Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

กฎหมายปัจจุบันกับการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า

พิมพ์ PDF

กฎหมายปัจจุบันกับการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า
บทความ: อาจารย์รุจิระ บุนนาค
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีโอกาสร่วมฟังการประชุมนโยบายเรื่องการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า และความเหมาะสมของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดโดยสถาบัน Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) ได้ฟังความเห็นของม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท รองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมีแง่คิดที่น่าสนใจ จึงอยากจะเล่าสู่กันฟัง
ม.ล.ชาญโชติ ให้ความเห็นเรื่องนโยบายส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าว่า พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ล้าสมัยและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการออกกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรบ.ฉบับนี้ ต้องการปกป้องเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นกฎหมายที่ออกมากำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ซึ่งม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปกำกับผู้ประกอบการมากนัก ควรปล่อยให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันโดยเสรี แต่กฎหมายฉบับนี้กลับออกมากำกับไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เอาเปรียบผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งควรจะปล่อยให้แข่งขันไปตามกลไกของตลาด ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่น่าจะให้ประโยชน์กับฝ่ายใดเลย แต่กลับเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการต่างๆยื่นข้อร้องเรียน แล้วเรียกร้องให้รัฐเป็นกรรมการตัดสิน แทนที่รัฐจะทำหน้าที่ในการป้องกันเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการออกพรบ.ฉบับดังกล่าว
ม.ล.ชาญโชติ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความล้าหลังของกฎหมายฉบับต่างๆ ที่กว่าจะออกมาได้แต่ละฉบับ ใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในขณะที่พัฒนาการทางธุรกิจ ตลอดจนความต้องการของตลาดและผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้น กว่ากฎหมายแต่ละฉบับที่เกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จ ธุรกิจนั้นๆก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เงื่อนไขและรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญไปแล้ว ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่า การออกกฎหมายของประเทศไทยส่วนใหญ่มักไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น การออกกฎหมายแต่ละฉบับควรเป็นกฎหมายที่สามารถปฏิบัติได้ด้วย
ม.ล. ชาญโชติ มีความเห็นว่า กฎหมายในบ้านเรามีมากมายหลายฉบับที่มีความซ้ำซ้อนกัน และบางฉบับยังมีข้อกำหนดที่หักล้างกันเอง แทนที่จะส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น กลับมีผลทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
แต่กระนั้น ม.ล.ชาญโชติ ย้ำว่า ตนมิได้ไม่ต้องการให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้า แต่เห็นว่ากฎหมายที่ออกมาจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มแรก และที่สำคัญจะต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้ด้วย เพราะหากกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวยังล้าหลัง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างภาคธุรกิจไทยให้มีศักยภาพที่จะแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย
ม.ล. ชาญโชติ ยังกล่าวถึง การเข้ามาของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย โดยเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่จำเป็น ต้องมีนโยบายในการกำกับดูแลบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจแข่งขันว่า การที่บริษัทต่างชาติต่างๆ เหล่านั้นเข้ามาใช้ทรัพยากรของประเทศ ก็ควรกำหนดเงื่อนไขค่าตอบแทนที่พึงจ่ายให้กับประเทศด้วย โดยรัฐสามารถออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขที่ไม่แตกต่างมากจนเกินไประหว่างบริษัทไทยกับบริษัทต่างชาติ ขณะเดียวกัน รัฐจะต้องมีนโยบาย ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก ตลอดจนผู้ประกอบการที่อ่อนแอกว่า เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน
นอกจากนี้ ม.ล. ชาญโชติ ยังได้กล่าวถึงนโยบายการเปิดเสรีว่า ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการเปิดเสรีจริงๆ เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีกฎหมายแตกต่างกันในการกำกับดูแลกรณีต่างๆ เช่น กรณีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ก็มีกฎหมายที่ดินที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับการถือครองกรรมสิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ ม.ล.ชาญโชติกล่าวว่า ต้องยอมรับว่ากฎหมายยังมีความอ่อนแอมาก จึงทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือของต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้อง พิจารณา สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องวางแผน วางหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น กรณี BOI ที่ต้องการจูงใจให้ต่างชาติที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศ แต่กลับไม่มีการส่งเสริมสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยให้ออกไปลงทุนแข่งขันในต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งในความเป็นจริง BOI ควรมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศ มากกว่ามาตรการ ลด แลก แจก แถม เพื่อชักจูงให้ผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับการลงทุน มีหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในไทย ยกตัวอย่าง บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยบริษัทที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อคนไทยไปปรึกษาข้อกฎหมาย ข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เป็นข้อพิพาทสำคัญๆ ก็จะกลายเป็นข้อมูลของบริษัทที่เป็นต่างประเทศดังกล่าว ดังนั้น รัฐจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล เช่น การจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย จะต้องเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เป็นคนไทยเท่านั้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ซึ่งคนไทยมีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นๆ และไม่ควรกลัวต่างชาติ อาจจะยอมเสียเปรียบต่างชาติบ้าง แต่ต้องอยู่ในขอบเขต และที่สำคัญ ม.ร. ชาญโชติ ย้ำว่า จะต้องไม่ยอมให้ต่างชาติเอาเปรียบตลอดเวลา และจะต้องกำหนดประเภทธุรกิจ และข้อจำกัดการประกอบธุรกิจไว้ให้เป็นของคนไทยอย่างชัดเจน
และในตอนท้าย ม.ล.ชาญโชติ ยังกล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องบุคลากร ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจต้องเอาคนเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มจากประชาชนคนไทย คือการสร้างคนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ โดยพิจารณาถึงความสามารถ ว่าคนไทยมีความสามารถในด้านใด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนไทยมีความสามารถในด้านการให้บริการ ในด้านการบริหารจัดการซึ่งจะต้องพัฒนาให้คนไทยสามารถบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นทีม แต่อย่างไรก็ตาม แผนเศรษฐกิจของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน กลับไม่กล่าวถึงเศรษฐกิจภาคบริการ ทั้งๆที่ภาคบริการมีความสำคัญ นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ90 ของประเทศเป็น SME ที่มีความสามารถทั้งสิ้น
ผมอยากจะฝากประเด็นแง่คิดของม.ล.ชาญโชติ ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนพิจารณา เพราะธุรกิจปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ก็ควรที่จะหันมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกรอบของกฎหมายให้ทันสมัย รองรับความต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้อย่างแท้จริง
อาจารย์รุจิระ บุนนาค
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 17:50 น.
 

