Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ไขปริศนา..เบื้องลึกคณะราษฎร หลอกต้มประชาชน เปลี่ยนแปลงการปกครอง (ตอนแรก)

ไขปริศนา..เบื้องลึกคณะราษฎร หลอกต้มประชาชน เปลี่ยนแปลงการปกครอง (ตอนแรก)

พิมพ์ PDF

วันที่ 9 ธ.ค.57 ไขปริศนา..เบื้องลึกคณะราษฎร หลอกต้มประชาชน เปลี่ยนแปลงการปกครอง (ตอนแรก)

สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปประเทศเข้าสู่ความทันสมัย สังคมไทยก็เริ่มก้าวเข้าสู่ความมีเสรีในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยเริ่มเปิดโอกาสสื่อมวลชนเสนอความคิดเห็น ต่อสาธารณชนได้ค่อนข้างเสรี ต่อมาทรงปฏิรูปการปกครองและการปฏิรูปการศึกษา

พระองค์ได้มีกระแสความคิดที่จะให้ประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมาย สูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีรัฐสภาเป็นสถาบันหลัก ที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้นเป็น

พ.ศ.2454 ในต้นรัชกาลที่ 6 ได้มีคณะนายทหารชุดกบฏ ร.ศ.130 ซึ่งมีความคิดที่ปฏิวัติให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว แต่ไม่ทันลงมือกระทำการก็ถูกจับได้เสียก่อน อย่างไรก็ตาม เสียงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังคงมีออกมาเป็นระยะๆ ทางหน้าหนังสือพิมพ์

สุภาพบุรุษในวัยหนุ่มผู้หนึ่ง ร่างเล็กบอบบาง หนวดแหย็ม ประทับเหนือริมฝีปากประปราย ขับรถฟอร์ดรุ่นปี 1910 จอดเทียบสนิทตรงสี่แยกวัดตึก แล้วก็เร่งเดินเข้าไปในสำนักโหรมีชื่อของประเทศไทยในสมัยนั้น เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า "จีนทองหยิน"

จีนทองหยินผู้นี้ เป็นที่ขึ้นชื่อในการตรวจทำนายปูมชะตา ของผู้มีบรรดาศักดิ์ อัครฐานชนชั้นกลางในยุคนั้น แม้แต่จ้าวนายเชื้อพระวงศ์ จากเวียงวัง ต่างก็พากันยกย่องนิยมนับถือโหรจีนผู้นี้โหรทองหยิน จึงได้ต้อนรับอาคันทุกะสุภาพบุรุษ ผู้ไม่เคยพบพานมาก่อน แต่ก็หมายว่าต้องอยู่ในตระกูลสูงอย่างแน่ชัด

สุภาพบุรุษ ของโหรจีน ก็เร่งให้ทำนายทายทัก ตามแบบวิธีการของโหรจีนผู้นี้ ที่เพียงแต่สอบถามวันเดือนปีเกิด ซึ่งอาคันทุกะสุภาพบุรุษผู้นั้นตอบเรียบๆ ว่า "วันพุธ แรม 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง" โหรทองหยิน เพ่งมองหน้าสุภาพบุรุษอยู่ขณะหนึ่ง พลางบอกให้ลุกขึ้นเดินกลับไปกลับมา

โหรจีน มองดูท่าทางกิริยา วิธีการเดินของเขาอย่างสนใจ และในทันที ที่สุภาพบุรุษเจ้าของดวงชะตาทรุดตัวลงตามเดิม ฉับพลันนั้นโหรเอกก็เบิกตาโพลง ตลึงและงงงวย เขาลอดสายตาเพ่งออกมานอกแว่น จรดจ้องอยู่กับดวงหน้าของสุภาพบุรุษแปลกหน้า

เหมือนกับจะไม่เชื่อตัวเองว่า สุภาพบุรุษที่นั่งอยู่เฉพาะหน้าตนนั้น จะมีดวงชาตากำเนิดสูงละลิ่วอย่างเทพเจ้า ที่จุติลงมาเพื่อปกครองแผ่นดินไทย เพื่อเป็นจ้าวชีวิตของคนไทยทั้งชาติ โหรจีนพลางระล่ำระลัก "วาสนาลื้อสูงมาก ลื้อจะได้เป็นกษัตริย์"

