Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชูเชียงใหม่ต้นแบบการปฏิรูปศธ.-สปช.-สนช.ชื่นชมจัดการศึกษาเชิงพื้นที่-สำนักรักบ้านเกิด

ชูเชียงใหม่ต้นแบบการปฏิรูปศธ.-สปช.-สนช.ชื่นชมจัดการศึกษาเชิงพื้นที่-สำนักรักบ้านเกิด

พิมพ์ PDF

"ศธ.-สปช.-สนช." ประสานเสียงเหนียวแน่นเดินหน้ากระจายอำนาจ เชื่อปฏิรูปการศึกษามีความหวัง ยก "เชียงใหม่" ต้นแบบจัดการศึกษาเชิงพื้นที่บนฐานสำนึกรักท้องถิ่น
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานในที่ประชุมเวทีภาคีเชียงใหม่เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจัดโดยภาคีเชียงใหม่เพื่อการปฏิรูปการศึกษา, องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ว่า การศึกษาปัจจุบันเป็นระบบไซโล เน้นแยกส่วนตามช่วงชั้นการศึกษา ส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ, เส้นทางการศึกษาแออัด, มุ่งสู่การติว, การศึกษากลายเป็นการค้า, สร้างคนที่พิการ ไม่ทราบข้อเท็จจริงเน้นแต่ตำรา, ความอ่อนแอทางวิชาการของมหาวิทยาลัย, เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจ
"ฉะนั้นต้องแก้ไขโดยมุ่งปฏิรูปการศึกษา 5 ด้าน ได้แก่ 1.ปฏิรูปแนวคิดการศึกษา 2.ปฏิรูประบบการศึกษาจากแท่งไซโลไปสู่ระบบที่มีความหลากหลาย 3.ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่ใช่การท่องตำรา 4.สร้างให้ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ และ 5.ปฏิรูประบบบริหารจัดการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องปรับบทบาทเป็นผู้สนับสนุนเชิงนโยบายและวิชาการ โดยการกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการศึกษาด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการศึกษาตอบโจทย์ท้องถิ่น" ศ.นพ.ประเวศ กล่าว
ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ กรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า ปัญหาการศึกษาพบเด็กหลุดออกนอกการศึกษากลายเป็นแรงงานไร้ฝีมือขาดทักษะชีวิต เช่น เชียงใหม่พบเฉลี่ย 60-70% ส่วนกลุ่มเด็กเก่งเรียนในเมือง หรือเรียนต่อในกรุงเทพฯ เมื่อเรียนจบก็ทำงานไม่กลับถิ่นฐาน ซึ่งขัดกับเป้าหมายของการศึกษา ที่ต้องการให้เด็กหาเลี้ยงชีพและใช้ชีวิตอย่างมั่นคงในบ้านเกิดตนเองได้ ฉะนั้นโจทย์การศึกษาของคนไทยทั้งประเทศต้องเปลี่ยนใหม่ ต้องสร้างกลไกระดับชาติขับเคลื่อนต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับกระบวนการปฏิรูปเพื่อความต่อเนื่อง โดยเสนอผ่าน สปช. เพื่อหนุนให้ชุมชนท้องถิ่นลุกขึ้นมาจัดการศึกษาของตนเอง ไม่ให้การเมืองที่ไม่ดีเข้ามาแทรกแซงได้ เช่น จ.เชียงใหม่ ที่ดึงทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยกันคิดกันทำ เพื่อพลิกโฉมหน้าการศึกษาของเชียงใหม่ที่ไม่ใช่แค่การยกคะแนนโอเน็ต 5 วิชาเท่านั้น แต่เพื่อปฏิรูปการศึกษาให้เด็กเชียงใหม่ฉลาดเท่าทันชีวิต รักท้องถิ่นมองเห็นวิสัยทัศน์และพร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เชียงใหม่เดินไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ในอีก 20 ปี
"ศธ.ต้องเปลี่ยนบทบาทเป็นหน่วยคอยสนับสนุนให้พื้นที่จัดการศึกษาแทนเป็นผู้ติดตามดูแลคุ้มครองประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับส่วนรวม สำหรับการปฏิรูปการศึกษาในยุค คสช. ผมเชื่อว่า จะทำได้สำเร็จ เพราะเป็นการทำงานร่วมกันทั้ง 3 ประสาน ระหว่าง ศธ., สปช. และสนช." ดร.อมรวิชช์ กล่าว--จบ--

--คมชัดลึก ฉบับวันที่ 10 ธ.ค. 2557 (กรอบบ่าย)--


แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม 2014 เวลา 21:51 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชูเชียงใหม่ต้นแบบการปฏิรูปศธ.-สปช.-สนช.ชื่นชมจัดการศึกษาเชิงพื้นที่-สำนักรักบ้านเกิด

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3047
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8594501

facebook

Twitter


บทความเก่า