Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๒)

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๒)

พิมพ์ PDF

ความศรัทธา ตั้งใจ ใฝ่รู้ คือการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งปริยัติและปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา อย่างมีปณิธานอันแน่วแน่เพื่อมวลมนุษยชาติ หรือมีปณิธานในเบื้องต้นว่าเรียนอะไรก็ได้ ทำหน้าที่อะไรก็ได้ ให้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเทศชาติ

ภิกษุพุทธสาวก ย่อมดำรงสติระลึกอยู่เสมอว่าข้าพเจ้าบวชเรียนเป็นภิกษุ ศึกษา ทำหน้าที่ อุทิศตนเพื่อมวลมนุษยชาติตามแบบอย่างพระบรมศาสดา สามารถที่จะเข้าถึงองค์ความรู้ในอรรถธรรม ได้โดยไม่ยากนัก และจะเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ประโยชน์อันใหญ่หลวงต่อมวลมนุษยชาติอย่างกว้างขว้างต่อไป

สิ่งใดมีความแตกต่างหลากหลาย สิ่งนั้นเป็นสังขตธรรม (ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งเช่น จิต เจตสิก รูป) สิ่งใดเป็นสังขตธรรม สิ่งนั้นต้องเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ สิ่งใดตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ สิ่งนั้นเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด เป็นมายา ไร้แก่นสาร ปราศจากอัตตาตัวตนที่แท้จริง สิ้นอุปาทานอิสระจากสังขตธรรมทั้งปวง ย่อมเข้าถึงอสังขตธรรม(ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งได้แก่นิพพาน)

การวิปัสสนาภาวนา จะเป็นปัจจัยทำให้เรารู้แจ้งแห่งการดำรงอยู่ของกฎธรรมชาติ บนความสัมพันธ์ระหว่างอสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน, บรมธรรมฯลฯ) กับ สังขตธรรม (ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่สิ่งไม่มีชีวิต, ธาตุ, แร่ธาตุต่างๆ, สิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืชและสัตว์, รวมทั้งจิตตสังขาร ที่ปรุงแต่งเป็นกุศล หรืออกุศล)

อสังขตธรรม เป็นธรรมที่พ้นจากกฎไตรลักษณ์  ส่วน สังขตธรรม เป็นธรรมที่ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และไม่เป็นตัวตน)

อสังขตธรรม เป็นด้านเอกภาพ ส่วน สังขตธรรม เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย

อสังขตธรรม เป็น ลักษณะทั่วไป  ส่วน สังขตธรรม เป็นลักษณะเฉพาะ

อสังขตธรรม มีลักษณะแผ่กระจายครอบงำ สังขตธรรมมีลักษณะรวมศูนย์

จากกฎธรรมชาติดังกล่าวนี้ เมื่อนำไปพิจารณาประยุกต์ใช้ในทางสังคม ได้ดังนี้

๑. สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันหลักและเป็นสถาบันองค์ประกอบของรัฐ  แน่นอนที่สุด ถูกต้องที่สุด คือสถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมเป็นลักษณะทั่วไป ลักษณะทั่วไปเป็นปฐมแห่งอำนาจในรัฐ และมีลักษณะแผ่อำนาจกระจายความคุ้มครองด้วยคุณธรรม เป็นความรักความเมตตา กรุณา ออกไปสู่ประชาชนในแผ่นดิน

ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเต็มสมบูรณ์ในการที่จะจัดการกับความไม่เป็นธรรมใดๆ อันเกิดจากอำนาจที่เป็น

ลักษณะเฉพาะ เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ หรืออำนาจใดๆ ที่เป็นไปในทางบั่นทอน บ่อนทำลาย เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติและประชาชน

๑.๑ ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับ พสกนิกร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระองค์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

พระมหากษัตริย์เป็นลักษณะทั่วไป(โอบอุ้มส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมดในชาติ) ส่วนพสกนิกรเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างหลากหลาย

พระมหากษัตริย์ ทรงแผ่ธรรมานุภาพ เมตตา กรุณา โอบอุ้มคุ้มครองประชาชนภายในรัฐ และประชาชนภายในรัฐต่างก็ขึ้นตรง(จงรักภักดี) ต่อองค์พระมหากษัตริย์

เราจะเห็นได้ชัดเจนโดยไม่มีข้อกังขาใดๆ เลยว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงแผ่ธรรมานุภาพด้วยทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกร ด้วยพระราชกรณียกิจในโครงการพระราชดำริมากกว่า    ๓,๐๐๐ โครงการ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ พสกนิกรทั้งหลายต่างก็ซาบซึ้งในพระมหากรุณาขึ้นตรงต่อ(จงรักภักดี)องค์พระมหากษัตริย์และพระราชินีนาถ อย่างมิได้เสื่อมคลาย

จะเห็นความเป็นไปบนความสัมพันธ์ระหว่างแผ่กระจาย กับ รวมศูนย์ เป็นปัจจัยให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้องค์พระมหากษัตริย์ทรงตั้งอยู่ในธรรมนั่นเอง

