Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > การสร้างความรัก สามัคคี คืนสู่สังคมเป็นหน้าที่...ของคนดี!

การสร้างความรัก สามัคคี คืนสู่สังคมเป็นหน้าที่...ของคนดี!

พิมพ์ PDF

เจริญพรสาธุชนผู้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา ...อาตมาเดินทางมาเจริญภาวนาที่ภูเขาหลวง/ต้นน้ำคีรีวง ซึ่งศิษย์ศรัทธาได้ซื้อที่ดินสร้างวัดถวาย เพื่อพระภิกษุจะได้มาปลีกวิเวก เจริญภาวนา... ที่นี่อากาศดีมาก เรียกว่า อุตุสัปปายะ ชาวบ้านยังดำเนินชีวิตเคียงคู่กับธรรมชาติ ตามแบบฉบับพื้นบ้านในต่างจังหวัดจะเรียก บุคคลสัปปายะ ก็พอจะอนุโลมได้ ด้วยยังมีจำนวนมากที่เชื่อมั่นในบาปบุญคุณโทษ จึงเกื้อต่อ อาหารสัปปายะ ซึ่งเรื่องดังกล่าวย่อมพูดได้เต็มปาก... สำหรับธรรมสัปปายะนี้คงเป็นเฉพาะ ซึ่งหากคำสั่งสอนตามพระธรรมวินัย ที่นี่มี พระไตรปิฎก ให้ค้นคว้า ดับกระหาย แก้โรคโง่ได้ตลอดเวลา อีกทั้งพระภิกษุที่มาอยู่ในอาวาส ก็มีความรู้พอที่จะเป็นที่พึ่งของกันและกันได้...

การเป็นที่พึ่งของกันและกันในหมู่คนดี...พระดี นี่เป็นเรื่องสำคัญมากๆ ในทุกสถานการณ์..ในทุกกาลสมัย ต่างฝ่ายต่างเป็นกำลังใจ สนับสนุนเกื้อกูลกันและกัน ซึ่งจะต้องดำรงมั่นคงแน่วแน่อยู่ใน หลักธรรมของคนดี หมายถึง ทำให้คนเรามีความเห็นถูกต้องชอบโดยธรรม... ไม่ใช่ความเห็นถูกใจ อย่างที่คนพาล... คนชั่วมีความนิยม ...ธรรมของคนดี ภาษาพระเรียกว่า สัปปุริสธรรม ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ ธรรมของคนชั่ว ที่เรียกว่า อสัปปุริสธรรมหากจะกล่าวถึง ธรรมของคนดี พอเป็นตัวอย่าง เพื่อสาธุชนจะได้เห็นรูปร่างหน้าตาอย่างชัดเจนว่า คนดีกับคนชั่ว มีหน้าตาต่างกันอย่างไร โดยธรรมตัดสิน มิใช่เราตัดสิน ซึ่งอาจจะผิดพลาดได้ จะขอสรุปหลักเกณฑ์ดังนี้

ในเบื้องต้น ...คนดีนั้นต้องมี ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อมั่นในสัจธรรมเบื้องต้น คือ กฎแห่งกรรม ...ที่สุดคืออริยสัจ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และแสดงไว้ดีแล้ว ที่เรียกศรัทธาตัวนี้ว่า ตถาคตโพธิสัทธา แสดงว่า ศรัทธา หรือความเชื่อ จะต้องเกิดจากการรองรับเกื้อหนุนด้วยความรู้-ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงธรรม ที่เรียกว่า ปัญญา ซึ่งก่อให้เกิด พลังความรู้ ในจิตใจ จึงเรียกว่า ปัญญาพละ แปลตามตัวอักษรอีกครั้งว่า ปัญญาที่จัดเป็นกำลัง... เป็นปัญญาชอบ คือ รู้ดี รู้ชอบ รู้ถูกต้อง มีความเข้าใจถ่องแท้ในความเป็นเหตุเป็นผล... เมื่อมีความรู้ถูกต้องย่อมยอมรับความจริงตามกำหนดกฎเกณฑ์ที่เป็นสัจธรรม อันปรากฏมีอยู่จริงในธรรมชาติที่แสดงออกมาในรูป กฎแห่งกรรม จึงศรัทธาในกรรม วิบาก และ กัมมัสสกา จึงมีความเกรงกลัวต่อบาปกรรมที่เกิดจากการทำความชั่ว

