Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๓๑. วิ่งออกกำลังกายที่ ซิดนีย์ (๒)

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๓๑. วิ่งออกกำลังกายที่ ซิดนีย์ (๒)

พิมพ์ PDF

เพราะวิ่งตอนเช้าท่ามกลางอากาศหนาวเย็นมา ๒ เช้า ที่เมือง Wagga Wagga, NSW เมื่อไปวิ่งที่ ซิดนีย์ เช้าวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ผมจึงรู้สึกว่าอากาศอุ่นสบายอย่างยิ่ง โดยอุณหภูมิอยู่ที่ ๑๒ องศา

ความคิด/ความรู้สึกของคนเป็นการเปรียบเทียบ ดังเรื่องอุณหภูมิดังกล่าวแล้ว นอกจากนั้นบรรยากาศของสถานที่วิ่ง ก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ระหว่าง ซิดนีย์ กับ ว้อกก้า ว้อกก้า คือที่ ซิดนีย์ ผมวิ่งในบริเวณ ดาร์ลิ่ง ฮาเบอร์ (เพราะพักที่โรงแรม โนโวเทล ร็อกฟอร์ด) ซึ่งเป็นย่านที่มีสิ่งก่อสร้างสวยงาม สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจในนครใหญ่ ส่วนที่ ว้อกก้า ว้อกก้า ผมวิ่งบนทางเท้าริมถนน ที่อาคารเป็นอาคารธรรมดาๆ ชั้นเดียวหรือสองชั้น เป็นบรรยากาศบ้านนอก

ระหว่างวิ่ง ในบรรยากาศของ ดาร์ลิ่ง ฮาเบอร์ ซึ่งพื้นที่บริเวณหนึ่งกำลังมีการก่อสร้างเพิ่มเติม ผมมีความคิดว่า ที่นี่ผู้คนชอบออกมาพักผ่อนใน open space เขาจึงก่อสร้างพื้นที่สาธารณะให้น่าไปเที่ยว แต่ที่บ้านเรา อากาศร้อน พื้นที่ open space อากาศร้อนเกินไป คนจึงไม่นิยมไปเที่ยวในพื้นที่สาธารณะที่เป็นพื้นที่ เปิด เป็นโอกาสให้ห้างใหญ่ๆ กลายเป็นที่เดินเที่ยวของผู้คน

เช้าวันที่ ๒๔ ผมวิ่งคลำทางอยู่พักหนึ่งจึงคุ้นเคยทิศทาง และจำได้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน เพราะเคยมาวิ่ง ที่บริเวณนี้เมื่อ๒ ปีที่แล้ว ดังในบันทึกซึ่งอ่านได้ที่นี่

เนื่องจากโรงแรม โนโวเทล ร็อกฟอร์ด อยู่ห่างจากใจกลางของ ดาร์ลิ่ง ฮาเบอร์ ไปทางทิศใต้ ผมจึงได้สัมผัสบริเวณที่ไม่เคยไปสัมผัสเมื่อ ๒ ปีก่อน ที่เป็นสนามกว้างและมีสระน้ำเรียงรายที่ขอบสนาม ที่นี่มีฝูงนกนางนวล และมีนกกระสาจำนวนมากกว่าที่ผมเคยพบเมื่อ ๒ ปีก่อน ไม่ทราบว่านกกระสามันค่อยๆ ปรับตัว จนเวลานี้กลายเป็นนกเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ และสภาพแตกต่างกันมากในเวลา ๒ ปี หรือสภาพเป็น อย่างนี้มานานแล้ว แต่ผมเพิ่งมาเห็นนกกระสาจำนวนมากในเมือง ในการเดินทางคราวนี้

ความแตกต่างจากเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว อีกอย่างหนึ่งคือการก่อสร้างในพื้นที่ขนาดใหญ่ ทางทิศตะวันตกของ ดาร์ลิ่ง ฮาเบอร์

ผมวิ่งไปพบสะพานคนเดิน ข้ามถนนเข้ามายังบริเวณ ดาร์ลิ่ง ฮาเบอร์

ผมติดใจพื้นที่เปิด ที่มีที่นั่งเล่น เล่นกีฬา และสนามเด็กเล่น ว่านี่คือเมืองที่เอาใจใส่ให้บริการพักผ่อน หย่อนใจแก่ผู้คน ทำให้ ซิดนีย์ เป็นเมืองที่น่าอยู่มาก

