Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย

การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย

พิมพ์ PDF

วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๗ ผมได้เข้าร่วมงานประชุมประจำปี ๒๕๕๗ ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในหัวข้อเรื่อง " การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย" ผมตื่นเต้นและดีใจที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  (สศช) ได้ยกเรื่อง "การพัฒนาคน" มาเป็นหัวข้อการประชุมในปีนี้

ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมประจำปี ของ สศช อย่างต่อเนื่องมาตลอดเป็นเวลาหลายปี จำได้ว่า ตั้งแต่แผน ๘ มีการกล่าวว่า "คนเป็นศูนย์กลาง" แต่ในแผนได้กล่าวถึงคนในด้านสังคมเพียงด้านเดียว ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนในด้านเศรษฐกิจ ผมได้พยายามผลักดันและแสดงความเห็นว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องมีแผนพัฒนาคนควบคู่กันไป แต่ทุกอย่างก็เงียบ เมื่อการประชุมในปีนี้มีการยกเรื่องของคนมาเป็นหัวข้อในการประชุมประจำปี ทำให้ผมดีใจมาก แต่แปลกปีนี้ผมไม่ได้รับเชิญและไม่ทราบเรื่องการประชุม บังเอิญทราบเรื่องจาก รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล จึงรีบติดต่อไปที่ สศช และแจ้งความประสงค์ว่าสนใจเข้าร่วมการประชุม เจ้าหน้าที่แนะนำให้เข้าไปลงทะเบียนได้ในเวปไซด์ จึงมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้

งานประชุมประจำปีของ สศช จัดยิ่งใหญ่ มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 2,500 คน ปีก่อนๆ ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนมากจะเป็นพวกนักธุรกิจ จากหอการค้าและสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมธนาคาร แต่พอปีนี้เป็นหัวข้อ "การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย" จึงไม่ค่อยได้พบคนในภาคส่วนธุรกิจ ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนมากจะเป็นข้าราชการ วุฒิอาสาธนาคารสมอง และส่วนอื่นๆที่ผมไม่แน่ใจว่ามาจากภาคไหนบ้าง

กำหนดการประชุมประจำปี ๒๕๕๗ ของ สศช

๙.๐๐ น เปิดการประชุม ด้วยการนำเสนอวีดีทัศน์เรื่อง การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย ขอชื่นชมผู้จัดทำวีดีทัศน์ชุดนี้ ทำได้ดีมาก

๙.๑๐ น กล่าวรายงาน โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ  เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

๙.๑๕ น กล่าวเปิดการประชุมและแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย โดยนายกรัฐมนตรี (กำหนดการให้เวลาท่านแค่ ๔๕ นาที แต่ท่านใช้เวลาไปร่วม ๙๐ นาที) การปาฐกถาของท่านเป็นเรื่องที่ท่านระบายความในใจแบบที่ท่านพูดทั่วๆไป อย่างไรก็ตามมีการเน้นเรื่องตามหัวข้อเรื่องการพัฒนาคนมากหน่อย

๑๐.๐๐ น พักรับประทานชา-กาแฟ และอาหารว่าง

๑๐.๑๕ น การอภิปรายเรื่อง การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย  ดำเนินการอภิปราย โดย นายพารณ อิศรเสนา ณ.อยุธยา ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้นำเสนอ   ผู้อภิปราย ประกอบด้วย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) นายศุภชัย เจียรวนนท์

