Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เป้าหมายในการจัดตั้ง "มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์"

พิมพ์ PDF

มูลนิธินี้เริ่มทำงานมา 4 ปีแล้ว โดยใน 4 ปีแรก เป็นแค่ "ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์" เป็นกลุ่มบุคคล แต่เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2556 ได้จดทะเบียนเป็น มูลนิธิ ฯ เรียบร้อยแล้ว เราจะเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา การให้ความรู้และการสร้างคนใน 20-40 ปี ข้างหน้า ได้แบ่งกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรกคือกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ เป็นผู้สูงวัย มีประสบการณ์มาก ทั้งดี และไม่ดี กลุ่มนี้จะคัดเลือกผู้ที่มองเห็นและเข้าใจว่าคนยุคนี้เป็นยุคที่ยึดติดกับระบบทุนนิยม แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงิน โดยไม่คำนึกว่าได้มาอย่างไร ใช้อำนาจ เป็นใหญ่จึงหวงอำนาจไม่ยอมถ่ายอำนาจให้คนอื่น

กลุ่มที่สองเป็นคนที่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก รู้แจ้งว่าระบบทุนนิยมจะล่มสลายเช่นเดี่ยวกับระบบสังคมนิยม ผู้ที่ประสบผลสำเร็จในรุ่นนี้ จะใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง มีอายุตั้งแต่ 49 ปีลงไปถึง 30 ปี กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีกำลังให้การสนับสนุน เป็นโค้ช และตัวอย่างที่ดีให้กับคนกลุ่มที่สาม

กลุ่มที่สาม ได้แก่กลุ่มเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังศึกษาและเริ่มทำงาน อายุ 29 ปีลงไป เด็กพวกนี้สับสน ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่ ขาดความศรัทธาและนับถือผู้ใหญ่ เพราะผู้ใหญ่ คือคนกลุ่มที่หนึ่ง และคนกลุ่มที่สอง ส่วนมากไม่ทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดี เด็กรุ่นนี้ใช้วิธีการสั่งการหรือควบคุมไม่ได้ ต้องใช้เหตุผลและวิธีการทางจิตวิทยาสูง เด็กรุ่นนี้เป็นเด็กยุด IT สามารถเรียนรู้ทุกอย่างจาก Internet ทำให้เด็กเข้าใจว่าฉันรู้มาก จึงไม่ฟังผู้ใหญ่ เพราะคิดว่าผู้ใหญ่ล้าสมัย แต่สิ่งที่เด็กได้รับจากการเรียนรู้วิธีนี้เป็นดาบสองคม พวกเขารู้มากมายแต่ขาดประสบการณ์จริง รู้แบบผิวเผิน จึงต้องการผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่ง และผู้ใหญ่กลุ่มสอง ที่ให้ความสนใจและเห็นปัญหาด้านการสร้างทุนมนุษย์ในอนาคต เป็นโค้ช เป็นที่ปรึกษา ผู้ให้การสนับสนุน และสร้างโอกาส กับคนกลุ่มสาม

สรุปว่าคนทั้งสามรุ่นจะต้องทำงานด้วยกันเพื่อขับเคลื่อนมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ให้ประสบผลตามเป้าหมายคือ ทำให้คนมีคุณค่า มีทุนมนุษย์ครบทั้ง 8 K และ 5 K ตามทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ การสร้างคนดีคนเก่งได้จะต้อง ทำความเข้าใจเรื่อง Human Resource, Human Ca[ital ,Human Being ( คนเป็นทรัพยากรของแผ่นดิน คนทุกคนมีทุน มีคุณค่า เข้าใจความเป็นคน คนต้องการอะไร ) ต้องทำความเข้าใจทั้ง 3 ความหมายอย่างล฿กซึ้ง และนำมาบูรณาการเข้าด้วยกัน จึงจะได้คนดีคนเก่ง คนดีคนเก่งคือคนที่ เก่งคน เก่งคิด เก่งทำงาน และเก่งในการดำรงชีวิต ขบวนการที่จะทำให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี คือการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นหลักในการดำเนินการในทุกขั้นตอนของขบวนการสร้างคนดีคนเก่ง
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
14 เมษายน 2556

 

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ VS บทความ "มีโรงเรียนไปทำไม""