น้ำเสียงเขาขาดเป็นห้วงๆ และเน้นคำว่ากษัตริย์ พร้อมกับสำทับซ้ำ "ลื้อจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองเมืองนี้" ทันทีก็ทรุดตัวลงเบื้องล่าง ยกมือขึ้นประนมสาธุการ สุภาพบุรุษผู้นั้นด้วยศรัทธาแก่กล้าในบารมี ชายสุภาพบุรุษ เพ่งดูใบหน้าสายตาของทองหยิน พลางหัวเราะอยู่ในลำคอ

ให้กับอาการอันงกงันสั่นเทาของโหรทองหยินอีกครั้ง แล้วชำระค่าตอบแทน เมื่ออำลาจากกลับออกไป สตาร์ทรถยนต์ฟอร์ดสมัยโบราณคร่ำครึ แต่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ขับพรืดออกไป ทองหยินได้พาร่างอันสั่นเทาของเขา ออกมาชะเง้อคะแยงแง้มประตูห้องแถวเก่าตรงสี่แยก

มองตามฟอร์ดนั้นจนกระทั่งลับสายตา ไปในท่ามกลางความมืดมน ร้อยแปด วุ่นวายสับสนอลหม่านในใจว่า สุภาพบุรุษผู้มาเยือนนี้ มีดวงดาวชาตากำเนิดรุ่งโรจน์ ยิ่งกว่าคนที่เคยดูมาตลอดชีวิตของความเป็นโหรนี้คือใคร ?

ต่อมารถฟอร์ดคันนั้น ก็เลี้ยวเข้าไปจอดที่ชายสนามเทนนิส ณ วังบ้านดอกไม้ ของเสด็จในกรมพระกำแพง ซึ่งกำลังหวดลูกสักหลาดอย่างโชกโชน เหน็จเหนื่อย สนุกสนาน ระหว่างเชื้อพระวงศ์ในครอบครัว และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ในกรมรถไฟ ที่เสด็จในกรมทรงเป็นผู้บัญชาการ

เสียงของ หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สุภาพสตรีสาวร่างท้วม แจ่มใส และร่าเริง ดังขึ้นพร้อมกับผลุดลุก "ทูลหม่อมเล็ก เสด็จแล้ว " ในขณะที่สุภาพบุรุษเจ้าของรถฟอร์ด เดินลงอย่าง องอาจสง่าผ่าเผย แม้จะมีสิริร่างที่อ่อนแอ และแบบบาง แต่ด้วยท่าทางของนายพันโท จ้าวชายหนุ่ม สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง คำทำนายของโหรทองหยิน พระองค์ได้ทรงเล่าคำทำนายนั้น ในที่ประชุมครอบครัว ก็ได้มีเสียงสำรวลด้วยความขบขัน

เพราะในขณะนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะลำดับการสืบสันติวงค์ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเหล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จะต้องผ่านทูลกระหม่อมจักรพงค์ และทูลกระหม่อมอัษฎางค์อีกถึงสองพระองค์

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชวร และเสด็จสวรรคต โดยมีพระราชหัตถเลขานิติกรรมเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติไว้ ความตอนหนึ่งว่า “...หากมีพระราชโอรส ก็ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์จนกว่าพระมหากษัตริย์จะทรงบรรลุนิติภาวะ แต่ถ้าไม่มีพระราชโอรสก็ใคร่ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาทรงรับรัชทายาทสืบสันติวงศ์ตามราชประเพณี...”

