Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > บทความของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท > บทเรียนในการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัย ตอน ๑๑ พ.ศ.๒๕๕๔

บทเรียนในการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัย ตอน ๑๑ พ.ศ.๒๕๕๔

พิมพ์ PDF

ปี ๒๕๕๔ เริ่มต้นได้ดี มีกิจกรรมมากมาย อาทิ

วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๔  ท่าน ศ.ดร.จีระ จัดงานปีใหม่ให้กับทีมงานและเครื่องข่ายของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ งานเป็นกันเองมากแลกเปลี่ยนความรู้และคุยถึงแผนงานในปี ๒๕๕๔ ผู้มาร่วมงานที่เป็นเครือข่ายของท่าน ศ.ดร.จีระ หลายท่านให้ความสนใจโครงการ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ และอาสาช่วยให้การสนับสนุน เชื่อว่าภายในปี ๒๕๕๔ โครงการศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ สามารถจัดตั้งเป็นนิติบุคคล สร้างกิจกรรมดีๆให้กับคนไทยเพื่อสร้างความเป็นเลิศในการให้บริการของประเทศไทยโดยรวม

มีส่วนร่วมในการอบรมหลักสูตรการเสริมสร้างบุคลิกภาพและการเตรียมความพร้อมสู่โลกของการทำงานสำหรับบัณฑิตใหม่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่ราชมงคลธัญบุรี ในวันที่ ๑๒ ก.พ.๒๕๕๔

๑๓-๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ได้รับความไว้วางใจจากคุณวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย จัดอบรมหลักสูตร "เพิ่มศักยภาพมัคุเทศก์ไทยก้าวทัน SMEs ผู้เขียนได้เชิญ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นประธานเปิดโครงการอบรมและบรรยายพิเศษ

๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ให้เป็นวิทยากร บรรยายความรู้ด้าน AEC กับนักศึกษาปริญาเอก มหาวิทยาลัยเกริก

๔ เมษายน ๒๕๕๔ ได้รับเชิญเข้าร่วมระดมความคิดและมีส่วนร่วมในการผลักดันให้ท่านประธานอนุกรรมการเขียนแผนด้านเศรษฐกิจพิจารณาเพิ่มเรื่องพัฒนาทุนมนุษย์ไว้ในกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ นอกเหนือจากทุนมนุษย์ในภาคสังคม

๕ เมษายน ๒๕๕๔ ​ศ.ดร.จีระ นำกรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คุณชวรัตน ชาญวีรกูล อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น คุณขวัญชัย วงศ์นิติกร และ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น คุณธงชัย กิติคณนนท์ เกี่ยวกับโครงการพัฒนาบุคลากรองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น — at กระทรวงมหาดไทย Ministry of Interior.

๒๕ เมษายน ๒๕๕๔  ร่วมเป็นคณะกรรมการ "พัฒนาขับเคลื่อน ราชอาณาจักรไทย" เพื่อ สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เชิญสื่อ และตัวแทนองค์กร บริษัท ข้าราชการ และคนไทยทั่วไป เข้ารับฟังการแถลงข่าว การจัดงาน "วันสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ฉัตรมงคล"ครั้งที่ ๑ ในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ -๑๖.๐๐ น ณ.ห้องประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ส่วนงาน "วันสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ฉัตรมงคล" ครั้งที่ ๑ จัดในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐-๑๘.๐๐ น ณ.หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เป็นงานเทอดพระเกียรตฺิ ๖๑ ปี บรมราชาภิเษก จัดโดยคนไทยที่มีความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ท่าน

หลังจากนั้นผู้เขียนได้ถอนตัวจากการเป็นคณะกรรมการ "พัฒนาขับเคลื่อนราชอาณาจักรไทย" ดังมีข้อความดังนี้

"ขอเรียนให้ทราบว่าตามที่ผู้เขียนเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการขับเคลื่อนราชอาณาจักรไทย ที่มีคุณอิทธิเป็นเจ้าของโครงการ และได้ทำการเปิดตัวครั้งแรกในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา หลังจากนั้น ผู้เขียนได้ถอนตัวออกจากการมีส่วนร่วมกับโครงการขับเคลื่อนราชอาณาจักรไทยหลายเดือนมาแล้ว จึงไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมใดๆกับโครงการ ขับเคลื่อนราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป​"

