Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > งานควร สร้างสุข ไม่ใช่ ก่อทุกข์

งานควร สร้างสุข ไม่ใช่ ก่อทุกข์

พิมพ์ PDF
การทำงานเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์ทุกคน เมื่อเราเติบโตพ้นวัยเด็ก เราจะเข้าสู่ “วัยทำงาน” ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เราต้องอยู่ยาวนานที่สุดในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง หากพิจารณาจากนิยามคนวัยทำงาน ซึ่งกำหนดไว้ว่า มีอายุ 15-59 ปี หรือใช้เวลา 44 ปี ของชีวิตในการทำงาน สมมติแต่ละคนใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงาน วันละ 8-9 ชั่วโมง ตลอดอายุจะใช้เวลาทำงาน เฉลี่ยประมาณ 53,000 ชั่วโมง ... เท่ากับว่า เราใช้เวลามากกว่าครึ่งชีวิต ในการทำงาน (หากเราเสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี)!!
การทำงานกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ที่ไม่สามารถปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงได้

 

โทมัส คาร์ไลน์ (Thomas Carlyle) นักประวัติศาสตร์ชาวสก็อต กล่าวไว้อย่างเป็นจริงว่า “การทำงาน คือ ยาชั้นดี ในการรักษาเยียวยาโรคทุกชนิดและความทุกข์ยากลำบากนานัปการที่คอยรุมเร้ามนุษยชาติ”
คนที่ไม่ได้ทำงาน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด แม้จะร่ำรวยสุขสบาย เกษียณอายุ หรือตกงานเป็นเวลานาน มักจะมีปัญหาด้านจิตใจ เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า นำความทุกข์มาให้กับตัวเองได้อย่างมาก ตรงกันข้าม คนที่ทำงาน ทั้งงานที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ย่อมเกิดความรู้สึกพึงพอใจ รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า เมื่อสามารถสร้างผลผลิตได้สำเร็จ
ในช่วงเวลามากกว่า “ครึ่งชีวิต” นี้ คนทำงานแต่ละคนทำงานอย่างมีความสุขหรือทำอย่างทนทุกข์ จะสร้างผลงานที่นำความภาคภูมิใจมาสู่ชีวิต หรือตลอดชีวิตการทำงาน ไม่ได้สร้างสิ่งใดที่น่าภาคภูมิใจเลย ...ขึ้นอยู่กับ “ทัศนคติ” ที่เรามีต่อการทำงาน
ความสุข – ทัศนะต่องานในแง่บวก คนที่มีทัศนคติต่องานในแง่บวก ย่อมทำงานอย่างมีความสุข และสามารถสร้างผลงานที่มีคุณค่าจากศักยภาพชีวิตทั้งหมดของตนได้มากมาย
วอลแตร์ (Voltaire) นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า “การทำงานช่วยขับไล่ความเลวร้าย 3 ประการออกไป ความเบื่อหน่าย ความบกพร่อง และความยากจน” ...ทัศนคติเช่นนี้ ทำให้เขาสามารถสร้างผลงานแห่งชีวิตได้อย่างมากมาย
วอลแตร์มีอิทธิพล ทั้งต่อฝรั่งเศส และคนทั้งโลก จนถึงปัจจุบันนี้ แม้เขาจะเสียชีวิตมากว่า 200 ปีแล้วก็ตาม เมื่อจบการศึกษา วอลแตร์เริ่มต้นด้วยการทำงานเป็นทนายความ แต่เขาไม่ชอบอาชีพนี้ จึงตัดสินใจทำสิ่งที่ตนชอบ คือ เขียนหนังสือ ซึ่งเริ่มอย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 20 ปี เขาชอบเขียนหนังสือประเภทเสียดสีสังคมอยู่เสมอ
ครั้งหนึ่ง เขาเขียนกลอนล้อเลียนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงถูกส่งเข้าคุกบัสตีย์ ขณะที่อยู่ในคุก แทนที่จะท้ออกท้อใจ เขากลับนั่งเขียนบทละครโศกนาฏกรรมเรื่องแรกขึ้น  เน้นความสำคัญทางเสรีภาพของมนุษย์ ต่อมา วอลแตร์ถูกขังคุกอีกครั้ง และหลังออกจากคุก เขาถูกเนรเทศไปอังกฤษ