คนที่มีศรัทธาพละ จึงเป็นคนดี... เมื่อเป็นคนดี จะไปเป็นฐานะอะไรๆ ก็ดี แต่ความดีนั้นมิได้เกิดผุดขึ้นเอง แต่ต้องมาจากการกระทำ ที่เรียกว่าความเพียร (วิริยะ) ที่จะพัฒนาเป็น กำลังความเพียร (วิริยพละ) หมายถึง การมุ่งมั่นกระทำอย่างไม่ท้อถอย แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคนานาประการ โดยจะทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ลดละ ยอมรับความจริงว่า งานบางอย่างมิได้สำเร็จด้วยการทุ่มกำลังเข้าทำในวันเดียว... และต้องรู้จักแปรปัญหาอุปสรรคให้เป็นกำลังใจ โดยเข้าใจในความจริงว่า ปัญหาอุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด ...ปัญหาอุปสรรคมีไว้ทดลองปัญญา อันเป็นคุณสมบัติของคนดีที่เป็นสัตบุรุษ... วิริยพละ จึงเป็นความเพียรที่ต้องกำกับด้วย สติปัญญา มีความศรัทธา รักษาจิตอย่างมั่นคง เข้มแข็ง รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาในบางโอกาส และรู้จักบุกอย่างเต็มกำลังในบางเวลา โดยคำนึงถึงความพร้อมในทุกด้าน และประโยชน์อันเป็นที่หมายเป็นสำคัญ...

นอกเหนือจากความเพียรที่เป็น วิริยพละ อันแสดงออกถึงการทำงานที่ต่อเนื่อง ไม่ท้อ ถอย... คุณลักษณะอีกประการหนึ่งของ วิริยพละ คือ ต้องตรงต่อเวลา ไม่มีความเบื่อหน่าย และไม่ท้อถอยต่ออุปสรรค ซึ่งผู้มีความเพียรจะต้องมุ่งมั่น เอาชนะอุปสรรคให้ได้ด้วย พลังแห่งความมั่นคง

พลังแห่งความมั่นคงนั้น จะเกิดมีขึ้นได้ ก็ต้องด้วยการหลอมรวมความคิดลงในดวงจิต จนผลิเป็น อุดมคติธรรมขึ้น ที่เรียกว่า อุดม การณ์ของบุคคล... ตรงนี้สำคัญมาก โดยเฉพาะนักบริหาร นักปกครอง นักการเมือง ที่สุดคือ นักการศาสนา ดังพระพุทธเจ้าของเรา ชาวพุทธที่เป็นแบบฉบับของการดำเนินชีวิตที่มีอุดมการณ์ ซึ่งได้ประกาศ พระมโนปณิธาน มาโดยตลอด มากอสงไขย..มากกัลป์ แม้ในที่สุดก่อนตรัสรู้ใต้ควงพระศรีมหาโพธิ จึงได้ประกาศถวายชีวิตบูชาพระบรมโพธิญาณ จนนำไปสู่ความสำเร็จตาม พระพุทธประสงค์ ซึ่งก็ด้วยอำนาจ พลังความมั่นคง ในจิตใจ ที่หลอมรวมเป็น อุดมการณ์ธรรม...

ดังนั้น ศรัทธาสาธุชนทั้งหลายที่มุ่งมั่นทำกิจประโยชน์อันใดที่เป็นไป ต่อตนเองและผู้อื่น โดยเฉพาะการต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่อการทำงาน เพื่อ ประโยชน์สุขแห่งสังคม ประเทศชาตินั้น จะต้องหลอมรวมความมั่นคงในจิตใจให้เป็นพลังจิตที่เข้มแข็ง จนเกิด อุดมคติธรรม ผุดปรากฏ ดัง พระมหาโพธิสัตว์ ที่ประกาศแสดงธาตุแท้แห่งจิตสำนึกไว้ว่า... ไม่ว่าจะต้องลุยผ่านทะเลเพลิง คมหอก คมดาบ ความตาย ก็จะต้องไปให้ถึงที่หมาย...