ได้รับเกียรติจากท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ให้เข้าร่วมโครงการ Intensive Workshop on Energy and Environment Sector Cooperation among GMS Countries ๑๗ พฤษภาคม -๕ มิภุนายน ๒๕๕๔ ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นตัวแทนจากภาครัฐและภาคเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับพลังงานของประเทศจีน ประเทศลาว ประเทศพม่า ประเทศเวียตนาม ประเทศกัมพูชา ประเทศไทย ๒๐ วันของการเข้าร่วม Workshop ​ เป็นสิ่งที่มีค่าสิ่งหนึ่งในชีวิตของผู้เขียน ได้เรียนรู้มากมาย บรรยายกาศเต็มไปด้วยการเรียนรู้ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นของเจ้าหน้าที่ที่คณะเราไปเยี่ยม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วม Workshop เต็มไปด้วยความรักและความเข้าใจ สนุกสนาน และเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีเป้าหมายในการร่วมมือกันพัฒนาบริหารจัดการพลังงานเพื่อกลุ่มประเทศ GMS

๒๘-๓๐ กันยายน ๒๕๕๔  ได้รับเชิญเข้าร่วมทีมวิทยากรฝึกอบรม "โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว" อบรมให้ความรู้ผู้นำท้องถิ่นและชุมชน บริเวณแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์

คุณธวัชชัย แสงห้าว ผู้บริหาร TMA (ในขณะนั้น) ได้ให้เกียรติ เชิญผู้เขียนเข้ารับการอบรม Management Development Program รุ่น ๑๕ ตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ถึงวันที่ ๒๘ ตุลาคม อบรมทุกวัน พุธ พฤหัส ศุกร์ ของเดือน กันยายน และตุลาคม อย่างไรก็ตาม ​TMA-MDP 15 ถือว่าเป็นรุ่นที่จบช้าที่สุด ช่วงสำคัญช่วงสุดท้ายเกิดปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ต่างคนต่างแยกย้ายกันไป มีการกำหนดเวลาเข้าอบรมต่อ 3-4 ครั้งแต่ก็ต้องเลื่อนไปอีก ล่าสุดกำหนดวันที่ ๑๙-๒๐  มกราคม 2555  รุ่นนี้ใช้เวลาอบรมข้ามปี

ผู้เขียนอยู่ภาคธุรกิจบริการมาตลอด พอมาเข้ารับการอบรมโครงการนี้ ทำให้มีความรู้ในเรื่องอุตสาหกรรม และได้มีโอกาสพบเพื่อนใหม่ๆที่อยู่ต่างธุรกิจ การอบรมทั้งหมด ๑๘ วัน ครึ่ง ผู้เขียนพยายามจะเข้ารับการอบรมให้ได้ทุกวัน แต่วันที่ ๒๑ กันยายน ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรที่จังหวัดบุรีรัมย์ เลยขาดเรียนไปหนึ่งวัน ความจริงวันเข้าอบรมผู้เขียนติดงานประชุมเกือบทุกวัน เลยต้องงดงานอื่น เพื่อหาความรู้เพิ่มไว้ก่อน


