Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๑. เตรียมตัว

เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๑. เตรียมตัว

พิมพ์ PDF

สถาบันคลังสมองของชาติจัดการศึกษาดูงาน เรื่องพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (University Engagement) ที่ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เริ่มด้วยการเข้าร่วมการประชุม 2014 International Engagement Australia Conference 21-23 July 2014 ที่มหาวิทยาลัย Charles Sturt เมือง Wagga Wagga, NSW, Australia ตามด้วยการดูงานที่มหาวิทยาลัย ซิดนีย์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ซิดนีย์ (UTS – University of Technology Sydney)

สถาบันคลังสมองฯ ทำงานส่งเสริมพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมอย่างเป็นระบบ ดังเอกสารข้อเสนอโครงการจัดตั้งเครือข่าย Engagement Thailandซึ่งอ่านได้ ที่นี่ และผมก็เคยไปดูงานเรื่องEngagement Australia เมื่อ ๒ ปีที่แล้ว ดังเล่าไว้ในบันทึกนี้

ในการเดินทางไปประชุมและดูงานที่ออสเตรเลียเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว ผมได้ลงบันทึกชุด เรียนรู้อุดมศึกษาออสเตรเลีย ไว้ อ่านได้ ที่นี่

สถาบันคลังสมองฯ ส่งเอกสารเกี่ยวกับ Engagement Australia มาให้อ่านก่อน มีสาระน่าอ่านมาก ที่นี่ จากเอกสารนี้ ทำให้ผมรู้จักวารสาร Australasian Journal of University Community Engagement เป็นตัวอย่างของ Scholarship of UCE หรือ Scholarship of Translation ซึ่งอาจจะ เรียกว่า “วิชาการขาลง” คือขาเอาวิชาการไปใช้ประโยชน์ ซึ่งคิดอย่างนี้ก็อาจจะผิด เพราะความสัมพันธ์ ระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคมควรเป็นความสัมพันธ์สองทาง ร่วมกันทำงานเพื่อการสร้างสรรค์ ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งฝ่าย real sector และฝ่ายมหาวิทยาลัย

จากเอกสาร PowerPoint ของ EA นี้ ผมได้เรียนรู้ว่าวารสาร AJUCE รับตีพิมพ์ผลงาน ๓ ประเภท คือ Research, Case Study, และ Essay/Reflection/Opinion น่าจะเป็นแนวทางที่วารสารวิชาการรับใช้สังคมของไทย น่าจะเข้าไปศึกษา และนำมาปรับใช้

เอกสารที่ Engagement Thailand แปลมาจากของออสเตรเลีย เพื่อทำความเข้าใจหลักการ พันธกิจสัมพันธ์ ซึ่งอ่านได้ ที่นี่ ให้ความกระจ่างเรื่องหลักการของ UE เพิ่มขึ้น และที่สำคัญ ชี้ให้เห็นว่า UE ด้านการวิจัยของไทยเรามีความก้าวหน้ามาก จากงานวิจัยท้องถิ่นที่ริเริ่มและ สนับสนุนโดย สกว. ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ ผมขอเพิ่มเติมว่า ทุนวิจัย พวอ. ของ สกว. ที่เริ่มในปีนี้ ก็เป็นการริเริ่ม UE ด้านการวิจัยอีกแบบหนึ่ง คือเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม

เช้าวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ หลังจากเดินทางด้วยเครื่องบินจากสุวรรณภูมิไปยังซิดนีย์ ๘ ชั่วโมงเศษ และรอตรวจคนเข้าเมืองอีกเกือบ ๒ ชั่วโมง คณะที่เดินทางรวม ๑๑ คน (ที่จริงคณะเดินทางทั้งหมด ๑๒ คน แต่ ผศ. นพ. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว. เดินทางไปสมทบวันรุ่งขึ้น) นำโดย ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน ประธานคณะกรรมการ เครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (Engagement Thailand) ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง เศษๆ บนรถโค้ช (ระหว่างเดินทางจากสนามบินซิดนีย์ไปยังเมือง Kiama) ทำ BAR (Before Action Review) โดยผมอาสาเป็น “คุณอำนวย” ตั้งคำถามว่า แต่ละท่านเดินทางร่วมไปกับคณะนี้ด้วยวัตถุประสงค์ (ของตนเอง) อะไร เพื่อกลับไปทำอะไร

คณะ ๑๑ คนไปจาก มทร. ศรีวิชัย ๒ ท่าน, มน. ๒, สคช. ๒, มช. ๑, มศว. ๑, มทส. ๑, มรภ. สุราษฎร์ธานี ๑, และ มหิดล ๑ ฟังจาก BAR ผมได้ตระหนักว่าคนมหาวิทยาลัยไทยมองพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ว่าเป็นงานบริการวิชาการแก่สังคมนั่นเอง แต่เป็นบริการวิชาการภาคขยาย และมีการทำให้เป็นผลงานวิชาการ

ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน ชี้ให้เห็นว่า พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม สมัยใหม่ ต้องไม่ใช่ “วิชาการขาลง” ที่คนมหาวิทยาลัยเอาความรู้หรือเทคนิคไปให้แก่สังคม เท่านั้น แต่ต้องเป็น “วิชาการแบบไหลสองทาง” คือ สถาบันอุดมศึกษาทำงานร่วมกัน real sector แบบเป็นภาคีร่วมคิดร่วมทำ เริ่มตั้งแต่การคิดโครงการ หรือกิจกรรม ต้องคิดร่วมกัน ไม่ใช่ฝ่ายสถาบันอุดมศึกษาคิดให้ ทำให้ เพียงฝ่ายเดียว และความร่วมมือนี้ ต้องนำไปสู่การสร้างสรรค์ใหม่ๆ หรือนวัตกรรม

แนวคิดแบบนี้ตรงกับที่ Professor Andrew Vann อธิการบดีของ CSU เจ้าภาพ เขียนไว้ในคำนำของConference Programme ว่า CSU มอง Engagement เป็น two-way street คือมหาวิทยาลัย แชร์ความรู้ให้แก่ ชุมชน และเรียนรู้จากชุมชนในเวลาเดียวกัน

การสร้างสรรค์ จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา กับ real sector นี่แหละที่เป็นคุณค่า ทางวิชาการ ที่ผมสนใจ ผมอยากรู้ว่า ประเทศอื่นๆ เขามีวิธีทำให้ปฏิสัมพันธ์นี้ก่อคุณค่าทางวิชาการอย่างไรบ้าง

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 27 สิงหาคม 2014 เวลา 22:23 น.  
Home > Articles > การศึกษา > เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๑. เตรียมตัว

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8589854

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า