การกลั่นความรู้สึกออกมาจากจิตใจ จนเกิดเป็นอุดมคติที่แข็งแกร่ง มั่นคง ย่อมนำไปสู่ความมั่นคงในการกระทำ และจะกระทำอย่างมีทิศ ทาง แบบแผน มีสติปัญญาในการคิด อ่าน ทำ ในกิจการนั้น สัตบุรุษจึงทำการงานอย่างรู้จักพิจารณา เห็นคุณ... รู้โทษภัย จึงทำงานอย่างไม่มีโทษ เรียกว่า อนวัชชะ ที่หลอมรวมด้วยความรู้ที่เกิดจาก พลังศรัทธา จึงเป็น อนวัชชพละ หมายถึง การกระทำที่ไม่มีโทษเป็นกำลังการกระทำที่ไม่มีโทษเป็นกำลัง นี้ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง อันแสดงออกถึงความเป็นบัณฑิต... ความเป็นสัตบุรุษ และความเป็น สัปปุริสธรรม (ธรรมของคนดี)...

ตรงนี้คือตัวชี้วัดเส้นทางของสังคมและประเทศชาติ โดยเฉพาะสังคมไทย ว่าจะเป็นไปอย่างไรในเบื้องหน้า ด้วย การกระทำที่ไม่มีโทษนี้ ผู้กระทำต้องมี พลังแห่งความมั่นคงทางจิตวิญญาณสูงมากในอุดมคติธรรม ซึ่งจะต้องหลอมรวมหัวจิตหัวใจไว้ด้วย อำนาจพรหมวิหารธรรม เพื่อละเว้น อคติธรรม ในทุกขณะจิต โดยมุ่งประโยชน์เพื่อส่วนรวม หมายถึง ประเทศชาติ อย่างแท้จริง จึงจะเข้าถึงหลักการทำงานที่ไม่มีโทษเป็นกำลัง (อนวัชชพละ) ได้ ด้วยความรู้-ความเข้าใจที่ถูกต้องชอบธรรม ซึ่ง หลักการกระทำที่ไม่มีโทษ นั้น อาตมาเคยนำมากล่าวหลายครั้งแล้ว แต่จะขออนุญาตนำมากล่าวบูชาอีกครั้ง เพื่อ ท่านผู้มีหน้าที่ต่อการดูแลรักษาพัฒนาประเทศชาติ ไม่ว่า นักการเมือง ข้าราชการประจำ จะได้นำไปพินิจหลักการในการดำเนินตามหน้าที่ เพื่อแก้ไขปัญหา ขจัดอุปสรรคของบ้านเมือง และเพื่อการพัฒนาประเทศชาติไปสู่ทิศแห่งความเจริญมั่นคง โดยขอให้จดจำไว้ว่า การกระทำที่ไม่มีโทษนั้นมีข้อพิจารณาดังนี้

๑.การ กระทำบางอย่างผิดกฎหมาย (กฎหมาย) ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญที่คนเราในสังคมสร้างขึ้นมาเอง

เพื่อเป็นบรรทัดฐานของสมาชิกในสังคม ประเทศชาติ ในการถือปฏิบัติตนอยู่ร่วมกัน โดยมีเจตนามุ่งมั่นสู่ความสงบสุข โดยไม่ผิดจารีตประเพณี ไม่ผิดศีล...ไม่ผิดธรรม

๒.การกระทำบางอย่างไม่ผิดกฎหมาย แต่ผิดจารีตประเพณี (กฎสังคม)

ซึ่งสมาชิกในสังคมยึดถือประพฤติปฏิบัติกันมา จนเป็นประเพณีปฏิบัติของสังคม ที่เรียกว่า วัฒนธรรมของสังคม อันแสดงออกถึงภาวะจิตสำนึกและคุณลักษณะทางจิตใจของสังคม ที่สมาชิกในสังคมมีมติเห็นชอบ ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาโดยมิต้องบังคับ...

๓.การ กระทำบางอย่างไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดกฎสังคม (จารีตประเพณี) แต่ผิดศีล...

เรื่องศีลเป็นหลักคุรุธรรมของชาวโลก เหนือกฎเกณฑ์ของสังคม และอยู่เหนือกฎหมายของหมู่ชนที่ร่างสร้างขึ้น อาจจะพูดได้ว่า การร่างกฎใดๆ หรือการยึดถือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนใดๆ ของสังคม จะต้องอยู่ภายใต้ กฎศีล ซึ่งแสดงออกมาให้เห็นลักษณะการกระทำที่เป็นไปตามความจริงที่มีอยู่ใน ธรรมชาติ โดย ศีล นั้นจะรองรับด้วย กรรมนิยาม ซึ่งศรัทธาสาธุชนต้องเชื่อมั่นด้วยการยอมรับใน กฎเกณฑ์กรรม ดังกล่าว จึงนำมาสู่การยอมรับใน ศีล ที่กำหนดบ่งบอกความจริงในเชิงพฤติกรรมว่า อะไรควรทำ..อะไรไม่ควรทำ หากกระทำหรือไม่กระทำแล้ว จะมีคุณ..โทษ เป็นอย่างไร... ซึ่งนั่นหมายถึงการแสดงความประจักษ์จริงของกฎเกณฑ์ความจริงในรูปของ กรรมนิยาม นั่นเอง ที่ไม่มีใครๆ จะไปเปลี่ยนแปลง แก้ไข คัดง้างได้เลย...

