Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ปฏิรูปกระบวนการพัฒนาครูที่ภูเก็ต

ปฏิรูปกระบวนการพัฒนาครูที่ภูเก็ต

พิมพ์ PDF

วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ ผมเดินทางไปภูเก็ต เพื่อเยี่ยมชมกิจกรรมของโครงการพัฒนาครูด้วยระบบ หนุนนำต่อเนื่องที่เราเรียกกันย่อๆ ว่า โครงการ Teacher Coachingที่เริ่มฉายแววความสำเร็จเมื่อ ๓ เดือน ที่แล้วตอนเราไปเยี่ยมโครงการที่จันทบุรีมาคราวนี้ที่ภูเก็ต คณะกรรมการชี้ทิศทางผู้บริหารโครงการ รวมทั้งผู้จัดงบประมาณสนับสนุนคือท่านอดีตรองเลขาธิการ สพฐ.อนันต์ ระงับทุกข์ต่างก็มีความสุขกัน ทั่วหน้าเพราะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในตัวครูและในห้องเรียน

กำหนดการของวันที่ ๔ - ๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ ที่ภูเก็ต อยู่ ที่นี่ (ลิ้งค์ไปยังไฟล์ กำหนดการ)

โครงการนี้ ต้องการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงวิธีพัฒนาครู จากเดิมใช้วิธีจับมาอบรม (Training Mode)เปลี่ยนเป็น ใช้วิธีเรียนรู้จากปฏิบัติการในห้องเรียนที่ตนทำหน้าที่ “สอนแบบไม่สอน” นั่นเอง (Learning Mode)โดยมีอาจารย์มหาวิทยาลัยไปทำหน้าที่ โค้ช

ดร. สีลาภรณ์ รองผู้อำนวยการ สกว. บอกว่า ที่ครูเล่าให้คณะที่ไปเยือนฟังนั้นท่านสรุปว่าเป็นการโค้ช โดยให้ feedbackไม่ใช่ไป “สอนวิธีสอน”

ที่โรงเรียน กะทู้วิทยา และโรงเรียนเกาะสิเหร่ เราไปเห็นกิจกรรมในห้องเรียนที่ครูเปลี่ยนบทบาท จาก “ผู้สอน”ไปเป็น “ผู้ออกแบบการเรียนรู้”“ผู้ตั้งคำถาม”“โค้ช”และ “ผู้ให้ feedback” แก่นักเรียน

เราได้เห็นกิจกรรมในห้องเรียนที่เป็น Active หรือ Activity-Based Learning ที่โรงเรียนทั้งสองได้เห็น แววตาท่าทางของเด็กนักเรียนที่เรียนอย่างสนุกและได้เห็นแววตา และเรื่องเล่าที่สะท้อนความภูมิใจของตัวครูเมื่อครูมาคุยกับคณะที่ไปดูงานในตอนหลัง

ที่โรงเรียนเกาะสิเหร่ (โรงเรียนประถมขยายโอกาส) ในตอนบ่าย เราไปเห็นการพัฒนา “ทักษะในห้องเรียน” ของครูที่มีวิธี “warm up” เข้าสู่ชั้นเรียนแล้วจึงมีโจทย์ กิจกรรม ให้นักเรียนเรียนโดยการลงมือทำเป็นกลุ่มครูวิริยา สุวรรณวัฒน์ warm up สมองเด็กชั้น ม. ๓ ในวิชาการคิดวิเคราะห์ โดยให้ระดมความคิดกันว่า ความขี้เกียจมีประโยชน์อย่างไรมีโทษ อย่างไรอย่างไหนมีประโยชน์มากกว่าเสียดาย ที่ผมไม่ได้อยู่สังเกตการณ์ต่อว่าครูวิริยาให้เด็กทำอะไรต่อเพราะต้องไปดูอีกห้องหนึ่ง

ที่ห้องชั้น ม. ๒ โรงเรียนเดียวกันผมไปเห็นครูมาลัย เตบจิตรwarm up โดยให้นักเรียนแต่ละคน เขียนคำบอก ๕ คำแล้วให้นักเรียนเอาสมุดคำตอบไปแลกกันกับเพื่อต่างกลุ่ม เพื่อตรวจคำตอบโดยปรึกษา กันในกลุ่ม แล้วหาตัวแทนกลุ่มละ ๑ คนไปเขียนคำตอบที่สะกดการันต์ถูกต้องบนกระดานและปรึกษากัน ว่าถูกต้องไหมแล้วนักเรียนจึงตรวจผลงาน และหาคนที่เขียนถูกทั้งหมด ๕ คำพบว่ามี ๒ คนครูชวน นักเรียนปรบมือชื่นชมครูเฉลยว่าคำทั้ง ๕ เป็น “คำยืม”คือเป็นคำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาอื่น