พิมพ์ PDF

เป้าหมายในการจัดตั้ง "มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์"

จากบทความชุด "มีโรงเรียนไปทำไม" ของอาจารย์วิจารณ์ พานิช ตีความจากหนังสือ Why School? : How Education Must Change When Learning and Information Are Everywhere เขียนโดย Will Richardson บอกตรงๆ ว่า ระบบการศึกษาจะอยู่ในสภาพปัจจุบันไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงในทำนองเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากบทความดังกล่าวนี้ทำให้เป็นการยืนยันว่าความคิดของผมและเพื่อนๆมาถูกทางแล้วที่เราร่วมกันจัดตั้ง "มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์" ขึ้นมา

มูลนิธินี้เริ่มทำงานมา 4 ปีแล้ว โดยใน 4 ปีแรก เป็นแค่ "ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์" เป็นกลุ่มบุคคล แต่เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2556 ได้จดทะเบียนเป็น มูลนิธิ ฯ เรียบร้อยแล้ว เราจะเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา การให้ความรู้และการสร้างคนใน 20-40 ปี ข้างหน้า ได้แบ่งกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรกคือกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ เป็นผู้สูงวัย มีประสบการณ์มาก ทั้งดี และไม่ดี กลุ่มนี้จะคัดเลือกผู้ที่มองเห็นและเข้าใจว่าคนยุคนี้เป็นยุคที่ยึดติดกับระบบทุนนิยม แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงิน โดยไม่คำนึกว่าได้มาอย่างไร ใช้อำนาจ เป็นใหญ่จึงหวงอำนาจไม่ยอมถ่ายอำนาจให้คนอื่น 

กลุ่มที่สองเป็นคนที่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก รู้แจ้งว่าระบบทุนนิยมจะล่มสลายเช่นเดี่ยวกับระบบสังคมนิยม ผู้ที่ประสบผลสำเร็จในรุ่นนี้ จะใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง มีอายุตั้งแต่ 49 ปีลงไปถึง 30 ปี กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีกำลังให้การสนับสนุน เป็นโค้ช และตัวอย่างที่ดีให้กับคนกลุ่มที่สาม

กลุ่มที่สาม ได้แก่กลุ่มเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังศึกษาและเริ่มทำงาน อายุ 29 ปีลงไป เด็กพวกนี้สับสน ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่ ขาดความศรัทธาและนับถือผู้ใหญ่ เพราะผู้ใหญ่ คือคนกลุ่มที่หนึ่ง และคนกลุ่มที่สอง ส่วนมากไม่ทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดี เด็กรุ่นนี้ใช้วิธีการสั่งการหรือควบคุมไม่ได้ ต้องใช้เหตุผลและวิธีการทางจิตวิทยาสูง เด็กรุ่นนี้เป็นเด็กยุด IT สามารถเรียนรู้ทุกอย่างจาก Internet ทำให้เด็กเข้าใจว่าฉันรู้มาก จึงไม่ฟังผู้ใหญ่ เพราะคิดว่าผู้ใหญ่ล้าสมัย แต่สิ่งที่เด็กได้รับจากการเรียนรู้วิธีนี้เป็นดาบสองคม พวกเขารู้มากมายแต่ขาดประสบการณ์จริง รู้แบบผิวเผิน จึงต้องการผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่ง และผู้ใหญ่กลุ่มสอง ที่ให้ความสนใจและเห็นปัญหาด้านการสร้างทุนมนุษย์ในอนาคต เป็นโค้ช เป็นที่ปรึกษา ผู้ให้การสนับสนุน และสร้างโอกาส กับคนกลุ่มสาม

สรุปว่าคนทั้งสามกลุ่มจะต้องทำงานด้วยกันเพื่อขับเคลื่อนมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ให้ประสบผลตามเป้าหมายคือ ทำให้คนมีคุณค่า มีทุนมนุษย์ครบทั้ง 8 K และ 5 K ตามทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ การสร้างคนดีคนเก่งได้จะต้อง ทำความเข้าใจเรื่อง Human Resource, Human Capital,Human Being ( คนเป็นทรัพยากรของแผ่นดิน คนทุกคนมีทุน มีคุณค่า เข้าใจความเป็นคน คนต้องการอะไร ) ต้องทำความเข้าใจทั้ง 3 ความหมายอย่างลึกซึ้ง และนำมาบูรณาการเข้าด้วยกัน จึงจะได้คนดีคนเก่ง คนดีคนเก่งคือคนที่ เก่งคน เก่งคิด เก่งทำงาน และเก่งในการดำรงชีวิต ขบวนการที่จะทำให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี คือการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เป็นหลักในการดำเนินการในทุกขั้นตอนของขบวนการสร้างคนดีคนเก่ง
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
14 เมษายน 2556