จริยธรรมผู้นำ

พิมพ์ PDF

วันที่ 26 ธันวาคม 2554 ไปบรรยายให้นิสิตรุ่นที่ 2 ของมหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ฟังตั้งแต่เช้า 9.00-12.00 น เสร็จการบรรยาย ผมได้ให้การบ้าน และให้นิสิตเข้าไปตอบการบ้านใน blog ของผม โปรดติดตามอ่าน และช่วยกันกระตุ้นเรื่อง "จริยธรรม"ให้ซึมซับเข้าไปอยู่ในจิตสำนึกของเด็กรุ่นใหม่ที่จะเป็นอนาคตของชาติ

  

สวัสดีครับ ม.ล. ชาญโชติ หลังจากที่ผมได้เข้าอบรม ผมรู้สึกว่าประเด็นจริยธรรมของเยาวชนคนไทย เป็นสิ่งที่ทุกคนควรปลูกฝัง ใส่ใจ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ในอดีตแทบจะมีน้อยมาก แต่เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง ย่อมส่งผลให้วีถีชีวิต ความเป็นอยู่ ค่านิยม วัฒนธรรมเปลี่ยนไป ซึ่งอาจยกตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ ในสมัยก่อนสังคมไทยเป็นสังคมที่พึงพาอาศัยกัน เพื่อนบ้านมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของอาหาร ถามสารทุกข์สุกดิบ แต่ในปัจจุบัน เพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน แทบจะไม่ได้รู้จักพูดคุยกันเลย รวมทั้งกระแสวัตถุนิยมก็มาครอบงำมากขึ้น อย่างไรสิ่งของที่เป็นรูปธรรม มากกว่านามธรรม จนทำให้เกิดการแข่งขัน เเย่งชิง เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ย่อมทำให้วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อที่ดีงามสูญหายไป หรือ คิดว่า มันเป็นอะไรที่ล้าหลัง จับต้องไม่ได้ เฉยๆๆ เมื่อค่านิยมเหลา่านี้ ถูกปลูกฝัง ปฤิบัติมากขึ้นเลยๆๆๆ ก็กลายเป็นว่า ทุกคนต่างมองการกระทำอย่างนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง สมควร แต่กลับไม่ได้ฟื้นฟูสภาวะทางด้านจิตใจให้งอกงามขึ้น มีแต่ทำให้แย่ลงตามมา ผมกล่าวอารัมบทข้างบนมามากเเล้ว ผมขอตอบคำถามของม.ล. ชาญโชติ ที่ให้ทำเป็นการบ้่านนะครับ

1. เลือกผู้นำไทย 1 คน อธิบายคุณลักษณะของผู้นำท่านนั้น 3 เรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

ผู้นำไทยของใครหลายๆคนนั้นผมเชื่อแน่นอนว่า ผู้นำท่านนั้น ย่อมไม่พ้น "พระมหากษัตริย์ไทยทุกๆพระองค์"ที่ทรงพยายามรักษาแผ่นดินพื้นนี้เอาไว้ให้เราได้มีแหล่งพักผิง รวมทั้ง"เหล่าวีรชนคนกล้า"ต่างๆที่เสียสละเลือด เนื้อ หลั่งลงสู่พื้นเเผ่นดินแห่งนี้ไว้ ให้ลูกหลานชาวไทยอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งสำหรับผม "พระมหากษัตริย์ เหล่าวีรชนคนกล้า"เป็นผู้นำในใจของผมเสมอมา และในการตอบคำถามตามที่มีรุ่นพี่ได้เข้ามาตอบนั้น ผมเห็นด้วยครับ แต่ในที่นี้ ผมขอยกผู้นำ อีกคนหนึ่งที่แทบทุกคนเกือบลืมท่าน ท่านนี้ไปแล้ว คือ "สืบ นาคะเสถียร" ท่านเป็นคนที่เสียสละทำงานเพื่อดูแลรักษาป่าไม้ และเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น มานะอุตสาหะ และ ตัดสินอย่างโดดเดี่ยวในการยิงตัวตาย โดยสิ่งที่ท่านได้กระทำไปนั้น แม้จะดูว่าเป็นอะไรที่น่าสยดสยอง แต่ท่านกระทำไปเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมาสนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งถ้าหากลองจินตนาการดูว่า ถ้าหากไม่มีท่านผู้นี้แล้ว ทรัพยากรป่าไม่้ จะเหลือรอดจนถึงทุกวันนี้หรือไม่

