Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ด้านบวกของความผิดพลาด ที่เป็นผลได้ต่อการเรียนรู้

พิมพ์ PDF
ในทางจิตวิทยาการเรียนรู้ นี่คือการเรียนจากการทำผิด

ด้านบวกของความผิดพลาด ที่เป็นผลได้ต่อการเรียนรู้

บทความเรื่อง The Plusses of Getting It Wrong เขียนโดย Henry L. Roediger III and Bridgid Finn   ตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ในปี ค.ศ. 2010    และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ The Science of Education ในปี 2012  บอกว่าการเรียนรู้จากความผิดพลาด เป็นส่วนของการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่ง    ทั้งตอนเรียนในโรงเรียน มหาวิทยาลัย    และต่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง ตลอดชีวิต

กล่าวใหม่ บทความนี้แนะว่า ก่อนเรียนเรื่องอะไร ให้ทดสอบหรือทำแบบฝึกหัดเสียก่อน    ซึ่งผลก็คือทำผิดเยอะมาก    แต่เจ้าการทำผิดนี่แหละ จะช่วยให้เรียนรู้ดีกว่าไม่เคยทำผิด   เขายกผลการวิจัยมายืนยัน

เขาแนะนำว่าในการอ่านหนังสือให้เรียนรู้สาระดี (ในเวลาเท่ากัน) ให้พลิกไปดูคำถามท้ายบท    แล้วตอบคำถามเสียก่อน (ซึ่งแน่นอนว่า หลายส่วนเป็นการเดา   และหลายส่วนผิด)   แล้วจึงอ่านหนังสือบทนั้น   ถ้าไม่มีคำถามท้ายบท ให้เอาชื่อบทเป็นคำถาม เพื่อทดสอบความรู้ก่อนอ่าน   นี่คือวิธีการช่วยให้การเรียนรู้ทรงประสิทธิภาพ   ซึ่งในทางจิตวิทยาการเรียนรู้   นี่คือการเรียนจากการทำผิด

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

เรียนอาจารย์วิจารณ์ ที่เคารพ

ขออนุญาติแสดงความเห็นกับบทความนี้ด้วยคนครับ

ผมไม่เคยกลัวความผิดพลาด เพราะถือว่าความผิดพลาดเป็นครูที่ดีที่สุด ก่อนผมจะคิดหรือทำอะไร จะศึกษาความผิดพลาด และปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นจะนำข้อผิดพลาดและปัญหา มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ จนค้นพบโอกาส เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติที่สร้างสรรค

ด้วยความนับถือ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

26 ตุลาคม 2556

 

ด้านบวกของความผิดพลาด ที่เป็นผลได้ต่อการเรียนรู้

พิมพ์ PDF
ในทางจิตวิทยาการเรียนรู้ นี่คือการเรียนจากการทำผิด

ด้านบวกของความผิดพลาด ที่เป็นผลได้ต่อการเรียนรู้

บทความเรื่อง The Plusses of Getting It Wrong เขียนโดย Henry L. Roediger III and Bridgid Finn   ตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ในปี ค.ศ. 2010    และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ The Science of Education ในปี 2012  บอกว่าการเรียนรู้จากความผิดพลาด เป็นส่วนของการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่ง    ทั้งตอนเรียนในโรงเรียน มหาวิทยาลัย    และต่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง ตลอดชีวิต

กล่าวใหม่ บทความนี้แนะว่า ก่อนเรียนเรื่องอะไร ให้ทดสอบหรือทำแบบฝึกหัดเสียก่อน    ซึ่งผลก็คือทำผิดเยอะมาก    แต่เจ้าการทำผิดนี่แหละ จะช่วยให้เรียนรู้ดีกว่าไม่เคยทำผิด   เขายกผลการวิจัยมายืนยัน

เขาแนะนำว่าในการอ่านหนังสือให้เรียนรู้สาระดี (ในเวลาเท่ากัน) ให้พลิกไปดูคำถามท้ายบท    แล้วตอบคำถามเสียก่อน (ซึ่งแน่นอนว่า หลายส่วนเป็นการเดา   และหลายส่วนผิด)   แล้วจึงอ่านหนังสือบทนั้น   ถ้าไม่มีคำถามท้ายบท ให้เอาชื่อบทเป็นคำถาม เพื่อทดสอบความรู้ก่อนอ่าน   นี่คือวิธีการช่วยให้การเรียนรู้ทรงประสิทธิภาพ   ซึ่งในทางจิตวิทยาการเรียนรู้   นี่คือการเรียนจากการทำผิด