ผู้ใดสนใจเข้ามีส่วนร่วมในการสร้างคนดีคนเก่ง คนที่มีคุณภาพ สร้างความเจริญรุ่งเรื่อง และความมั่นคง ให้กับสังคมและประเทศชาติ  ประชาชนโดยรวมมีความสุข อย่างยั่งยืน ในอีก 20-40 ปี ข้างหน้า เชิญ แจ้งความจำนงมาที่ผมโดยตรง ทาง e-mail address: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน หรือ โทร 089-1381950

มูลนิธิต้องการผู้มีส่วนร่วมทั้งสามกลุ่มเป็นจำนวนมากครับ เป็นการร่วมมือกันสร้างคุณค่าของคน เริ่มจากตัวเราเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ สิ่งที่เราเริ่มทำจะไปเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในคนกลุ่มที่ 4 คือลูกของคนที่มีอายุ 29 ปีลงไป กลุ่มที่หนึ่งทำเพื่ออนาคตของหลาน เหลน ตัวเองคงไม่ทันเห็นผลสำเร็จในชีวิต ของตัวเอง  คงจะตายไปก่อน แต่สำหรับบางคนอาจจะเป็นการทำเพื่อตัวเองก็ได้ เพราะเมื่อตายไปแล้วเกิดใหม่จะได้มารับอานิสงค์ที่ตัวเองทำไว้

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๗๘๙. อ่านหนังสือ

พิมพ์ PDF

หนังสือ กระบวนการภาวนาศึกษา เมื่อความรู้แปรเป็นความรัก พินทุสร ติวุตานนท์ แปล  จาก Meditation as Contemplative Inquiry : When Knowing Becomes Love by Arthur Zajonc

ปีเต้อร์ เซงเก้ เขียนคำนำว่า นี่คือหนังสือชี้ทางปิดช่องว่างระหว่าง วิทยาศาสตร์ จิตสำนึก และความเปลี่ยนแปลงทางสังคม

หนังสือเล่มนี้ ว่าด้วยการเรียนรู้ด้านใน  ที่จะต้องคู่ หรือผสาน ไปกับการเรียนรู้ด้านนอก  ซึ่งผมเชื่อว่า การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องดำเนินควบคู่กัน ตั้งแต่เกิด ไปจนตาย  ในระบบการศึกษาอย่างเป็นทางการ ต้องจัดการเรียนรู้ควบคู่นี้ ตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก  ไปจนจบ ม. ๖  ปวช., ปวส., ปริญญาตรี โท เอก และตลอดไป

ใครไม่รู้วิธีจัดการศึกษาแบบนี้ ให้ไปดูที่ โรงเรียนนอกกะลา และโรงเรียนทางเลือกอื่นๆ

ผมเชื่อว่า มีวิธีการเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติที่ง่าย  ที่จะให้เกิดการเรียนรู้ทั้งสองด้านไปพร้อมๆ กัน และเสริมส่ง (synergy) ซึ่งกันและกัน   ที่ใช้ได้กับเด็กทุกวัย   โดยเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้จากเน้นครูสอน ไปเป็นเน้นให้นักเรียนปฏิบัติเป็นทีม  ตามด้วยการเขียนรายงานกระบวนการทำงานโดย นร. แต่ละคน  และ team presentation ของแต่ละทีม  ตามด้วยการทำ AAR หรือ reflection ในชั้น  โดยครูมีทักษะในการตั้งคำถามให้ นร. AAR ทั้งความรู้ด้านนอก และความรู้ด้านใน

 

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/532717

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๔๑๗. เคาะกระโหลกด้วยกะลา : AAR จากการเปิดรับ tacit และ explicit knowledge จากโรงเรียนนอกกะลา

พิมพ์ PDF

 