แล้วครูแจกกระดาษที่ตนเตรียมข้อความที่ค้นจาก อินเทอร์เน็ตให้นักเรียนค้นหาคำภาษาอังกฤษ ในภาษาไทยจากข้อความนั้นผมจึงได้เห็นวิธีออกแบบการสอนที่ถือได้ว่าสุดยอดจึงถามครูมาลัยว่า ท่านสอนแบบนี้มากี่ปีแล้วได้คำตอบว่าสอนเป็นปีแรกเพราะเดิมสอนชั้น ป.๑

นี่คือ การออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนจากหลายกิจกรรมในหนึ่งคาบเรียนและแต่ละกิจกรรม เป็นการเรียนแบบ Activity-Based ทั้งหมดนักเรียนได้เรียนจากการฝึกคิดหรือค้นด้วยตนเองเพราะทุกคนมี พจนานุกรมภาษาอังกฤษ-ไทยอยู่ในมือและได้ปรึกษากับเพื่อนๆ ในกลุ่มและสรุปในชั้นเรียนทั้งชั้น

ห้องเรียนทั้งสอง มีนักเรียนชั้นละ ๒๓ คนเท่ากัน มาสอบถามภายหลัง พบว่าแทบไม่มีเด็กท้องถิ่น ของภูเก็ตเลยเกือบทั้งหมดมาจากที่อื่นทั่วทั้งประเทศโดยติดตามพ่อแม่มาอยู่ที่นี่บางคนเป็นพม่าก็มี

ที่โรงเรียนกะทู้วิทยา (โรงเรียนมัธยม) ในตอนเช้า ผมตื่นตาตื่นใจที่โรงเรียนมีชุด กล้อง CCTV ต่อกับกระดานอัจฉริยะและชุดบันทึกเหตุการณ์ในชั้นเรียน ราคาชุดละ ๑ ล้านบาทท่านผู้อำนวยการ โรงเรียนบอกว่า มี ๓ เครื่อง

ท่านประธานคณะกรรมการโรงเรียนกะทู้วิทยา มารายงานตัวกับผมตอนรับประทานอาหารเที่ยง ว่า เป็นคนไชยา และเป็นลูกศิษย์ “ครูหริ” ที่โรงเรียนพุทธนิคมเพราะท่านทราบว่าผมนามสกุลพานิช เป็นหลานท่านพุทธทาสครูหริ คือครูศิริ พานิช ผู้ล่วงลับ

ท่านเล่าว่า เดิมโรงเรียนกะทู้วิทยาจัดเป็นโรงเรียนที่รองรับ “เด็กเหลือเลือก”คือสอบแข่งขันเข้า โรงเรียนอื่นไม่ได้ จึงมาเรียนที่โรงเรียนนี้แต่เวลานี้ไม่ใช่มีการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนในช่วง ๖ - ๗ ปีมานี้ จนมีเด็กสอบชิงทุนไปต่างประเทศได้ทุกปีการได้คุยสบายๆ กับคนนอกที่ไม่ใช่ครูหรือผู้อำนวยการโรงเรียน ทำให้ผมได้ความรู้เกี่ยวกับสภาพของโรงเรียนของการศึกษาและสภาพสังคมในพื้นที่

ที่โรงเรียนกะทู้วิทยา เราได้ชมห้องเรียน ๓ ห้องคือห้องวิทยาศาสตร์ห้องคอมพิวเตอร์ (แท็ปเล็ต)และห้องภาษาอังกฤษทุกห้องไฮเทคหมดสภาพห้องเรียน การแต่งกายของเด็กและเครื่องไฮเทค ของโรงเรียนนี้ ดีกว่าของโรงเรียนเกาะสิเหร่อย่างเทียบกันไม่ติด แต่ผมกลับติดใจวิธีสอนของครูที่โรงเรียน เกาะสิเหร่มากกว่า ว่าใช้ความสามารถของครูมากกว่าส่วนที่กะทู้วิทยา เน้นใช้เทคโนโลยีช่วยแบบที่ หลายส่วนผมคิดว่าไม่จำเป็นและการเน้นเทคโนโลยีราคาแพงเช่นนี้ ผมสงสัยว่าเป็นผลของการหาช่องทาง คอร์รัปชั่นในวงการเมืองและการศึกษาที่ควรกวาดล้างออกไป ผมไม่คิดว่า เราควรพัฒนาการศึกษาไทยแบบ บ้าเทคโนโลยีถึงขนาดนี้

อย่างไรก็ตามครูของทั้งสองโรงเรียนเล่าให้เราฟังตรงกันว่าครูเปลี่ยนความคิด เกี่ยวกับการทำหน้าที่ ครู

