Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง : 3. ทำไมจึงควรกลับทางห้องเรียน

ครูเพื่อศิษย์ต้องทำมากกว่าการกลับทางห้องเรียน

 

หนังสือ Flip Your Classroom : Reach Every Student in Every Class Every Day บทที่ ๓ บอกเหตุผลที่ควรกลับทางห้องเรียน   หรืออีกนัยหนึ่งบอกว่า การกลับทางห้องเรียนมีผลอะไรบ้าง   พอจะสรุปได้ดังนี้

  • เพื่อเปลี่ยนวิธีการสอนของครู จากบรรยายหน้าชั้น หรือเป็นครูสอน ไปเป็น ครูฝึก   ฝึกการทำแบบฝึกหัด หรือกิจกรรมอื่นในชั้นเรียน ให้แก่ศิษย์เป็นรายคน   หรืออาจเรียกว่า เป็นครูติวเตอร์
  • เพื่อใช้เทคโนโลยีการเรียนที่เด็กสมัยใหม่ชอบ คือ ไอซีที   หรืออาจเรียกว่าเป็นการนำโลกของโรงเรียน เข้าสู่โลกของนักเรียน คือโลก ดิจิตัล
  • ช่วยเด็กที่มีงานยุ่ง เด็กสมัยนี้ธุระมาก   กิจกรรมมาก   บางคนเป็นนักกีฬา ต้องขาดเรียนไปแข่งขัน   แทบทุกคนมีงานเทศกาล ที่ตนต้องเข้าไปช่วยจัด   การมีบทสอนด้วยวิดีทัศน์อยู่บน อินเทอร์เน็ต ช่วยให้เด็กเหล่านี้เรียนไว้ล่วงหน้า   หรือเรียนตามชั้นเรียนได้ง่ายขึ้น   รวมทั้งเป็นการฝึกเด็กให้รู้จักจัดการเวลาของตน
  • ช่วยเด็กเรียนอ่อนที่ขวนขวาย ในห้องเรียนปกติ เด็กเหล่านี้จะถูกทอดทิ้ง   แต่ในห้องเรียนกลับทาง เด็กเหล่านี้จะได้รับความเอาใจใส่ของครูมากที่สุด   คือครูเอาใจใส่เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด โดยอัตโนมัติ
  • ช่วยเด็กที่มีความสามารถแตกต่างกัน ให้ก้าวหน้าในการเรียนตามความสามารถของตน เพราะเด็กสามารถฟังวิดีทัศน์กี่รอบก็ได้ หยุดตรงไหนก็ได้ กรอกลับก็ได้   ผู้เขียนเล่าว่า เด็กที่หัวไวมากๆ บางคนดูวิดีทัศน์บางบทเรียนด้วย speed x2 ก็มี
  • ช่วยให้เด็กสามารถหยุด และกรอกลับครูของตนได้ ทำให้เด็กจัดเวลาเรียนตามที่ตนพอใจ   เบื่อก็หยุดพักได้   แบ่งเวลาดูวิดีทัศน์เป็นช่วงๆ ได้   เล่นสนุกด้วยการดูวิดีทัศน์ความเร็ว x2 ก็ได้
  • ช่วยให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับครูเพิ่มขึ้น ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เรียกว่า การเรียนแบบ ออนไลน์   การกลับทางห้องเรียน ยังคงเป็นการเรียนแบบนักเรียนมาโรงเรียน   และนักเรียนสัมผัสครู   ห้องเรียนกลับทางเป็นการใช้พลังทั้งของระบบ ออนไลน์ และระบบพบหน้า   ช่วยเปลี่ยนหรือเพิ่มบทบาทของครู ให้เป็นทั้ง พี่เลี้ยง (mentor), เพื่อน  เพื่อนบ้าน (neighbor)   และผู้เชี่ยวชาญ (expert)
  • ช่วยให้ครูรู้จักนักเรียนดีขึ้น หน้าที่ของครูไม่ใช่เพียงช่วยให้ศิษย์ได้วิชา หรือเนื้อหา   แต่ต้องกระตุ้นแรงบันดาลใจ (inspire)  ให้กำลังใจ  รับฟัง  และช่วยส่งเสริมให้เด็กฝันถึงอนาคตของตน   นั่นคือมิติของความสัมพันธ์  ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของศิษย์   ผู้เขียนเล่าว่า ประสบการณ์ของตนบอกว่า   หลังกลับทางห้องเรียน ศิษย์ที่มีปัญหาส่วนตัว กล้าปรึกษาครูผ่านทางช่องทางสื่อสารสมัยใหม่มากขึ้น
  • ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนนักเรียนกันเอง ข้อเขียนในหนังสือ ในส่วนหัวข้อย่อยนี้ดีที่สุดสำหรับครูเพื่อศิษย์ และผมตีความว่า มีผลเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของนักเรียน   จากเรียนเพื่อทำตามคำสั่งครู   หรือทำงานเพื่อให้เสร็จตามข้อกำหนด   เป็นเรียนเพื่อตนเอง เพื่อการเรียนรู้ของตน   ไม่ใช่เพื่อคนอื่น   มีผลให้เด็กเอาใจใส่การเรียน

