Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

มิติใหม่ของการเรียนรู้

พิมพ์ PDF

บันทึกนี้มาจากการไปฟังการนำเสนอของ John Couch, VP for Education ของบริษัท แอ๊ปเปิ้ล ตามที่เล่าในบันทึกที่แล้ว

 

เขาบอกว่ามิติใหม่นี้มี ๕ ด้าน ที่เชื่อมโยงกัน ได้แก่

 

New Learners นักศึกษาในยุคปัจจุบัน เติบโตมาในโลกที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง หากมองจากมุมของโลกเทคโนโลยี เพื่อการติดต่อสื่อสาร (และการเรียนรู้)    เขาบอกว่าคนที่เข้ามหาวิทยาลัยปีนี้ส่วนใหญ่เกิดปี ค.ศ. 1995   ซึ่งในช่วงชีวิตได้เกิดเทคโนโลยีต่างๆ ตามลำดับดังนี้   เกิด Google เมื่ออายุ ๓ ขวบ, เกิด iPod เมื่อายุ ๖ ขวบ, เกิด Facebook เมื่ออายุ ๙ ขวบ, เกิด Twitter เมื่ออายุ ๑๑ ขวบ, เกิด iPhone เมื่ออายุ ๑๒ ขวบ, เกิด App เมื่ออายุ ๑๓ ขวบ, และเกิด iPad เมื่ออายุ ๑๕

 

สภาพเช่นนี้บอกเราว่า เด็กเรียนรู้ด้วยวิธีการที่ต่างจากคนรุ่นก่อนเรียน   และการศึกษาต้องเตรียมเขาออกไปเผชิญโลกอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และคาดไม่ได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร    การเรียนรู้ต้องสนุก ท้าทาย และให้คุณค่าอย่างชัดเจน นักเรียนจึงจะเรียน

 

New Connections เวลานี้โลกเป็นโลกแห่งการเชื่อมต่อ   นักเรียน/นักศึกษาอยู่กับการเชื่อมต่อวันละ ๒๔ ชั่วโมง สัปดาห์ละ ๗ วัน   ICT ไม่ได้เป็นเพียงเทคโนโลยี แต่ได้กลายเป็นระบบนิเวศในชีวิตของเด็ก   หรือได้เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของชีวิตเด็กโดยสิ้นเชิง    โดยที่ปัจจุบันเนื้อความรู้หาง่าย จาก connection   เกิดระบบนิเวศที่ความรู้มาก และสับสน ไม่รู้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด   หรืออันไหนถูกในสถานการณ์ไหน    อีกอันหนึ่งถูกในสถานการณ์ที่แตกต่าง อย่างไร

 

New Content เนื้อหาความรู้ที่มีคุณค่าเพิ่มในยุคปัจจุบัน คือเนื้อหาที่มีบริบทแนบอยู่ด้วย    พลัง ไอซีที ได้ทำให้สามารถเสนอเนื้อหาที่มีบริบทได้หลากหลายช่องทาง    เช่นของ แอ๊ปเปิ้ล มี iTunes U 600,000 รายการ, iBooks 1.8 ล้านรายการ, Learning App 65,000 รายการ

 

เขาอวด iBook เล่มแรกสำหรับการศึกษาชื่อ E.O. Wilson’s Life on Earth  ซึ่ง ดาวน์โหลดได้ฟรี ที่นี่

 

เขาบอกว่า ด้วยพลังของ iBook Author software นักเรียนสามารถพิมพ์หนังสือขายผ่านช่องทาง iTune โดยได้รับค่าลิขสิทธิ์ร้อยละ ๗๐

 

New Communities เป็นชุมชนเรียนรู้ในชั้นเรียน   และกระจายออกไปนอกชั้นเรียน และทั่วโลก    เปิดโอกาสให้นักเรียนสร้างสรรค์ได้มากกว่าที่เราคิด   ด้วยพลังสนับสนุนจาก ไอซีที

 