2.กำหนดสิ่งที่จะทำตามแนวคิดของพระเจ้าอยู่หัว

สิ่งที่ผมจะทำตามแนวคิดของพระองค์ท่านคือ การดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สามารถนำไปปฎิบัติชีวิตประจำวันได้ โดยผมจะใช้จ่ายอย่างประหยัด โดยการประหยัดนั้นไม่ีใช่ผมจะซื้อสินค้าที่ราคาถูก สินค้าลดราคา แต่ผมจะซื้อสินค้าในกำลังซื้อที่ไม่เกินกำลังซื้อ และพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี โดยที่เราที่เราไม่ต้องไปเปรียบเทยบกับคนอื่นว่า คนนั้นเค้าใช้ของชิ้นนั่น เราต้องมีแบบเค้า ซึ่งถ้าหากต้องสนองตามเค้าไปทุกอย่าง คำว่า "ความสุข"ก็คงไม่มี เพราะมั่วแต่เครียดว่า เราต้องทำวิธีไหนในการได้เงินมาซื้อสิ่งนั้น ซึ่งอาจทำให้เราไปกระทำอะไรที่ผิดกฎหมายได้ในที่สุด และนอกจากจะนำเเนวคิดเศรษฐกิขพอเพียงมาปรับใช้แล้ว ผมว่าสิ่งที่ต้องมีควบคู่กันไป คือ "การมีสติ"ตลอดเวลา

3. ค้นหาอุปนิสัยที่ดีที่สุดของตนเอง อย่างน้อย 3 ข้อ

อุปนิสัยของผมนั้นมีทั้งด้านดีและไม่ดี ซึ่งอุปนิสัยด้านดีของผมนั้น อันดับแรกคือ การไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เพราะ ผมคิดอยู่เสมอว่า ถ้าอยากให้ผู้อื่นปฎิบัติกับเราอย่างไร เราต้องปฎิบัติตนเองก่อน ถึงแม้เราจะปฎิบัติไปแล้ว คนอื่นอาจกระทำอะไรที่แย่ หรือ เหมือนเดิม ก็ให้ถือว่า สิ่งที่เราทำไปนั้น ทำให้เรามีความสุขก็พอ ข้อถัดมาคือ การรับผิดชอบ ซึ่งผมมีความเชื่อยู่อย่างหนึ่งว่าคนเราจะมีคุณค่าหรือไม่ ต้องมีความรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าการรับผิดชอบต่อคำพูดที่เราได้กล่าวไปแล้ว การรับผิดชอบในงานที่ทำ แม้แต่ในขณะนี้ ผมอยู่ในฐานะนิสิตนักศึกษา ซึ่งที่ต้องรับผิดชอบคือ การเรียนไม่ให้การเรียนแย่ หรือ มาเรียนเพื่อผลาญเงินพ่อแม่ โดยที่เราไม่ได้ความรู้อะไรเลย ได้เพียงแค่ปริญญาบัตรใบเดียว ซึ่งจากที่ผมเคยทำงานพาร์ททามส์ต่างๆไม่ว่าในช่วงเวลาปิดเทอม ช่วงเวลาเรียน สิ่งหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้คือ การที่เราเรียนรู้สิ่งต่างๆในห้องนั้น ผิดกลับจากโลกแห่งความเป็นจริง เพราะ บางครั้งซึ่งที่เราได้เรียนรู้ อาจไม่ได้ใช้ หรือเราต้องนำมาประยุกต์ใช้ และเป็นอะไรที่ผมโชคดีมากที่ผมได้ทำงานต่างๆในช่วงเวลาเรียน ทำให้ผมสามารถได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ใหม่ๆ รับฟังความคิดเห็นของคนในแต่ละแง่มุมมากขึ้น ซึ่งบางแง่มุมเป็นแง่มุมที่ดีมากๆ ส่วนข้อสุดท้าย คือ การเสียสละ ซึ่งการเสียสละในความคิดของผมนั้นไม่ใช่ว่าเราจะต้องเสียเงิน เสียทองก้อนโต แต่อย่างไร อย่างน้อยเราก็สามารถเสียสละเวลาของเราได้ กล่าวคือ แทนที่เราจะเอาเวลาไปเล่นเกมส์ ดูหนัง หรือทำอะไร ผมเอาเวลาส่วนนี้ไปช่วยทบทวนหนังสือให้เพื่อน ซึ่งการที่ได้ทบทวนหนังสือให้เพื่อนนั้น ทำให้สามารถเข้าใจในประเด็นต่างๆได้มากขึ้น เนื่องด้วยบางประเด็นเป็นประเด็นที่เราอาจจะรู้ไม่จริง เราได้ไปสอบถามเพื่อนอีกคน และแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน นอกจากการทบทวนหนังสือเเล้ว สามารถเสียสละเวลาในการให้รับฟังความรู้สึกของเพื่อนในเวลาที่เพื่อนมีปัญหา เศร้่าใจ หดหู่ ได้ถึงแม้ว่าการรับฟังนั้นเราอาจรู้สึกว่าเป็นอะไรที่เรารับฟังไปแล้ว ท้ายที่สุดสิ่งที่เราเเนะแนวทางให้นั้น คนๆนั้นต้องเป็นคนตัดสินใจอยู่ดี ซึ่งเราสามารถทำให้เพื่อนไม่ต้องกระทำอะไรที่น่ากลัว อันตรายถึงชีวิตได้