จะว่าโชคดีหรือโชคร้ายก็ไม่ทราบผมเขียนบันทึกที่๑จากการไปเยี่ยมชื่นชมโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาโดยยังไม่ได้อ่านหนังสือ๒เล่มที่ผมซื้อติดมือมาคือโรงเรียนนอกกะลากับคนบนต้นไม้ทั้งสองเล่มเขียนโดยผอ.วิเชียรไชยบัง

ที่ว่าโชคดีก็เพราะทำให้ผมเขียนจากการตีความกระท่อนกระแท่นของผมเองจากการไปเห็นและฟังจากครูบันทึกนั้นจึงถือว่าเป็น original idea หรือการตีความของผมล้วนๆ

ที่ว่าโชคร้ายก็คือที่ผมตีความนั้นมีอยู่แล้วทั้งหมดในหนังสือ๒เล่มนี้มีมากกว่าที่ผมตีความได้อย่างมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ "ทำอย่างไร" (how)   และ "ทำไมจึงทำอย่างนั้น" (why)

บันทึกนี้จึงได้จากการตีความและใคร่ครวญจากความรู้๒แหล่งจากการไปเยี่ยมชื่นชมกับการอ่านหนังสือและเข้าเว็บเข้าบล็อก (lamplaimatpattanaschool.blogspot.com) รวมทั้งดู YouTube (ค้นด้วยคำว่า LPMPและคำว่า โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา)

ผมตีความว่าที่โรงเรียนนี้นักเรียนและครูใช้ (ฝึก) KM อยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกตัวและสิ่งที่ลปรร.กันนั้นส่วนใหญ่เป็น tacit knowledge คือความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ

ผมได้รู้จักPygmalion Effect หรือ Rosenthal Effect เป็นทฤษฎีที่บอกว่าพฤติกรรมของครูมีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนหากครูคิดว่าเด็กบางคนไม่เก่งท่าทีแบบไร้สำนึกของครูจะไปลดความเชื่อถือตัวตนของเด็กทำให้เด็กขาดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองไม่กล้าจินตนาการการที่ครูจำแนกเด็กเก่งไม่เก่งจึงก่อผลร้ายต่อการเรียนรู้พัฒนาการและอนาคตของเด็กส่วนใหญ่ตรงกันข้ามถ้าครูยกย่องชมเชยให้กำลังใจและแสดงความคาดหวังที่สูงต่อเด็กเด็กจะเรียนรู้ได้ดีขึ้น

ลองอ่าน Wikipedia หัวข้อPygmalion Effectดูนะครับว่าที่จริงแล้วท่าทีและความคาดหวังของนักเรียนต่อครูที่เป็นด้านบวกจะให้ผลทำนองเดียวกันคือทำให้เป็นครูที่ดีขึ้นทำให้ผมคิดต่อว่าที่จริงในชีวิตประจำวันของผู้คนหากเราสัมพันธ์กันด้วยจิตวิทยาเชิงบวกความคาดหวังต่อกันเชิงบวกจะเกิด synergy ระหว่างกันกระตุ้นซึ่งกันและกันให้ทำงานประสบความสำเร็จได้ดีขึ้นที่จริงนี่คือบรรยากาศที่เราสร้างสำหรับใช้เครื่องมือ KM ในการทำงานนัก HRD ดู YouTube เรื่อง Pygmalion Effect : Amanaging the Power of Expectations, 3rd Ed ได้ที่นี่และมีคนแนะใน YouTube ว่าหนังคลาสสิคเรื่อง My Fair Lady เป็นตัวอย่างของ Pygmalion Effect ที่ดี

นี่คือทฤษฎีหรือวิชาการว่าด้วยโลกแห่งมิตรไมตรีที่ผู้คนใช้จิตวิทยาเชิงบวกต่อกันกระตุ้นความมานะพยายามต่อกันและกันโลกจะก้าวหน้าและงดงามขึ้น

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาตีความ IQ ใหม่เป็น Intellectual Qutient (สติปัญญา) ไม่ใช่ Intelligent Quotient (เชาวน์ปัญญา) เพราะ Intelligent Quotient เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดเปลี่ยนแปลงยากแต่ Intellectual Quotient พัฒนาได้อย่างมากมายและหลากหลายวิธีเป็นสิ่งที่โรงเรียนควรเน้นหรือเอาใจใส่พัฒนาเด็ก