แน่นอนครับ  เขาต้องยกตัวอย่างว่า iPad เป็นเครื่องมือช่วยให้เกิด New learning communities อย่างไร   และผมคิดว่า นี่คือโอกาสที่วงการศึกษาทั่วโลกจะหาทางร่วมมือกับบริษัท ไอซีที พัฒนารูปแบบที่เหมาะสม ต่อประเทศของตน   ผมฝันอยากให้ท่านเลขาธิการ กกอ. ท่านใหม่ รศ. ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ จับเรื่องนี้อย่างจริงจัง

 

New Challenges แน่นอนว่า ความท้าทายใหม่มีขึ้นได้ตลอดไปไม่สิ้นสุด    แต่ที่เขาเอามาบอกเราคือ Challenge Based Learning ที่ Apple พัฒนาเทคโนโลยีและ learning platform ขึ้นมาช่วยทำให้เกิด collaborative learning ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก   ที่การเรียนรู้เป็นจุดบรรจบหรือ synergy กันระหว่าง content – community – context

 

ผมได้เรียนรู้ทฤษฎีหรือมุมมอง SAMR ในการใช้ ไอซีที เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้    ที่เรียกว่า Transformative Learning    และ TPCK ซึ่งเป็นทฤษฎีที่นักเทคโนโลยีใช้มองความรู้และการเรียนรู้    เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี (และธุรกิจของตน) ให้สนอง New Learners   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสร้าง Pedagogocal process ที่ตรงใจผู้เรียน ที่แตกต่างกัน    และจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ    โดยเป้าหมายในยุคต่อไปคือ Targeted / Individualized Pedagogy  ซึ่งเป็นคำที่เลียนแบบ Targeted / Individualized Therapy    ต่อไปการเรียนรู้จะมี ICT ช่วยให้เป็นการเรียนแบบ “จัดให้เหมาะสมกับแต่ละคน” (tailor-made)    แต่จะยังคงใช้พลังการเรียนรู้เป็นทีม คือ Learning Community ไว้

 

การซักถามนำไปสู่ปัญหาโลกแตกในสังคมไทย คือจะเปลี่ยนอย่างไร    คำตอบก็เป็นคำตอบมาตรฐาน คือ Visionary Leadership ที่จัดการให้เกิดความเป็นเจ้าของการเปลี่ยนแปลง(ownership)    ซึ่งจะมีกรณีศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน UAE   อยู่ในบันทึกต่อไป

 

ประเด็นประทับใจยิ่งของผม คือวิธีมองการเรียนรู้ และเทคโนโลยี เป็นระบบนิเวศ

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๔ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2013 เวลา 09:34 น.
 

สืบเนื่องจากการเดินทางร่วมกับคณะวิจัย

พิมพ์ PDF

ตามที่ผมมีโอกาสได้ร่วมเดินทางกับคณะวิจัยโครงการ"วิจัยท่องเที่ยวเชิงสังคมและวัฒนธรรม ช่วงวันที่ 12-17 พ.ย.2556 ทำให้นึกถึงอดีตในสมัยที่ทำธุรกิจท่องเที่ยว และบังเอิญมีผู้แสดงความคิดเห็นในบทความที่ผมเคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ จึงขอนำบทความดังกล่าวมาเผยแพร่อีกครั้งเพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยว และรวมถึงนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องได้เรียนรู้ร่วมกัน

เรียนรู้เรื่องเงิน กรณีศึกษา ทรูทัวร์

เรียนรู้การเข้าหุ้นทำธุรกิจ

บทความ เรียนรู้เรื่อง เงิน ฉบับนี้ ผมขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเข้าหุ้นทำธุรกิจ เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับท่านที่คิดจะเข้าหุ้นทำธุรกิจกับผู้ที่เขามีอำนาจเงินมากกว่าเรา..