ในขณะนั้น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 มีพระประสูติกาลพระราชธิดา (สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี) สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา จะไม่ทรงเต็มพระทัยที่จะทรงรับราชสมบัติ ด้วยทรงเห็นว่าพระองค์ไม่แก่ราชการเพียงพอและเจ้านายที่มีอาวุโสพอ จะรับราชสมบัติก็ยังน่าจะมี

แต่ที่ประชุมได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ ให้อัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อพระบรมเชษฐาธิราช

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2469 พระองค์ทรงรับพระบรมราชาภิเษก โดยมีพระนามอย่างย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" หลังจากนั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะอภิรัฐมนตรี เจ้านายหลายพระองค์ มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน และราชการในพระองค์ ระหว่างที่ยังทรงใหม่ต่อหน้าที่

ในขณะที่พระองค์ขึ้นครองราชสมบัตินั้น ราชอาณาจักรสยาม ได้ประสบกับปัญหาซึ่งเกิดจากรัฐบาลต้องรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจที่ร้ายแรง และ ภัยคุกคามจากต่างชาติ (จักรวรรดิอังกฤษ และ จักรวรรดิฝรั่งเศส) ที่เพิ่งจบสงครามโลกครั้งที่ 1 ฐานะทางการคลังของสยาม และสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก อยู่ในภาวะตกต่ำอย่างมาก

พระองค์ได้ตัดลดงบประมาณในส่วนต่าง ๆ เช่น งบประมาณส่วนพระมหากษัตริย์ งบประมาณด้านการทหาร รวมถึง การการยุบหน่วยราชการ ยุบมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศ และปลดข้าราชการออกเป็นจำนวนมาก เพื่อลดรายจ่ายของประเทศ ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการขุนนาง

นอกจากนี้ ประเทศ ยังประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขนานใหญ่ เมื่อชาวเมือง และชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ เริ่มขยายจำนวนขึ้น และเริ่มแสดงความต้องการสิทธิ เพิ่มมากขึ้นจากรัฐบาล

จึงมีกลุ่มบุคคลก่อตั้งขึ้นเรียกว่า “คณะราษฎร” ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลผู้ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียน และนักเรียนทหาร ที่ศึกษาและทำงานอยู่ในทวีปยุโรป โดยเริ่มต้นจากหาสมาชิกที่มีความคิดแบบเดียวกันรวมทั้งสิ้น 7 คน ได้แก่

1. ประยูร นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ประเทศฝรั่งเศส
2. ปรีดี นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศฝรั่งเศส
3. ร.ท.แปลก นักเรียนวิชาทหารปืนใหญ่ ประเทศฝรั่งเศส
4. ร.ต.ทัศนัย นักเรียนวิชาทหารม้า ประเทศฝรั่งเศส
5. ตั้ว นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
6. จรูญ ผู้ช่วยราชการสถานทูตสยาม ในประเทศฝรั่งเศส
7. แนบ นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศอังกฤษ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2469 ได้ทำการประชุมครั้งแรก ที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ติดต่อกันนานถึง 4 คืน 5 วัน โดยมี ร.ท.แปลก ที่สมาชิกคนอื่น ๆ ยกให้เป็นหัวหน้ากลุ่ม เรียกว่า "กัปตัน" เป็นประธานในการประชุม ที่ประชุมมีมติตกลงที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย โดยตกลงที่ใช้วิธีการ "ยึดอำนาจโดยฉับพลัน" ร.ท.แปลก ได้เสนอว่าหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ให้สำเร็จโทษพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ แต่ฝ่ายพลเรือนได้คัดค้าน เพราะจะทำให้เกิดความวุ่นวายและความรุนแรงขึ้นทั่วประเทศเหมือนเช่นการปฏิวัติรัสเซีย

หลังจากการประชุมนั้น เมื่อคณะผู้ก่อการได้กลับมาประเทศสยาม อีกหลายปีต่อมา ก็ได้พยายามหาสมาชิกเพื่อเข้าร่วมการก่อการปฏิวัติ โดยได้ติดต่อประชาชนทุกอาชีพ ทั้งพ่อค้า ข้าราชการพลเรือน และทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายทหารระดับสูง ที่มีแนวความคิดอย่างเดียวกันมานานก่อนหน้านี้ จนได้สมาชิกทั้งสิ้น 115 คน แบ่งเป็นสายต่าง ๆ คือ

- สายพลเรือน นำโดย หลวงประดิษฐ์ (ปรีดี)
- สายทหารเรือ นำโดย นาวาตรี หลวงสินธุ 
- สายทหารบกชั้นยศน้อย นำโดย พันตรี หลวงพิบูล (แปลก)
- สายนายทหารชั้นยศสูง นำโดย พันเอก พระยาพหล (พจน์ )

