Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > เศรษฐกิจ > เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC

เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC

พิมพ์ PDF

เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC
มกราคม - มิถุนายน 2555

การเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ AEC ที่ผ่านมาค่อนข้างล่าช้า และไม่เห็นผลชัดเจนเท่าที่ควร ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้การปรับตัวของธุรกิจมีไม่มากนัก เพราะแม้แต่การลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าเหลือ 0% ตามข้อตกลงเขตการค้าสินค้าเสรี (AFTA) ก็ใช้เวลากว่า 17 ปี ในขณะที่การเปิดเสรีด้านการค้าบริการซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1996 ปัจจุบันยังล่าช้ากว่าเป้าหมาย เพราะแม้แต่สาขาบริการเร่งรัด 4 สาขาที่จะให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ถึง 70% ในปี 2010 นั้น ถึงวันนี้ยังมีหลายประเทศขอยืดหยุ่นออกไป ความล่าช้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดได้หากทุกอย่างยังต้องดำเนินการให้ได้ครบตามเป้าหมายภายในปี 2015 ธุรกิจต่างๆ จึงควรมีการเตรียมตัวไว้เสมอ

แต่การรอให้เข้าสู่ AEC อย่างสมบูรณ์จะส่งผลให้ธุรกิจเสียโอกาส แม้แต่สหภาพยุโรปที่มีพรมแดนติดกันและมีรูปแบบองค์กรเหนือรัฐยังใช้เวลาถึง 25 ปีก่อนที่จะเรียกว่าเป็นเขตการค้าเสรีอย่างแท้จริงที่การค้าขายระหว่างสมาชิกทำได้เสมือนเพียงการขนส่งสินค้าภายในพื้นที่และไม่ต้องมีพิธีการศุลกากรระหว่างกันอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม การรอจนกว่า AEC สมบูรณ์คงจะช้าเกินไป และความคืบหน้าในปัจจุบันได้เปิดโอกาสมากพอให้ธุรกิจใช้ประโยชน์และขยายตัวไปในอาเซียนอยู่แล้ว เช่น การใช้ประโยชน์จากอัตราภาษีนำเข้า 0% และข้อตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีใน 7 สาขาวิชาชีพที่ตกลงกันไปแล้ว การเปิดเพดานการถือหุ้นในธุรกิจบริการที่แม้จะยังไม่ถึง 70% แต่ก็นับเป็นโอกาสการลงทุนในตลาดที่น่าสนใจได้ระดับหนึ่ง เป็นต้น

โอกาสของธุรกิจจากนี้ถึงปี 2015 จะมีทั้งโอกาสของธุรกิจทางด้านเกษตรที่มาจากทั้งความต้องการที่สูงขึ้นและศักยภาพในการเติบโตของรูปแบบเกษตรกรรมแบบใหม่ๆ เช่น contract farming โอกาสจากการเปิดเสรีเพิ่มเติมของกลุ่มประเทศCLMV ที่จะเพิ่มความสำคัญด้านการค้าการลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ และโอกาสจากการเปิดเสรีการค้าในภาคบริการที่อยู่ระหว่างการทยอยเปิดเสรีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากภาคบริการจะมีความเสี่ยงในการเผชิญการเปิดเสรีมากขึ้นในเวลาอันสั้นแล้ว การเปิดเสรีในภาคดังกล่าวจะมาพร้อมการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง เพราะหลายประเทศให้ความสำคัญกับภาคบริการมากขึ้น สังเกตได้จากสัดส่วนของเศรษฐกิจและการลงทุนในต่างประเทศในภาคบริการที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสิงคโปร์ซึ่งมีสัดส่วนภาคบริการต่อ GDP กว่า 72% และยังมีการลงทุนในต่างประเทศมากที่สุดในอาเซียน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทยคาดว่าจะมีสัดส่วนภาคบริการต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็น 56%, 50%, 45% และ 44% ภายในปี 2015 ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาคบริการสามารถดำเนินกลยุทธ์ได้หลากหลายตามปัจจัยที่เกิดขึ้น บางภาคควรจะรุกขยายธุรกิจไปในต่างประเทศที่มีศักยภาพด้านการตลาดในขณะที่ภาคบริการบางประเภทสามารถเติบโตจากตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มเติมจากการเข้าสู่ AEC และบางประเภทอาจจะต้องเตรียมรับมือจากทั้งโอกาสและการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้น

