Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > นโยบายด้านศาสนา ของมีค่าที่ถูกลืม โดย ศ.วิจารณื พานิช

นโยบายด้านศาสนา ของมีค่าที่ถูกลืม โดย ศ.วิจารณื พานิช

พิมพ์ PDF

 

คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา จัดการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “นโยบายด้านศาสนา : ของมีค่าที่ถูกลืม” วันที่ ๑๑ - ๑๒ พ.ค. ๕๕ ผมโชคดี ได้รับเชิญเข้าร่วม และบรรยายเรื่อง ความร่วมมือทางศาสนาในประชาคมอาเซียน จึงนำ narrated ppt มาฝากที่

http://www.uc.mahidol.ac.th/file/ความร่วมมือทางศาสนา_NRC_550512_N.pptx

 

ผมตั้งใจไปทำความเข้าใจว่านักวิชาการและวิทยากรที่มาพูด มองคุณค่าของศาสนาอย่างไร

 

ผมเพิ่งบันทึกความในใจเรื่องการถือศาสนาของผมที่นี่

 

บ่ายวันที่ ๑๑ ผมมีโอกาสได้ฟังส่วนหนึ่งของการอภิปรายเรื่อง “นโยบายในการส่งเสริมและทำนุบำรุงศาสนา : จากบริบทไทยไปบริบทอาเซียน ส่วนของศาสนา ซิกข์  และศาสนาอิสลาม   สิ่งที่ผมได้คือ ทั้งสองศาสนาเน้นการเรียนรู้สืบทอดหลักศาสนาภายในครอบครัว    เน้นความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว    วิทยากรจากทั้งสองศาสนาเน้นตรงกันอีกอย่างหนึ่งคือ การปฏิบัติ ที่อยู่กับเนื้อกับตัว ในทุกขณะจิตของชีวิต   ข้อนี้ตรงกับความเข้าใจของผม ว่าการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ที่เรียกว่าการฝึกฝนตนเอง เป็นเรื่องสำคัญที่สุดของชีวิต   และเข้าใจว่าทุกศาสนาเน้นข้อนี้   แต่มีวิธีดำเนินการแตกต่างกัน

 

วันที่ ๑๒ พ.ค. ผมจึงเข้าร่วมประชุมตลอดวัน เริ่มจากการบรรยายของผมตาม narrated ppt ข้างต้น   และเมื่อกลับมาไตร่ตรอง (AAR) ต่อที่บ้าน จึงเห็นว่า ศาสนาก็เช่นเดียวกับองค์กรหรือปัจจัยทางสังคมอื่นๆ (เช่น การศึกษา) ที่ตกอยู่ในสภาพที่ปรับตัวไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม   มีการพูดกันว่าวงการพุทธศาสนาไทยสื่อสารกับคนส่วนใหญ่ในสังคมไม่รู้เรื่อง

 

สังคมไทยทั้งสังคม ไม่มีกลไกปรับตัวให้แก่ระบบทางสังคมที่มีคุณค่าในอดีต   ให้เปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม    เพื่อให้ระบบทางสังคม (เช่นศาสนา) ยังดำรงคุณค่า (ในรูปแบบใหม่) ให้แก่สังคมต่อไปได้

 

ผมตีความว่า ระบบศาสนาต้องเรียนรู้มาก และปรับตัวมาก จึงจะดำรงคุณค่าแก่สังคมได้   แม้ว่าแก่นของศาสนาไม่เปลี่ยน แต่เปลือกหรือส่วนสัมผัสสื่อสารกับผู้คนในสังคมต้องเปลี่ยน   เพื่อดำรงคุณค่าต่อคนส่วนใหญ่ในสังคมให้ได้   เป้าหมายคือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ ให้ยึดมั่น เชื่อมั่น ในคุณงามความดี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

 

ที่จริงจะว่าวงการศาสนาไม่ปรับตัวก็ไม่ถูกต้อง    มีคนกล่าวในที่ประชุม (ตรงกับข้อสังเกตของผมเองด้วย) ว่าเดี๋ยวนี้วัดต่างๆ ในประเทศไทย ปรับตัวเป็น one stop service แก่ความเชื่อแบบงมงาย แก่ผู้มาสะเดาะเคราะห์ขอพร เป็นมีทั้งพระพุทธรูป เจ้าแม่กวนอิม ทั้งเทพฮินดู พระราหู ฯลฯ ให้กราบไหว้บูชา    ไปที่เดียวได้พบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ครบทุกประเภท