โดยที่ประชุมคณะราษฎรตกลงกันว่า ในเรื่องของการปฏิวัติ ตลอดจนสถาปนาความมั่นคง และความปลอดภัยของบรรดาสมาชิก และของประเทศ เป็นหน้าที่ของฝ่ายทหาร และในส่วนของการร่างคำประกาศ ตลอดจนการร่างกฎหมาย และการวางเค้าโครงต่าง ๆ ของประเทศ เป็นหน้าที่ของฝ่ายพลเรือน

พ.ศ. 2473 สถานการณ์โลกหนักหนาเกินกว่าประเทศจะรับได้ เมื่อตลาดหุ้นวอลล์สตรีทล่ม และความล่มสลายทางเศรษฐกิจมาถึงสยามในที่สุด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสนอให้จัดเก็บภาษีรายได้ทั่วไป และภาษีอสังหาริมทรัพย์ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนยากจน

แต่นโยบายดังกล่าวถูกสภาปฏิเสธอย่างรุนแรง ซึ่งสภาเกรงว่าทรัพย์สินของพวกตนจะลดลง จึงหันไปลดค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือน และลดงบประมาณทางทหารแทน ทำให้ผู้ได้รับการศึกษาในประเทศส่วนใหญ่โกรธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่านายทหาร

พ.ศ. 2474 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ลาออก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พยายามต่อสู้กับเจ้านายที่อาวุโสกว่าในเรื่องนี้ แต่ก็สำเร็จเพียงเล็กน้อย

หลวงประดิษฐ์ (ปรีดี) เริ่มสอนวิชากฎหมายปกครอง ในขณะที่ประเทศไทยยังคงปกครองอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อาศัยการสอนที่โรงเรียนดังกล่าว ปลุกปั่นศึกษาให้สนใจเป็นขั้น ๆ อ้าง ถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนระบบการปกครอง จากระบบเดิมให้เป็นระบบราชาธิปไตยภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน

นอกจากนี้ยังได้เปิดอบรมทบทวนวิชากฎหมาย ที่บ้านถนนสีลม เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับนักศึกษาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงมีลูกศิษย์ลูกหาเข้าร่วมเป็นสมาชิกและผู้สนับสนุนคณะราษฎรในเวลาต่อมาหลายคน ( กระบวนการสร้างผลไม้พิษ)

พ.ศ. 2475 ปลายเดือนเมษายน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกจากกรุงเทพ เสด็จแปรพระราชฐานฤดูร้อน ไปประทับยังวังไกลกังวล ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ในการประชุมคณะราษฎร ครั้งสุดท้ายในประเทศไทย ก่อนที่จะลงมือจริงไม่กี่วัน พ.อ.พระยาทรง ซึ่งเป็นนายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ ผู้วางแผนการปฏิวัติทั้งหมด ได้เสนอแผนการออกมา ทางพันตรี หลวงพิบูล (แปลก) ซึ่งถือเป็นนายทหารชั้นผู้น้อยกว่า ได้สอบถามว่า หากแผนการดังกล่าวไม่สำเร็จ จะมีแผนสำรองประการใดหรือไม่

ทาง พ.อ.พระยาทรง ไม่ตอบ แต่ได้ย้อนถามกลับไปว่า แล้วทางพันตรี หลวงพิบูล (แปลก) มีแผนอะไร ซึ่งทั้งคู่ได้มีปากเสียงกัน หลังจากการประชุมจบแล้ว พันตรี หลวงพิบูล (แปลก) ได้ปรารภกับนายทวี ฝ่ายพลเรือนที่เข้าประชุมด้วยกันว่า ตนเองกับ พ.อ.พระยาทรง ไม่อาจอยู่ร่วมโลกกันได้

วันที่ 23 มิถุนายน 2475 ข่าวของแผนการปฏิวัติดังกล่าว ได้รั่วไหลไปถึงตำรวจ ในช่วงเย็นของวันนั้น อธิบดีตำรวจ ได้โทรศัพท์ถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยกราบทูลขออำนาจในการจับกุมและจำคุกทุกคนที่เกี่ยวข้องกับแผนการดังกล่าว พระองค์ดำริว่าผู้ก่อการหลายคนเป็นผู้มีอิทธิพลและมีอำนาจมาก