ผมชอบบทสรุปในหนังสือคนบนต้นไม้หน้า๘๘ "ความฉลาดทางวิชาการและความฉลาดทางสังคม (พฤติกรรม) ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับ IQ (ในที่นี้หมายถึง Intelligent Quotient) ของเด็กแต่สัมพันธ์กับความคาดหวังของครูต่อเด็ก"   และข้อความในหน้า๑๔๑ "ความรู้เป็นเรื่องของอดีตแต่จินตนาการเป็นเรื่องอนาคตที่ไม่มีขอบเขตสิ้นสุด"

จะเข้าใจวิธีคิดออกแบบการดำเนินการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ดีต้องเข้าไปอ่านบันทึกของผอ.วิเชียรในLamplaimatpattanaschool.blogspot.comดู YouTubeและค้น Googleโดยค้นด้วยคำว่าlpmp,โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาสารคดีแผ่นดินไท๓ตอนใน YouTube น่าเข้าไปดูเพื่อทำความเข้าใจมากดูได้ที่นี่ตอนที่๑๒๓จะเข้าใจได้ดีจริงๆต้องไปฝึกงานคือต้องเรียนรู้จากการลงมือทำแล้วตีความจากสัมผัสของตนเองและอ่านหนังสือและดูวิดีโอประกอบจึงจะเข้าใจได้ลึกจริงๆเพราะโรงเรียนนี้ได้สร้างวิธีการ 21st Century Learning แบบของตนเอง มายาวนาน ๘ ปี   ผ่านการเรียนรู้และปรับตัวมากมาย   และยังเรียนรู้และปรับตัวต่อเนื่อง

ผมตีความว่า นี่คือองค์กรเรียนรู้ (Learning Organization)    และดำเนินการแบบ เคออร์ดิค อย่างแท้จริง    โดยที่ครูทุกคนเป็น “ครูเพื่อศิษย์

 

 

วิจารณ์ พานิช 
๕ ต.ค. ๕๔

คัดลอกจาก        http://www.gotoknow.org/posts/465409

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2013 เวลา 08:37 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๔๐๓ก. เรียนรู้ 21st Century Learning ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

พิมพ์ PDF

ผมติดตาม ดร. เจือจันทร์ จงสถิตย์อยู่ ผู้ประสานงานโครงการ LLEN ของ สกว. ไปเยี่ยมชื่นชมโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เมื่อเย็นวันที่ ๒๕ - เที่ยงวันที่๒๖ ก.ย. ๕๔   ไปแล้วจึงรู้ว่าโรงเรียนนี้ได้คิดค้นวิธีการเรียนรู้แห่งศตวรรษใหม่ (21st Century Learning) ขึ้นในบริบทไทย โดยไม่ได้ลอกเลียนของใครมา    น่าทึ่งจริงๆ   เราไปเห็นทั้ง PBL และ PLC ในบริบทไทยและบริบทของโรงเรียนที่ไม่เลือกนักเรียนเก่งใช้วิธีคัดเลือกโดยจับฉลากเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตามความเป็นจริงในสังคมเราไปเห็นโรงเรียนที่ไม่บ้าอวดความ “เก่งวิชา” ของนักเรียนทั้งๆที่จริงๆแล้วเขาเก่ง

หัวใจสำคัญคือ เน้น “สอนคน” ไม่ใช่ “สอนวิชา”และในการ “สอนคน” นั้นเน้น “สอนแบบไม่สอน”    คือเน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียนเองจึงจัดบรรยากาศสถานที่และความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนด้วยกันเองให้กระตุ้นการเรียนรู้โดยที่การเรียนรู้นั้นเลยจากเรียนรู้วิชาการเพื่อสติปัญญาไปสู่การเรียนรู้ทักษะด้านจิตใจด้านสุนทรียภาพและด้านการคิดและจินตนาการ