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนในห้องเรียน เกี่ยวกับการเรียน จะเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ   นักเรียนที่เข้าใจ ทำแบบฝึกหัดได้ จะช่วยอธิบาย หรือช่วยเหลือเพื่อน   สร้างไมตรีจิตระหว่างกัน

  • ช่วยให้เห็นคุณค่าของความแตกต่าง ซึ่งโดยธรรมชาติ เด็กในชั้นเรียนเดียวกันมีความแตกต่างกันมาก   มีความถนัดและความชอบที่แตกต่างกัน   การกลับทางชั้นเรียนช่วยให้ครูเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของนักเรียน แต่ละคน   เพื่อนนักเรียนด้วยกันก็เห็น   และช่วยเหลือกันด้วยจุดแข็งของแต่ละคน

เนื่องจากครูเดินไปเดินมาทั่วห้อง   ครูจะสังเกตเห็นเด็กที่กำลังพยายามดิ้นรนช่วยตนเองในการเรียน   และสามารถเข้าไปช่วยเด็กที่ไม่ถนัดเรื่องนั้นให้เอาใจใส่เรียนเฉพาะ ส่วนที่จำเป็น   ไม่ต้องทำแบบฝึกหัดทั้งหมด   คือไม่ต้องทำแบบฝึกหัดส่วนที่เป็นความรู้ก้าวหน้าหรือท้าทายมาก   ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษในวิชานั้นเท่านั้น    ช่วยให้นักเรียนที่อ่อนในด้านนั้นไม่รู้สึกมีปมด้อย

  • เป็นการเปลี่ยนการจัดการห้องเรียน ผู้เขียนเล่าว่า ตนแปลกใจมากที่ปัญหาที่พบบ่อยในชั้นเรียนหายไปเอง    ได้แก่ ปัญหาเด็กเบื่อเรียน  ก่อกวนชั้นเรียน  หรือหลบไปนั่งใช้ สมาร์ทโฟน แช็ท กับเพื่อน   รวมทั้งสิ่งไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียนอื่นๆ   เนื่องจากในห้องเรียนกลับทาง นักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการ   ไม่ใช่เป็นผู้รับถ่ายทอดอย่างในห้องเรียนแบบเดิม   ไม่มีครูมายืนสอนปาวๆ หน้าชั้นให้น่าเบื่อหน่ายอีกต่อไป

แต่อย่าเข้าใจผิด ว่าเด็กเรียนอ่อนจะหมดไป   ครูยังคงมีประเด็นที่สำคัญกว่าในการจัดการชั้นเรียน ให้ครูได้ทำ   ซึ่งผมตีความว่า ห้องเรียนกลับทาง เปิดช่องให้ครูได้ทำหน้าที่สำคัญเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างคุณภาพแก่ชั้นเรียน   ให้นักเรียนได้เรียนรู้ดีที่สุดแก่ชีวิตในอนาคต   การสร้างสรรค์นี้มีได้ไม่จำกัด