4.ต้องการเป็นผู้นำแบบไหน

สำหรับผมนั้น ต้องการเป็นผู้นำที่เข้าใจความเป็นไปทุกสิ่งทุกอย่างของธรรมชาติ ว่า สิ่งต่างๆในโลกนั้นย่อมมีด้านดีและด้านร้ายเป็นธรรมดา เพราะการที่ผมสามารถเข้าใจคนอื่นมากขึ้น จะทำให้เราสามารถลดทิฐิลงได้ โดยที่เราจะรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และจะไม่โต้แย้งด้วยอารมณ์โกรธ แต่จะมีการพูดกันเพื่อเเลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน นอกจากจะช่วยลดทิฐิเราลงได้แล้ว จะทำให้เราเป็นคนที่มีสติตลอดเวลา ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต เนื่องด้วยเราเข้าใจว่า เวลาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถย้อนคืนได้ และเราก็ไม่รู้ว่าเราจะต้องถึงจุดจบของชีวิตเมื่อไหร่ เหมือนเช่นใบไม้ร่วงที่เราไม่รู้ว่าใบไม้ใบนี้จะร่วงตอนไหน ซึ่งการที่เรามีสติและไม่ประมาทในการใช้ ชีิวิตนี้แหละ จะคอยกระตุ้นให้เรากระทำแต่ความดีตลอดเวลา

สำหรับการตอบคำถาม ผมตอบคำตอบเสร็จแล้ว ซึ่งผมชอบคำถามในการอบรมข้อหนึ่งมากว่า "ถ้าคุณสามารถขอพรวิเศษได้หนึ่งข้อ คุณจะข้ออะไร" ซึ่งในตอนอบรมผมขอให้"ตัวเอง"มีสติ และไม่สูญเสียสามัญสำนึกในการแยกแยะว่าสิ่งไหนดีสิ่งไหนไม่ดี แต่ตอนนี้ผมอยากข้อพรแบบนี้เหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนจากคำว่า"ตัวเอง"เป็นคำว่า ขอให้ทุกสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกอยู่โดยมีสติและไม่สูญเสียสามัญสำนึกว่าสิ่งไหนดีสิ่งไหนบาป ซึ่งคำว่าสิ่งไหนดีสิ่งไหนบาปนั้น ผมหมายความว่า การระทำใดที่กระทำแล้วไม่เดือดร้อนผู้อื่น ตนเอง นั้นแหละคือสิ่งดี ในทางตรงข้ามกัน สิ่งไหนกระทำแล้ว ผู้อื่นเดือนร้อน ตนเองเดือดร้อน สิ่งนั้นเป็นบาป เนื่องด้วยถ้าพรข้อนี้สัมฤทธิ์ผล สิ่งมีชีวิต โลกใบนี้ คงมีความสุขตลอดกาลครับ

สุดท้าย ผมขอบคุณ ม.ล. ชาญโชติ ที่มาเป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้ให้ครับ และผมขอเป็นกำลังใจให้ท่าน(ม.ล. ชาญโชติ) ถ่ายทอดความรู้เรื่องนี้แก่รุ่นน้อง รุ่นพี่ต่อๆไปนะครับ

ขอบคุณครับ

นาย พิเชษฐ์ กิตติธรกุล

หอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

 
 
Ico48
 

สร้างมาตรฐานโดยการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรมนุษย์ด้านอุตสาหกรรมโรงแรม

พิมพ์ PDF

สร้างมาตรฐานโดยการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรมนุษย์ด้านอุตสาหกรรมโรงแรม

 

บทนำ

 

อุตสาหกรรมโรงแรมประกอบด้วย ๔ ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้

๑)     ส่วนของการลงทุน ได้แก่การลงทุนด้านทรัพย์สิน เช่นที่ดิน ตัวอาคาร สาธารณูปโภค และ การลงทุนด้านการจัดการ เป็นต้น

๒)    ส่วนของการตลาด ได้แก่การวางขนาดและทิศทางของธุรกิจ กลุ่มเป้าหมายลูกค้า

๓)    ส่วนของการจัดการ ได้แก่การดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย

๔)    ส่วนของการบริการ หรือส่วนของการปฏิบัติ ของทรัพยากรมนุษย์

 

ส่วนมากแล้วเจ้าของธุรกิจโรงแรมคิดแต่เฉพาะการลงทุนด้านทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว มิได้มีการกำหนดงบประมาณการลงทุนด้านการจัดการและการตลาด จึงทำให้มาตรฐานของโรงแรมไม่ตรงตามความเป็นจริง

ส่วนของการตลาดเจ้าของธุรกิจไม่ได้คำนึงถึงส่วนนี้ มักจะสร้างโรงแรมขึ้นมาเพื่อหวังผลประโยชน์ในด้านอื่น หรือทำตามความต้องการของเจ้าของเป็นหลัก

ส่วนของการจัดการเจ้าของธุรกิจไม่ได้จ้างมืออาชีพมาจัดการธุรกิจ จ้างคนมาดำรงตำแหน่งหนึ่งแต่ให้ไปทำงานอีกอย่างซึ่งไม่ตรงตามตำแหน่งที่จ้างมา เจ้าของจะลงไปจัดการเองทุกตำแหน่ง หรือถ้าตัวเจ้าของเองไม่ลงไปจัดการก็จะมอบหมายให้เครือญาติหรือคนใกล้ชิดลงไปดำเนินการในตำแหน่งนั้นๆ หรืออาจไม่มีตำแหน่งแต่ไปดำเนินการล้วงลูกในตำแหน่งที่เป็นของคนอื่น

