได้อย่างนี้   สังคมไทยจะประเทืองปัญญาขึ้นมาก

แต่ที่ผมไม่เถียงเลย คือวิธีคิด หรือกระบวนทัศน์ต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง แบบขั้วตรงกันข้าม   ระหว่างการแก้แค้น กับการให้อภัย   ผมอยู่ข้างการให้อภัย   และการยึดถือแนวทางนี้ ทำให้ผมมีชีวิตที่ดีดังเช่นปัจจุบัน

เขียนถึงหนังสือเล่มนี้ หากไม่เอ่ยถึง กราฟรูปตัว ยู หัวกลับ (inverted U curve) ก็จะไม่ครบถ้วน   ปรากฏการณ์นี้ บอกเราว่า สิ่งที่ว่าดีนั้น หากมากเกินไป กลับก่อผลร้าย    ทำให้ผมเถียง มัลคอล์ม แกลดเวลล์ ได้อีกข้อหนึ่ง    คือเรื่องทางสายกลาง    แต่ทางพุทธเราเอ่ยถึงทางสายกลางแบบเหมารวม    หากดูตามกราฟรูปตัวยูหัวกลับ    ในบางช่วงยิ่งมากยิ่งดี   แต่พอถึงจุดหนึ่ง ยิ่งมากยิ่งไม่ดี    คือ ทางสายกลางก็มีขอบเขตจำกัด

จึงมาถึงการตีความ กราฟรูปตัวยูคว่ำ  ว่าหมายถึงธรรมชาติของข้อจำกัด (limits)  และหมายถึงความซับซ้อนของสรรพสิ่ง    ที่คิดชั้นเดียวอาจจะผิด หรือไม่รอบคอบพอ    และบางเรื่องบางกรณี ความเป็นจริงมันตรงกันข้ามกับความเข้าใจหรือเหตุผลโดยทั่วไป

ผมชอบ มัลคอล์ม แกลดเวลล์ ตรงนี้   เขาถนัดนำเรื่องที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อโดยทั่วไป มาให้เราเรียนรู้    อาศัยข้อมูลหลักฐานมายืนยัน

ข้อเรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้ คือ ข้อได้เปรียบ ที่ได้จากความอ่อนแอ หรือความผิดปกติบางด้าน   ทำให้ได้รับการยอมรับให้สดงพฤติกรรมที่แตกต่างจากประเพณีนิยมได้    นำไปสู่จุดเด่น ที่คนทั่วไปไม่มี    และสู่ความสำเร็จยิ่งใหญ่ในชีวิต    เขายกตัวอย่างหลายคน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๗ พ.ย. ๕๖

บนเครื่องบินไปริโอ เดอ จาไนโร

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 13:59 น.
 

ความหลากหลายและความเป็นชุมชนในศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF

ปาฐกถารางวัล Johan Skytte 2006 เรื่อง E Pluribus Unum : Diversity and Unity in the Twenty-First Century. The 2006 Johan Skytte Prize Lecture   โดย Robert D. Putnam    บอกเราว่า โลกในยุคต่อไปผู้คนในแต่ละสังคมจะมีความแตกต่างหลากหลายมากขึ้น    ผลในระยะสั้นคือจะเกิดความตึงเครียด    แต่ในระยะยาวความหลากหลายนี้จะเป็นพลัง

ปาฐกถานี้เต็มไปด้วยข้อมูล ที่เป็นผลการวิจัยที่ซับซ้อน (multivariate analysis)  และต้องออกแบบอย่างดีจึงจะน่าเชื่อถือ    ผมไม่มีสติปัญญาจะประเมินความน่าเชื่อถือได้     จึงได้แต่เชื่อในชื่อ Robert Putnam