จึงทรงตัดสินพระทัยเลื่อนพระบรมราชโองการออกไปเป็นวันรุ่งขึ้น การเลื่อนคำสั่งนี้ มีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ก่อการทั้งหลาย ช่วงเย็นวันเดียวกัน หลวงสินธุ ในกองทัพเรือได้เกณฑ์เรือปืนจากอู่เรือ ขึ้นมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา

ความเคลื่อนไหวของฝ่ายพลเรือน เริ่มกันตั้งแต่เที่ยงคืน เช่น การควบคุมหัวรถจักรรถไฟ การเฝ้าสังเกตการณ์ตามบ้านเจ้านายและบุคคลสำคัญ เพื่อล็อกไม่ให้ติดต่อสังการใดๆ ได้ และร้อยโทประยูร เป็นผู้มีอำนาจสั่งการนายทหารเสนาธิการหนุ่ม พร้อมกลุ่มของหลวงโกวิทย์ (ควง) ได้สั่งยึดที่ทำการไปรษณีย์และโทรเลขรอบพระนคร และตัดสายโทรศัพท์

การสื่อสารทั้งหมด ระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์ และสมาชิกฝ่ายบริหารอาวุโสจึงถูกตัดขาด บ้านพักทั้งหมด อยู่ภายใต้การตรวจตรา และเฝ้าระวังโดยสมาชิกคณะราษฎรทั้งพลเรือนและทหาร

และเมื่อถึงตอนเช้า หลวงสินธุ ในกองทัพเรือ ก็ได้เล็งปืนเรือตรงเข้าใส่พระราชวังบางขุนพรหม ของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และได้เกณฑ์ทหารเรือติดอาวุธ 500 นาย พร้อมที่จะยึดพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งตั้งอยู่ ณ ใจกลางพระนคร และเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต

วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เวลาประมาณ 04.00 น. หลวงประดิษฐ์ ลอยเรืออยู่ในคลองวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อรอเวลาแจกใบปลิว “ประกาศคณะราษฎร” แก่ประชาชน ซึ่งหากทำการไม่สำเร็จก็จะนำใบปลิวนั้นทิ้งลงในน้ำทันที

เวลาเดียวกัน พระยาพหล ออกจากบ้านไปพร้อมกับพระประศาสน์ ที่ขับรถมารับ มุ่งหน้าไปยัง บริเวณทางรถไฟสายเหนือ ตัดกับถนนประดิพัทธ์ เพื่อสมทบกับกลุ่มของพระยาทรง ใกล้กับพระที่นั่งอนันตสมาคม จากนั้นเดินทางไปกับผู้สมคบคิดจำนวนหนึ่ง เดินทางไปที่กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ที่แยกเกียกกาย

เพื่อลวงเอากำลังทหารและยุทโธปกรณ์มาใช้ในการปฏิวัติ ที่นี่เป็นที่เก็บยานยนต์หุ้มเกราะส่วนใหญ่ในกรุงเทพ เมื่อมาถึง พระยาทรง ได้ออกอุบาย โดยว่ากล่าวตำหนินายทหารผู้รับผิดชอบค่าย ที่กำลังหลับอยู่ โกหกว่ามีการลุกฮือของชาวจีนเกิดขึ้นในพระนคร และกำลังเปิดประตูค่ายทหาร มีการระดมยิงทหารด้วย

อุบายดังกล่าวเป็นผล เกิดความสับสนและความโกลาหลขึ้น ที่คลังแสงอาวุธภายในกรมทหารม้าฯ นี้ พระยาพหลพล เป็นผู้ใช้คีมตัดเหล็กที่ทางพระประศาสน์ ได้จัดหาไว้ก่อนหน้านั้น ตัดโซ่ที่คล้องประตูคลังแสง เพื่องัดเอานำอาวุธปืนและหีบกระสุนออกมา