๔.การ กระทำบางอย่างไม่ผิดกฎหมาย... ไม่ผิดรัฐธรรมนูญ... ไม่ผิดจารีตประเพณี (กฎสังคม)... ไม่ผิดกฎศีล... แต่ผิดกฎธรรม ก็ย่อมต้องหักล้างทิ้งไปด้วย

กฎเกณฑ์ใดๆ แม้กฎศีล ย่อมต้องอนุวัตไปตาม กฎธรรม หรือ ธรรมนิยาม ที่ควบคุมดูแลสรรพธรรมทั้งหลายให้เป็นไป อยู่ใต้ อาณัติ ห้ามโต้แย้ง ขัดแย้ง คัดง้าง กฎแห่งธรรม ที่แสดง สัจธรรมดังนั้นในเรื่องการทำงานที่ไม่เป็นโทษนั้น จึงต้องยึด กฎแห่งธรรม (ธรรมนิยาม) เป็นธงชัยแห่งการคิดพิจารณา เพื่อจะกระทำอะไรๆ สักอย่างหนึ่ง หากมีข้อขัดแย้งใดๆ ในระดับกฎหมาย กฎสังคม กฎศีล ก็ขอให้ใช้ กฎแห่งธรรม เป็นใหญ่ แต่ในหลักอนวัชชะ (การทำงานที่ไม่เป็นโทษ) นั้น จะต้องเป็นการกระทำที่ไม่ผิดทั้ง ๔ ประการ เป็นสำคัญที่สุด

โดยมีกฎธรรมเป็นธงชัยของการกระทำ ซึ่งตรงนี้เป็นหลักการในระบบ ธรรมาธิปไตย ที่ถือ ธรรมเป็นอธิปไตย ยึดถือความถูกต้องชอบธรรมเป็นที่ตั้ง ไม่มีการนำเรื่องส่วนตัว หรือผลประโยชน์ของตนและหมู่คณะ พรรคพวก เข้ามาเกี่ยวข้อง หากทำได้ตามที่กล่าวมา การงานนั้นก็จะไม่มีโทษ... และการงานที่ไม่มีโทษก็คือการประพฤติถูกต้องตามธรรม และผู้ประพฤติถูกต้องตามธรรมย่อมได้รับความคุ้มครองด้วยอำนาจแห่งธรรมอย่าง แท้จริง

ทั้งนี้ ย่อมหมายรวมถึงการรู้จักการสงเคราะห์ต่อส่วนรวม ประเทศชาติอย่างแท้จริง เรียกว่า สังคหพละ ซึ่งเป็นกำลังแห่งการสงเคราะห์ที่แท้จริงนั้น ต้องมุ่งไปสู่การผูกมิตรไมตรี ให้สมาชิกในสังคมมีความรู้รักสามัคคีกัน จนเกิดเป็นกำลังแห่งน้ำใจ ที่เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันของคนในสังคม ด้วยการบริหารจัดการโดยหลักธรรมดังกล่าว ซึ่งมีอานิสงส์มาก... มีผลมากต่อผู้กระทำ สมดังพระพุทธภาษิตที่แปลความว่า "เมื่อใด ผู้คนเหล่าอื่นขัดแย้งกันอยู่ ตนเองเป็นผู้ประสานให้ พวกเขาคืนดีกัน ผู้นั้นเป็นคนรับภาระและจัดการธุระที่ยอดเยี่ยม"... เอวัง.

เจริญพร

การสร้างความรัก สามัคคี คืนสู่สังคมเป็นหน้าที่...ของคนดี!

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- 
ศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2557
โดย...พระ อ.อารยวังโส

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2014 เวลา 12:48 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > การสร้างความรัก สามัคคี คืนสู่สังคมเป็นหน้าที่...ของคนดี!

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5601
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8585642

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า