ส่วนของการบริการ เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการหรือการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมทั้งหมด ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้

กลุ่มของพนักงานระดับล่าง เป็นพนักงานที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่ให้บริการตรงกับลูกค้า ส่วนหนึ่งเป็นหน่วยสนับสนุน และอีกส่วนเป็นหน่วยตรวจสอบ

กลุ่มหัวหน้างาน

กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง

กลุ่มผู้บริหารระดับสูง

 

 

ส่วนใหญ่เจ้าของธุรกิจโรงแรมเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของตัวเอง โดยใช้การลงทุนด้านทรัพย์สินเป็น ตัวชี้วัดเพียงอย่างเดียว มิได้นำเอาอีกสามส่วนมาพิจารณา

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์

๑)     สร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมโรงแรมไทยให้เหมาะสมกับการทำธุรกิจแบบยั่งยืน

๒)    สร้างบุคลากรด้านอุตสาหกรรมโรงแรมให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานในตำแหน่งที่ได้รับอย่างพอเพียง

๓)    สร้างบุคลากรด้านอุตสาหกรรมโรงแรมให้มีมูลค่าเพิ่ม มีอนาคต และรายได้ที่เหมาะสมและพอเพียงต่อการดำรงชีพ

 

การดำเนินการ

๑)     ตั้งทีมทำงาน  ที่มาจากบุคลากรด้านโรงแรม นักวิชาการ เจ้าของกิจการโรงแรม และส่วนของภาครัฐ ทั้งส่วนงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงและส่วนสนับสนุน ( โดยการคัดเลือกเป็นรายบุคคลไม่ใช่โดยตำแหน่ง)

๒)    รวบรวมสมาชิกที่ทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรม

๓)    จัดกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์

 

 

เป้าหมายกลุ่มที่ต้องได้รับการการพัฒนา

๑)     เจ้าของกิจการ  ( ผู้ลงทุน)

๒)    ผู้บริหารระดับสูง

๓)    ผู้บริหารระดับกลาง

๔)    หัวหน้างาน

๕)    พนักงานระดับล่าง

 

เครือข่ายที่ต้องดึงเข้ามาร่วมให้การสนับสนุน

๑)     กระทรวงการท่องเที่ยว ( สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว)

๒)    กระทรวงแรงงาน

๓)    กรมพัฒนาแรงงาน

๔)    กระทรวงศึกษา ทบวง กรมอาชีวะ

๕)    กระทรวงวัฒนะธรรม

๖)     กระทรวงต่างประเทศ

๗)    สำนักงานประกันสังคม

๘)    สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

๙)     กระทรวง IT

๑๐) ฯลฯ

               

 

 

ตัวอย่างอุปสรรค์และปัญหาที่บุคลากรด้านอุตสาหกรรมโรงแรมขาดแคลน

 

คนไทยเป็นคนเก่งและมีความสามารถไม่แพ้ใคร แต่ที่บุคลากรระดับล่างขาดแคลนไม่สามารถคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่มากมายให้มาทำงานในตำแหน่งที่ว่างเพราะขาดการเรียนรู้อย่างแท้จริง

๑)     อาจารย์สอนไม่รู้จริง

๒)    หลักสูตรการศึกษาไม่ได้ให้โอกาสนักศึกษาเข้าใจในตำแหน่งงานอย่างแท้จริง

๓)    หัวหน้าที่สอนงานให้ลูกน้องเข้าใหม่ ไม่มีความรู้ในการสอน

๔)    พนักงานเก่าที่สอนงานให้กับพนักงานใหม่ ยังไม่รู้งานจริง จึงสอนแบบผิดๆถูกๆ

๕)    ไม่มีเวลาเรียนรู้อย่างถูกต้อง

ทางโรงแรมเองไม่ได้เอาใจใส่ในการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ ไม่ได้คิดทุ่มเทหรือลงทุนเพื่อสร้างคนอย่างถูกต้อง เมื่อพนักงานไม่พอก็วิ่งแย่งซื้อตัวจากโรงแรมอื่น หรือรับผู้ที่ไม่เคยมีคุณสมบัติ และ ความรู้ในตำแหน่งงานนั้นๆ พนักงานใหม่เหล่านั้นไม่มีโอกาสเข้ารับการอบรม ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเก่าหรือหัวหน้างานเป็นผู้บอกกล่าวและสอนงาน

ส่วนการสนับสนุนจากกรมแรงงาน และหน่วยงานอื่นๆทั้งของภาคเอกชนและภาครัฐ ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเพราะ

๑ ) ผู้จัดได้กำหนดเวลาในการจัดอบรมตามความสะดวกของผู้จัด มิได้จัดการอบรม ตามเวลาที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการอบรมและความเป็นไปได้ในการส่งพนักงานไปอบรมของแต่ละโรงแรม

๒) การจัดอบรมเน้นที่บางตำแหน่ง แต่มีอีกหลายตำแหน่งที่ไม่มีการจัดอบรม

๓) การสื่อสารไม่ถึงตัวพนักงานผู้ต้องการได้รับการอบรม

๔) ทางโรงแรมเองไม่กล้าส่งพนักงานของตัวเองไปอบรมเพราะ ถ้าส่งไปแล้วไม่มีคนทำงาน หรือกลัวว่าเมื่อส่งไปแล้วจะถูกดึงตัวไปที่อื่น

