Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > ประชาสัมพันธ์ > ประชาสัมพันธ์ > สัมมนาเรื่อง "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ครบ ๗๐ ปี

สัมมนาเรื่อง "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ครบ ๗๐ ปี

พิมพ์ PDF

วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนาเรื่อง "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ครบ ๗๐ ปี จัดโดย คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะอนุกรรมาธิการด้านการศาสนา ร่วมกับสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ.ห้องประชุมคณะกรรมาธิกา อาคารรัฐสภา ๒

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย์เดช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ถึงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ จะทรงครองราชย์ครบ ๗๐ ปี เป็นการครองราชที่ยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด นับเป็นความปิติปลาบปลื้มอย่างล้นพ้นของประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ณ.พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแสดงพระบรมราชปณิธาน ณ.ท่ามกลางมหาสมาคม มีข้อความดังนี้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

หลักธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยึดมั่นและทรงปฎิบัติเป็นประจำได้แก่ "ทศพิธราชธรรม" ซึ่งถือเป็นหลักธรรมาภิบาลแรกของโลกที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนพระราชาและผู้ปกครองประเทศ เมื่อ ๒๕๐๐ ปีมาแล้ว คำว่าธรรมาภิบาล (Good Governance) ธนาคารโลกได้นำมาใช้เมื่อ ๒๖ ปีที่แล้ว

พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนทศพิศราชธรรมแก่พระราชาผู้ปกครองเพื่อใช้ในการปกครองบ้านเมือง เพื่อให้ประชาชนพอใจ คำว่า "ราชา" นอกจากจะหมายถึงพระมหากษัตริย์ ยังแปลว่า "พอใจ" ทุกคนมีหน้าที่ๆจะปกครองตนเอง ซึ่งประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นที่พอใจแก่ผู้อื่น ทศพิธราชธรรมจึงไม่ใช่หลักธรรมสำหรับพระราชาและผู้ปกครองประเทศเท่านั้น แต่ยังใช้สำหรับทุกคน

ทศพิธราชธรรมมี ๑๐ ประการ ดังนี้

๑.ทาน การให้ทั้งวัตถุทาน ธรรมทาน และอภัยทาน

๒.ศีล ความประพฤติดีงาม งดเว้นจากการทำชั่วเสียหาย ไม่ทำอะไรที่เป็นการไม่เหมาะไม่ควร

๓.ปริจาคะ การเสียสละ ยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

๔.อาชชวะ ความซื่อตรง คือการประพฤติซื่อตรง ไม่คิดทรยศต่อประชาชนและประเทศชาติ

๕.มัททวะ ความอ่อนโยน มีกายวาจาสุภาพอ่อนโยน ต่อคนทั้งปวง

๖.ตปะ ความเพียร เพียรปฎิบัติหน้าที่ของตนอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลดละเบื่อหน่าย มีความกล้าหาญ ไม่อ่อนแอท้อแท้

๗.อักโกธะ ความไม่โกรธ ไม่อยู่ใต้อำนาจของความโกรธ และกระทำไปด้วยอำนาจของความโกรธ

๘..อวิหิงสา การไม่เบียดเบียน ไม่ทำอะไรให้เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีจิตประกอบด้วยกรุณา คิดช่วยเหลือผู้อื่น

๙.ขันติ ความอดทน มีความอดทนต่อความลำบาก ตรากตรำทั้งปวง อดทนต่อถ้อยคำที่จาบจ้วงล่วงเกิน

๑๐.อวิโรธนะ ความไม่ผิดพลาด จะทำอะไรก็ศึกษาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาด เมื่อรู้ว่าอะไรผิดก็ไม่ทำ

ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ที่ทรงครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงปฎิบัติพระองค์ และทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการตามหลักทศพิธราชธรรมอย่างเคร่งครัด

ในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๗๐ ปี คนไทยที่มีความจงรักภักดีและมีความกตัญญูกตเวทีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงควรจะปฎิบัติตามรอยพระยุคลบาท ด้วยการปฎิบัติตามทศพิธราชธรรมทั้ง ๑๐ ประการ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชยังได้ทรงพระกรูณาพระราชทานปรัชญาของเศรษฐพอเพียงให้แก่รัฐบาลและประชาชน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและปฎิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐบาล

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักการที่สำคัญ ๓ ประการ คือ

๑.ความพอเพียง หรือทางสายกลาง

๒.ความมีเหตุผล

๓.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

และมีเงื่อนไขที่สำคัญ ๒ ประการได้แก่

๑.เงื่อนไขความรู้

๒.เงื่อนไข คุณธรรม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีข้อความดังนี้

"เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะอยู่มั่นคงก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๘.มิถุนายน ๒๕๕๙

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 08 มิถุนายน 2016 เวลา 10:01 น.  
Home > ประชาสัมพันธ์ > ประชาสัมพันธ์ > สัมมนาเรื่อง "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ครบ ๗๐ ปี

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8591526

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า