Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > จากชุมชนสู่โลกาภิวัตน์ ตัวอย่างบทบาทผู้นำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับ UNESCO

จากชุมชนสู่โลกาภิวัตน์ ตัวอย่างบทบาทผู้นำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับ UNESCO

พิมพ์ PDF

ในช่วง 4-5 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้ทำงานในระดับชุมชนหลายเรื่อง ดังที่ได้รายงานท่านผู้อ่านเป็นประจำ แต่เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมามีประชุมคณะกรรมการระดับชาติ\ฝ่ายสังคมศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งชาติ (ยูเนสโก) ครั้งที่ 1/2559 แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี ซึ่งผมได้รับเกียรติเป็นกรรมการชุดนี้มากว่า 15 ปีแล้ว

คณะกรรมการชุดนี้ได้ปรับวิธีการทำงานใหม่มีนวัตกรรมโดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นประธานและมีรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิธินันท์ วิศเวศวร เป็นผู้ประสานภายใต้การนำของอธิการบดี แต่ยังมีกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการจัดประชุมคณะกรรมการชุดนี้อย่างต่อเนื่อง ทุก 3 เดือน มีแนวทางที่จะทำให้บทบาทของ UNESCO เรื่องสังคมต่อประเทศไทยมีคุณค่าสูงขึ้น เน้นคนไทยได้อะไรจาก UNESCO ไม่ใช่รู้กันแค่เจ้าหน้าที่ไม่กี่คนหรือบางประเทศ เช่น เกาหลีมีหน่วยงานพิเศษที่จะนำเอาความรู้ของ UNESCO มาใช้อย่างเต็มที่

การประชุมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อนำข้อสรุปต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ของ UNESCO ให้คนไทย หรือผู้เกี่ยวข้องในประเทศได้รับทราบ ผมและทีมงานจะเป็นแนวร่วมกับคณะกรรมการชุดนี้ด้วย เพราะ UNESCO เป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบระดับโลกในหลายเรื่องใหญ่ๆ เช่น

- วัฒนธรรม

- วิทยาศาสตร์

- การศึกษา

- มรดกโลก

- กีฬา

- การประชาสัมพันธ์และสื่อ

การประชุมคณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งชาติ(ยูเนสโก) ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559

จุดที่น่าสนใจคือ กระทรวงศึกษาธิการปรับวิธีการทำงาน หรือเรียกว่าเป็นนวัตกรรมทางการบริหารจัดการ ได้ขอให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นประธาน ซึ่งอธิการบดี ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ มีความคิดอย่างดีที่จะทำให้งานต่างๆ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้แสดงศักยภาพที่เด่นชัดในการนำคณะกรรมการชุดสังคมศาสตร์ให้มีบทบาทต่อคนไทยและประเทศไทยเป็นรูปธรรมอย่างน่าภูมิใจในการประชุม UNESCO ปี 2558 UNESCO ได้ยกย่องบุคคล 2 ท่านของประเทศไทย ท่านหนึ่งเป็นปูชนียบุคคลของธรรมศาสตร์ด้วยคือ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และอีกท่านคือ ม.ร.ว.เปีย มาลากุล นอกจากนั้น ยังจะผลักดันคณะกรรมการโครงการจัดการการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (MOST : Management of Social Transformations) ซึ่งจะมีกรรมการชุดใหม่ระดับชาติขึ้นในประเทศไทย ผมมีข้อเสนอว่าตั้งกรรมการได้ แต่ต้องมีวิธีการทำงานที่เน้นความสำเร็จในบทบาทของหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาคประชาชนและต้องกระจายการทำงานไปต่างจังหวัดด้วย

ข้อดีของ MOST คือ การนำเอางานวิจัยระดับนโยบาย เรียกว่า Policy and Knowledge สาขาสังคมศาสตร์ระดับโลกมาดูผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทุกระดับในสังคมโดยเฉพาะคนในสังคมโลก

ต้องกระตุ้นการทำงานเป็นทีมประกอบไปด้วยทีมกระทรวงศึกษาธิการ ทีมธรรมศาสตร์ และทีมของผมซึ่งมีประสบการณ์มากมายในการทำงานแบบ National ว่าจะปรับตัวอย่างไร เช่น

- การเปิดเสรีทางการค้า และการเข้าสู่ ASEAN

- ปัญหาของผู้อพยพระหว่างประเทศ

- ประชานิยมกับผลกระทบต่อระดับรากหญ้า

- การใช้ Digital Technology เพื่อการปรับตัว

- การพัฒนาที่ยั่งยืน

- ปัญหาผู้สูงอายุ

- ภาวะโลกร้อน

- ปัญหาค่านิยมเพื่อเงิน

- การขัดแย้งของวัฒนธรรม เช่น Isis

- ปัญหา Corruption

คือการนำประสบการณ์ในการทำงานระดับรากหญ้าของผมที่ทำต่อเนื่อง มากว่า 4 ปีแล้ว อาจจะเป็นกรณีศึกษาให้ UNESCO โลกนำไปวิเคราะห์เพราะงานท่องเที่ยวกับกีฬาของผมก็คือการเปลี่ยนแปลงของสังคมเช่นกัน ตั้งใจใช้กรณีศึกษาของผมบวกกับเศรษฐกิจพอเพียงให้คนในโลกได้ทราบมากขึ้น

ในการประชุม ผมได้แสดงจุดยืนที่จะสนับสนุนงานของ UNESCO ทางสังคมศาสตร์มากขึ้น เพราะเป็นงานที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและคนไทยอย่างมาก ผมจะช่วยขยายและถ่ายทอดข้อมูลต่างๆ ในรายการวิทยุ และโทรทัศน์อย่างต่อเนื่องและภูมิใจที่มีโอกาสใช้เป็นบทบาทนำของธรรมศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง

อย่างน้อยยังได้มีโอกาสรับใช้ประเทศและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีส่วนที่ให้งานของผมปัจจุบันมีคุณค่าต่อสังคมโลกและสังคมไทยครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

คัดลอกจาก บทเรียนจากความจริง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2559

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2016 เวลา 15:02 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > จากชุมชนสู่โลกาภิวัตน์ ตัวอย่างบทบาทผู้นำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับ UNESCO

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3047
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8597232

facebook

Twitter


บทความเก่า