Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > บทความของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท > การศึกษาอาจจบลงในมหาวิทยาลัยแต่การเรียนรู้จะต้องดำเนินต่อไปตลอดชีวิต

การศึกษาอาจจบลงในมหาวิทยาลัยแต่การเรียนรู้จะต้องดำเนินต่อไปตลอดชีวิต

พิมพ์ PDF

วันนี้ขอนำ คาถาชีวิต โดยท่าน ว.วชิรเมธี หัวข้อ "การศึกษาอาจจบลงในมหาวิทยาลัย แต่การเรียนรู้จะต้องดำเนินต่อไปตลอดชีวิต" มาเป็นประเด็น

 

เวลาที่นักศึกษาเรียนจบ เรามักเรียกว่า "สำเร็จการศึกษา" หมายความว่า สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่ทางสถาบันการศึกษาวางเอาไว้เท่านั้น คนที่สำเร็จการศึกษาอย่างที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ผู้ที่รอบรู้ไปเสียทุกเรื่อง เขารู้เพียงบางเรื่องเท่านั้นเอง ยังมีเรื่องที่น่ารู้อีกมากมายที่พวกเขาควรรู้หรือที่ยังไม่รู้ ดังนั้น คนที่สำเร็จการศึกษาจึงไม่ควรลำพองใจว่า ตนเป็นผู้รู้แล้ว หรือตนเป็นกูรูชั้นยอดของวงการแล้ว โลกของเรานั้นกว้างใหญ่ไพศาลนัก ภูมิรู้ภูมิปัญญาของโลกก็มีมากมายหลายสาขานับอเนกอนันต์ ทั้งยังมีภูมิปัญญาใหม่ๆ ผุดพรายเพิ่มขึ้นมาทุกทิวาราตรี ใครขืนลำพองว่าตนรู้แจ้งเจนจบ ก็นับว่ากำลังล้าหลังลงทุกทีที่คิดเช่นนั้น วิธีการที่ดีที่สุดที่จะอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุขและความก้าวหน้าก็คือ การเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า เรายังรู้ไม่พอ เรายังไม่เก่งจริง เรายังไม่ใช่นักปราชญ์ราชบัณฑิตสูงสุด เราเป็นแต่เพียงนักเรียนตัวน้อยๆของมหาวิทยาลัยชีวิตเท่านั้น คนที่มีทัศนคติอย่างนี้ เขาจะเบิกบานกับการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต และยิ่งเรียนรู้ ก็จะยิ่งมีปัญญาสว่างไสวกลายเป็นปัญญาชนที่แท้จริงขึ้นมาในวันหนึ่งข้างหน้า

ที่ยกหัวข้อนี้มาเผยแพร่ในวันนี้ เนื่องจากต้องการนำบทความนี้มาสนับสนุนสิ่งที่ผมพูดอยู่เสมอว่าอย่าคิดว่าเด็กไทยหรือคนไทยสมัยนี้ไม่มีคุณภาพ จบปริญญาออกมามากมาย แต่ไม่มีคุณภาพ และมัวไปโทษผู้บริหารการศึกษา เสียเวลาพูดและถกกันมากมายหลายเวทีจะแก้ไขระบบการศึกษา ความรู้ในห้องเรียนมีเพียง 20 % ของความรู้ทั้งหมดที่คนเราเรียนรู้ แต่เราไปมัวหมกมุ่นกับความพยายามจัดการกับการศึกษาในระบบที่ให้ความรู้คนได้มากที่สุด 20 % และใช้วิธีประเมินคุณค่าหรือคุณภาพของคนจากความรู้แค่ 20% ส่วนความรู้อีก 80% ของคนไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินคุณภาพและคุณค่าของคน

ผมยังมีความเชื่อว่าคนทุกคนมีศักยภาพ และมีความสามารถ เพียงแต่เขาขาดโอกาสในการที่จะทำให้เขาค้นพบศักยภาพของตัวเขาเอง หรือบางคนสามารถค้นพบตัวเอง รู้ศักยภาพของตัวเอง แต่ขาดโอกาสที่จะใช้ศักยภาพของเขา ความล้มเหลวจึงอยู่ที่ระบบการประเมิน เครื่องมือและวิธีวัดคุณภาพคน และคุณค่าของคน ไม่ใช่ว่าคนไทยด้อยกว่าคนชาติอื่น

นี่คือสิ่งที่มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์กำลังดำเนินการอยู่ เราจัดตั้งมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ขึ้นมาเพื่อให้เป็นมูลนิธิฯของคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม สามารถเป็นเจ้าของมูลนิธิฯ มูลนิธิฯเป็นเวทีของคนไทย เพื่อใช้เวทีนี้ในการเรียนรู้ มาเรียนรู้ร่วมกัน มาร่วมกันเป็นผู้ให้และเป็นผู้รับ มาร่วมทำกิจกรรมเพื่อต่อยอดสร้างความรู้ ปัญญา ความมั่นคง อย่างยั่งยืนให้กับตัวเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
3 กุมภาพันธ์ 2558

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 03 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 10:39 น.  
Home > Articles > บทความของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท > การศึกษาอาจจบลงในมหาวิทยาลัยแต่การเรียนรู้จะต้องดำเนินต่อไปตลอดชีวิต

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8599571

facebook

Twitter


บทความเก่า