Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๔๖. ไม่มีศาสนา หรือไม่มีพระเจ้า

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๔๖. ไม่มีศาสนา หรือไม่มีพระเจ้า

พิมพ์ PDF

นิตยสาร ไทม์ ฉบับวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ (ใส่วันที่ล่วงหน้า ๒ สัปดาห์) ลงบทความในหัวข้อหลัก The Culture  หัวข้อรอง Religion  และหัวข้อเรื่อง Nonbelief System. Atheist “churches” take hold, even the Bible Belt     น่าเสียดายที่ผมค้นบทความนี้ไม่พบ    พบแต่บทความคล้ายๆ กัน บทความนี้

อ่านแล้วเห็นความเคลื่อนไหวแสวงหาด้านจิตวิญญาณของมนุษย์ในโลกยุคใหม่ที่แตกต่างจากสังคม สมัย 2-3 พันปีก่อน อย่างมากมาย    ศาสนาที่นับถือกันมากในปัจจุบันเกิดขึ้นในช่วงนั้น    มนุษย์ต้องการ สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ แบบใหม่จริงหรือ     ศาสนาในแนวทางเดิม รูปแบบเดิม หมดสมัย หรือหมดพลัง เสียแล้วหรือ

คนยุคใหม่ที่เติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมในช่วงปลายศตวรรษที่ ๒๐ ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ที่แตกต่างจาก มนุษย์ยุคก่อนๆ จริงหรือ

บทความนี้เอ่ยถึง atheist ซึ่งหมายถึงคนที่ไม่นับถือพระเจ้า     อ่านแล้วผมบอกตัวเองว่า ผมก็ไม่เชื่อ ในพระเจ้าแบบมีตัวตนอยู่บนสวรรค์ ไม่เชื่อมาแต่เด็ก เพราะถูกปู่และพ่อสอนมาตั้งแต่เด็ก    และเมื่อโตขึ้น จนแก่อย่างนี้ ยิ่งไม่เชื่อแน่นแฟ้นขึ้น

ท่านที่อ่านบันทึกของผมมาอย่างสม่ำเสมอ อาจรู้สึกแปลกใจ     เพราะผมเอ่ยถึงเทวดาดลใจบ่อยมาก     เทวดาในบันทึกของผมหมายถึง intuition หรือปัญญาญาณที่มีอยู่ในตัวคน ในปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนอื่น และในปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อม     หากเราปฏิบัติหรือฝึกฝนจนเกิดการเรียนรู้เรื่องต่างๆ แบบที่เรียกว่า mastery learning  คือรู้ในระดับอัตโนมัติ     เทวดาดลใจ หรือปัญญาญาณ ก็จะออกมาปฏิบัติการเอง  โดยตัวเราไม่อยู่ในฐานะที่จะบังคับได้     “หนูเปล่านา...เขามาเอง”

เนื่องจากศาสนาคริสต์นับถือพระเจ้า    บทความนี้จึงโมเมเหมาว่าไม่มีพระเจ้าหมายถึงไม่มีศาสนาและโยงศาสนากับวัดหรือโบสถ์     และเสนอข่าวเรื่องราวของ “โบสถ์นอกศาสนา”     ที่ผมตีความว่า มันสนองธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการรวมกลุ่มกันเป็นสังคม  เพราะมนุษย์ต้องการเพื่อน ต้องการสันติ หรือความมั่นคงในจิตใจ

ผมเข้าใจว่า ความต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจเรียกว่า spirituality หรือจิตวิญญาณ ซึ่งเป็น คุณสมบัติที่ฝึกได้    และการศึกษาต้องจัดการฝึกฝนสิ่งนี้ให้แก่เยาวชนทุกคน    รวมทั้งคนที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว ต้องหมั่นฝึกฝนตนเอง  ถือเป็นส่วนหนึ่งของ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต”

การเรียนรู้บูรณาการ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนามิติทางจิตวิญญาณรวมอยู่ด้วย

จะเชื่อหรือไม่เชื่อในพระเจ้าไม่สำคัญ     ที่สำคัญคือ ต้องพัฒนาตนเองด้านจิตวิญญาณตั้งแต่เด็กและทำไปตลอดชีวิต

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ส.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน 2014 เวลา 09:44 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๔๖. ไม่มีศาสนา หรือไม่มีพระเจ้า

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8600859

facebook

Twitter


บทความเก่า