ธุรกิจค้าปลีกที่เน้นสร้างความแตกต่างและเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนจะมีโอกาสมากขึ้นในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยเฉพาะจากแนวโน้มการเติบโตของความเป็นเมืองในอินโดนีเซียและเวียดนาม ประกอบกับสัดส่วนผู้บริโภคในกลุ่มmiddle income ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เช่น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผู้บริโภคมีสัดส่วนการใช้จ่ายสินค้าประเภทอาหารสดลดลงและบริโภคอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น อีกทั้งเริ่มมีความต้องการสินค้าและบริการที่หลากหลายรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าประเภท non-grocery ซึ่งความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลต่อรูปแบบที่เหมาะสมในการเข้าไปลงทุน ทั้งนี้ แม้ว่า AEC จะเปิดโอกาสการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น แต่ธุรกิจต้องคำนึงถึงกฎระเบียบภายในประเทศที่อาจจะยังเป็นอุปสรรคสำคัญ

ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นอีกธุรกิจเด่นที่ไทยมีข้อได้เปรียบและจะมีโอกาสขยายตลาดมากขึ้นในอาเซียนโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าจากอินโดนีเซียด้วยการเดินทางในภูมิภาคที่สะดวกขึ้น ทั้งนี้ ความมีชื่อเสียงเฉพาะด้านของไทยเช่น จุดเด่นทางด้านศัลยกรรมพลาสติก และทันตกรรม ร่วมกับชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวอาจเป็นหมัดเด็ดในการขยายตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยในอาเซียนเพิ่มเติมจากกลุ่มตลาดคนไข้ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ซึ่งไทยเป็นผู้นำอยู่แล้วในปัจจุบันอีกทั้ง AEC ยังช่วยเอื้ออำนวยให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานพยาบาลได้ง่ายขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเป็นอีกหนทางในการช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ของไทยได้

ธุรกิจด้านโลจิสติกส์ต้องใช้โอกาสจาก AEC มองหาลู่ทางการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายหุ้นส่วนทางธุรกิจเพื่อการบริการแบบครบวงจร ผู้ประกอบการมีโอกาสใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐเพื่อลงทุนในจังหวัดที่มีศักยภาพ เช่น จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า คลังสินค้าตามเส้นทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ AEC อีกทั้งควรสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการโลจิสติกส์อื่นๆทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ธุรกิจมีความหลากหลายในด้านรูปแบบการขนส่ง ช่วยให้การขนส่งมีความต่อเนื่องจากต้นทางสู่ปลายทาง รวมทั้งนำระบบการจัดการโลจิสติกส์ขั้นสูงและเทคโนโลยีมาใช้ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งรายอื่น

ธุรกิจบริการของไทยควรจะเริ่มสร้างอาวุธของตนเองและมองหาจังหวะที่เหมาะสมในการยกระดับของธุรกิจให้เข้าถึงตลาดอาเซียน ซึ่งความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะเป็นหนึ่งในจุดแข็งสำหรับการแข่งขันด้านการลงทุนในต่างประเทศของธุรกิจบริการของประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่กำลังขยายตัวแซงหน้าการลงทุนในภาคการผลิต นอกจากนี้ ยังต้องศึกษาทั้งด้านศักยภาพตลาด กฎเกณฑ์จากข้อตกลง กฎเกณฑ์ภายในประเทศต่างๆ เพราะธุรกิจบริการแต่ละประเภทอาจจะมีจังหวะในการบุกตลาดอาเซียนที่แตกต่างกันบางธุรกิจควรจะไปได้ตั้งแต่วันนี้ ในขณะที่บางธุรกิจควรจะรอก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งสำคัญคือธุรกิจควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ AECตั้งแต่วันนี้ เพราะ AEC ไม่ได้เริ่มต้นที่ปี 2015

ข้ออมูลจาก SCB EIC (ธนาคารไทยพาณิชย์)

 
Home > Articles > เศรษฐกิจ > เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8555717

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า