ความเป็นชุมชน หรือความรู้สึกอบอุ่นว่ามีเพื่อน มีเครือข่ายสังคม    เป็นทั้งเรื่องมีเครือข่ายจริงๆ   และเรื่องของความรู้สึก(perception)    อ่านในปาฐกถานี้แล้ว จะเห็นว่า “ความรู้สึก” ของมนุษย์นี้ มันซับซ้อน และอาจไม่ตรงตามสามัญสำนึก    เช่น อ่านตามรูปที่ ๓ - ๖ แล้วจะสรุปได้ว่า ความรู้สึกไม่ปลอดภัย ในชุมชนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาตินั้น   ไม่ใช่ตัวการอยู่ที่คนต่างเชื้อชาติ แม้ต่อคนชาติพันธุ์เดียวกัน ก็รู้สึกไม่ปลอดภัย    และความไม่เชื่อถือ ไม่มั่นใจ (social trust ต่ำ)    ไม่ได้มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น    แต่มีต่อสถาบัน เช่นต่อรัฐบาลท้องถิ่นด้วย

ทำให้อดหวนคิดมาถึงเมืองไทยไม่ได้ว่า    สภาพบ้านเมืองของเราเวลานี้    แม้จะเป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน    แต่ก็มีความไม่ไว้วางใจกันสูงมาก   ผมตีความว่า (ไม่ทราบตีความถูกหรือไม่) เวลานี��� social capital ในสังคมไทยตกต่ำลงอย่างน่ากลัว

ปาฐกถานี้ เริ่มต้นโดยบอกว่า การมีเครือข่าย มี social capital มีผลต่อสุขภาพของคน    ผมตีความต่อในฐานะหมอว่า    ทำให้สุขภาพจิตดี  ภูมิคุ้มกันโรคดี  เป็นโรคต่างๆ ยากขึ้น รวมทั้งโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง

กลับมาที่ผลการวิจัยที่นำเสนอในปาฐกถา    เขาสรุปว่า เวลานี้คนอเมริกันรู้สึกไม่สบายใจ ที่สังคมอเมริกันมีความหลากหลาย คือมีคนต่างชาติเข้าเมืองมากขึ้น

ผมได้รู้จักคำ social distance, social identity   เขาบอกว่า เมื่อคนเรามี social distance ระหว่างกันน้อย    ก็จะเกิดความรู้สึกว่ามี social identity เดียวกัน คือเป็นพวกเดียวกันทางสังคม    ผมตีความง่ายๆ ว่า หาก social distance น้อย คนเราจะรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน   หาก social distance ห่างกัน ก็จะรู้สึกว่าเป็นคนละพวก    ย้ำว่านี่เป็นความรู้สึก    และเขาบอกว่า เมื่อคนเราเปลี่ยน social identity ของตน พฤติกรรมจะเปลี่ยนด้วย

social identity นี่แหละคือเครื่องมือช่วยให้ความหลากหลายทางเชื้อชาติ กลายเป็นพลัง    โดยจะต้องมีมาตรการทางสังคม และทางอื่นๆ เพื่อสร้าง shared identity ขึ้นในสังคมนั้นๆ    คือแต่ละคนต่างก็มี identity จำเพราะของตน   และในขณะเดียวกัน ก็มี shared identity ร่วมกับคนเชื้อชาติ (หรือศาสนา หรือ ฯลฯ) อื่นด้วย

เขายกตัวอย่างความสำเร็จในการสร้าง shared identity ในสหรัฐอเมริกา    เช่น เวลานี้ในกองทัพอเมริกัน มีสภาพเป็นสถาบันที่ “บอดสี”    คือไม่มีความรู้สึกแบ่งแยกผิวสี   และยกตัวอย่างอิทธิพลของศาสนาคาทอลิก ในการสร้าง shared identity ระหว่างคนต่างเชื้อชาติ

ที่จริงสังคมไทยในภาพรวมมีความสามารถสูงในการสร้าง shared identity ระหว่างคนเชื้อชาติไทย  จีน  ไทยภูเขา    และในประวัติศาสตร์ สังคมไทยเป็นสังคมที่ผู้คนเป็นลูกผสม   ถือเป็นความสำเร็จในการสร้างกระบวนการ social assimilation ตามธรรมชาติ

เรื่องความหลากหลายและความเป็นชุมชน    มี shared social idendity ในสังคมไทย ในยุคนี้ น่าจะเป็นโจทย์วิจัยทางสังคมศาสตร์ ที่มีคถณประโยชน์ต่อสังคมอย่างยิ่ง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ พ.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 14:01 น.
 