ประสบการณ์น้ำท่วม ๒๒-๒๔  ตุลาคม ๒๕๕๔

วันที่ 20 ตุลาคม หลังจากมีข่าวเรื่องน้ำทะลักเข้าคลองประปา ผู้เขียนได้ไปดูและพบเจ้าหน้าที่เขาแจ้งว่าไม่ต้องตกใจเพราะเจ้าหน้าที่เขากำลังปรับระดับน้ำในคลองประปา ขอให้ไปรอฟังแถลงการณ์ ผู้เขียนได้ตระเวนดูรอบๆหมู่บ้านที่อยู่อาศัย รวมทั้งบริเวณหมู่บ้านและแหล่งชุมชนที่ใกล้เคียง พบบางแห่งมีน้ำซึม ส่วนหมู่บ้านที่ผู้เขียนอยู่ไม่มีน้ำล้นออกมา ดูที่ท่อระบายน้ำก็ยังปกติ แต่มีคนห่วงภรรยผู้เขียนมากทั้งเพื่อนและพี่น้องต่างโทรมาให้ออกจากบ้านและไปพักที่บ้านญาติที่สุรินทร์ หรือบุรีรัมย์ ไม่มีใครฟังผู้เขียน ในที่สุดทั้งครอบครัว ภรรยา ลูกทั้งสามคน น้องสาว ต่างเห็นด้วยกับการจัดเตรียมขนของขึ้นชั้นสอง และสั่งซื้อกระสอบทรายมาเพิ่มอีก 100 กระสอบ เหนื่อยกับการจัดเตรียมของทั้งวัน ภรรยาวิ่งซื้อของแห้งมากมายและจัดเตรียมของสองชุด คือชุดที่จะทิ้งไว้ที่บ้าน และของที่เตรียมตัวจะนำออกไป ผู้เขียนเลยต้องเป็นเบ้รับใช้ตลอดในการวิ่งหาซื้อของ (ภรรยานำรถของเขาไปจอดที่จอดรถของกรมหลายวันแล้ว) ลูกสาวคนโตนำรถไปจอดที่ทำงานของเขาเช่นกัน จึงเหลือรถของผู้เขียนคันเดียว เดิมจะให้ผู้เขียนนำรถไปหาที่จอดตั้งแต่เช้า ผู้เขียนจึงโทรติดต่อพรรคพวกตามโรงแรมที่คิดว่าจะนำรถไปจอด ก็ได้มา ๓-๔ แห่ง แต่ผู้เขียนยังไม่ยอมนำรถไปจอดโดยไม่ถึงเวลาจริงๆ) จนเวลา ๑๖.๐๐ น ข่าวจากทีวี และกระแสข่าวจาก social Media ของลูกสาว ทำให้ทุกคนตัดสินที่จะปิดบ้านและออกไปอยู่ที่อื่น จึงศึกษาหาเส้นทางไปจังหวัดสุรินทร์แต่ยังไม่สามารถหาเส้นทางที่เหมาะสมได้ เพราะไม่สามารถออกไปทางรังสิตได้ จึงตัดสินใจออกไปทางชลบุรีและไปหาที่นอนก่อน วันรุ่งขึ้นจึงคิดหาเส้นทางไปสุรินทร์

๑๗.๐๐ น ขึ้นทางด่วนมุ่งสูงชลบุรี ใช้เวลาจากถนนงามวงศ์วาน ขึ้นถึงทางด่วนร่วม ๑ ชั่วโมง สาเหตุเพราะติดรถที่ไปจอดตรงทางขึ้นทางด่วน จอดแถวเดียวไม่ว่า เล่นจอดกันถึง ๓ แถว จนในที่สุดรถยกต้องมานำรถกีดขวางจราจรออกไป ทำให้เสียเวลามาก เมื่อหลุดพ้นรถติดมาได้ ระหว่างวิ่งอยู่บนทางด่วนช่วงบางนาไปชลบุรี ฝนตกมาก ต้องค่อยๆขับไม่เกิน ๖๐ ก.ม.ต่อชั่วโมง ถึงชลบุรี โทรหาเพื่อนขอให้ช่วยแนะนำโรงแรมเพื่อนอนพักหนึ่งคืน ก่อนเดินทางต่อไปสุรินทร์ในวันรุ่งขึ้น เพื่อหลายคนทราบเรื่องช่วยจัดหาโรงแรมให้พัก หลายแห่งด้วยกัน เช่นในจังหวัดชลบุรี บางแสน และพัทยา ในที่สุดเลือกพักที่บางแสน The Tide Resort เมื่อเข้าพักโรงแรมลูกสาวได้ติดตามข้อมูลตลอดเวลา ในที่สุดตกลงว่าวันรุ่งขึ้นจะไปพักที่พัทยา เพื่อดูสถานการณ์สัก 1-2 วัน แทนที่จะไปสุรินทร์ เพราะไกลเกิดไป และไม่แน่ใจเส้นทาง

เช้าตื่นขึ้นมาภรรยาและลูกสาวตกลงที่จะกลับกรุงเทพ เพื่อมาเก็บของต่อเนื่องจากตอนออกจากบ้านรีบจนลืมเก็บของสำคัญอีกหลายรายการ

๑๔.๐๐ น กลับถึงบ้านทุกอย่างปกติ ยังไม่มีวี่แววน้ำเข้ามาในหมู่บ้าน และเริ่มมีความหวังว่าที่บ้านอาจจะรอดจากภัยน้ำท่วม หรืออาจจะมีน้ำเข้าบ้างแต่ไม่มาก ไม่ควรจะเกิน หน้าแข้งซึ่ง ทุกคนรับได้ จึงช่วยกันจัดเก็บของที่เหลือให้เรียบร้อยเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมโดยไม่ประมาท ลูกสาวและภรรยาได้ลุ้นติดตามข่าวจนถึง ตีสาม จึงเข้านอน ส่วนผู้เขียนเพลียมากเลยนอนตั้งแต่หัวค่ำ