นักเรียนทุกชั้นจะใช้เวลา ๒๐ นาทีของทุกเช้าระหว่างเวลา ๘.๒๐ - ๘.๔๐ น. เรียน “จิตศึกษา”ถือเป็นการเตรียมพร้อมจิตใจหรือสมองต่อการเรียนในวันนั้นเป็นการฝึกเพื่อเพิ่มEQ (Emotional Quotient) & SQ (Spiritual Quotient) และผมตีความว่าเป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนา EF (Executive Functions) ของสมอง และผมตีความว่า การกล่าวคำขอบคุณพ่อแม่ ชาวนา ฯลฯ ก่อนรับประทานอาหารเที่ยงที่นักเรียนกล่าวดังๆ พร้อมกัน    และพิธีชักธงชาติ และสวดมนตร์ที่หน้าเสาธง ก็เป็นการฝึกฝนด้าน “จิตศึกษา” ด้วย

วิธีเรียน “จิตศึกษา”ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนามีความหลากหลายที่ผมไปเห็นมีการเดินจงกรมการนั่งสมาธิการใช้จินตนาการต่อ Lego    ชั้น ป. ๑ เอาคลิปหนีบกระดาษ ๔ อันมาต่อเลข 7    ในเอกสารบอกว่าอาจใช้เวลาทำประโยชน์แก่สังคม    ตามในบทความเรื่อง การเรียนรู้ในวัยเยาว์  : 3. พัฒนาการสมองด้าน Executive Functionที่ลงใน บล็อก council วันนี้ บอกว่าวิธีเพิ่ม EF ของสมองมี ๖ วิธี

เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากตนเอง จากการคิด ไม่ใช่จากการเชื่อ   โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงไม่มีการสอบอย่างที่ใช้กันในกระทรวงศึกษา    คือไม่จัด Summative Evaluation เลย   แต่ผมกลับเห็นว่า นักเรียนถูก “สอบ” แบบไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลาแต่เป็นการสอบแบบ Formative Evaluation   คือสอบเพื่อทำความเข้าใจความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนแต่ละคน   ผมคิดว่า นี่คือจุดแตกต่างที่สำคัญและกล้าหาญยิ่ง

ครูของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จึงมีทักษะด้านการทดสอบนักเรียนที่ล้ำลึกมาก    และในการตีความของผม แทนที่ครูจะเน้น “สอน” แบบบอกข้อความรู้แก่เด็กครูกลับเน้นชักชวนให้เด็กคิดและแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการต่างๆนานาและคอยสังเกตเด็กว่ามีการเรียนรู้ก้าวหน้าไปอย่างไรสำหรับนำมาใช้ปรับบทบาทของครูเองและสำหรับนำมาใช้จัดกระบวนการเพื่อช่วยเด็กที่เรียนบางด้านได้ช้าข้อความในย่อหน้านี้ผมตีความเอาเองจากการไปเห็นเพียงครึ่งวันจึงต้องย้ำว่าไม่ทราบว่าตีความถูกต้องหรือไม่

แทนที่ครูจะเน้น “บอก” เด็กครูกลับเน้น “ถาม”ตั้งคำถามง่ายๆเพื่อชวนเด็กคิดเองแล้วตามมาด้วยคำถามที่ยากขึ้นหรือค่อยๆนำไปสู่กระบวนการคิดหาคำตอบหรือข้อความรู้ด้วยตนเอง

คำตอบของนักเรียนเท่ากับเป็น “ผลการสอบ” ทางอ้อมที่ครูใช้ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายคนนอกจากนั้นนักเรียนแต่ละคนต้องเขียนรายงานว่าตนเรียนรู้อะไรโดยเน้นเขียนเป็นผังความคิด (mind mapping)   เขียนด้วยลายมือของตนเองต่อเติมศิลปะเข้าไปตามจินตนาการของตนดังนั้น ที่หน้าห้องและในห้องเรียนจึงมีรายงานของนักเรียนสำหรับแต่ละบทเรียนติดอยู่อย่างเป็นระเบียบ เต็มไปหมดนักเรียนจะได้เรียนรู้ว่าในเรื่องนั้นๆเพื่อนคนอื่นๆเข้าใจว่าอย่างไรและครูก็ได้ตรวจสอบว่านักเรียนแต่ละคนมีความเข้าใจหัวข้อนั้นและมีความก้าวหน้าของการเรียนรู้อย่างไรนี่คืออีกกิจกรรมหนึ่งของ formative evaluation หรือการ “สอบแบบไม่สอบ” หรือ “สอบเพื่อพัฒนา”