เช้าวันที่ ๒๕ ผมตั้งใจออกวิ่งตอนที่สว่างกว่าเมื่อวาน เพราะวันนี้ออกไปดูงานสายกว่า คือ ๙ น. ผมตั้งใจออกไปวิ่งต่างเวลา เพื่อชมบรรยากาศที่แตกต่างกัน และเมื่อสว่างมากขึ้น ก็ถ่ายรูปได้สวยขึ้นด้วย แต่ลมฟ้าอากาศไม่เป็นใจ ฟ้ามัวและอากาศเย็นกว่าเมื่อวาน แต่ผมก็ได้วิ่งตรงจากโรงแรมไปทางด้านตะวันตก ของ Darling Harbour ตรงไปขึ้นสะพาน Pyrmont ข้ามอ่าวไปฝั่งตะวันออก แล้ววิ่งกลับ ได้ชมนก (นางนวล และกระสา) ชมไม้ และถ่ายรูปวิวระหว่างทาง

เช้าวันนี้ผมสังเกตว่าในฝูงนกกระสามีลูกนกปนอยู่ด้วย สังเกตจากตัวเล็ก ปากสั้น และบางตัวส่งเสียง ร้องแบบลูกนก รวมทั้งมีแม่ (หรือพ่อก็ไม่ทราบ) คอยดูแล นกกระสาชอบไปอยู่ที่สนาม เดาว่าน่าจะมีไส้เดือน หรือหนอนให้หากิน ดร. วัฒนา รัตนพรม แห่ง มรภ. สุราษฎร์ เอารูปถ่ายมาอวดว่า นกกระสามันรู้จักคุ้ยถังขยะ หาอาหารกิน

ไหนๆ ก็เล่าเรื่องไป ซิดนีย์ ขอถือโอกาสเล่าเรื่องไปทัวร์ Opera House เป็นครั้งที่ ๒ ในบ่ายวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เป็นทัวร์ ๑ ชั่วโมง นำโดยไกด์อายุเกือบ ๖๐ ตัวเตี้ยล่ำหนวดขาว และรวยอารมณ์ขัน ผมพบว่า ไกด์แต่ละคนมีวิธีพาเที่ยว และเล่าเรื่องราวต่างกัน ผมจำได้ว่า ไกด์ คนที่พาผมชมเมื่อ ๔ ปีก่อนเล่าเรื่อง ประวัติการก่อสร้าง และโครงสร้างอาคารละเอียดมาก แต่ไกด์คนนี้เล่าเพียงสั้นๆ แต่พาชมห้องชมละคร ห้องใหญ่จุ ๒,๗๐๐ คน ที่เขากำลังซ้อมละครร้องเรื่อง ดอน จิโอวานนี่ กันอยู่ เขาอธิบายว่า ละครสลับเรื่องทุกวัน เพื่อให้ตัวแสดงที่เป็นนักร้องได้พักคอ โดยที่มีการเปลี่ยนฉากทุกวัน

ผมได้เรียนรู้ว่า แผงกลมแบนที่ห้อยลงมาจากเพดาน ตรงเวที ก็เพื่อสะท้อนเสียง ให้นักร้องได้ยินเสียง ของตนเองในเวลาครึ่งวินาที ไม่ใช่ ๒ วินาทีหากเสียงสะท้อนมาจากเพดาน ที่สูงมาก และได้เห็นไม้บุผนัง ที่เป็นไม้ Birch ออสเตรเลียสีขาวนวลสวยงาม รวมทั้งการบุไม้เป็นหลืบสวยงาม เพื่อดูดซับและสะท้อน เสียงให้สม่ำเสมอทั่วห้อง โดยไม่มีการใช้เครื่องขยายเสียง เสียดายที่เขาห้ามถ่ายรูป ท่านที่สนใจจริงๆ ค้นดูรูปใน Google ได้

ไกด์พาไปชมห้องชั้นล่าง ที่เขากำลังเตรียมเวทีแสดงดนตรี อธิบายว่าที่นั่งตรงไหนแพงตรงไหนถูก โดยที่ทุกที่นั่งจะได้ยินเสียงไพเราะเท่ากัน การจ่ายแพงเลือกที่นั่งก็เพื่อปรนเปรอตา ไม่ใช่หู และก่อนจะออก จากห้อง ก็มีเสียงเปียโนดังขึ้น เป็นเสียงที่นุ่มไพเราะอย่างยิ่ง

ผมได้รู้ว่า โรงละครนี้มี ๖ ห้อง อยู่ชั้นบน ๓ ห้อง ชั้นล่าง ๓ ห้อง โดยที่ตอน Utzon ออกแบบ ไม่มีห้องชั้นล่าง ๓ ห้อง

ผมได้เขียนเล่าการไปทัวร์ Opera House ครั้งแรกเมื่อ ๔ ปีก่อนไว้ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒๓ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

ชมภาพประกอบกด link http://www.gotoknow.org/posts/575110

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 27 สิงหาคม 2014 เวลา 22:09 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๓๑. วิ่งออกกำลังกายที่ ซิดนีย์ (๒)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8589819

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า