ตอนเย็นที่โรงเรียนเกาะสิเหร่ ผมทำหน้าที่เป็น Fa ของการประชุม ยุให้ครูลุกขึ้นมาพูดเล่าว่าตน เปลี่ยนแปลงวิธีทำหน้าที่ครูของตนเองอย่างไรที่ประทับใจที่สุดคือครูวิภาวดี โรงเรียนบ้านบางเทาลุกขึ้นมาร้องขอให้คืนครูสู่ห้องเรียนโดยเล่าว่า ตนเป็นครูมาแล้ว ๘ ปี เวลานี้เป็นหัวหน้าวิชาการของโรงเรียนในเวลา ๘ ชั่วโมงที่ทำงานที่โรงเรียนมีโอกาสเข้าสอนในชั้นเรียนเพียง ๓ ชั่วโมงอีก ๕ ชั่วโมงต้องทำงานธุรการ สารพัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรายงานโครงการต่างๆ ที่สั่งเข้ามาจากหลากหลายทาง

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าต้องมีการปฏิรูประบบการบริหารการศึกษาของประเทศเอาโครงสร้างที่ รกรุงรังและไร้ประโยชน์ต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนและครูออกไป

เช้าวันที่ ๕ สิงหาคมที่ห้องอาหารของ โบ๊ท ลากูน รีสอร์ทผมฟังอาจารย์ทีมงานของ มรภ. ลำปาง เล่าประสบการณ์เข้าไปทำงานโครงการนี้ที่โรงเรียนอย่างสนุกสนานและได้ความรู้เรื่องสภาพของโรงเรียน

ท่านเล่าว่าเมื่อเข้าไปชักชวนที่โรงเรียนแห่งหนึ่งเป็นครั้งแรกครูต่างก็แสดงท่าทีปั้นปึ่งไม่ต้อนรับพูดเสียงสะบัดๆ ว่า “มาทำไมที่นี่งานมากจะตายอยู่แล้ว”คือครูกลัวอาจารย์ราชภัฏเอางานมาเพิ่มให้ทางทีมงานของ มรภ. แจ้งให้ทราบว่าม๊โครงการที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนและเห็นว่าน่าจะให้โอกาส โรงเรียนนี้แต่ถ้าไม่อยากเข้าร่วมก็ไม่เป็นไรจะได้ให้โอกาสโรงเรียนอื่นจะโทรศัพท์มาถามการตัดสินใจ ใน ๒ วันข้างหน้าซึ่งทางโรงเรียนตอบรับหลังจากนั้นอีกเพียง ๒ เดือน เมื่อถามความพอใจที่ได้เข้าโครงการครูต่างก็ยิ้มแย้ม แสดงความพอใจกันถ้วนหน้าและเมื่อมีการสอบ NT ก็ได้ผลที่สูงกว่าเดิมมากมาย

ผมได้เรียนรู้ว่ามีการย้ายผู้อำนวยการโรงเรียนบ่อยมากและผู้อำนวยการท่านใหม่มักจะไม่สนใจ ไม่สนับสนุนโครงการที่ผู้อำนวยการท่านเก่าทำไว้ถือว่าไม่ใช่โครงการของตนผมนึกในใจว่าโรคติดต่อ ของนักการเมืองต่างพรรค ระบาดเข้าไปในโรงเรียนด้วยโรคนี้เราเรียกว่า โรค NIH (Not Initiated Here) Syndrome

ผมได้เรียนรู้วัฒนธรรมแบบฟอร์มในวงการศึกษาเมื่อถามบทบาทของ ศน. (ศึกษานิเทศก์) ซึ่งมีอยู่เขตการศึกษาละเป็นสิบคนคำพูดที่ ศน. มักจะพูดอย่างมีไมตรีก็คือจะให้ช่วยเก็บข้อมูลอะไร ก็ขอให้บอก ยินดีทำให้ขอให้ส่งแบบฟอร์มมาก็แล้วกัน

เรื่อง ศน. นี้ผมคิดว่า หากยังคิดในกระบวนทัศน์ผู้ให้คำแนะนำแบบ “ผู้รู้” มากกว่า แบบ “ผู้ไม่รู้”ศน. ท่านนั้นก็ถือว่าตกยุค หมดหนทางก้าวหน้าเพราะในยุคนี้ ต้องมีท่าทีของ “ผู้ร่วมเรียนรู้” มากกว่าและนี่คือท่าทีของทีม TC ที่เราแนะนำ

วิจารณ์ พานิช

๕ ส.ค. ๕๗

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน 2014 เวลา 09:51 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ปฏิรูปกระบวนการพัฒนาครูที่ภูเก็ต

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8591327

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า