กรณีศึกษาบริษัท ทรูทัวร์

โอกาสมาถึงผมอีกครั้ง เมื่อสามารถชักชวนให้ Mr.Bob ชาวออสเตรียเลีย ลงทุนสร้างโปรแกรมท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนใคร เพื่อบริการนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักท่องเที่ยวไทย ผมนำเสนอโครงการ ที่ต้องใช้เงินลงทุน 5 แสนบาท Mr.Bob ตกลงแต่มีข้อแม้นว่าผมต้องลงเงิน 25% ผมสามารถหาเงินได้แค่ 1แสน บาท Mr.Bob จึงลงเงิน 2 แสน บาท และให้ผมเป็นผู้จัดการทั่วไป

ผมเริ่มสำรวจแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ และได้พบแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพมาก เป็นเกาะในแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรี การเดินทางต้องใช้เรือเป็นพาหนะ ได้แก่เกาะเกร็ด ภายในเกาะเกร็ด เป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญ อาชีพปั้นดินเผา และทำสวน มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เมื่อได้แหล่งท่องเที่ยวแล้ว จึงกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยว การเดินทางไปที่เกาะเกร็ด สามารถเดินทางได้ 2 ทาง คือทางเรือ จากศูนย์กลางของกรุงเทพ ปากคลองตลาดวิ่งเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่ท่าน้ำนนทบุรี และจ้างเหมาเรือท้องถิ่นไปที่เกาะเกร็ด หรือใช้ทางรถยนต์จากกรุงเทพไปท่าน้ำปากเกร็ด และต่อเรือข้ามฝากไปขึ้นที่ท่าวัดปรมัย บนเกาะเกร็ด ภายในเกาะเกร็ดไม่มีถนนรถวิ่ง มีแต่ถนนด้านหน้าเกาะเป็นถนนเล็กๆ สำหรับคนเดิน จากวัดปรมัยไปถึงหมู่บ้าน

การสร้างโปรแกรมท่องเที่ยวของผมต้องคำนึงถึงความแตกต่างและความยากในการจัดการเพื่อไม่ให้ใครมาเลียนแบบและตัดราคาขายเหมือนกับโปรแกรมทัวร์อื่นๆ ได้คำนึงถึงประสบการจากบริษัทโปรโมชั่นที่ถูกเจ้าของเรือผิดสัญญาและทำให้ต้องล้มเลิกโครงการ ผมได้ติดต่อหาเจ้าของเรือที่จะมาใช้เป็นพาหนะในการเดินทาง และทำสัญญาผูกขาดเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ เจ้าของเรือต้องจัดเรือเฉพาะสำหรับใช้ในโครงการนี้เท่านั้น จะให้คนอื่นเช่าไม่ได้ เมื่อได้เรือตามที่ต้องการแล้ว ชักชวนชาวบ้านที่อยู่ติดแม่น้ำให้สร้างห้องอาหาร สำหรับนักท่องเที่ยวทาน Dinner และชมการแสดง หาผู้รับผิดชอบจัดหาการแสดง รวมเป็นหุ้นส่วนโครงการ 4 รายแบ่งแยกความรับผิดชอบออกเป็นส่วนต่างๆดังนี้

  1. บริษัท ทรูทัวร์ เป็นการลงทุนระหว่าง Mr.Bob และ ผม เงินลงทุน 3 แสน บาท เป็นเจ้าของโปรแกรมทัวร์ รับผิดชอบในการผลิตโปรแกรมทัวร์ จัดเตรียมเรื่องราวให้มัคคุเทศก์นำเสนอนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง จัดหาพนักงานบริการด้านการท่องเที่ยว บริหารและจัดการด้านการตลาด
  2. บริษัทเรือส่งเสริมบริการ ลงทุนตบแต่งเรือ 2 ลำ เพื่อนำมาใช้เป็นพาหนะสำหรับการเดินทางของนักท่องเที่ยว จากท่าเรือ Oriental by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline; border: 0px; outline: 0px;">Hotel ไปเกาะเกร็ดและกลับ มีการปรับเก้าอี้ให้เหมาะสม ระบบเสียง เพื่อให้มัคคุเทศก์สามารถอธิบายระหว่างการเดินทาง พนักงานเรือและค่าใช้จ่ายเรือ
  3. ชาวบ้านลงทุนสร้างห้องอาหารสำหรับทานอาหารและชมการแสดง บริเวณริมน้ำฝั่งตรงข้ามเกาะเกร็ด
  4. ผู้รับผิดชอบด้านการแสดง ลงทุนเครื่องแต่งตัวนักแสดง เครื่องดนตรี และนักแสดง