  • เปลี่ยนคำสนทนากับพ่อแม่เด็ก จากถามว่าเด็กอยู่ในโอวาทของครูหรือไม่   ไปเป็นถามว่า เด็กได้เรียนรู้หรือไม่   หากเด็กคนไหนไม่ได้เรียนรู้เท่าที่ควร ผู้ปกครองและครูจะร่วมกันช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างไร
  • ช่วยให้การศึกษาแก่พ่อแม่ และคนในครอบครัว ผู้เขียนพบว่าพ่อแม่เด็กบางคนดูวิดีทัศน์ไปพร้อมกับลูก   บางบ้านดูกันทั้งบ้านก็มี   ทำให้ผู้ใหญ่ก็ได้เรียนวิชานั้นไปด้วย   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่ด้อยโอกาส
  • ช่วยให้เกิดความโปร่งใสในการจัดการศึกษา ผู้เขียนบอกว่า ในสหรัฐอเมริกา มีปัญหาคนไม่ศรัทธาเชื่อมั่นในระบบการศึกษา    การกลับทางห้องเรียน เอาคำสอนใน วิดีทัศน์ ไปไว้บน อินเทอร์เน็ต   เป็นการเปิดเผยเนื้อหาสาระของการเรียนแก่สาธารณะ   ใครๆ ก็เข้าไปดูได้   ผู้เขียนบอกว่าในสหรัฐอเมริกา โรงเรียนต้องแข่งขันกันดึงดูดนักเรียนมาเรียน   ก่อนหน้าการกลับทางห้องเรียน  โรงเรียนที่เขาสอนสูญเสียนักเรียนบางคนให้แก่โรงเรียนในละแวก ใกล้เคียง   หลังจากกลับทางห้องเรียน นักเรียนเหล่านั้นกลับมา    ผมตีความว่า เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของการเรียนการสอน ให้แก่ผู้ปกครอง
  • นำไปสู่การเรียนรู้แบบ flipped-mastery approach

 

เหตุผลที่ผิด ในการดำเนินการกลับทางห้องเรียน

  • เพราะมีคนแนะนำให้ทำ จงไตร่ตรองเองจนเห็นคุณค่าชัดเจน แล้วจึงทำ   อย่าเชื่อใครง่ายๆ
  • เพราะคิดว่าเป็นการทำให้เกิด ห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑ การสร้างห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑ นั้น รูปแบบการเรียนรู้ต้องนำเทคโนโลยี   ไม่ใช่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำ
  • เพื่อแสดงความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี จริงๆ แล้ว การกลับทางห้องเรียน ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีนำสมัย
  • คิดว่าการกลับทางห้องเรียน เป็นเครื่องบอกว่า ตนเป็นครูที่ดี การเป็นครูดี มีมากกว่าสอนดี
  • คิดว่า การกลับทางห้องเรียน ช่วยให้ชีวิตการเป็นครูง่ายขึ้น การกลับทางห้องเรียนไม่ทำให้ชีวิตครูง่ายขึ้น

สรุปว่า การกลับทางห้องเรียน เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับช่วยให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้ที่ดี ย้ำคำว่า อย่างหนึ่ง เพราะการเรียนรู้ที่ดียังมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลากหลายประการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเป็นครูที่ดี ต้องทำมากกว่าการกลับทางห้องเรียน

 

วิจารณ์ พานิช

๒ ก.ย. ๕๕

· เลขที่บันทึก: 500936
· สร้าง: 02 กันยายน 2555 13:23 · แก้ไข: 02 กันยายน 2555 13:24
· ผู้อ่าน: 76 · ดอกไม้: 5 · ความเห็น: 0 · สร้าง: ประมาณ 19 ชั่วโมง ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559645

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า