๑.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับ กองทัพ

ความสัมพันธ์หลัก พระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ ทรงมีอำนาจเหนือนายทหารในกองทัพทุกหมู่เหล่า ทหารในกองทัพจึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระมหากษัตริย์ กองทัพจึงเป็นองค์ประกอบของรัฐ นายทหารทั้งปวงจะต้องเข้าใจในหลักการนี้ด้วย

ความสัมพันธ์รอง กองทัพเป็นกลไกรัฐ ต้องปฏิบัติตามอำนาจของรัฐบาล แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นอำนาจที่ชอบธรรมและเป็นไปเพื่อความมั่นคงของชาติและประชาชนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความมั่นคงของผู้นำรัฐบาล หรือผู้นำพรรคการเมืองเพื่อจะทำให้ได้เปรียบหรือเพื่อที่จะไปทำลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ในเมื่อพวกเขาต่อสู้ด้วยสติปัญญาอย่างสันติปราศจากอาวุธ

๑.๓ ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับ ระบอบการเมือง เรื่องนี้เป็นเรื่องยาวที่ผู้เขียนได้อธิบายไว้มากแล้ว (อ่านได้จากเวบไซต์)

ในที่นี้จะขอพูดสั้นๆ ว่า ระบอบการเมืองที่เป็นธรรมนั่น จะเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้ประเทศมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน แต่ขณะเดียวกันระบอบการเมืองที่ไม่เป็นธรรม ก็จะเป็นปัจจัยให้การปกครองไม่เป็นธรรม คือรัฐบาลจะบริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นธรรม ความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นครอบงำประชาชนจากอิทธิพลอำนาจมืดในรูปแบบต่างๆ บ้านเมืองเต็ม

ไปด้วยปัญหาต่างๆ ไม่ปรกติสุข จนเกิดความขัดแย้งไปทั่วในหมู่ประชาชน จนบ้านเมืองเสื่อมลงไปมากแล้ว

จุดอ่อนของการเมืองไทย คือ การสร้างระบอบการเมืองไม่ถูกต้องโดยธรรม ผิดทำนองครองธรรมมาแล้วถึง ๑๖ ครั้ง และต่อไปเป็นครั้งที่ ๑๗ จึงไม่อยากเห็นการดำเนินการที่ผิดพลาดอีกต่อไป

ในอดีตจะเห็นได้ว่า เมื่อการปกครองไม่เป็นธรรม จะเป็นปัจจัยให้เกิดวิกฤตทางการเมือง จะเป็นปัจจัยให้มีการทำรัฐประหาร ผู้เสียประโยชน์ย่อมจะรวมตัวกันโค่นคณะรัฐประหาร แล้วร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือไม่ก็แก้ไขรัฐธรรมนูญซ้ำรอยเดิม โดยพวกเขาเข้าใจว่าร่างรัฐธรรมนูญแล้วจะได้ระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ผิดหวังทุกครั้งไปถึง ๑๖ ครั้งแล้ว

การสร้างระบอบการเมืองที่ถูกต้องโดยธรรม คือ

๑. สร้างหลักการปกครองหรือระบอบเป็นเบื้องต้น ด้วยนโยบายที่เป็นธรรม

๒. ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือจะปรับปรุงหมวด และมาตราต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการปกครองหรือระบอบ การสร้างระบอบนั้นๆ ก็จะสำเร็จ

ผู้มีอำนาจ หรือใครที่อยากจะคิดแก้ปัญหาบ้านเมืองให้รอดปลอดภัย ชนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขเป็นเอกภาพและมั่นคง จะต้องอิสระจากระบอบการเมืองปัจจุบัน แล้วสร้างวิธีคิดจากการวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้รู้แจ้งกฎธรรมชาติ จากนั้นประยุกต์ให้เข้ากับลักษณะพิเศษของประเทศไทย ด้วยหลักธรรมาธิปไตย ๙ โดยมีหลักการที่ท้าทายต่อทุกฝ่ายและปัญญาชนทั้งหลาย ว่าโดยย่อคือ

. หลักธรรมาธิปไตย ๒. หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ

. หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน ๔. หลักเสรีภาพบริบูรณ์

. หลักความเสมอภาค ๖. หลักภราดรภาพ

. หลักเอกภาพ ๘. หลักดุลยภาพ ๙. หลักนิติธรรม

หลักธรรมการปกครอง ๙ นี้จะเป็นหลักประกันบนความสัมพันธ์ของปวงชนในแผ่นดินและจะทำให้หมดเงื่อนไขในการแบ่งแยกดินแดน

และก็มีทางเดียวเท่านั้น เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์ สันติและเพื่อความมั่นคงแห่งชาติอย่างยั่งยืน ชั่วกาลนาน คือ