แต่ไม่ว่า จะอยู่ที่ไหน อยู่ในสถานการณ์เช่นไร วอลแตร์จะเขียนหนังสืออยู่ไม่หยุด และจะสนใจศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ การเมือง สังคม ผลงานของเขาจึงมีมากมาย หลากหลายประเภท ทั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวี ที่สำคัญ ก่อให้เกิด “อิทธิพลทางความคิด” สู่สาธารณชน ปลุกกระแสการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ การต่อสู้ความอยุติธรรม นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2332 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศาสนา
อิทธิพลความคิดจากงานเขียนของวอลแตร์ เป็นรากฐานของระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ชื่อของเขายังอยู่ แม้เขาจะจากโลกนี้ไปกว่าสองร้อยปีแล้วก็ตาม
จะเห็นได้ว่า คน ๆ เดียวที่มีทัศนคติต่องานในแง่บวก “รักในสิ่งที่ตนทำ” และไม่หยุดทำงาน ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร ย่อมไม่เพียงสามารถสร้างผลงานออกมาได้มากมาย แต่เป็นผลงานที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม และอนาคตของมนุษยชาติได้อย่างยาวนาน
ความทุกข์ – ทัศนะต่องานในแง่ลบ ในทางตรงกันข้าม แม้การทำงาน อาจเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่น่าพึงพอใจ เป็นความสุข สำหรับคน ๆ หนึ่ง แต่ขณะเดียวกันอาจเป็นสิ่งที่เลวร้าย เป็นภาระหนัก เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เป็นความทุกข์ สำหรับคนอีกคนหนึ่ง
คนจำนวนไม่น้อยเป็นพวก “เลือกเงิน ไม่ใช่เลือกงาน” ทำงานอะไรก็ได้ที่ให้ผลตอบแทนสูง ๆ โดยไม่ได้ดูว่า งานนั้นมีคุณค่า เกิดประโยชน์หรือไม่  คนที่ไม่อยากทำงาน แต่อยากได้เงิน จึงมักเป็นพวกที่มักมีอาการ...อู้งาน เกี่ยงงาน หลบงาน เลี่ยงงาน ทำแบบลูบหน้าปะจมูก เพียงเพื่อไม่ให้ตัวเอง “ตกงาน”
เอกสารงานวิจัยหลายชิ้น ระบุว่า คนไทยนั้นขาดค่านิยมในเรื่องการทำงานหนัก มีข้อค้นพบที่สอดคล้องกันว่า คนไทยมีค่านิยมหรือบุคลิกภาพโดดเด่นในทางรักสนุก รักสบาย ไม่ค่อยให้คุณค่าเกี่ยวกับเรื่องงานหรือการทำงาน ยิ่งหากงานนั้นเป็นงานหนัก ยากลำบาก มักจะหลีกเลี่ยง และมองว่าเป็นความทุกข์
หากใครมีทัศนคติต่อการทำงานเช่นนี้ ขอแนะนำว่า ให้รีบเปลี่ยนโดยด่วน เราทุกคนควรมีทัศนคติต่องานอย่างถูกต้อง เพื่อให้เราจะมีโอกาสใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีคุณค่า อย่างมีความสุข อย่างสมศักดิ์ศรีที่เกิดมาเป็นมนุษย์
เราควรมองการทำงาน เป็นโอกาสสร้าง “ผลผลิตชีวิต” เป็นโอกาสที่เราที่จะเนรมิตสร้างสิ่งดีงามให้เกิดขึ้น
ผมพูดเสมอว่า “เราไม่ควรทำงานเพียงเพื่อแสวงหาความอยู่รอด เพราะการมีชีวิตอยู่เพียงเพื่อทำมาหากินอย่างเดียว จะต่างอะไรกับสิงสาราสัตว์ที่แทะเล็มหญ้าไปวัน ๆ จนกว่าจะตาย มนุษย์เราควรมีอะไรมากกว่านั้น”
หากเรามีทัศนคติต่องานอย่างถูกต้อง เลือกทำงานที่เรารัก เป็นงานที่มีคุณค่าและทำด้วยเห็นคุณค่า ย่อมส่งผลให้ทำงานอย่างมีความสุข ใช้ศักยภาพที่มีอย่างเต็มที่ และผลผลิตจากการลงแรงจะเกิดขึ้นมากมาย นำความภาคภูมิใจมาสู่ชีวิตได้ในที่สุด
ที่มา: งานวันนี้
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน , http:// www.kriengsak.com
 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > งานควร สร้างสุข ไม่ใช่ ก่อทุกข์

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3047
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8596461

facebook

Twitter


บทความเก่า