พระประศาสน์ เข้ายึดรถยานรบ รถยนต์หุ้มเกราะ และรถบรรทุก พร้อมกำลังทหารม้าเป็นผลสำเร็จ จับกุมผู้บัญชาการกรมทหารได้ และนำตัวไปคุมขัง หลวงพิบูล ได้รับคำสั่งให้เฝ้านักโทษ ยานยนต์หุ้มเกราะ รวมไปถึงรถถังจำนวนหนึ่ง ถูกเกณฑ์ และได้รับคำสั่งให้มุ่งหน้าไปยัง พระที่นั่งอนันตสมาคม

ทั้งหมดเคลื่อนกองกำลังไปยัง กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ มีพันเอกพระยาฤทธิ เป็นผู้บังคับการกรม ซึ่งเตรียมการจัดกำลังทหารและอาวุธรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อกองกำลังจากกรมทหารม้า เดินเท้ามาถึง กรมทหารปืนใหญ่ พระยาทรงฯ ออกคำสั่งให้ทหาร จากกรมทหารม้า ขึ้นรถบรรทุกของกรมทหารปืนใหญ่ ซึ่งจอดรออยู่แล้วโดยพลัน

กองกำลังผสมของผู้ก่อการฯ ประกอบด้วย ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ที่มีทั้งกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์หนักเบา มุ่งหน้าสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า ขณะผ่านกองพันทหารช่าง พระยาพหล เพียงแค่ตะโกนเรียก และกวักมือ ทหารช่างที่กำลังฝึกอยู่หน้ากองพัน ก็กระโดดขึ้นรถตามมาด้วย โดยทุกคนไม่ทราบวัตถุประสงค์ที่แท้จริงว่าจะไปไหน

ขบวนทหารของกองกำลังของคณะผู้ก่อการฯ นำขบวนด้วย “ไอ้แอ้ด” รถถังขนาดเล็ก จากกรมทหารม้า ตามด้วยรถบรรทุกทหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ ปิดท้ายด้วยกองพันทหารช่าง ใช้เส้นทางผ่านสะพานแดง ถนนพระราม 5 เลี้ยวหน้าวัดเบญจมบพิตร เข้าถนนศรีอยุธยา มุ่งหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า

ทหารในพื้นที่ใกล้เคียงกรุงเทพ ได้เข้าร่วมกับผู้ก่อการด้วย เนื่องจากได้รับคำสั่งหลอกลวงหลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้นแล้วว่า กำลังจะมีการฝึกซ้อมทางทหารเกิดขึ้น และไม่มีใครทราบเลยว่าพวกตนจะเข้าไปมีส่วนในการปฏิวัติ ทหารหน่วยอื่นที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ตัดสินใจที่จะไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใด ๆ โดยการเก็บตัวอยู่ในกรมกอง ทหารราบ และทหารม้า มาถึงลานพระราชวังดุสิต หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม

เวลาราว 06.00 น. มีกลุ่มประชาชนเนืองแน่น เฝ้าดูทหารที่มาชุมนุม ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ความสับสนเกิดขึ้นท่ามกลางผู้ที่มาชุมนุมนั้น หลายคนไม่เชื่อว่ามีการลุกฮือของชาวจีนเกิดขึ้นจริง บ้างก็ว่าทหารมาชุมนุมที่จัตุรัสนี้เพื่อการฝึกซ้อมเท่านั้น ต่างไม่มีใครรู้ความจริง

ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า กองพันพาหนะทหารเรือ นำโดย นาวาตรี หลวงสินธุ นอกจากนี้ยังมีกำลังจากนักเรียนโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยนายพันโท พระเหี้ยม ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก กำกับมา ส่วนกองพันทหารราบที่ 11 ของพันตรี หลวงวีระ ซึ่งกำลังฝึกทหารอยู่ที่ท้องสนามหลวงนั้น ก็ ถูกหลอกให้ตามพระประศาสน์ฯ มาภายหลัง

กองกำลังของคณะผู้ก่อการฯ มาชุมนุมพร้อมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า มีกำลังทหารและอาวุธพร้อมรบ เป็นที่เรียบร้อย “ ทหารทั้งปวง ที่มาชุมนุมอยู่ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าในวันนั้น ต่างมาโดยไม่รู้ว่ากำลังมีการปฏิวัติ เพื่อยึดอำนาจการปกครองจากพระราชาของตนเอง และกำลังทรยศต่อคำสัตย์ปฏิญาณตน”