๕) ผู้รับการอบรมขาดแรงจูงใจในการเข้ารับการอบรม

๖) การอบรมบางหลักสูตร ไม่สามารถนำกลับมาใช้ในโรงแรมที่ตัวเองทำงานอยู่ได้

 

การขาดแคลนบุคคลากรในระดับหัวหน้างาน และผู้บริหารระดับกลาง

                ไม่ได้ถูกอบรมมาให้เป็นผู้บริหาร ได้รับตำแหน่งเพราะมีชั่วโมงการทำงานที่มากกว่าพนักงานคนอื่นๆ หรือเป็นคนของหัวหน้างานในระดับสูงขึ้นไป หรือเป็นผู้ที่ขยัน ทำงานดี ซื่อสัตย์ จึงถูกเลื่อนให้เป็นหัวหน้างาน หรือเป็นผู้บริหารระดับกลาง หรือถูกดึงตัวไปอยู่โรงแรมที่เปิดใหม่ โดยยังไม่เคยมีความรู้หรือได้รับการเรียนรู้งานของการเป็นหัวหน้า หรืองานในการบริหาร เมื่อขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งนั้นๆก็ยังติดกับการทำงานเก่าๆของตัวเอง ไม่ได้ทำงานในหน้าที่ใหม่ จึงไม่สามารถสร้างบุคลากรในระดับรองลงไปได้

 

 

 

การพิจารณากำหนดมาตรฐานของงานในแต่ละตำแหน่ง

 

 

การตั้งมาตรฐานของงานแต่ละตำแหน่งต้องศึกษาและวิจัยให้ลึกๆ เพราะแต่ละโรงแรมมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน การบริการขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าเป็นสำคัญดังนั้น มาตรฐานของงานแต่ละตำแหน่งจึงขึ้นอยู่กับชนิดของกลุ่มลูกค้าของโรงแรมนั้นๆ  การกำหนดมาตรฐานของงานในแต่ละตำแหน่งจึงต้องจัดแบ่งแยกออกไปตามกลุ่มของโรงแรมนั้น

โรงแรมแต่ละระดับมีรายได้และการลงทุนที่แตกต่างกัน มาตรฐานของงานแต่ละตำแหน่งในแต่ละระดับโรงแรมก็ต้องแตกต่างกันไปด้วย

 

พนักงานที่มีความขยันอดทน ทำงานเก่ง บริการลูกค้าได้ดีเยี่ยม ส่วนมากจะเป็นพนักงานที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง เรียนจากประสบการณ์ แต่ไม่สามารถสร้างความก้าวหน้าได้ในสถานที่เดิม เพราะโรงแรมนั้นๆไม่ได้มีแผนในด้านทรัพยากรมนุษย์ ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพนักงาน พนักงานเหล่านี้จึงได้วิ่งหางานที่ใหม่ ที่ทำให้พนักงานผุ้นั้นมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

 

สำหรับโรงแรมระดับ สี่ดาว และ ห้าดาวไม่ค่อยจะมีปัญหาในการขาดแคลนบุคลากรระดับล่าง เพราะโรงแรมระดับนี้ส่วนใหญ่จะมีผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์จากโรงแรมระดับที่ต่ำกว่ามาสมัครเพื่อขอเข้าทำงานเป็นจำนวนมากจึงสามารถคัดเลือกคนได้ตามคุณสมบัติที่ตัวเองต้องการ

 

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๖ มกราคม ๒๕๔๘

               

 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 18:04 น.
 

แผนปฎิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

พิมพ์ PDF

แผนปฏิบัติการณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

 

ต้องดำเนินการควบคู่กันไปทั้ง ๓ กลุ่ม

 

      ผู้ประกอบการต้องได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการตลาดอย่างแท้จริง เพื่อเปลี่ยนแนวทางค้าขายให้มาเน้นถึงการค้าแบบยั่งยืน มีกำไรในทางตรง มีการบริหารและการจัดการแบบมืออาชีพ สร้างเครือข่ายและมีการร่วมทุน ได้รับการสนับสนุนในสิ่งที่ต้องการจากภาครัฐ

      ภาครัฐต้องเข้าใจธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างแท้จริงและหันมาให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการให้บริการท่องเที่ยว ช่วยให้การสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดีและผลักดันผู้ประกอบการที่ไม่ดีออกไปจากวงการ

      สถานศึกษาและกรมพัฒนาฝีมือแรงงานสร้างคนมารองรับทั้งแรกเข้าทำงานและผู้ที่ทำงานอยู่แล้วเพื่อขยับฐานะให้สูงขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

      ผู้ให้บริการท่องเที่ยว ได้แก่ Inbound Tour Operator และ Local Tour Operator

      โรงแรม ได้แก่โรงแรมระดับ ๓ ดาวลงมา

      สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว

      การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

      กรมพัฒนาแรงงาน

      สถานศึกษาระดับอาชีวะ และระดับมหาวิทยาลัย

      สมาคมการท่องเที่ยวและสมาคมโรงแรม

ผู้ให้บริการท่องเที่ยว

      จัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้เรื่องการตลาด การบริหารและการจัดการ โดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว และกรมพัฒนาแรงงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการ

      ปรับแนวการค้าขาย จากเน้นการได้มาของจำนวนนักท่องเที่ยว เป็นเน้นการค้าขายที่มีกำไรโดยทางตรง

      เปลี่ยนแนวความคิดจากการคัดลอกโปรแกรมท่องเที่ยว มาเป็นการสร้างโปรแกรมท่องเที่ยวเฉพาะของแต่ละผู้ให้บริการ เพื่อสร้างความแตกต่าง

โรงแรมระดับ ๓ ดาวลงมา

      จัดสัมมนาเรื่องการตลาด การบริหาร การจัดการ เพื่อให้ผู้ประกอบการ

      มีความเข้าใจเรื่องการตลาดอย่างแท้จริง 

      ปรับเปลี่ยนการบริหารและการจัดการให้เป็นมืออาชีพ มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม ลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์

      ผู้รับผิดชอบ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สมาคมโรงแรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

 

 

 

 

 

 

 

สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว

      หันมาทำความเข้าใจผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ( Tour Operator ) วางแผนและนโยบายเพื่อสร้างกลยุทธ์ให้ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจที่จะดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน

      ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน และขับไล่ผู้ประกอบการที่ไม่ดีให้ออกไปจากในวงการ

      การวางแผนและกำหนดนโยบายสำคัญควรให้ภาคเอกชนโดยรวมมีส่วนร่วมไม่ใช่ทำเสร็จแล้วจึงแจ้งเอกชนให้รับทราบ หรือเรียกประชุมโดยด่วนไม่ให้เวลาภาคเอกชนได้คิด

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

      เปลี่ยนแนวคิดจากระบบศักดินา มาเป็นการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว

      ให้การสนับสนุนด้านการตลาดแก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวอย่างทั่วถึง มิใช่เจาะจงเฉพาะผู้ที่คุ้นเคยและคนใกล้ชิด

      วางแผนการตลาดอย่างรอบครอบเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศมิใช่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

กรมพัฒนาแรงงาน

      ปรับเปลี่ยนการทำงานจากการตั้งรับเป็นฝ่ายรุก โดยการสร้างเครือข่ายร่วมกับผู้ประกอบการ

      ศึกษาทำวิจัยเรื่องแรงงานด้านอุตสาหกรรมการให้บริการด้านการท่องเที่ยว และวางแผนเพื่อให้การสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีแรงงานที่มีคุณภาพทั้งแรกเข้า และพนักงานเก่าเพื่อการเลื่อนฐานะที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

      สร้างมาตรฐานแรงงาน และอัตราแรงงานที่เหมาะสมทุกระดับขั้น

      เป็นตัวกลางสร้างความยุติธรรมให้กับผู้ประกอบการและพนักงาน

สถานศึกษา

      วางหลักสูตรร่วมกับผู้ประกอบการ

      ผลิตนักศึกษาให้ได้คุณสมบัติตามที่สถานประกอบการต้องการ

      สร้างหลักสูตรสำหรับพนักงานที่มีความชำนาญและความรู้ในแต่ละงานเพื่อมีความรู้ในการสอน เพื่อจะได้มาเป็นครูสอนนักศึกษาใหม่

      มีการสอบเทียบเพื่อรับปริญญาสำหรับผู้ที่มีความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ในการทำงานแต่ขาดปริญญา

      สร้างมนุษย์ให้มีคุณค่าและทำประโยชน์ให้แก่สังคม

 

 

 

 

 

 

 

สมาคม

      กรรมการสมาคมต้องบริหารงานสมาคมให้เป็นที่ไว้ใจของสมาชิก

      สร้างความเข้มแข็งและสนับสนุนให้สมาชิกได้รับผลประโยชน์จากภาครัฐอย่างทั่วถึงและยุติธรรม

      เห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อทำให้ภาครัฐเข้าใจในธุรกิจของสมาชิก ทำให้สมาชิกโดยรวมได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

      ให้ความสำคัญกับสมาชิก ควรจะมีการประชุมร่วมกับสมาชิกและได้รับความคิดเห็นจากสมาชิกก่อนที่จะส่งผู้แทนไปเข้าร่วมประชุมกับภาครัฐ

 

สรุปแผนการปฏิบัติเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

      ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ เป็นตัวกลางในการปฏิบัติการเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดหันมาศึกษาซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวไทย

      เป็นผู้ทำ Master Plan เพื่อนำเสนอภาครัฐ และกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด

      เป็นผู้ดำเนินการจัดสัมมนา โดยมีเจ้าภาพร่วมในแต่ละกลุ่มวัตถุประสงค์

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 22:50 น.
 

แผนปฎิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

พิมพ์ PDF

แผนปฏิบัติการณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

 

ต้องดำเนินการควบคู่กันไปทั้ง ๓ กลุ่ม

 

      ผู้ประกอบการต้องได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการตลาดอย่างแท้จริง เพื่อเปลี่ยนแนวทางค้าขายให้มาเน้นถึงการค้าแบบยั่งยืน มีกำไรในทางตรง มีการบริหารและการจัดการแบบมืออาชีพ สร้างเครือข่ายและมีการร่วมทุน ได้รับการสนับสนุนในสิ่งที่ต้องการจากภาครัฐ

      ภาครัฐต้องเข้าใจธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างแท้จริงและหันมาให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการให้บริการท่องเที่ยว ช่วยให้การสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดีและผลักดันผู้ประกอบการที่ไม่ดีออกไปจากวงการ

