Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร

ตำนานหลักเมือง

พิมพ์ PDF

ตำนานหลักเมือง
กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์
อาถรรย์งู 4 ตัวเป็นเหตุ
ทำให้ มีหลักเมือง คู่กัน
เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

“พระโหรา กล่าวโศลกบูชาฤกษ์และพระมหาราชครูอ่านกระแสพระราชโองการตั้งพระมหานคร ขุนโหรเริ่มประกอบพิธีกล่าวอุทิศเทพสังหรณ์ อัญเชิญก้อนดินซึ่งพลีมาแต่ทิศทั้ง 4 แห่งพระนคร กระทำให้เป็นก้อนกลมดุจลูกนิมิตลงสู่ก้นหลุมเป็นลำดับกันไปเริ่มแต่ทิศบูรพา ทักษิณ ปัจฉิมและอุดร จากนั้นนำแผ่นศิลาเลขยันต์สำหรับรับรองหลักวางลงบนก้อนดินทั้ง 4 ก้อนนั้น ส่วนภายในก้นหลุมนั้นเล่าก็ได้ตกแต่งไว้เรียบร้อย กรุด้วยผ้าขาวสะอาดบริสุทธิ์ ดาษไปด้วยใบไม้อันเป็นมงคล 9 ประการ โปรยปรายแก้วนพรัตน์ไว้เรียงรายโดยรอบขอบปริมณฑลภายในก้นหลุมนั้น”

ขณะที่ได้พระฤกษ์ พระโหราย่ำฆ้องบอกกำหนดพระฤกษ์ ชีพราหมณ์เป่ามหาสังข์แกว่งบัณเฑาะว์ เจ้าพนักงานประโคมดุริยางค์แตรสังข์และพิณพาทย์ เจ้าหน้าที่ประจำยิงปืนใหญ่เป็นมหาพิชัยฤกษ์ เริ่มพระราชพิธีอัญเชิญเสาหลักเมืองลงสู่หลุม โดยวางไว้บนแผ่นศิลายันต์
ทันทีนั่นเอง ก็เกิดปรากฏการณ์เป็นมหัศจรรย์ขึ้น โดยปรากฏว่ามีงูตัวเล็กๆ 4 ตัว ปาฏิหาริย์ลงไปอยู่ในหลุมนั้น และก็บังเอิญบันดาลให้ทุกคนที่ไปร่วมชุมนุมประกอบพิธีอยู่ ณ ที่นั่น ได้เห็นงูในขณะที่เคลื่อนเสาหลักเมืองนั้นลงไปในหลุมเสียแล้ว ซึ่งเมื่อก่อนที่จะยกเสาลงสู่หลุมนั้น หาปรากฏว่ามีงู 4 ตัวดังกล่าวนั้นไม่ และก็หมดโอกาสที่จะแก้ไขประการใดๆ ได้ทั้งสิ้น เพราะเมื่อตอนที่เห็นงูนั้น เป็นขณะที่เสาได้เคลื่อนลงหลุมแล้ว จึงจำเป็นจะต้องปล่อยให้เลยตามเลยไป โดยปล่อยให้เสาลงไปในหลุมและกลบดินให้แน่น ทำให้งูทั้ 4 ตัวนั้น ต้องตายอยู่ภายในก้มหลุมนั่นเอง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ฝังเสาหลักเมืองนี้ ได้ยังพระวิตกให้แก่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นอันมาก ทรงเรียกประชุมเหล่าเสวกามาตย์ราชบัณฑิตปุโรหิตาจารย์ พระราชาคณะและบรรดาผู้รู้ทั้งปวงมาร่วมประชุมวิจารณ์ถึงเหตุการณ์ที่บังเกิดขึ้นครั้งนี้ว่า จะเป็นมงคลนิมิตหรืออวมงคลนิมิต บรรดาผู้รู้ทั้งปวงต่างก็ให้ความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จัดว่าอยู่ในจำพวกอวมงคลนิมิต แต่ก็ไม่สามารถจะชี้ลงไปได้ว่า ผลจะปรากฏออกมาในทำนองใด นอกจากจะลงความเห็นว่างูเล็กทั้ง 4 นั่นแหละ จะเป็นมูลเหตุนำความอวมงคลให้แก่บ้านเมือง
แต่ก็เกิดเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นการบอกกล่าวของเทพยดาฟ้าดินขึ้นมาในระยะนั้น โดยเกิดฟ้าผ่าไฟไหม้พระที่นั่งอมรินทร์มหาปราสาท ทำให้ทรงพระราชวินิจฉัยออกมาว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์เมือง โดยที่เทพยดาบันดาลให้เกิดฟ้าผ่าจนไฟไหม้พระมหาปราสาท ตามธรรมดาต้องเสียเมืองก่อนจึงจะเสียพระมหาปราสาท คราวนี้ได้เสียพระมหาประสาทไปแล้วเท่ากับเสียเมืองไป เพราะเหตุที่ชะตากรุงเทพมหานครในระยะเริ่มตั้งแต่ฝังเสาหลักเมืองมานั้น ชะตาเมืองอยู่ในเกณฑ์ร้ายถึง 7 ปี 7 เดือน เป็นอันเสร็จสิ้นพระเคราะห์เมืองไป และจะถาวรลำดับกษัตริย์ไป 150 ปี (เทพย์ สาริกบุตร “โหราศาสตร์ในวรรณคดี”)
การวางชะตาเมืองนี้เป็นเรื่องสำคัญ โหรหลวงจะต้องผูกชะตาเมืองถวาย พร้อมกับทำนายเหตุการณ์บ้านเมืองล่วงหน้ได้ เมื่อครั้งนั้น โหรหลวงได้ทูลเกล้าฯ ถวายดวงเมือง 2 แบบ คือ แบบแรก บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรือง ไม่มีเหตุวุ่นวาย แต่ทว่าจะต้องมีอยู่ระยะหนึ่ง ที่ประเทศไทยต้องตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ

แบบหลัง ประเทศไทยจะมีแต่เรื่องยุ่งวุ่นวายไม่มีที่สิ้นสุด แต่ทว่าจะสามารถรักษาเอกราชได้ตลอดไป ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเลือกดวงเมืองตามแบบหลัง เพราะพระองค์คงจะทรงเห็นว่าการที่จะต้องตกไปเป็นเมืองขึ้นของชาติอื่นนั้น แม้บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรืองแค่ไหนก็ไม่ความหมายอันใด เมื่อสิ้นความเป็นไทย

ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ซึ่งทรงเชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์มาก อีกทั้งทรงตรวจดวงพระชะตาของพระองค์ว่าเป็นอริแก่ลัคนาดวงเมืองกรุงเทพฯ ท่านจึงทรงทำพิธีแก้เคล็ดอาถรรพณ์อย่างแบบยนปัญญา โดยทรงพระราชดำริว่าหลักเมืองเดิมชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่ได้ซ่อมแซมมาหลายรัชกาล จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นใหม่ โดยโปรดทรงแก้ไขดวงเมือง ประกอบพิธีจาริกดวงพระชันษาพระมหานครลงบนแผ่นทองคำหนัก 1 บาท ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

โปรดให้ถอนเสาหลักเมืองเดิมออก และประดิษฐานฝังเสาหลักเมืองใหม่ขึ้นอีกเสาหนึ่งคู่กัน กับเสาเดิม แกนในเป็นเสาไม้สัก มีไม้ชัยพฤกษ์ประดับนอก หัวเสาเป็นรูปยอดเม็ดทรงมัณฑ์ พร้อมบรรจุชะตาพระนคร ให้มีสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล มีอุดมมงคลฤกษ์ ในวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2395 เวลา 04:48 น. แล้วให้ช่างสร้างแปลงรูปศาลหลักเมืองเสียใหม่ ให้ยอดเป็นรูปปรางค์ตามอย่างศาลาที่กรุงศรีอยุธยา จากนั้นทรงบรรจุดวงพระชันษาพระมหานครใหม่ไว้ที่เสาหลักเมือง และมีการสมโภชฉลองด้วย

