Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > ท่องเที่ยว > แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแห่งชาติ

แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแห่งชาติ

พิมพ์ PDF

ได้รับการติดต่อให้เข้าไปช่วยทำโครงการ "การลงทุนทำธุรกิจโรงแรมและที่พักที่ประเทศ Australia จึงนั่งค้นหาเอกสารต่างๆที่เคยทำไว้แล้ว ได้พบเอกสารการนำเสนอเมื่อปี 2554 เห็นว่ายังไม่ล้าสมัยจึงขอนำมาเผยแพร่ดังต่อไปนี้

 

แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแห่งชาติ

การท่องเที่ยวเป็นความหวังของคนไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติ การท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประชาชนโดยร่วม รายได้ของการท่องเที่ยวมาจากการใช้จ่ายเงินของคนด้านการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการสร้างงานและรายได้ในภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น พาหนะที่ใช้ในการเดินทาง ที่พักแรม อาหารเครื่องดื่ม ของที่ระลึก อุปกรณ์เครื่องใช้ในการเดินทาง การสื่อสารและเทคโนโลยี ต่างๆที่ใช้ในการบริหารจัดการด้านการให้บริการท่องเที่ยว

เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมาจาก ภาคเกษตรกรรม (ผลิต-ขาย) ภาคอุตสาหกรรม (ผลิต-ขาย) ภาคการค้า (สินค้า ชื้อมา-ขายไป) ภาคการค้าบริการ (การบริหารจัดการ)

ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นสาขาหนึ่งในธุรกิจภาคการค้าบริการ  วัตถุดิบมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และจากการจัดการของมนุษย์  ขบวนการในการให้บริการของธุรกิจท่องเที่ยว เกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรม, ภาคอุตสาหกรรม.และภาคการค้า (สินค้า)  และภาคการค้าบริการในสาขาธุรกิจอื่นๆ เช่น การเงิน การขนส่งคมนาคม โรงแรม ฯลฯ

วัตถุดิบที่สำคัญของธุรกิจท่องเที่ยวประกอบด้วย

สถานที่ท่องเที่ยว ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเกิดจากการจัดการของมนุษย์ การคมนาคม ได้แก่การขนย้ายนักท่องเที่ยวเข้าไปและออกจากสถานที่ท่องเที่ยว ประกอบด้วยพาหนะ ได้แก่ รถ เรือ เครื่องบิน เส้นทางการเดินทาง ถนน แม่น้ำ ทะเล อากาศ ที่พักแรม อาหารเครื่องดื่ม และบริการอื่นๆที่ให้กับนักท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และอารยะธรรม ความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละชุมชน มนุษย์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการและการให้บริการ

หัวใจของธุรกิจบริการท่องเที่ยวได้แก่การบริหารจัดการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้แก่ ภาครัฐ นักการเมือง ข้าราชการ (ส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น) ภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร และพนักงานผู้ให้บริการ ภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง ประชาชนทั่วๆไป

การบริหารจัดการในส่วนของภาครัฐ ประกอบด้วย

กาบริหารจัดการทำแผนและนโยบายการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศ การบริหารจัดการในการนำแผนไปปฏิบัติให้ได้ตามนโยบายในทุกภาคส่วน การบริหารจัดการติดตามและวิเคราะห์การปฏิบัติงานในทุกภาคส่วน การบริหารจัดการควบคุมการใช้งบประมาณให้เป็นไปตามแผนและนโยบาย การบริหารจัดการเครือข่ายทั้งส่วนของภาครัฐและส่วนของภาคเอกชนให้ทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ

การบริหารจัดการทำแผนและนโยบายการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศ ต้องคำนึงถึงด้าน เศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม และความมั่นคง

ด้านเศรษฐกิจได้แก่การคำนึงถึงการเติบโตของการท่องเที่ยว ทั้ง รายได้ และ จำนวนนักท่องเที่ยว  แผนและนโยบายต้องชัดเจน จะเอารายได้หรือจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นตัวกำหนด  นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มใช้จ่ายไม่เท่ากัน นักท่องเที่ยวทุกคนมีต้นทุนทั้งที่วัดเป็นตัวเงินได้และที่วัดเป็นตัวเงินไม่ได้ สินค้าท่องเที่ยวเป็นทรัพย์สินของคนไทยทั้งแผ่นดิน ต้องคำนึงว่ารายได้ตกอยู่กับใคร งบประมาณที่รัฐนำไปพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวเหมาะสมและคุ้มค่ากับการเจริญเติบโตของการท่องเที่ยวหรือไม่ มีผลกระทบกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างไร

ด้านสังคมสิ่งแวดล้อม นักท่องเที่ยวหมายถึงผู้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ เมื่อมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากจะทำให้คนท้องถิ่นในสถานที่ท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ ทั้งด้านดี และไม่ดี การจัดทำแผนและนโยบายในส่วนนี้ จะต้องพิจารณาถึงการบริหารจัดการสถานที่ให้ได้รับผลกระทบด้านลบน้อยที่สุดทั้งด้าน ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน สภาพแวดล้อม การรักษาวัฒนธรรมและอารยะธรรมที่ดีงามของชุมชน