(เวลาการอภิปรายล่าช้ากว่ากำหนด เนื่องจาก ท่านนายกรัฐมนตรี ใช้เวลาในการปาฐกถาเกินเวลาประมาณ ๔๕ นาที หลังจากท่านจบการปาฐกถา ผู้จัดได้เชิญท่านนายกรัฐมนตรีชมนิทรรศการ บริเวณหน้าห้องประชุม ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกับการรับประทาน ชา-กาแฟ และเครื่องดื่ม ทำให้ผู้จัดขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมนั่งรอในห้องประชุมและชม วีดีโอ ไปก่อน จนคณะของท่านนายกรัฐมนตรีเดินทางกลับ จึงให้ผู้เข้าร่วมประชุมออกไปรับประทาน ชา-กา แฟ และของว่าง เนื่องจากคนเป็นจำนวนมาก ทำให้ใช้เวลาในการต่อคิวเข้ารับ ชา-กาแฟ และของว่าง ใช้เวลานาน ทำให้การอภิปรายล่าช้าไปร่วม ๖๐ นาที)

การอภิปราย ของทั้งสามท่านผมเห็นว่าท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ทำการบ้านมาอย่างดี ท่านเตรียม slide นำเสนอได้ชัดเจนและตรงประเด็น ที่สุด ส่วนท่านอื่นๆ ผมเฉยๆ เข้าใจว่าท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช จะนำเรื่องที่ท่านไปอภิปรายลงในบทความของท่านในเร็วๆนี้

ก่อนปิดการอภิปราย ท่านผู้ดำเนินรายการให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถาม หรือแสดงความคิดเห็น มีผู้แสดงความคิดเห็นและสอบถามจากผู้อภิปรายเพิ่มเติม แต่ผมเห็นว่ายังไม่มีคำถามเด็ดๆที่น่าสนใจมากนัก ปิดการอภิปรายและรับประทานอาหารกลางวันเวลา ๑๓.๑๕ น และช่วงบ่ายให้เข้าประชุมกลุ่มย่อยในเวลา ๑๔.๐๐ น

ผู้จัดแบ่งการประชุมกลุ่มย่อยออกเป็น ๖ กลุ่มได้แก่

๑.การพัฒนาคนทุกช่วงวัยสู่สังคมไทยที่มีคุณภาพ

๒.กำลังคน ...หัวใจของความสามารถในการแข่งขันของไทย

๓.การพัฒนาคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

๔.การพัฒนาสภาพแวดล้อมเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย

๕.ความเหลื่อมล้ำของประเทศ ที่มาและทางออก

๖.การวัดความสุขของคนไทย

ผมเลือกเข้ากลุ่ม ๑. "การพัฒนาคนทุกช่วงวัยสู่สังคมไทยที่มีคุณภาพ "  เพราะเห็นว่าหัวข้อนี้ตรงกับการพัฒนาคนในภาพใหญ่มากที่สุด และมีความคาดหวังเป็นอย่างมาก ตามเอกสาร ได้แสดงไว้ดังนี้

"การพัฒนาคนทุกช่วงวัยสู่สังคมไทยที่มีคุณภาพ"

โดยวิเคราะห์สถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ซึ่งสงผลกระทบต่อคนและสังคมไทย วิเคราะห์สถานการณืด้านคนและสังคมในมิติสุขภาพ การศึกษา และการเรียนรู้ ทักษะการทำงาน การประกอบอาชีพ สวัสดิการ และการคุ้มครองทางสังคม รวมทั้งข้อจำกัดในการพัฒนาคน ตลอดจนวิเคราะห์ประเด็นสำคัญของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่วงวัยเพื่อนำไปสู่การกำหนดคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ เป้าหมายการพัฒนาคน ข้อเสนอประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนทุกช่วงวัย และปัจจัยที่จะเสริมหนุนการพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีคุณภาพ มีศักยภาพเป็นพลังที่เข้มแข็งในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า มั่นคง และมีความสุขอย่างยั่งยืน รวมถึงกรณีตัวอย่างพัฒนาคนที่เป็นรูปธรรม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอดขยายผลการดำเนินงานต่อไป