จึงเท่ากับนักเรียนเรียนรู้แบบทำโครงงาน(project) ที่เป็นการทำงานเป็นทีม (team learning) แล้วเขียนรายงานเป็นรายคน    เพื่อสรุปว่าตนเรียนรู้อะไร   ตอน เรียน/ทำงาน เป็นทีม ก็ได้ฝึกทักษะด้านความร่วมมือ (collaboration skills) หลากหลายด้าน   รวมทั้งทักษะด้านความแตกต่างหลากหลาย  และทักษะอื่นๆ ใน 21st Century Skills    แล้วได้สะท้อนการเรียนรู้ของตนออกมาเป็นรายงาน โดยการเขียนด้วยลายมือ ตกแต่งด้วยศิลปะตามจินตนาการของตน   ย้ำว่ารายงานต้องเขียนด้วยลายมือ ห้ามพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์   เพื่อป้องกันการคัดลอกกัน   นักเรียนจะได้รับการอบรมให้ซื่อสัตย์ ทำงานด้วยตนเอง ไม่คัดลอกกัน   และเนื่องจากไม่มีคะแนน ไม่มีดาว เด็กจึงไม่ลอกกัน

การ“สอบแบบไม่สอบ” ครั้งใหญ่มีขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายของ quarter โดยนักเรียนจะจัด การรายงานผลการเรียนรู้ในภาคเรียนนั้นของตนต่อทั้งโรงเรียน   และผู้ปกครองก็ได้รับเชิญ มาฟังด้วยการรายงานนี้อาจจัดเป็นละครหรือเป็นหนังสั้นจึงเท่ากับทั้งโรงเรียน (และผู้ปกครอง) ได้มีส่วนประเมินการเรียนรู้ในภาคเรียนนั้นของนักเรียนแต่ละชั้นด้วยวิธีการ  “สอบแบบไม่สอบ”

การเรียนแบบนี้ นักเรียนจะค่อยๆ บ่มเพาะตัวตนของตน เกิดความมั่นใจตนเองไปพร้อมๆ กันกับความเคารพผู้อื่น   และเห็นข้อจำกัดของตนเอง   ครูจะแสดงตัวอย่างการเคารพตัวตนของนักเรียน โดยไม่มีการดุด่าว่ากล่าว    ไม่มีการขึ้นเสียง   ไม่มีการลงโทษ   เมื่อเด็กทำผิดวินัยครูก็จะถามว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น   คำถามที่ถามต่อๆ กันจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ และหาทางแก้ไขตนเอง   ดังนั้น การทำผิดวินัยจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

การเรียนรู้ที่นี่มีผู้ปกครองมาร่วมด้วย    มีโครงการผู้ปกครองอาสา    ในวันที่ผมไปชม ในชั้นอนุบาล ๑ มีคุณตา และคุณแม่ของเด็กเข้าไปนั่งสังเกตการณ์ในห้องด้วย    รวมทั้งจะมีคนหรือองค์กรในชุมชนเข้ามาร่วมบางโครงการ    ตรงกับหลักการที่ระบุใน พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ระบุให้ใช้ทรัพยากรการเรียนรู้จากหลากหลายแหล่งในสังคม

นักเรียนได้รับการฝึกให้เป็นคนตรงต่อเวลา (ซึ่งเป็นทักษะสำคัญของชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑) ผ่านกติกาต่างๆ    คนที่มาโรงเรียนสาย ไม่ทันเวลาเคารพธงชาติและสวดมนตร์ จะต้องมาทำกระบวนการดังกล่าวเอง ตามกติกาว่าทุกคนต้องเคารพธงชาติและสวดมนตร์ก่อนเข้าห้องเรียนทุกวัน

ผมสรุปว่าโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจัดการเรียนรู้แบบเน้น “เรียนความรู้มือหนึ่ง” ไม่ใช่เน้นเรียนแบบคัดลอกหรือแบบจดจำ “ความรู้มือสอง” จากครูหรือตำรา

จะเขียนต่ออีก ๑ ตอน  หลังจากค่อยๆ เคี้ยวเอื้องความประทับใจ

 

วิจารณ์ พานิช
๓๐ ก.ย.๕๔

คัดลอกจาก            http://www.gotoknow.org/posts/463231

 


หน้า 492 จาก 557
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8591771

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า