หุ้นส่วนทั้ง 4 ต่างลงทุนรับผิดชอบในส่วนที่ตัวเองเกี่ยวข้อง

บริษัท ทรูทัวร์ ลงทุนค่าสำรวจเส้นทาง ค่าจัดทำเรื่องราวท่องเที่ยว จัดโปรแกรมท่องเที่ยว  รับนักศึกษาภาอังกฤษจากสถาบัน AUA  จำนวน 40 คน ทำการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ท่องเที่ยวเกาะเกร็ด และทำการคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นมัคคุเทศก์ เป็นเวลา 3 เดือนเต็ม จบการอบรมมีผู้ผ่านการอบรมแค่ 2 คน รับเข้าทำงานเป็นพนักงานประจำทั้ง 2 คน  ใช้เวลาในการเตรียมการตามขั้นตอนต่างๆประมาณ 5 เดือน จึงเริ่มเปิดตัวและทำการขายทัวร์ Thaimon Twilight เป็นประจำทุกวัน

Thaimon Twilight เป็นทัวร์ท่องเที่ยวทางน้ำ ออกเดินทางจากท่าเรือ Oriental  by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline; border: 0px; outline: 0px;">Hotel เวลา 15.00 น ใช้เรือด่วนตบแต่งพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและเน้นความสามารถในการชมวิวและสัมผัสบรรยากาศ รับนักท่องเที่ยวได้ 40 คน ล่องเรือขึ้นเหนือ สองข้างทาง ได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำ มัคุเทศก์ อธิบายถึงวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของคนไทย ประวัติของสถานที่สำคัญที่ผ่าน แวะชมวัดเฉลิมพระเกียรติ์ วัดที่สำคัญและคงรูปแบบเดิมสามารถย้อนรอยถึงประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 3  และชมวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชุมชนรอบๆวัดเฉลิมพระเกียรติ์ หลังจากนั้นล่องเรือต่อไปเกาะเกร็ด อธิบายถึงชาวมอญที่อาศัยอยู่ที่เกาะเกร็ด นำชมรอบเกาะเกร็ดทางน้ำก่อนที่จะนำชมชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนเกาะเกร็ด การปั้นดินเผา ชมสวนทุเรียน และชมวัดปรมัย ก่อนดินทางไปที่บ้านชาวบ้านเพื่อทานอาหารค่ำและชมการแสดง ประมาณ 20.00 น หลังรับประทานอาหารและชมการแสดงศิลปะของชาวมอญ ล่องเรือกลับทางเดิม และถึงท่าเรือ oriental ประมาณ 21.00 น

จุดคุ้มทุนในการออกทัวร์อยู่ที่ 8 คน เนื่องจากโปรแกรมของเราใหม่และยังไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว จึงจำเป็นต้องขายผ่านตัวแทน ต้องให้ความสำคัญกับตัวแทนขายทัวร์ เชิญเขามาทัวร์ฟรี เพื่อให้เขาเกิดความแน่ใจที่จะขายทัวร์ชองเรา ให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม และให้ความสะดวกในการขาย  โดยการรับรองการออกทัวร์ถึงแม้นจะมีลูกค้าแค่คนเดียว นอกจากค่าใช้จ่ายที่หมดไปแล้วกับการผลิตโปรแกรมและการใช้จ่ายด้านการตลาด การทำทัวร์มีค่าใช้จ่ายคงตัวในแต่ละเที่ยว ถ้าได้คนไม่ครบจำนวน 8 คน ต่อเที่ยว เราก็จะต้องขาดทุน ถือว่าเป็นต้นทุนที่ต้องเผื่อไว้ โปรแกรมทัวร์นี้เป็นที่นิยมมากได้รับการชมเชยจากนักท่องเที่ยวทุกคน ไม่มีข้อติ สื่อมวลชนก็ชมเชยหลังจากได้ไปสัมผัส บริษัทที่ให้การสนับสนุนและส่งลูกค้าให้เราตั้งแต่แรกได้แก่ บริษัท Tour East หนึ่งในบริษัท Inbound Tour Operator ที่มีมาตรฐานที่สุด หลังจากนั้นมีบริษัทชั้นนำทยอยส่งลูกค้าให้เรา และบริษัทจากต่างประเทศกำลังพิจารณานำทัวร์ของเราขายล่วงหน้าจากต่างประเทศ โปรแกรม ROH ของสายการบินไทย กำลังพิจารณานำทัวร์ของเราใส่ในโปรแกรมทัวร์ขายให้กับต่างประเทศโดยตรง