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 

เรียนอาจารย์วิจารณ์ ที่เคารพ

ขออนุญาติแสดงความเห็นกับบทความนี้ด้วยคนครับ

ผมไม่เคยกลัวความผิดพลาด เพราะถือว่าความผิดพลาดเป็นครูที่ดีที่สุด ก่อนผมจะคิดหรือทำอะไร จะศึกษาความผิดพลาด และปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นจะนำข้อผิดพลาดและปัญหา มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ จนค้นพบโอกาส เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติที่สร้างสรรค

ด้วยความนับถือ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

26 ตุลาคม 2556

 

เรียนโดยการตีกลอง

พิมพ์ PDF

ผู้แนะนำเรื่องนี้คือ นพ. อุดม เพชรสังหาร ผมได้ฟังเมื่อวันที่ ๖ ก.ย. ๕๖ ในการประชุม โครงการพัฒนาเยาวชนท้องถิ่น ๔ ภาค ระยะที่ ๒   ที่มาเสนอเรื่อง หลักสูตรนักถักทอชุมชน จัดโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล และ สรส. นพ. อุดม แนะให้ใช้วงตีกลอง ฝึกการทำงานเป็นทีม   เป็นการเรียนทักษะการทำงานเป็นทีมแบบไม่รู้ตัว

 

ท่านเอาเอกสารวิชาการเรื่องนี้มาให้ผม ๖ ชุด ได้แก่

  1. Synchronized Drumming Enhances Activity in the Caudate and Facilitates Prosocial Commitment – if the Rhythm Comes Easily
  2. “To the beat of a different drum” : improving the social and mental wellbeing of at-risk young people through drumming
  3. Empathy in Musical Interaction
  4. Drumming Up Courage
  5. Recreational music-making alters gene expression pathways in patients with coronary heart disease
  6. Why would musical training benefit the neural encoding of speech? The OPERA hypothesis

 

นี่คือรูปแบบหนึ่งของ ดนตรีบำบัด บำบัดความเกเรหรือพัฒนาเยาวชน   ซึ่งผมคิดว่าเหมาะมากสำหรับเด็กและวัยรุ่นที่มีกำลังเหลือมากมาย    วงตีกลองนี้จะมีผลป้อนไปยังสมอง   ทำให้การเรียนภาษาดีขึ้น   ช่วยสร้างการเรียน/ฝึกทักษะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (empathy)    หรือน่าจะจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ จิตตปัญญาศึกษา ได้

 

ผมได้ทราบเรื่องของคุณ คธา เพิ่มทรัพย์ นักตีกลองทับบล้า (กลองแขก) ซึ่งผมเดาว่า เป็นตระกูลเดียวกับกลองทับของไทยเรานั่นเอง    ทำให้ทราบว่า การตีกลองเป็นการฝึกทางจิตวิญญาณอย่างหนึ่ง

 

ที่จริงดนตรี ก็คือเครื่องมือบรรลุการเรียนรู้ทางจิตวิญญาณ    การฟังดนตรีให้ประโยชน์ในทางเพลิดเพลินและฝึกสมอง    แต่เป็นpassive learning การเล่นดนตรีเป็น active learning โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เล่นเป็นวง น่าจะช่วยฝึกสมองหลายด้านทีเดียว    น่าจะเป็นโจทย์วิจัยด้านการเรียนรู้   ได้มากมายหลายคำถามวิจัย    ดังแสดงในเอกสารบางฉบับที่คุณหมออุดมกรุณานำมามอบให้ผม

 

ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ครับ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๗ ก.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2013 เวลา 10:57 น.
 