ด้วยเหตุนี้ เสาหลักเมืองที่ประดิษฐาน ณ ศาลพระหลักเมืองกรุงเทพฯ จึงมี 2 ต้น คือเสาเดิมครั้งรัชกาลที่ 1 คือต้นสูง ที่ได้ทำพิธีถอนเสาแล้ว แต่หาที่เก็บที่เหมาะสมไม่ได้จึงคงไว้ ส่วนเสาพระหลักเมืองครั้งรัชกาลที่ 4 คือ ต้นที่มีส่วนสูงทอนลงมา และด้วยความชาญฉลาดของพระองค์ ยังทรงมีพระราชดำริ จะสร้างสะพานเชื่อมเมืองหลวงใหม่ กรุงเทพ กับเมืองหลวงเก่าฝั่งธนให้ติดต่อถึงกัน แก้เคล็ดอีกทางด้วย แต่ในยุคนั้นยังไม่มีเทคโนโลยี สามารถสร้างสะพานข้ามแม่น้ำที่กว้างขนาดนั้นได้
จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งกำหนดจะมีงานเฉลิมฉลอง กรุงเทพมหานคร 150 ปี ใน พ.ศ. 2475 ทรงคำนึงถึงพระราชดำริในรัชกาลที่ 4 ที่จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อม 2 ฝั่ง อีกทั้งยังทรงเห็นว่า กรุงเทพมหานครได้เจริญก้าวหน้าขึ้นมาก และขยายไปทางด้านตะวันออก มากกว่าด้านอื่น แต่ทางด้านฝั่งธนบุรีมีพื้นที่ติดกัน เป็นเรือกสวนและมีผู้คนอาศัยอยู่มาก การไปมากับฝั่งพระนคร ยังยากลำบากต้องใช้แต่ทางเรือ ถ้าสร้างสะพานเชื่อมถึงกันจะได้ประโยชน์ ในโอกาสฉลองกรุงเทพฯ 150 ปี ควรจะมีสิ่งที่เป็นอนุสรณ์สถานสร้างไว้ เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลก ที่สร้างกรุงเทพมหานครขึ้นมา
ส่วนคำทำนายว่าจักดำรงวงศ์กษัตริย์สืบไป 150 ปีนั้น ไปครบเอาปี พ.ศ. 2475 พอดี ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในระยะนั้น เจ้านาย 4 พระองค์เป็นผู้รับผิดชอบกิจการของบ้านเมือง ทั้งฝ่ายนอกฝ่ายใน ซึ่งทุกพระองค์ทรงมีพระราชสมภพในปีเดียวกันทั้ง 4 พระองค์คือ ปีมะเส็งซึ่งหมายถึงงูเล็ก หรืองูทั้ง 4 ตัวที่ตายอยู่ในหลุมฝังเสาหลักเมืองวันนั้น นิมิตงูเล็กในเสาหลักเมืองสมัยรัชการที่ 1 จึงเป็นเรื่องอัศจรรย์

แต่ด้วยพระบารมีของรัชกาลที่ 4 ที่ทรงแก้อาถรรพณ์ล่วงหน้าเสีย โดยถอนเสาหลักเมืองเดิม และวางดวงชะตาพระนครขึ้นใหม่ จึงไม่เป็นไปตามคำทำนาย เพียงเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เท่านั้น และจะทำให้ดำรงวงศ์กษัตริย์อยู่คู่กับกรุงเทพมหานคร ตลอดไป อีกตราบนานเท่านาน

 

 

คัดลอกจากเฟสบุ๊ค ของคุณพิชาญ พงษ์พิทักษื

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 05 เมษายน 2015 เวลา 23:44 น.  

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8590127

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า