เงินทุน 3 แสนบาทหมด ต้องมีการเพิ่มทุน ผมแจ้งว่าผมไม่สามารถหาเงินทุนมาลงได้อีกแล้ว ส่วน Mr.Bob ยินดีลงทุนเพิ่มอีก 2 แสนบาท เพื่อให้ครบ 5 แสนตามที่ผมได้แจ้งไว้ตั้งแต่แรก แต่มีข้อแม้นว่า จะต้องยกเลิกการออกทัวร์ทุกวัน และกำหนดออก 3 วันต่ออาทิตย์ และ จะออกทัวร์ก็ต่อเมื่อมีผู้จองทัวร์อย่างต่ำ 8 คน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ขณะนั้นทัวร์ของเราติดตลาดแล้ว เขากำลังดูว่าเราจะไปได้แค่ไหน เพราะถ้าเขาใส่โปรแกรมเราในโปรแกรมของเขาและขายล่วงหน้า เมื่อเขาขายทัวร์มาและเรายกเลิก เขาจะเสียหายถูกฟ้อง สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาซื้อทัวร์ของเราที่กรุงเทพ ก็เช่นเดียวกัน เขามีเวลาจำกัด และมีทัวร์ให้เลือกหลายรายการ คนขายทัวร์จะเลือกขายทัวร์ที่เขาแน่ใจว่าจะมีการออกทัวร์แน่ๆ ผมจึงขอให้บริษัทเรือช่วยผม โดยขอให้เขาเป็นนายทุนต่อ แต่บริษัทเรือก็ไม่ยอม ผมจึงพยายามหานายทุนใหม่เพราะแน่ใจว่าหาได้ไม่ยากเพราะทัวร์ดีและติดตลาดแล้ว จึงขอร้องให้บริษัทเรือ บ้านทานอาหาร และ ผู้ดูแลเรื่องการแสดง เลิกสัญญากับทรูทัวร์ และผมจะหานายทุนใหม่มาดำเนินการต่อ Mr.Bob รู้เรื่องจึงเปลี่ยนสัญญาใหม่และให้ผลตอบแทนกับ หุ้นส่วนทั้งสาม มากกว่าที่ตกลงไว้ตั้งแต่แรก

ผมได้บทเรียนอีกครั้ง ญาติเขยของผมที่เป็นผู้จัดการแสดง เจ้าของเรือที่ทำงานร่วมกับผมมาตั้งแต่ต้น รวมถึงเจ้าของบ้าน ที่ผมเป็นผู้ชักชวนและอยู่กับเขาตลอด ได้ทิ้งผมและเลือกฝ่ายที่มีเงินมากกว่า ผมเสียทั้งเงินที่ลงทุน เวลา และความยากลำบากในการจัดการทั้งหมดเมื่อถึงจุดที่ผมจะได้รับความสำเร็จ กลับถูกทอดทิ้ง ความจริงผมเป็นหุ้นส่วนของทูรทัวร์ และเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด เมื่อผมถูกตัดออกจากโครงการและพวกเขาทำต่อผมควรจะได้ค่าตอบแทนหรือได้เงินที่ผมลงทุนไปคืน ขณะนั้นผมลืมคิดถึงส่วนนี้  ปล่อยให้หุ้นส่วนเอาเปรียบ อย่างไรก็ตามคนดีย่อมไม่พบจุดจบ ลูกค้าที่เคยซื้อตั๋วเครื่องบินผมอีกคนหนึ่งได้ชวนผมทำงานกับเขาในตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายขาย โรงแรมที่กำลังจะเปิดใหม่ ที่พัทยา ทำให้ผมมีโอกาสเข้าทำงานในโรงแรมชั้นแนวหน้าของพัทยา ได้เรียนรู้การบริหารจัดการโรงแรม ได้พบกับเจ้านายที่เก่งและดีกับผม ทำให้ผมได้เรียนรู้และมีโอกาสได้ทำงานกับองค์กรใหญ่ๆอีกครั้งหลังจากที่ออกจาก Tour Royale