เที่ยวเกาหลีในสี่วัน

พิมพ์ PDF

เที่ยวเกาหลีในสี่วัน

ถึงคราวเยือนเกาหลี

ท่องถิ่นที่มีความฝัน

แดนหนาวในคราวนั้น

คิดถึงวันประทับใจ

ลัดเลาะเกาะนามิ

กิน “กิมจิ” เขามีให้

“อูด้ง” เส้นโยงใย

ซดน้ำได้อร่อยดี

“คู่รัก” ปักใจมั่น

คือรูปปั้นอยู่ที่นี่

“สนใหญ่” สองร้อยปี

มองมากมีที่เรียงราย

รู้จัก “โซรัคซาน”

คือวันวารมุ่งมั่นหมาย

หนาวเหน็บจนเจ็บกาย

ยังมิวายจะเดินมอง

“วัดทงอิลแทบุล”

เราเดินวุ่นเที่ยวสอดส่อง

เคเบิ้ลเพลินทดลอง

ขึ้นแล้วมองยามค่ำคืน

ล่องใต้ไปถึงแดน

“เอฟเวอร์แลนด์”คนดาษดื่น

คนใหญ่ไร้ที่ยืน

เด็กหลายหมื่นยืนแถวยาว

แวะหาชิมสาหร่าย

ก่อนเตรียมถ่ายชุดต่างด้าว

“ฮันบก” ยกเรื่องราว

ชุดเมืองหนาวยาวสวยงาม

“เคียงบ๊อก”พระราชวัง

อันโด่งดังหวังไถ่ถาม

“จังกึม” ผู้ลือนาม

เคยติดตามจากละคร

“ทริคอาย” พิพิธภัณฑ์

งานสร้างสรรค์ศิลป์สืบสอน

ภาพวาดอาจยอกย้อน

ทุกภาพซ่อนความคิดคม

“นัมซาน” นั้นป้อมเก่า

อยู่บนเขามานานนม

ปรับปรุงแล้วเปลี่ยนปม

มาชื่นชมทุกหมู่ชน

อาหารนั้นหลายอย่าง

แวะระหว่างทางทุกหน

“ชาบู”ดูน่ายล                      (ซุปเห็ด)

รสชอบกล “ซัมเกทัง”              (ไก่ตุ๋น)

“คาลบิ” “พุลโกกิ”                 (หมู่ย่าง-บาบีคิ้ว)

แถม “กิมจิ” “แฮมุลทัง”           (ผักดอง-ซุปทะเล)

“จิมทัก”น่ารักจัง

รสเหมือนดังพะโล้ไทย

เที่ยวท่องมองทุกสิ่ง

แวะช็อปปิ้งของฝากได้

โสม, ยารักษาไต

สกัดได้ดอกสนแดง

สาหร่ายแพงไปนิด

“อะเมธิส”ม่วงใสแสง

ยศศักดิ์จักเริงแรง

อำนาจแห่งหินลาวา

ช้อนอยู่คู่ตะเกียบ

เงินทองเทียบของมีค่า

ของแพงแต่งหน้าตา

และของทาทั้งเนื้อตัว

ภาพถ่ายใบห้าพัน

รวมหมดนั้นฉันเวียนหัว

แสนกว่าตามืดมัว

แสนน่ากลัวไม่มีกิน

ตัวเบากระเป๋าแห้ง

ไร้เรี่ยวแรงระโรยริน

เมามึนขึ้นเครื่องบิน

กลับถึงถิ่นแผ่นดินเรา

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย โสภณ เปียสนิท

 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๐. เส้นทางประเทศไทย...สู่อาเซียน : การสร้างความรู้และพัฒนาคน

พิมพ์ PDF

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ    จัดการประชุมประจำปี ๒๕๕๖ เรื่อง “เส้นทางประเทศไทย…สู่ประชาคมอาเซียน”    ผมได้รับเชิญไปร่วมอภิปราย ตามหัวข้อของการประชุม   โดยได้รับมอบหมายให้พูดเรื่อง การสร้างความรู้ และการพัฒนาคน

 

จึงนำ narrated ppt มา ลปรร. ที่นี่

 

ผู้ร่วมอภิปรายอีก ๒ ท่านคือ คุณกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซีเมนต์ไทยฯ    และ ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซีฯ    โดยมีนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ประธานกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย   และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้นำเสนอ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/551542

 


หน้า 429 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8557033

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า