      สถานศึกษาและกรมพัฒนาฝีมือแรงงานสร้างคนมารองรับทั้งแรกเข้าทำงานและผู้ที่ทำงานอยู่แล้วเพื่อขยับฐานะให้สูงขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

      ผู้ให้บริการท่องเที่ยว ได้แก่ Inbound Tour Operator และ Local Tour Operator

      โรงแรม ได้แก่โรงแรมระดับ ๓ ดาวลงมา

      สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว

      การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

      กรมพัฒนาแรงงาน

      สถานศึกษาระดับอาชีวะ และระดับมหาวิทยาลัย

      สมาคมการท่องเที่ยวและสมาคมโรงแรม

ผู้ให้บริการท่องเที่ยว

      จัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้เรื่องการตลาด การบริหารและการจัดการ โดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว และกรมพัฒนาแรงงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการ

      ปรับแนวการค้าขาย จากเน้นการได้มาของจำนวนนักท่องเที่ยว เป็นเน้นการค้าขายที่มีกำไรโดยทางตรง

      เปลี่ยนแนวความคิดจากการคัดลอกโปรแกรมท่องเที่ยว มาเป็นการสร้างโปรแกรมท่องเที่ยวเฉพาะของแต่ละผู้ให้บริการ เพื่อสร้างความแตกต่าง

โรงแรมระดับ ๓ ดาวลงมา

      จัดสัมมนาเรื่องการตลาด การบริหาร การจัดการ เพื่อให้ผู้ประกอบการ

      มีความเข้าใจเรื่องการตลาดอย่างแท้จริง 

      ปรับเปลี่ยนการบริหารและการจัดการให้เป็นมืออาชีพ มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม ลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์

      ผู้รับผิดชอบ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สมาคมโรงแรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

 

 

 

 

 

 

 

สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว

      หันมาทำความเข้าใจผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ( Tour Operator ) วางแผนและนโยบายเพื่อสร้างกลยุทธ์ให้ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจที่จะดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน

      ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน และขับไล่ผู้ประกอบการที่ไม่ดีให้ออกไปจากในวงการ

      การวางแผนและกำหนดนโยบายสำคัญควรให้ภาคเอกชนโดยรวมมีส่วนร่วมไม่ใช่ทำเสร็จแล้วจึงแจ้งเอกชนให้รับทราบ หรือเรียกประชุมโดยด่วนไม่ให้เวลาภาคเอกชนได้คิด

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

      เปลี่ยนแนวคิดจากระบบศักดินา มาเป็นการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว

      ให้การสนับสนุนด้านการตลาดแก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวอย่างทั่วถึง มิใช่เจาะจงเฉพาะผู้ที่คุ้นเคยและคนใกล้ชิด

      วางแผนการตลาดอย่างรอบครอบเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศมิใช่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

กรมพัฒนาแรงงาน

      ปรับเปลี่ยนการทำงานจากการตั้งรับเป็นฝ่ายรุก โดยการสร้างเครือข่ายร่วมกับผู้ประกอบการ

      ศึกษาทำวิจัยเรื่องแรงงานด้านอุตสาหกรรมการให้บริการด้านการท่องเที่ยว และวางแผนเพื่อให้การสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีแรงงานที่มีคุณภาพทั้งแรกเข้า และพนักงานเก่าเพื่อการเลื่อนฐานะที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

      สร้างมาตรฐานแรงงาน และอัตราแรงงานที่เหมาะสมทุกระดับขั้น

      เป็นตัวกลางสร้างความยุติธรรมให้กับผู้ประกอบการและพนักงาน

สถานศึกษา

      วางหลักสูตรร่วมกับผู้ประกอบการ

      ผลิตนักศึกษาให้ได้คุณสมบัติตามที่สถานประกอบการต้องการ

      สร้างหลักสูตรสำหรับพนักงานที่มีความชำนาญและความรู้ในแต่ละงานเพื่อมีความรู้ในการสอน เพื่อจะได้มาเป็นครูสอนนักศึกษาใหม่

      มีการสอบเทียบเพื่อรับปริญญาสำหรับผู้ที่มีความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ในการทำงานแต่ขาดปริญญา

      สร้างมนุษย์ให้มีคุณค่าและทำประโยชน์ให้แก่สังคม

 

 

 

 

 

 

 

สมาคม

      กรรมการสมาคมต้องบริหารงานสมาคมให้เป็นที่ไว้ใจของสมาชิก

      สร้างความเข้มแข็งและสนับสนุนให้สมาชิกได้รับผลประโยชน์จากภาครัฐอย่างทั่วถึงและยุติธรรม

      เห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อทำให้ภาครัฐเข้าใจในธุรกิจของสมาชิก ทำให้สมาชิกโดยรวมได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

      ให้ความสำคัญกับสมาชิก ควรจะมีการประชุมร่วมกับสมาชิกและได้รับความคิดเห็นจากสมาชิกก่อนที่จะส่งผู้แทนไปเข้าร่วมประชุมกับภาครัฐ

 

สรุปแผนการปฏิบัติเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

      ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ เป็นตัวกลางในการปฏิบัติการเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดหันมาศึกษาซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวไทย

      เป็นผู้ทำ Master Plan เพื่อนำเสนอภาครัฐ และกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด

      เป็นผู้ดำเนินการจัดสัมมนา โดยมีเจ้าภาพร่วมในแต่ละกลุ่มวัตถุประสงค์

 

 


หน้า 535 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559348

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า