Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

พิมพ์ PDF
ขอบคุณคุณพิชาญ ที่ค้นคว้าและนำข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่คนไทยทุกคนควรศึกษาเรียนรู้ มาเผยแพร่ให้ได้อ่านกันครับ
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
4 กรกฎาคม 2557
ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
ลานพระบรมราชานุสรณ์
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
พระมหากษัตริย์ เจ้าสัว
ผู้นำพาเศรษฐกิจกรุงสยามสู่ยุคทอง
แห่งความโชติช่วงชัชวาลย์

ถนนราชดำเนิน บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศหาก ท่านทั้งหลายได้เคยเดินทางผ่านไปมาจะสังเกตเห็นพระบรมราชานุสาวรีย์ ขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริงประทับนั่งตรง มีแท่นฐานหินอ่อนรองรับ 2 ชั้น ด้านหลังพระบรมรูปเป็นฉากรูปพระวิมาน อันเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์และพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พื้นฉากด้านหน้าเป็นหินอ่อนเรียบ ฉากด้านหลังเป็นหินอ่อนจารึกพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ลวดลายพระวิมานเป็นกระเบื้องเคลือบ พื้นลานที่รองรับแท่นฐานรวมทั้งกระถางต้นไม้ตามมุมเป็นหินแกรนิต ตั้งเด่นเป็นสง่าให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เก็บภาพที่แวดล้อมด้วยทัศนียภาพอันงดงาม ไม่ว่าจะเป็น วัดภูเขาทอง โลหะปราสาท และสวนไม้ดอกไม้ประดับ ที่จัดไว้อย่างลงตัวยามเมื่อได้มาเยือน นั้นคือ "ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์" 
เป็นลานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 3 ซึ่งคณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างพระบรม ราชานุสาวรีย์ พร้อมสร้างพลับพลารับพระราชอาคันตุกะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ และเป็นที่ตั้งพลับพลารับแขกบ้านแขกเมืองได้รับพระราชทานนามว่า "ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์" และกำหนดให้วันที่ 31 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันมหาเจษฎาบดินทร์และเป็นงานรัฐพิธี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุราลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม) ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2330 มีพระนามเดิมว่า พระองค์ชายทับ เมื่อแรกประสูติทรงดำรงพระยศเป็น " หม่อมเจ้า " ด้วยเวลานั้นพระราชบิดายังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าฟ้าต่างกรม และพระราชมารดาเป็นเพียงสามัญชน จนเมื่อสมเด็จพระบิดาได้รับการสถาปนาเป็นที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือตำแหน่งพระมหาอุปราชแล้ว พระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา จึงเลื่อนพระยศขึ้นเป็น " พระองค์เจ้า " ทุกพระองค์ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2356 ภายหลังที่พระราชบิดาเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนา พระองค์เจ้าทับ ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม ทรงพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เข้ารับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจ ว่าความฎีกาทรงพระปรีชาสามารถในการศึกษาหลายแขนง อาทิ ในด้านอักษรศาสตร์ พุทธศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และพาณิชยศาสตร์ จึงเป็นเหตุให้ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบรมชนกนาถให้ไปบังคับบัญชาหน่วยราชการอื่น ๆ ต่างพระเนตรพระกรรณ
ขณะที่รัชการที่ 2 ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตนั้น มิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีได้ปรึกษากันเห็นควรถวายราชสมบัติแด่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ แม้จะเป็นพระราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอม เนื่องจากทรงเจริญพระชนมายุมากกว่าเจ้าฟ้ามงกุฏ พระราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินี ซึ่งขณะนั้นทรงพระเยาว์และทรงผนวชอยู่ ทั้งยังไม่เคยทรงงานใหญ่มาก่อนและช่วงนั้นบ้านเมืองยังมีข้าศึกมาประชิดติดพันอยู่เนื่องๆ จึงได้ขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2367 โปรดให้จัดการปกครองบ้านเมืองเสียใหม่ให้เหมาะสมกับภาวการณ์ในเวลานั้น โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่เพื่อสะดวกแก่การปกครองและเพื่อรวบรวมราษฎรที่กระจัดกระจายกันให้มาอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการเพื่อป้องกันข้าศึกที่อาจจู่โจมเข้ามาทางเรือเพิ่มเติมขึ้นที่สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และที่จันทบุรี โปรดให้มีการปราบปรามโจรผู้ร้าย ซึ่งในเวลานั้นมี "พวกอั้งยี่" เข้ามาระรานปล้นสดมภ์จนราษฎรไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นเดือดร้อน จึงโปรดให้ทหารเรือยกกำลังไปปราบปรามจนสงบราบคาบ ตลอดจนการลักลอบค้าฝิ่นและการสูบฝิ่นก็ให้ปราบปรามเช่นกัน 
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2394 สิริพระชนมายุได้ 64 พรรษา รวมเวลาที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัตินาน 27 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 51 พระองค์ โดยประสูติก่อนที่จะทรงบรมราชาภิเษก 38 พระองค์ และประสูติหลังจากที่ทรงบรมราชาภิเษกแล้ว 11 พระองค์ พระองค์มิได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์ใดขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ดั้งนั้นจึงไม่มีพระบรมราชินีในรัชกาลนี้ คงมีเพียงแต่เจ้าจอมมารดาและพระสนมเอกเท่านั้น เนื่องจากตั้งพระราชหฤทัยที่จะคืนราชสมบัติแก้เจ้าฟ้ามงกุฎ
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 04 กรกฏาคม 2014 เวลา 21:59 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8589899

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า