สำหรับทัวร์ Thai - Mon Twilight  หลังจากที่ปล้นไปจากผม ธุรกิจดำเนินไปได้ไม่นาน ก็ต้องเลิกกิจการ ผมไม่ได้ใส่ใจว่าเกิดอะไรขึ้น

สรุป การลงทุนเข้าหุ้นทำธุรกิจกับผู้ที่มีเงินมากกว่า ต้องคิดให้ดีเพราะเขาอาจเอาเปรียบและยึดธุรกิจไปทั้งหมด

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชาญโชติ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

20 พ.ย.2556

 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๓๓. โรค project ทำ

พิมพ์ PDF
.เพราะจริงๆ แล้ว ในยุคปัจจุบัน การทำงานพัฒนาบ้านเมือง ต้องทำเป็นโปรแกรมระยะยาว และต้องทำงานแบบซับซ้อน ทำไปปรับปรุงไป การทำงานแบบ project ทำลายศักยภาพเหล่านี้

 

ผมสังเกตว่า การทำงานของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของหน่วยราชการ มักจะทำแบบไม่ต่อเนื่อง    คือทำเป็นโครงการ หรือ project    ตามงบประมาณ  ตามทุนสนับสนุน (grant)  หรือตามนโยบายการเมือง  หรือนโยบายของผู้บริหาร

การทำงานแบบนี้ มีลักษณะ “ทำตามสั่ง”   เป้าหมายคือได้ทำแล้ว    จะได้ผลแค่ไหนไม่ใช่เรื่องสำคัญ     สภาพเช่นนี้เกิดจากบรรยากาศการบริหารงานแบบอำนาจนิยม หรือควบคุม-สั่งการ    คนที่ทำตามสั่งก็จะรายงานว่าได้ทำแล้ว    และเกิดผลดีอย่างโน้นอย่างนี้ เพื่อเอาใจนาย

ผลร้ายของโรค project ทำ นอกจากเสียเงินที่พวกเราเสียภาษีให้ไปใช้จ่าย โดยไม่เกิดประโยชน์จริงจัง แล้ว    ยังทำลายบ้านเมืองให้ผู้คนตกอยู่ในสภาพคิดสั้น    ไม่คิดยาว หรือไม่คิดเลย    ตั้งหน้าแต่จะทำตามคำสั่ง หรือตาม project

Project เหล่านี้ บางส่วนเพื่อหาเสียง    บางส่วนเพื่อหาเงิน (คือคอรัปชั่น)    แต่ส่วนใหญ่เพื่อทั้งสองอย่าง    ที่น่าเสียดายคือกลไกตรวจสอบของบ้านเมือง ที่ออกแบบไว้อย่างดี ถูกทำลายไปเกือบหมด    ด้วยความฉลาดแกมโกงของอดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง

ที่ทำร้ายบ้านเมืองมากที่สุดคือ ทำลายกลไกทางสติปัญญาของบ้านเมือง    เพราะจริงๆ แล้ว ในยุคปัจจุบัน การทำงานพัฒนาบ้านเมือง ต้องทำเป็นโปรแกรมระยะยาว    และต้องทำงานแบบซับซ้อน ทำไปปรับปรุงไป     การทำงานแบบ project ทำลายศักยภาพเหล่านี้

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ก.ย. ๕๖  ปรับปรุง ๑๒ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2013 เวลา 09:02 น.
 