กระแสต่อต้านการเมืองชั่ว

พิมพ์ PDF
เราต้องต่อต้านการเมืองชั่ว ที่เรียกว่า ระบอบทักษิณ โดยที่ต้องตระหนักว่า ผลร้ายที่เกิดขึ้นแก่ประเทศ จนคนไทยทนไม่ไหว ก่อโดยรัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด ที่กำลังรักษาการอยู่นี่แหละ การให้เขารักษาการไปตามปกติ จึงเท่ากับเปิดโอกาสให้เขาทำชั่วต่อไปอีก ดังที่เราก็เห็นอยู่ ว่าเขาไม่ได้หยุดยั้งเลย

กระแสต่อต้านการเมืองชั่ว

น่าดีใจ ที่คนไทยตื่นขึ้นมาประท้วงการเมืองชั่วกันอย่างกว้างขวาง   ไม่ปรองดองกับความชั่ว   แต่อย่าเพิ่งตายใจ   อย่าคิดว่าจะกำจัดรากเหง้าของการเมืองชั่วได้อย่างง่ายดาย

ผมเอารูปโปสเตอร์ต่อต้านการเมืองชั่วมาให้ดู   ๓ รูปแรกถ่ายที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อวันที่ ๒๙ พ.ย. ๕๖

๒ รูปหลังถ่ายที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ ๑๖ ธ.ค. ๕๖   โดยรูปที่ ๔ ถ่ายตอน ๘.๔๐ น.   พอกลับออกมาจากการประชุม เวลาเกือบ ๑๓ น.   เปลี่ยนป้ายประท้วงแล้ว ทีมผู้เปลี่ยนป้ายกำลังถ่ายรูปเป็นที่ระลึกอยู่พอดี

 

ผมคิดว่า

ผมคิดว่าเราต้องต่อต้านการเมืองชั่ว ที่เรียกว่า ระบอบทักษิณ โดยที่ต้องตระหนักว่า ผลร้ายที่เกิดขึ้นแก่ประเทศ จนคนไทยทนไม่ไหว    ก่อโดยรัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด ที่กำลังรักษาการอยู่นี่แหละ   การให้เขารักษาการไปตามปกติ จึงเท่ากับเปิดโอกาสให้เขาทำชั่วต่อไปอีก   ดังที่เราก็เห็นอยู่ ว่าเขาไม่ได้หยุดยั้งเลย

ผมจึงเรียกร้องให้ มีกระบวนวางแนว/กรอบการปฏิรูปประเทศเสียก่อนจัดการเลือกตั้ง    และมีรัฐบาลคนกลางมาจัดการเลือกตั้ง และเริ่มการปฏิรูปฯ

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 11:59 น.
 

Stop promoting pseudo –Democracy - Tarisa Watanagase

พิมพ์ PDF
หยุดประชาธิปไตยปลอม

Stop promoting pseudo –Democracy

 

This following article may help to brighten and broaden the LACK OF knowledge of the mentioned French/IMF economist and the western media.

 

 

Ms. Tarisa Watanagase, former Governor of the Bank of Thailand.

 

"Stop promoting pseudo -Democracy.......We need the real democratic countries condemn such Pseudo-democratic government

 

The latest bout of nation-wide protests has erupted in Thailand, this time in opposition of the highly controversial Amnesty bill. The bill was originally proposed by the government to “heal the political divide” by granting a blanket amnesty to non-leader participants in the numerous rallies and political protests since the military coup in 2006 which ousted Thaksin, the brother of the current prime minister. The bill was substantially expanded in its second reading to pardon the leaders and those involved in the 2010 riots, in which pro-Thaksin supporters torched government buildings and major department stores. The riots subsequently led to clashes with authorities, resulting in over 90 deaths, many with bullet wounds from sources that have yet to be identified. Furthermore, the bill would extend to cover all corruption cases brought up in the aftermath of the coup, including those against Thaksin. But perhaps most shocking is the bill’s extension to 2004, two years before the coup, when the Thaksin regime brutally cracked down on a group of protestors in Tak Bai, southern Thailand. Police allegedly fired into the crowd, killing seven; the remaining were arrested and piled horizontally onto trucks for a long drive to a military camp, during which 78 detainees died of suffocation. If the current government cites the unconstitutional nature of the coup as evidence for the illegitimacy of the corruption charges issued in its aftermath, on what grounds would amnesty be justifiable for such a crackdown which took place under a democratically elected government?