ด้านความมั่นคง การท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคนต่างชาติหรือคนต่างท้องถิ่น มีทั้งนักท่องเที่ยวจริง และผู้ที่แฝงตัวเป็นนักท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกที่จัดหาให้กับนักท่องเที่ยว เช่นแผนที่ หรือบางธุรกิจที่แอบแฝงมากับธุรกิจท่องเที่ยว อาจจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ทั้งด้านการปกครอง และด้านเศรษฐกิจ

การบริหารจัดการในการนำแผนไปปฏิบัติให้ได้ตามนโยบายในทุกภาคส่วน

จัดการแจกแจงงานที่จะต้องทำในแต่ละแผน และกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบ (ถ้าแผนงานใดมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ มอบหมายให้ปลัดกระทรวงท่องเที่ยวหรือตัวแทนเป็นเลขาหรือประธานคณะทำงาน )

กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา ดูแลเรื่องมาตรฐานการท่องเที่ยว

รับผิดชอบงานด้าน พรบ การท่องเที่ยว เป็นนายทะเบียน ควบคุมการออกใบอนุญาตผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ผู้บริหาร และผู้ให้บริการธุรกิจท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งท่องเที่ยว

บริหารจัดการเกี่ยวกับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งด้านการสนับสนุน และการควบคุมมาตรฐาน  ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องกับการให้บริการท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รับผิดชอบงานด้านการตลาดตามภารกิจที่ทำอยู่แล้ว

ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวด้านการทำตลาดและส่งเสริมการขาย

ติดตามดูแลนักท่องเที่ยวให้ได้รับบริการที่เหมาะสมกับเงินที่จ่าย

ทำงานร่วมกับกระทรวงท่องเที่ยวและผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวรวมถึงผู้มีส่วนร่วมในการตลาดและการส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะสื่อด้านการท่องเที่ยว

กระทรวงและหน่วยงานอื่นๆที่รับผิดชอบงานหลักของแผนในการพัฒนาการท่องเที่ยว เช่น กระทรวงมหาดไทย ดูแลเรื่องการพัฒนาแหล่งชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ กระทรวงคมนาคม ดูแลเรื่องการสร้างถนน และการควบคุมเรื่องใบอนุญาตการประกอบการรถขนส่ง

ตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ เพื่อผลัดดันให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนนโยบายหลัก และมีงบประมาณแยกออกมาเฉพาะ ตัวแทน กระทรวงท่องเที่ยว หรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นเลขาคณะทำงาน ของแต่ละคณะ ประกอบด้วยตัวแทนของ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธรณสุข กระทรวง ไอ ที่ ซี  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอื่นๆหรือองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

การบริหารจัดการติดตามและวิเคราะห์การปฏิบัติงานในทุกภาคส่วน

สำนักนายกเป็นผู้รับผิดชอบ โดย มีตัวแทนของนายกเป็นประธาน มี กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และหรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นเลขาของแต่ละแผนงาน ตัวแทนของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละแผนงานเป็นกรรมการ

การบริหารจัดการควบคุมการใช้งบประมาณให้เป็นไปตามแผนและนโยบาย

กระทรวงการคลัง เป็นประธาน โดยมีกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และหรือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นเลขา ตัวแทนของกระทรวงและหน่วงงานที่เกี่ยวข้องกับแผนเป็นกรรมการ

การบริหารจัดการเครือข่ายทั้งส่วนของภาครัฐและส่วนของภาคเอกชนให้ทำงานร่วมกันแบบบูรณการ

คณะทำงานอิสระ ประกอบด้วย ตัวแทนนายก ตัวแทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตัวแทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตัวแทนกระทรวงและหน่วยงานของภาครัฐส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ตัวแทน สมาคม สภา สหพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ตัวแทน ลูกจ้างผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว (ผู้บริหาร และผู้ให้บริการ) ตัวแทนชุมชน และสถานที่ท่องเที่ยว หัวหน้าชุมชนที่เกี่ยวข้องธุรกิจท่องเที่ยว ตัวแทนสถาบันการศึกษา และวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ

แผนปฏิบัติการณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ต้องดำเนินการควบคู่กันไปทั้ง ๓ ภาคส่วน ได้แก่

ภาคธุรกิจ เจ้าของ,ผู้บริหาร,พนักงาน ภาครัฐ นักการเมือง ข้าราชการ (ส่วนกลาง และ ท้องถิ่น) สถาบันการศึกษา นักวิชาการ สถานศึกษา

