Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9

หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9

พิมพ์ PDF

หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เหนือทุกลัทธิการเมืองของโลก เป็นครั้งแรกของโลก ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก คือหลักการปกครองธรรมาธิปไตย ๙ ได้จัดสัมพันธภาพเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ ซึ่งวิเศษยิ่งใหญ่ตรงที่จะยกอะไรๆ มาอธิบายก็ได้หมดทุกเรื่อง นับแต่การสืบพันธ์ถึงแกแลกซี่ (รูป)
๑) สัมพันธภาพระหว่าง "องค์เอกภาพหรือศูนย์กลาง กับ ความแตกต่างหลากหลาย" 
๒) องค์เอกภาพ มีลักษณะแผ่กระจายเมตตา ให้โอกาสก่อนออกไปทั่วสารทิศ ส่วนฝ่ายแตกต่างหลากหลาก มุ่งตรง ขึ้นตรงต่อองค์เอกภาพหรือศูนย์กลาง
๓) ด้วยเหตุปัจจัยในข้อ ๑ และข้อ ๒ ก่อให้เกิดดุลยภาพ ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง
เมื่อนำมาใช้ กล่าวโดย่อคือ 
- สัมพันธภาพที่ ๑) ระหว่าง องค์เอกภาพ คือ หลักการปกครองธรรมาธิปไตย ๙ กับ ประชาชน
- สัมพันธภาพที่ ๒) ระหว่าง องค์เอกภาพ คือ หลักการปกครองธรรมาธิปไตย ๙ กับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ 
อีกนัยยะหนึ่ง หลักการปกครองธรรมาธิปไตย ๙ นี้ ล้วนเป็นหลักธรรมที่ไม่ตาย ไม่เปลี่ยนแปลง ดังเช่น ชาติไม่ตาย แต่ประชาชนทยอยเกิด-ตายทุกวัน 
หลักธรรมาธิปไตยไม่ตาย แต่สรรพสิ่งทยอยเกิด-ตาย อยู่ตลอดเวลา 
หลักพระมหากษัตริย์ไม่ตาย แต่พสกนิการทยอยตาย-เกิดทุกวัน เป็นต้น 
ดังนั้นหลักการปกครองฯ จึงเป็นของคนไทยทุกคน ต่างก็สืบทอดกันมา โดยที่ประชาชนทั้งหลายก็ได้ปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวัน ดังเช่น จุดหมายใดๆ ต้องมาก่อนวิธีการไปสู่จุดหมายเสมอ หลักการปกครองดังกล่าว ประชาชน บุคคลก็ได้ปฏิบัติอยู่ทุกวันโดยอาจจะไม่รู้ตัว ซึ่งทุกคนต่างก็ได้ปฏิบัติเช่นนี้ในยามปกติเมื่อปฏิบัติต่อผู้อื่น จึงได้นำมาแสดงให้เห็นชัดเจนอย่างเป็นทางการโดยยกขึ้นเป็นหลักการปกครองฯ ซึ่งเป็นหลักการทางการเมืองของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งจะได้รับรู้โดยทั่วกัน และเป็นภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์ของคนไทยทุกคน (คือทั้งอำนาจและสิทธิหน้าที่ของประชาชน)
ยิ่งไปกว่านั้น หลักการปกครองธรรมาธิปไตย ๙ ได้จัดลำดับด้วยเหตุปัจจัยของเหตุและผล ตามกฎอิทัปปัจจยตา หรือกฎแห่งกรรม พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ กฎอิทัปปัจยตา อันเป็นกฎสากลหรือกฎทั่วไป (General Law) คือ ความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยระหว่างเหตุและผล ความว่า 
อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี 
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น 
อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี 
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ 
เมื่อนำมาประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องโดยธรรม จะเป็นไปตามกฎอิทัปปัจยตาฝ่ายบวก ฝ่ายเจริญก้าวหน้าโดยฝ่ายเดียว “เมื่อเหตุดี ผลย่อมดีตาม” ดังนี้
หลักธรรมาธิปไตย ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้หลักพระมหากษัตริย์ประมุขแห่งรัฐยิ่งใหญ่, 
หลักพระมหากษัตริย์ฯ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้มีหลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน, 
หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้มีหลักเสรีภาพบริบูรณ์, 
หลักเสรีภาพบริบูรณ์ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้มีหลักความเสมอภาคทางโอกาส, 
หลักความเสมอภาคทางโอกาส ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้มีภราดรภาพ, 
หลักภราดรภาพ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้มีหลักเอกภาพ, 
หลักเอกภาพ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้มีหลักดุลยภาพ, 
ทั้งหลักข้อที่ ๑-๘ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยที่แท้ก็คือหลักนิติธรรม (Rule of Law)

ดังกล่าวนี้ เมื่อนำหลักธรรมาธิปไตย ๙ มาเป็นหลักการปกครอง จะเป็นปัจจัยให้ประชาชนได้รับความยุติธรรม ยกศักยภาพของประชาชนให้สูงขึ้นอย่างเป็นอารยะชนในทุกด้าน ประเทศชาติมีความมั่นคง และประชาชนมั่งคั่งอย่างยั่งยืน 
ด้วยทางคณะกรรมการฯ และแกนนำธรรมาธิปไตยทั่วประเทศ ได้มีความเห็นร่วมกันและพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อจะได้เสนอ คสช.และรัฐบาล ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ร่วมมือกันพิจารณา ออกนโยบายเร่งด่วนที่สุด ด้วยอำนาจที่มีอยู่เพื่อการสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ให้สำเร็จโดยด่วนที่สุด ก่อนยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๒๐ ไม่เช่นนั้นแล้ว ทั้ง คสช. และรัฐบาล จะพาเข้าสู่ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ซ้ำรอยเก่า เป็นครั้งที่ ๒๐ รัฐบาลและกองทัพตกเป็นฝ่ายรับทางการเมืองทั้งจากภายในและภายนอก(กระแสธารณะรัฐ) อันจะเป็นอันตรายต่อชาติ-ราชบัลลังก์ อันจะเกิดขึ้นจากฝ่ายตรงข้ามที่เห็นผิดอย่างร้ายแรงต่อชาติ
ขอให้ทั้ง คสช. และรัฐบาล พิจารณาอย่างรอบคอบ รอบด้าน และทำได้สำเร็จ คือการสร้างความถูกต้องโดยธรรมอย่างยิ่งใหญ่ชั่วลูกชั่วหลานตลอดไป ยิ่งใหญ่ตลอดไป นั่นก็คือ การสถาปนาสัมพันธภาพระหว่างหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 กับปวงชนในชาติ อย่างถูกต้องยิ่งใหญ่ 
ทั้งจะเป็นการปฏิบัติตามแนวทางการเมืองแห่งบูรพมหากษัตริย์ไทยและสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โดยพระองค์ทรงพระราชปณิธาน เสนอหลักการปกครองประชาธิปไตย (จุดหมายของปวงชน) ก่อนยกร่างรัฐธรรมนูญ (วิธีการปกครองของปวงชน)

 

ปวิช เพชรอริยะ

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 09 กรกฏาคม 2015 เวลา 18:17 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8590150

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า