เวลาราว 07.00 น. พันเอกพระยาพหล จึงได้แสดงตนเป็นหัวหน้าผู้ก่อการคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ปีนขึ้นไปบนยอดรถหุ้มเกราะคันหนึ่ง มีนายทหารของคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ทั้งทหารบก ทหารเรือ กระจายกันคุมเชิงอยู่รอบๆ และอ่านประกาศแถลงการณ์ ยึดอำนาจเสียงสนั่นดังลั่น

ซึ่งเป็นแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน แต่อ่านเป็นภาษาไทย สถาปนารัฐอันมีรัฐธรรมนูญขึ้นในสยาม ขอให้นายทหารที่มิได้เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติอยู่ในความสงบอย่าทำการขัดขวาง และไม่ให้ออกจากลานพระรูปฯ ไปจนกว่าจะได้สั่งให้กลับไป

ผู้ก่อการเปล่งเสียง ตามมาด้วยเหล่าทหาร เพราะความไม่เข้าใจในสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดจึงคล้อยตาม ในที่สุด เมื่อได้อ่านคำประกาศสุดสิ้นแล้ว ก็ได้เปล่งเสียงไชโยกึกก้อง แล้วก็นำขบวนเข้างัดพระทวารด้านหน้าของพระที่นั่งอนันตสมาคม

หมุดคณะราษฎร ยังฝังอยู่บนลานพระบรมรูปทรงม้า ฝั่งสนามเสือป่า มาจนถึงปัจจุบัน ช่วงเช้านั้นเอง รถถังสองคันวิ่งเข้ามาปิดประตูทางเข้า ออก สองประตูของโรงเรียนสวนกุหลาบ ปืนรถถัง หันเข้าสู่โรงเรียน นักเรียนหนีไม่ได้ เพราะมีแค่สองประตู

ทหารเข้าไปกวาดต้อนนักเรียนเข้าหอประชุม ควบคุมตัวไว้ เพราะในหมู่นักเรียนมีลูกหลานเชื้อพระวงศ์ ข้าราชการ และลูกหลานสามัญชนโดยทั่วไป..แมนมากคณะราษฎร เปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่จับเด็กเรียกค่าไถ่ !!

สรุป...การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันนั้น เป็นการรังแกสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยที่เป็นอารยธรรมเก่าแก่ สร้างคุณูปการรวมแผ่นดินมากว่า 800 ปี โดยทำตามความต้องการของคณะราษฎรแค่ 100 กว่าคนเท่านั้น ทหารส่วนใหญ่ไม่ได้เต็มใจ และไม่รู้เรื่องความจริง พวกเขาล้วนถูกหลอกให้มารวมกัน ยิ่งประชาชนทั่วไป ไม่มีใครยินยอมพร้อมใจเลยสักคน

ความไม่พร้อมของคณะราษฎรเอง และการศึกษาเรื่องประชาธิปไตยของประชาชนครั้งนั้น ก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง แก่งแย่งชิงอำนาจกันเองในกลุ่มคณะราษฎร จนประชาธิปไตย ล้มลุกคลุกคลานต่อเนื่องมาถึง 82 ปี และ เป็นที่มาของแนวคิดประหลาด " ประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้งอย่างเดียว"

นั่นก็เพื่อยึดเอาอำนาจพระมหากษัตริย์ และสิทธิเสรีภาพประชาชน ไปอยู่ในมือนักการเมืองร่ำรวย เพื่อกดขี่ชนชั้นคนยากจนมาจนถึงในวันนี้ !!

คัดลอกจาก Facebook แฉความลับ

** เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป เกิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกขึ้นตอนไหน "สมุดปกเหลือง" เศรษฐกิจของปรีดี จะเปลี่ยนไทยเป็นคอมมิวนิสต์อย่างไร อ่านตอนต่อไป คลิ๊กที่https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/298205933702774

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 11:56 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ไขปริศนา..เบื้องลึกคณะราษฎร หลอกต้มประชาชน เปลี่ยนแปลงการปกครอง (ตอนแรก)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8600691

facebook

Twitter


บทความเก่า