ประธานการประชุมกลุ่มที่ ๑ รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้นำเสนอ นางชุตินาฎ  วงศ์สุบรรณ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อภิปรายประกอบด้วย พญ.อัมพร เบญจพิทักษ์ พูดเรื่องเกี่ยวกับเด็นก่อนคลอด  นายเสมา พูลเวช  ผู้ช่วยผู้จัดการพัฒนาทรัพยากรบุคคล บริษัท เอสซีจี เคมิคอลล์ จำกัด พูดเรื่องประสบการณ์ในการเรียนรู้จากงานที่ทำ นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี พูดเรื่องคนชราที่ไม่มีผู้ดูแลและได้รับการักษาดูแลจากโรงพยาบาลลำสนธิ นายขยัน วีพรหมชัย นายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์ อ.เมือง จ.ลำพูน พูดเรื่องการพัฒนาตำบลอุโมงค์

เนื่องจากการประชุมเริ่มเวลา ๑๔.๐๐ น เริ่มช้ากว่ากำหนด ๑ ชั่วโมง ทำให้เวลาในการประชุมหายไป ๑ ชั่วโมง จากกำหนดเดิม ๓ ชั่วโมงเหลือเพียง ๒ ชั่วโมง ท่านประธาน ผู้นำเสนอ และวิทยากรอภิปราย 3 ท่านรวมเป็น ๕ ท่านใช้เวลาในการอภิปราย เกือบ ๒ ชั่วโมง ทำให้หมดเวลาการประชุม ท่านประธานได้เปิดให้ผู้เข้าร่วมประชุม แสดงความคิดเห็นและซักถาม โดยให้แสดงความคิดเห็นได้คนละไม่เกิน ๒ นาที มีผู้แสดงความจำนงมาก แต่ผู้จัดไม่สามารถให้ทุกท่านที่แจ้งความจำนงได้พูดทุกคน อย่างไรก็ตามผมโชคดีที่ท่านประธานให้ผมได้พูด

ผมกล่าวว่า " ผมรู้สึกผิดหวังกับเวทีประชุมนี้มาก เนื่องจากการอภิปรายไม่ตรงประเด็น ตามที่กำหนดไว้ สิ่งที่วิทยากรส่วนมากพูดเป็นเรื่องของกรณีตัวอย่างของแต่ละท่าน ไม่ได้เข้าประเด็นสำคัญของโจทย์ นอกเหนือจากนั้น ไม่ให้เวลากับผู้เข้าร่วมประชุมที่มีเป็นจำนวนมากได้แสดงความคิดเห็น หรือซักถาม ทุกปีก็เป็นเช่นนี้และก็มีผู้กล่าวถึงทุกครั้ง แต่ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เข้าใจว่าการประชุมในหัวข้อและเป้าหมายที่ระบุไว้ ไม่สามารถทำให้สมบูรณ์ได้ในเวลา ๒ ชั่วโมง เฉพาะวิทยากรพูดก็พูดกันไม่เต็มที่ ดังนั้นจึงขอเสนอให้นำไปพิจารณารูปแบบและเวลาในการประชุมให้เกิดประสิทธิภาพคุ้มกับเวลาของผู้เข้าร่วมประชุม และค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นงบประมาณของแผ่นดิน ไม่จำเป็นต้องทำรูปแบบเก่าๆที่จัดการประชุมวันเดียว เชิญคนเป็นพันๆคนจากทั่วประเทศมานั่งฟังวิทยากรพูด และพอช่วงบ่ายก็มีการแยกกลุ่ม ลงลึกในแต่ละหัวข้อซึ่งสำคัญทั้งนั้นแต่เวลาไม่เคยพอ ท่านประธานได้แจ้งว่าถ้าเช่นนั้นต้องใช้เวลาในการประชุมมากขึ้น เช่นเพิ่มเป็น 2-3 วัน ต้องดูว่ามีงบประมารพอไหม อย่างไรก็ตามจะรับไว้พิจารณา

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๒๗ กันยายน ๒๕๕๗

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2014 เวลา 13:13 น.  
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3047
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8594487

facebook

Twitter


บทความเก่า