เช้าวันที่ ๒๒ ตุลาคม ได้ขับรถจากบ้านในหมู่บ้านท่าทรายติดกับ North Park มาตามถนนหลักของหมู่บ้านผ่านโรงเรียนการเคหะท่าทราย (หนึ่งในศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของเขตหลักสี่)ไปออกถนนประชาชื่นเลี้ยวซ้ายผ่านหน้ามหาวิทยาลัยธุรกิจไปออกแยกพงศ์เพชร (ถนนประชาชื่นช่วงจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตไปถึงสี่แยกพงศ์เพชรประมาณ ๒-๓ ก.ม. บางแห่งมีน้ำอยู่บนถนนฝั่งซ้ายเลียบคลองประปามีน้ำแฉะๆบนถนนนิดหน่อย) พอเลี้ยวซ้ายเข้าถนนงามวงศ์วาน ช่วงใต้สะพานขาลงข้ามแยกพงศ์เพชรมีน้ำท่วมขังพอประมาณ รถเล็กวิ่งได้สบายระยะทางไม่เกิน 100 เมตร พอพ้นช่วงน้ำขังก็เป็นถนนแห้งสนิทไปตลอดสายจนถึงถนนวิภาวดีรังสิต ก่อนเข้าถนนวิภาวดีรังสิตผู้เขียนเลี้ยวซ้ายเข้า Local Road เลียบทางรถไฟคู่ขนานไปกับถนนวิภาวดี เลี้ยวซ้ายเข้า North Park ผ่านทะลุ North Park ไปออกหลัง ม.ธุรกิจบัณฑิต และออกถนนประชาชื่น ถนนแห้งตลอด วิ่งย้อนเข้าไปในหมู่บ้านชินเขตที่โทรทัศน์แจ้งว่าน้ำท่วมปรากฏว่าในหมู่บ้านชินเขตบริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่น้ำไม่ท่วม มีเพียงบริเวณหมู่บ้านชินเขตที่ด้านหลังติดกับคลองประปาน้ำเอ่อมาจากท่อระบายตามถนนที่อยู่ในพื้นที่ต่ำล้นมาท่วมถนนภายในหมู่บ้านชินเขตระยะสั้นๆรถเก๋งยังวิ่งได้ ที่เหลือถนนแห้งตลอด สรุปหมู่บ้านที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมระหว่างถนนแจ้งวัฒนะ ถนนประชาชื่น ถนนงามวงศ์วาน ถนนวิภาวดี น้ำยังไม่ท่วม มีเพียงพื้นที่บริเวณแอ่งเล็กๆเท่านั้นที่มีน้ำเอ่อท่วม รถวิ่งผ่านไปมาได้

ได้เข้าไปดูในถนนสามัคคี เริ่มจากถนนประชาชื่นบริเวณโรงผลิตน้ำประปาทะลุไปออกถนนติวานนท์ เลี้ยวซ้ายไปพบสี่แยกแครายเลี้ยวซ้ายเข้าถนนงามวงศ์วานตรงไปที่แยกพงศ์เพชรถนนแห้งตามปกติ