 

Thailand is no stranger to corruption and political exploitations. Respondents in a June 2013 survey estimated that 30-35% of government and state-enterprise project funding are lost to corruption, mostly into the hefty pockets of politicians. Transparency International’s Corruption Index ranked Thailand at 88 out of 176 countries in 2012, with a score of 37 out of 100. But the audacity and brazenness of this bill are unprecedented. If passed, it would compromise the already weak moral institutions of the country in a blatant message that crime can go unpunished. How could the parliament push and vote for a bill that deviates substantially from the principles adopted in its first reading, violates the principles of human rights, overrides the verdict of the court, and promotes immoral and fraudulent behaviors despite wide-spread protests? It is all under the guise of “Democracy”. With its absolute majority in the parliament, the ruling party claims it has the mandate of the majority of the population and therefore has the right to proceed. With parliamentary checks and balances out of order, protestors have taken to the streets in the hope that their voices may be heard by the Senate, that it may reject the bill.

 

The U.S. and the world have recently witnessed the government shutdown and debt ceiling saga with frustration. This is a vivid example of how even the world’s most advanced democracy can be flawed. In this case however, one can reasonably expect U.S. voters to vent their anger in the next election. Unfortunately for Thailand, where political problems are deeply rooted in its economic, educational and societal divides between the urban rich and the rural poor, problems cannot be solved with a simple spoonful of democracy to lead to a change for the better in the next election. When the first priority of the rural poor is to put food on the table, political interests and the sustainable future of the country become secondary. Votes can be easily played into the hand of politicians with questionable moral standards and conscience. Simply holding elections does not guarantee a democratic outcome. This is a common outlook in the West on the political situation in developing countries: that democratically elected governments represent the will of the people and are therefore legitimate. Objectively speaking, democracy is a long-term goal; the immediate concerns are reducing the inequality on all fronts as this is a prerequisite for a resilient and better functioning democracy. In the meantime, peaceful protests which raise political awareness, and even the occasional bloodless coup in the past, have been part of the growing up process toward a more genuine democracy. Blindly supporting an elected regime and condemning any action against it as undemocratic will only promote pseudo-democracy.

 

Tarisa Watanagase"

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 12:44 น.
 

เวทีปฏิรูปประเทศไทย ต้านคอรัปชั่น ของ สกว.

พิมพ์ PDF
การคอร์รัปชั่นทางการเมืองยากจะแก้ไขเพราะเกี่ยวโยงกับขบวนการสะสมทุนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ มีการจ่ายสินบนหรือใช้ตำแหน่งอิทธิพลในการเข้าถึงสัมปทานหรือใบอนุญาตในการเข้าถึงทรัพยากรหายาก เช่น ที่ดินสาธารณะ หรือทรัพยากรอื่น ๆ ที่ต้องได้รับการอนุญาตจากภาครัฐ เช่น เหมืองแร่ ดาวเทียม โครงการขนาดใหญ่ทางด้านสาธารณูปโภค วงเงินที่เกี่ยวข้องมีอัตราสูง ทำให้เป็นแรงจูงใจให้บุคคลที่เกี่ยวข้องแสวงหากำไรที่เกินปกติ และพบว่าถ้านักการเมืองหรือนักธุรกิจรวมถึงข้าราชการเข้าไปในวงจรจะมีครอบครัวเศรษฐีได้หลายชั่วอายุคน แม้ในปี 2544 จะมีการก่อตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ทำให้องค์กรมีเขี้ยวเล็บมากขึ้นและดำเนินคดีกับนักการเมืองได้ แต่ก็น่าจะทำได้มากกว่านี้ เช่น กรณีจำนำข้าวยังเอาผิดใครไม่ได้

เวทีปฏิรูปประเทศไทย ต้านคอรัปชั่น ของ สกว.

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ธ.ค. ๕๖

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 12:47 น.
 


หน้า 410 จาก 557
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5601
Content : 3040
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8585231

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า