๑. องค์พระมหากษัตริย์ประมุขแห่งรัฐ ทรงสถาปนาหลักการปกครองแบบธรรมาธิปไตย (หรือนอกเหนือจากหลักธรรมาธิปไตย ๙ นี้ก็ได้)

ประชาชนเพียงจำหลักการปกครอง ๙ ข้อเท่านั้น ก็จะรู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชน และระหว่างประชาชนกับระบอบการเมืองของรัฐ และความสัมพันธ์ต่อ

องค์กรต่างๆ ภายในรัฐเป็นอย่างไร เป็นตามหลักการปกครองหรือไม่ และประชาชนก็จะรู้ว่ารัฐบาลนั้นๆ ปฏิบัติต่อประชาชนได้ถูกต้องตามหลักการปกครองหรือไม่

ซึ่งแตกต่างจากระบอบปัจจุบันตัดสินความถูกผิดด้วยเสียงข้างมาก ใครพวกมากก็ชนะ แต่อาจจะทำผิดก็ได้ พวกมากลากไปพาไปพินาศ ประชาชนก็ไม่รู้ว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านทำถูกหรือทำผิด เพราะไม่มีหลักการปกครองให้เทียบวัดได้

๒. ดำเนินการปรับปรุงหมวดและมาตราต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการปกครองทั้ง ๙ เพียงเท่านี้เราก็จะได้ระบอบการเมืองแบบธรรมาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญที่มีองค์ประกอบอย่างถูกต้อง

๓. ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบการต่างๆ โดยให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ จะเห็นว่าไม่ยากเลย

ถ้าทำได้สำเร็จจะสามารถขจัดเงื่อนไขอันเลวร้ายต่างๆ ได้อย่างมากมายในแผ่นดินนี้ ทั้งเป็นการเชิดชูส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ บนฐานแห่งอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้มั่นคงยั่งยืนสืบไป

เราในฐานะพสกนิกร ได้แต่เรียกร้อง เฝ้ารอ หวังให้องค์พระมหากษัตริย์ สถาปนาการปกครองให้เป็นธรรม หรือธรรมาธิปไตย เราทำได้เพียงเท่านี้

พระมหากษัตริย์ จะเป็นที่หยุด เป็นที่ดับความสับสนและความขัดแย้งทางการเมืองลงได้ ทุกฝ่ายต่างก็พูดว่าจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งธงธรรมและได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นประจักษ์ตามพระปฐมบรมราชโองการมาเป็นเวลานานร่วม ๖๐ ปี

มีความเห็นว่าข้อยุติของทุกฝ่ายต้องมาบรรจบที่พระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นธงชัยของปวงชนทั้งในหลักการ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม และวิธีการ พระองค์ทรงพระเมตตาด้วยโครงการพระราชดำริ ๓,๐๐๐ กว่าโครงการหรืออีกนัยหนึ่งพระองค์ทรงตั้งอยู่ในจุดมุ่งหมายและมรรควิธีโดยธรรม

แต่ระบอบการเมืองของประเทศกลับตรงกันข้ามกับทำนองครองธรรม และระบอบการเมืองปัจจุบัน เป็นระบอบที่แยกอำนาจนิติบัญญัติและบริหารออกจากกัน คล้ายคลึงกับระบบกึ่ง-ประธานาธิบดีแบบประเทศฝรั่งเศส ลักษณะอย่างนี้ใครขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็เสี่ยงที่จะถูกโจมตีว่าขัดกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างเป็นไปเอง

ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด เคยกล่าวไว้ในทำนองว่า ใครๆ ก็ชื่นชมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่จะมีใครบ้างปฏิบัติตามแบบอย่างพระเจ้าอยู่หัวทั้งนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงถือธรรมเป็นใหญ่ แต่ระบอบการเมืองไทยกลับตรงกันข้ามพิกลพิการผิดทำนองครองธรรมมา ๑๖ ครั้งแล้ว นั่นเอง ใครเข้าเป็นรัฐบาลก็ต้องพิกลพิการผิดทำนองครองธรรมไปด้วยแทบทุกรัฐบาล ทั้งจะเป็นปัจจัยให้ประเทศชาติล้าหลังและประชาชน

ยากจน และอ่อนกำลังลง ด้วยรัฐธรรมนูญไทย ๑๖ ฉบับไม่เคยมีหลักการปกครองเลย จะมีก็เพียงรูปแบบ และวิธีการปกครองเท่านั้น เช่น รัฐสภา ส.ส. ส.ว. การเลือกตั้ง(ซื้อเอา) ฯลฯ

เขียนให้ฉุกคิด... ดูท่าจะหลงทางกันอีกแล้ว ทั้งๆ ที่องค์พระมหากษัตริย์ทรงชูธงธรรมเป็นธงชัย ในพระปฐมบรมราชโองการ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม เป็นตัวอย่างอันงดงามมายาวนานร่วม ๖๐ ปีแล้ว

 

ธรรมาธิปไตย คือทางสายกลางอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2014 เวลา 20:43 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๒)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8591855

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า