สรุปได้ว่าการแจ้งข่าวจากทางโทรทัศน์แต่ละสถานีทำให้คนวิตกเพราะภาพสถานที่ๆน้ำท่วมออกอากาศซ้ำๆ และคนพูดบางที่ก็ไม่ตรงกับภาพที่ออกอากาศในชั่วนั้น การออกข่าวพูดในบริเวณกว้างทำให้คนเข้าใจผิด เช่นว่าน้ำท่วมชินเขต ความจริงบริเวณที่น้ำท่วมในชินเขตเล็กน้อยไม่ถึง 1% ของหมู่บ้านทั้งหมด ข่าวที่ออกไปทำให้คนเข้าใจผิด หรือแม้นกระทั่งแจ้งว่าน้ำล้นคลองประปา ก็ไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าน้ำล้นช่วงไหนบ้างมากน้อยแค่ไหน ถนนเลียบครองประปายาวมากไม่ต่ำกว่า 35 ก.ม. มีการกล่าวถึงเขตหลักสี่ หรือเขตดอนเมือง ต้องระบุให้ชัดว่าตรงจุดไหนระบุไปเลยว่าหมู่บ้านใดบ้างจะกระทบ ไม่ใช่ออกข่าวกว้างๆ ทำให้ญาติพี่น้องของคนที่ไม่อยู่ในบริเวณนั้นเข้าใจผิดและเป็นห่วงกันเกินเหตุ ทำให้แตกตื่น ผู้เขียนสังเกตหลายครั้ง นักข่าวที่อยู่สถานีมักจะถามนักข่าวในท้องที่มากมาย หลายๆคำถามลึกกว่าที่นักข่าวท้องถิ่นจะรู้เมื่อถูกถามมากๆเลยตอบตามความคิดของตัวเอง :ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องและให้ประโยชน์ต่อผู้รับฟัง สร้างความเครียดและวิตกกับผู้ฟัง ข่าวบางครั้งออกซ้ำซาก โดยไม่ได้แจ้งว่าข่าวที่ออกเป็นช่วงเวลาเท่าใด เมื่อเอาข่าวซ้ำมาออกหรือเอาข่าวที่เกิดในเหตุการณ์ก่อนหน้านี้มาออก ทำให้ข่าวไม่ถูกต้องในเวลานั้น

ดังนั้นเราต้องไปดูด้วยตาตัวเองในบริเวณรอบๆบ้านที่เราอยู่ และสังเกตดูระดับน้ำในท่อบนถนนในหมู่บ้านเราเป็นหลัก ข้อมูลข่าวสารที่ผู้เขียนเห็นว่าใช้ได้ใกล้เคียงและเป็นประโยชน์ที่สุด คือ วิทยุ FM คลื่น ๙๒.๕ (สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานนี้โทรทัศน์ Thai PBS รองลงมาก็เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง ๑๑ เดิม) TNN พอใช้ได้

สรุปทางรัฐต้องควบคุมการบริหารจัดการข่าวให้เกิดประโยชน์และตอบคำถามของประชาชนได้ ไม่ใช่แย่งกันออกข่าว และสร้างการแข่งขันในการแย่งผู้ชม นักข่าวต้องมีทักษะและมีคุณภาพมากกว่าที่เป็นอยู่

อย่างไรก็ตามในที่สุดบ้านของผู้เขียนก็ถูกน้ำท่วม หวังว่าเพื่อนๆที่ได้รับภัยน้ำท่วมบ้านคงได้รับบทเรียนและประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต ก่อนที่ผู้เขียนจะเขียนประสบการณ์ที่ได้รับให้เพื่อนๆตามที่ได้กล่าวไว้ วันนี้ขอแจ้งสิ่งดีๆที่ได้รับจากน้ำท่วมดังนี้ น้ำหนักตัวของผู้เขียนลดลงจาก 75 เหลือ 67 โดยไม่ต้องออกกำลังกาย ได้ใช้ชีวิตกรรมกรในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ ๑๙ พ.ย.จนถึงธันวาคม ๒๕๕๔ ได้เรียนรู้คนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเมื่อก่อนไม่ค่อยมีโอกาสได้สังสรรค์ เห็นการทำงานของคนที่มีจิตอาสา และการทำงานของคนที่ประชาสัมพันธ์สร้างภาพของตัวเอง คนที่ฉวยโอกาสในความลำบากของคนกลุ่มหนึ่ง การบริหารจัดการของผู้เกี่ยวข้อง​ สำหรับผู้เขียนคิดว่าประสบการณ์และบทเรียนที่ผู้เขียนได้รับมีคุณค่ามากกว่าความสูญเสียที่ผู้เขียนได้รับ บทเรียนที่ธรรมชาติและการจัดการของผู้เกี่ยวข้องในครั้งนี้มีค่าอย่างยิ่งต่อชีวิตของคนในยุคนี้ ถ้าคิดให้ดีและยึดความจริง แสดงให้ทราบว่าการสูญเสียเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงการสูญเสียได้

๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ ได้ติดตามไปชมผลงานของอาจารย์ธนากรณ์ ใจสมานมิตร ผู้เขียนชอบปรัชญาการทำหน้าที่ครู ของอาจารย์ธนากรณ์มาก เลยขออนุญาตนำมาเผยแพร่ ดังนี้
ปรัชญาการทำหน้าที่ครู
มนุษย์ทุกคนมีความใฝ่ดีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เพียงแต่เราอาจจะนิยามคำว่า "ดี" ไว้แตกต่างกันออกไป ตามกฎของปัจเจกในแต่ละบุคคล มนุษย์ทุกคนจึงมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองให้ถูกต้องตามครรลองที่เหมาะสมได้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ ดังนั้นทุกคนควรได้รับเกียรติอย่างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการแบ่งแยกด้วยชนชั้นและฐานันดร การให้โอกาสจึงเป็นการให้ ที่ถือได้ว่าเป็นธรรมทานอันยิ่งใหญ่ ครูต้องให้โอกาสกับผู้เรียนได้รวบรวมองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการให้ความจริงแก่ผู้เรียนให้มากที่สุด และคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนนั้นเกิดการพิสูจน์องค์ความรู้ด้วยตัวของเขาเอง ให้เขาได้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินองค์ความรู้ที่เขาสร้างขึ้นมานั้นด้วยตัวของเขาเอง "ครูจึงต้องขายความจริง ไม่ขายความเชื่อ ครูต้องสอนในสิ่งที่เป็นตัวตนของตนเอง ไม่สอนในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเอง และต้องสอนผู้เรียนโดยผ่านการสอนตัวเองก่อนเสมอ"

๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ เมื่อวานได้รับเชิญเป็นแขกของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เข้าร่วมเสวนา วันนี้ได้ร่วมประชุมการทำวิจัยเรื่องการท่องเที่ยว ทำให้ผู้เขียนมีความสุขมาก ทั้งสองวันเต็มไปด้วยความรู้และเห็นแนวทางในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทุนมนุษย์ไทยให้มีคุณค่าเป็นนักบริหารมืออาชีพ ระดับ Inter มีรายได้สูง ไม่ใช่เป็นแค่เบ้ทำงานหนักและมีรายได้น้อย ผู้เขียนเชื่อความสามารถของคนไทยว่าเราไม่ด้อยกว่าชาติใดในโลก แต่เราจะต้องร่วมมือกันสร้างโอกาสให้กับคนไทย ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะเป็นโอกาสสำหรับคนไทยที่ตระหนักและเตรียมการ แต่จะทำให้สูญเสียถ้าไม่เตรียมการและเปลี่ยนแปลงตัวเอง ต้องเริ่มที่การเปลี่ยนทัศนคติของตัวเอง ยอมรับความจริง เปลี่ยนวิธีคิดและปฎิบัติ เริ่มตั้งแต่วันนี้ ยังไม่สาย แต่ถ้ารอให้เวลามาถึง ก็จะสายเกินแก้ ขอให้ดูเรื่องน้ำท่วมเป็นตัวอย่าง ธรรมชาติได้สอนอะไรเราบ้าง ผู้เขียนถือว่าการที่บ้านผู้เขียนถูกน้ำท่วม ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน และต้องทำงานเหนื่อยยากในการฟื้นฟู้บ้านหลังน้ำลด อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ประสบการณ์ทำให้ได้คิดและพยายามสร้างวิกฤตให้เป็นโอกาส ผู้เขียนมองเห็นโอกาสจากวิกฤตนี้ และคิดว่าผู้เขียนได้มากกว่าเสีย

๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๔ นัดพบผู้อำนวยการวิทยาลัยพณิชนการอินทราชัย เพื่อปรึกษางานเรื่องที่ผู้เขียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการวิทยาลัยพณิชยการอินทรายชัย ผู้เขียนเชื่อว่าด้วยประสบการณ์ของผู้เขียนและการมีเครือข่าย ประกอบกับความตั้งใจจริงของผู้เขียน ถ้าผู้อำนวยการเอาจริง ผู้เขียนรับรองว่าจะทำให้วิทยาลัยพณิชยการอินทราชัย เป็นหนึ่งในวิทยาลัยชั้นนำที่สามารถผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพและสามารถรองรับภาคอุตสาหกรรมได้

๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๔ ประชุมโครงการงานวิจัยผลกระทบ AEC ด้านการท่องเที่ยว ที่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างปรเทศรับงานมาจากกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กรอบการวิจัย จะเน้นไปที่การเตรียมตัวของภาคเอกชน ผู้ประกอบการ จุดอ่อนจุดแข็ง ทั้งสถานะการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลจากทุกภาคส่วนทุกมุมมองและทุกมิติ พร้อมข้อเสนอให้กับทุกภาคส่วนได้แก่ผู้ประกอบการ ผู้บริหารภาคเอกชนและพนักงานที่เกี่ยวข้อง ข้าราชการ รัฐ และชุมชน ด้านการศึกษา และนักวิชาการ​ โครงการนี้กำหนดเวลา 4 เดือน น้อยมากแต่เนื่องจากทีมงายนเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญและอยู่ในแวดวงอยู่แล้ว ได้ทำงานมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 30 ปี จึงรู้แหล่งข้อมูล​ต่างๆและสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล วิธีการในการทำวิจัยที่มีประสิทธิภาพ จะไม่เริ่มต้นจากศูนย์ จะต่อยอดจากงานวิจัยต่างๆที่ทำไว้แล้ว​ ขอให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวให้ความร่วมมือ เพื่อความเข้มแข็งของธุรกิจท่องเที่ยว ทีมงานนี้ทำเพื่อประเทศชาติเป็นหลักใหญ่

๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๔ ได้เข้าร่วมงานสัมมนาจัดโดยกรมการท่องเที่ยว และวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอชมเชยทางกรมการท่องเที่ยวที่มอบหมายให้ ทีมคณะทำงานของวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีคุณพาวิณี ศุนาลัย เป็นผู้จัดการโครงการ ผมมีความประทับใจในการนำเสนอของทีมงานวิจัยมาก ทางทีมงานได้แบ่งการนำเสนอออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ "สรุปการวิเคราะห์ประเด็น ปัญหา และโอกาสจากการเปิดเสรีบริการท่องเที่ยว" นำเสนอโดย ดร.นพันธ์ (ต้องขอประทานโทษถ้ากล่าวนามท่านผิด) กับ "ร่างแผนพัฒนาบริการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเปิดเสรีบริการท่องเที่ยวของกรมการท่องเที่ยว" นำเสนอโดย คุณพาวิณี ทั้งสองท่านได้นำเสนอ ได้สมบูรณ์ มาก เปรียบเทียบกับการนำเสนอก่อนหน้านี้ ถือว่าทางคณะได้ทำการบ้านอย่างดี และพัฒนาการวิจัยและการนำเสนอได้อย่างไม่มีที่ติ นอกเหนือจากนั้น ผู้เขียนได้พบและสนทนากับท่านอธิบดีกรมการท่องเที่ยว คุณสุพล ศรีพันธ์ เป็นครั้งแรก ผู้เขียนมีความประทับใจท่านมาก ท่านไม่ถือตัวเข้ามาสนทนาร่วมกับพวกเราอย่างเป็นกันเอง วิสัยทัศน์และการสนทนาของท่าน แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นคนทำงาน รู้จริง เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ที่ผมประทับใจมากที่สุดคือ ท่านมาเปิดงานแล้วต้องออกไปงานอื่น แต่ท่านให้ความสำคัญ โดยขอยกเลิกงานอื่นและอยู่ร่วมฟังสัมมนากับพวกเราตลอดเวลา ท่านได้แสดงความคิดเห็นและชี้แจงเป็นระยะ ที่ตรงประเด็น ผู้เขียนในฐานะที่มีการท่องเที่ยวอยู่ในสายเลือด มีความหวัง เมื่อได้พบท่านอธิบดี และได้ฟังการนำเสนอของทีมงานวิจัย ขอให้นำข้อเสนอของงานวิจัยไปจัดทำแผนกลยุทธ์ และนำไปสู่แผนปฎิบัติในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และถ้าจะมีการทำวิจัยเรื่องท่องเที่ยว ก็ขอให้ใช้การวิจัยที่นำเสนอในวันนี้ไปต่อยอด

สุดท้ายของแสดงความยินดีกับผู้จัดด้วยความจริงใจ บรรยากาศในงานดีมาก ได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วน มีผู้ให้ข้อคิดและเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก

๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ พรุ่งนี้  ได้รับเชิญให้ไปบรรยายเรื่อง "จริยธรรมผู้นำ" ให้กับนิสิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ตั้งแต่ 9.00-12.00 น หวังว่าการไปบรรยายครั้งนี้มีส่วนในการสร้างผู้นำที่ดีมีจริยธรรมในอนาคตให้กับประเทศชาติ

๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ ช่วงเช้าได้รับความกรุณาจากท่าน ศ.ดร.จีระ พาคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศเข้าอวยพรปีใหม่ ท่าน ชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีต รมต กระทรวงมหาดไทย ท่านได้ให้ความรู้และแง่คิดที่เป็นประโยชน์มาก