ประเทศไทยหรือประเทศใคร?

พิมพ์ PDF
ถึงเวลาแล้วครับที่คนไทยต้องถามตัวเองว่าเราอยู่ในประเทศไทย หรือประเทศใคร อย่าปล่อยให้กระแสต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมเลือนหายไป เราต้องสานต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อปกป้องไม่ให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศของใครคนใดคนหนึ่ง โดยเฉพาะพวกคนโกง(ที่จะเอาผลประโยชน์จากการทุจริตคอรัปชั่นมายึดประเทศต่อไป)

ประเทศไทยหรือประเทศใคร?

เขียนโดย ดร. วิรไท สันติประภพ   อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๑๔ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2013 เวลา 09:17 น.
 

ชื่นใจเห็นนวัตกรรมด้านการศึกษา : มัธยมสายอาชีพ

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑ ต.ค. ๕๖ ในการประชุม ปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ ๒๑   เรื่อง “มัธยมสายอาชีพ” หรือการศึกษาคู่ขนาน    ผมรู้สึกชื่นใจ ที่ได้เห็นกิจกรรมที่วงการศึกษาริเริ่มกันขึ้น ในระดับพื้นที่ โดยไม่ได้มีการสั่งการจากเบื้องบน

การศึกษามัธยมปลายสายอาชีพนี้    อีกชื่อหนึ่งคือ หลักสูตรปวช. คู่ขนาน  หรือระบบมัธยมสัมมาชีพ   คือเรียนทั้งสายสามัญ และสายอาชีพคู่กันไป    ในเวลา ๓ ปีสอบผ่านได้ทั้งวุฒิ ม. ๖  และ ปวช.   เหมาะกับเด็กที่เรียนไม่เก่ง และต้องการเตรียมความพร้อมออกไปทำงาน

โรงเรียนที่มาเสนอในวันนี้คือ โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์  จ. นครราชสีมา    จัดหลักสูตร ปวช. การท่องเที่ยวและการโรงแรมร่วมกับวิทยาลัยท่องเที่ยวและการโรงแรม    และหลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคสุรนารี    ทั้งสองหลักสูตรจัดให้แก่นักเรียนสายศิลป์ภาษา ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเรียนไม่เก่ง    น่าจะเน้นเรียนเพื่อประกอบอาชีพ ให้มีงานทำ

วิทยาลัยเทคนิคสุรนารีจัดหลักสูตร ปวช. คู่ขนานนี้ร่วมกับ ๗ โรงเรียน    โดยอีกโรงเรียนหนึ่งก็มานำเสนอในวันนี้ด้วย คือ หนองบุนมากวิทยาคม  หลักสูตรเทคนิคช่างไฟฟ้ากำลัง

หลักสูตรแบบนี้ ในสหรัฐอเมริกาเรียกว่า Career Academies เป็นการเรียนเพื่อการมีงานทำ หรือมีสัมมาชีพ   ไม่ใช่เพื่อปริญญา    โดยปริญญานั้นหากอยากได้ ก็เรียนเอาทีหลังได้

จาก ข่าวนี้ ผมได้เรียนรู้ว่า มีโรงเรียนถึง ๔๖ แห่งแล้วที่มีหลักสูตรแบบนี้   หนึ่งในนั้นคือโรงเรียน วังม่วงวิทยาคม ที่ผมค้นเจอ   น่าชื่นชมมาก

ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนมัธยม กับวิทยาลัยอาชีวะ หรือวิทยาลัยเทคนิคนี้    เป็น win - win – win เพราะช่วยแก้ปัญหาของทั้งสองฝ่าย   คือฝ่ายอาชีวะขาดนักเรียน    ฝ่ายโรงเรียนมัธยมเด็กจำนวนหนึ่งเบื่อเรียน    หรือเรียนสายสามัญไม่เก่ง   หลักสูตรคู่ขนานจึงเป็นทางออก    ช่วยให้นักเรียน win ด้วย

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑ ต.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2013 เวลา 09:40 น.
 


หน้า 421 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8558132

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า