ภาคธุรกิจ : ต้องได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการตลาดอย่างแท้จริง เพื่อเปลี่ยนแนวทางค้าขายให้มาเน้นถึงการค้าแบบยั่งยืน มีกำไรในทางตรง มีการบริหารและการจัดการแบบมืออาชีพ สร้างเครือข่ายและมีการร่วมทุน ได้รับการสนับสนุนในสิ่งที่ต้องการจากภาครัฐ รับผิดชอบ ต่อสังคม ลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ เห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการด้วยกัน โดยผลักดันให้สมาคมเป็นสมาคมของสมาชิก กรรมการสมาคมต้องบริหารงานสมาคมให้เป็นที่ไว้ใจของสมาชิก สร้างความเข้มแข็งและสนับสนุนให้สมาชิกได้รับผลประโยชน์จากภาครัฐอย่างทั่วถึงและยุติธรรม เห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อทำให้ภาครัฐเข้าใจในธุรกิจของสมาชิก ทำให้สมาชิกโดยรวมได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ให้ความสำคัญกับสมาชิก ควรจะมีการประชุมร่วมกับสมาชิกและได้รับความคิดเห็นจากสมาชิกก่อนที่จะส่งผู้แทนไปเข้าร่วมประชุมกับภาครัฐ

ภาครัฐ :ทำความเข้าใจธุรกิจการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ วางแผนและนโยบายเพื่อสร้างกลยุทธ์ให้ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจที่จะดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน และขับไล่ผู้ประกอบการที่ไม่ดีให้ออกไปจากวงการ การวางแผนและกำหนดนโยบายสำคัญควรให้ภาคเอกชนโดยรวมมีส่วนร่วมไม่ใช่ทำเสร็จแล้วจึงแจ้งเอกชนให้รับทราบ หรือเรียกประชุมโดยด่วนไม่ให้เวลาภาคเอกชนได้คิด ปรับเปลี่ยนการทำงานจากการตั้งรับเป็นฝ่ายรุก โดยการสร้างเครือข่ายร่วมกับผู้ประกอบการ ศึกษาทำวิจัยเรื่องแรงงานด้านอุตสาหกรรมการให้บริการด้านการท่องเที่ยว และวางแผนเพื่อให้การสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีแรงงานที่มีคุณภาพทั้งแรกเข้า และพนักงานเก่าเพื่อการเลื่อนฐานะที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สร้างมาตรฐานแรงงาน และอัตราแรงงานที่เหมาะสมทุกระดับขั้น เป็นตัวกลางสร้างความยุติธรรมให้กับผู้ประกอบการและพนักงาน

· สถาบันการศึกษาและหน่วยงานการพัฒนามนุษย์ : ผลิตนักศึกษาให้ได้คุณสมบัติตามที่สถานประกอบการต้องการ สร้างหลักสูตรสำหรับพนักงานที่มีความชำนาญและความรู้ในแต่ละงาน สร้างผู้ฝึกสอนในสายอาชีพ เพื่อสามารถเป็นครูสอนพนักงานใหม่ และนักศึกษาได้  มีการสอบเทียบเพื่อรับวุฒิบัตร สำหรับผู้ที่มีความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ในการทำงานแต่ขาดปริญญา สร้างมนุษย์ให้มีคุณค่าเป็นคนดีคนเก่งทำประโยชน์ให้กับสังคม

แนวคิดในการจัดทำหลักสูตรสำหรับผู้บริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว

สร้างองค์ความรู้และความเข้าใจด้านแนวทางการดำเนินการทั้งของภาครัฐและเอกชนและ NGO เพื่อการผสมผสานการดำเนินงานที่ยั่งยืน การสร้างแนวทางการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆรวมทั้งปัญหาและอุปสรรค์ที่ประสบในการพัฒนาการท่องเที่ยวจากแหล่งต่างๆ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่างๆเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันของทุกภาคส่วน สร้างจิตสำนึกและการจัดสรรทรัพยากรให้สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม

กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผู้นำประชาชนในพื้นที่หรือ NGO ภาคเอกชนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

ประโยชน์ที่จะได้รับ การสร้างเครือข่ายทางการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งกลุ่ม NGO การสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในทุกมุมมองไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ภาครัฐ และ NGO ความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ที่ยั่งยืน ความเข้าใจระหว่างองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชน และ NGO ทำให้การบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นไปได้อย่างดี ทำให้เกิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

หลักสูตร ประกอบด้วย

วิชาพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์เพื่อการท่องเที่ยว การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย การวิเคราะห์ด้านแนวโน้มการท่องเที่ยวของประเทศไทย หลักการบริหารแหล่งท่องเที่ยว กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย การวางแผนและนโยบายทางด้านการท่องเที่ยวระหว่างภาครัฐและเอกชน

หมวดวิชาเฉพาะด้าน การวางแผนกลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยวเพื่อการแข่งขัน การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว การวางแผนและจัดการทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน การจัดการวางผังสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน แนวคิดในการสร้างกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและเพื่อสร้างรายได้การวางแผนและแนวทางการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเปิดเสรี AEC

กิจกรรม สานสัมพันธ์ผู้เข้าอบรม จัดทำยุทธศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จัดทำเอกสารนำเสนอแนวทางการเชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยวของไทยในพื้นที่ จัดทำเอกสารนำเสนอแนวทางการรักษาแหล่งท่องเที่ยวและวัฒนธรรมชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

แก้ไขและปรับปรุ่งวันที่ 25 กันยายน 2558

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2015 เวลา 17:21 น.  
Home > Articles > ท่องเที่ยว > แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแห่งชาติ

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8600674

facebook

Twitter


บทความเก่า