 

ผมได้เรียนรู้มากมายจากการบรรยายและการอภิปรายในวันนี้   แต่ผมแปลกใจ ที่ในช่วงการอภิปรายเรื่องศรัทธากับงานสร้างสรรค์ทางศาสนา วิทยากร ๖ ท่าน   ไม่มีใครเอ่ยถึงงานสร้างสรรค์ หรืองานศิลปะ ที่เป็นเครื่องเอื้อต่อการเข้าถึงแก่นแท้ของศาสนาได้ดีขึ้น   ซึ่งผมนึกถึงโรงมหรสพทางวิญญาณที่สวนโมกข์   และนึกถึงหอจดหมายเหตุพุทธทาส ที่กรุงเทพ มีแต่ ศ. ดร. วิรุณ ตั้งเจริญ ที่ยกเอาบทกวีของท่านพุทธทาสมาอ่าน ได้แก่ มองแต่แง่ดีเถิดโลกนี้คืออะไรแน่เป็นมนุษย์หรือเป็นคน

 

แต่กลอนชื่อ มองแต่แง่ดีเถิด ที่ ศ. ดร. วิรุณ ยกมา มี ๓ ตอน เพิ่มจากที่ผมค้นและลิ้งค์ไว้ข้างบน ๑ ตอน   จึงขอนำตอนที่ ๓ มาลงไว้ ดังนี้

ไม่นานนัก  จักมี  ดีประดัง

จนกระทั่ง  ถึงมี  ดีอย่างยิ่ง

เมื่อพ้นดี  จะถึงที่  นิพพานจริง

นับเป็นสิ่ง  ควรฝึกแน่  “มองแต่ดี”

 

ขอนำบันทึกส่วนตัว ที่ผมใช้ iPad จดประกอบการฟังและคิดที่นี่ (link ไปยังไฟล์ ศาสนา_550511)   ข้อความที่มีดอกจันทน์อยู่ข้างหน้าหมายถึงความคิดของผมที่ผุดขึ้นระหว่างฟัง

ท่านมหาหรรษา วิทยากรท่านหนึ่ง กล่าวว่า คนในประเทศออสเตรเลีย ร้อยละ ๗๐ บอกว่าตนไม่มีศาสนา    ผมไม่เชื่อ   ผมคิดว่าเขาไม่ถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งโดยเฉพาะ   แต่คนเราต้องการความเชื่อชุดหนึ่งสำหรับยึดถือหรือเป็นที่พึ่งทางใจ   ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรงกับศาสนาหนึ่งศาสนาใดทั้งหมด   แต่ก็เป็นการยึดถือทางศาสนานั่นเอง

AAR อีกข้อหนึ่งของผมคือ ยังแตะศาสนาส่วนที่เป็นแก่น และส่วนที่เป็นการปฏิบัติในชีวิตประจำวันน้อยไป   ผมพยายามบอก(ในการบรรยายของผม)ว่าต้องเน้นที่การสอดแทรกทักษะด้านใน คือทักษะด้านศาสนาธรรมที่เป็นแก่นเข้าไปใน PBL   และครูต้องเอาเรื่องวิธีเป็น facilitator เพื่อปลูกและงอกงามทักษะด้านใน เอามา ลปรร. และวางแผนดำเนินการร่วมกันใน PLC   เพราะทักษะด้านในเป็นส่วนสำคัญของ Life Skills ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ 21st Century Skills    แต่ผมคงจะพูดไม่ชัด จึงเอามาย้ำไว้ ณ ที่นี้

ทักษะด้านในที่เป็นศาสนธรรมนี้ น่าจะเป็นศาสนธรรมสากล คือก้าวข้ามแต่ละศาสนา เข้าสู่ส่วนที่เหมือนกันของทุกศาสนา    และทักษะนี้แหละที่จะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างศาสนาลงได้

 

ส่วนหนึ่งของทักษะด้านในด้านศาสนธรรมสากลคือ EFของสมองนั่นเอง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ พ.ค. ๕๕

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 19 มิถุนายน 2012 เวลา 19:41 น.  
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > นโยบายด้านศาสนา ของมีค่าที่ถูกลืม โดย ศ.วิจารณื พานิช

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8599028

facebook

Twitter


บทความเก่า