ช่วงเย็นได้เข้าร่วมประชุมกรรมการของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพในฐานะที่ปรึกษาสมาคม ฟังแล้ว น่าเห็นใจมัคคุเทศก์ไทย ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศแนวหน้าด้านการท่องเที่ยวทำเงินให้กับประเทศชาติเป็นจำนวนมาก แต่มัคคุเทศก์ซึ่งถือว่าเป็นทูตวัฒนธรรมมีความเป็นอยู่อย่างไม่มั่นคงนัก พวกเราคงต้องหาทางช่วยเหลือสมาคมนี้เพื่อผลักดันให้เกิด สภาวิชาชีพมัคคุเทศก์ และให้เกิดกองทุนมัคุเทศก์เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และมาตราฐานของมัคุเทศก์ให้อยู่ในระดับที่นานาชาติยอมรับ

ถึงแม้นผู้เขียนจะไม่เคยเป็นมัคคุเทศก์ แต่ผู้เขียนเห็นความสำคัญของมัคคุเทศก์ ผู้เขียนให้ความนับถือและยกย่องมัคคุเทศก์ที่มีมาตราฐานและมีความเป็นมืออาชีพ ท่านเหล่านี้มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติ เป็นทูตทางวัฒนธรรมของประเทศชาติ เป็นผู้ที่ให้ความรู้และให้ความบันเทิง ความสุข และความเข้าใจถึงคุณค่าที่อยู่ภายในตัวมนุษย์ ทำอย่างไรให้ผู้ที่มีคุณค่าสูง มีความเป็นอยู่ที่มั่นคง และสามารถรณรงค์ให้อาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีเกียรติและสร้างความภูมิใจให้กับคนที่อยู่ในอาชีพนี้อย่างมืออาชีพ แยกแยะความเป็นมืออาชีพ และคนที่สวมหน้ากากมัคคุเทศก์แต่ความจริงไม่มีคุณสมบัติของมัคคุเทศก์เลย เป็นนักต้มตุ๋นและนักฉวยโอกาส ผู้เกี่ยวข้องต้องร่วมมือและช่วยกันทำให้เกิดอาชีพมุคคุเทศก์อาชีพให้ได้

สรุปปี ๒๕๕๔ ดูเหมือนมีงานตลอดทั้งปี จนถึงเดือนกันยายน แต่พอเข้าเดือนตุลาคมจนถึงปลายเดือนธันวาคม ทุกอย่างหยุดหมด เนื่องจากน้ำท่วมกรุงเทพฯ เป็นปีที่เหนื่อยมาก แต่ก็ได้ประสบการณ์ และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่รายได้ไม่ดี เนื่องจากไม่มีรายได้ประจำ ตลอดทั้งปีมีรายได้แค่ ๑๑๙,๗๐๐ บาท เฉลี่ยมีรายได้แค่เดือนละ ๙,๙๗๕ บาท ทำให้เกิดหนี้สินเพิ่ม จากปี ๒๕๕๓ ถึง ๒๙๖,๒๕๖ บาท

ปีนี้เป็นปีที่เริ่มวิตก เริ่มคิดที่จะหารายได้เพิ่ม และเห็นว่า Social Network  และการเขียนบทความลงในสื่อต่างๆเพื่อทำให้คนรู้จัก จะเป็นช่องทางที่จะทำให้มีผู้ติดต่อเข้ามาเชิญให้ไปเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นวิทยากร ลูกๆที่บ้านไม่รู้ว่าผู้เขียนมีรายได้เข้ามาน้อยกว่ารายจ่ายทำให้ต้องใช้เงิน OD เกือบทุกเดือน โดยไม่ได้ขอให้ลูกช่วยเนื่องจากเห็นว่าลูกเพิ่งเริ่มทำงาน ปล่อยให้เขาใช้เงินของเขาอย่างเต็มที่  และยังมีความเชื่อว่า จะหางานที่มีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องในเร็วๆนี้

โปรดติดตามตอน ที่ ๑๑ ปี ๒๕๕๕ ในเร็วๆนี้

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 03 พฤษภาคม 2015 เวลา 18:32 น.  
Home > Articles > บทความของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท > บทเรียนในการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัย ตอน ๑๑ พ.ศ.๒๕๕๔

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5601
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8585719

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า