Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ไขปริศนา..เบื้องลึกเบื้องหลังรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย กับภาพลับหายาก (ตอน 2

ไขปริศนา..เบื้องลึกเบื้องหลังรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย กับภาพลับหายาก (ตอน 2

พิมพ์ PDF

วันที่ 10 ธ.ค.57 ไขปริศนา..เบื้องลึกเบื้องหลังรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย กับภาพลับหายาก (ตอน 2)

พระยาทรงฯ ผู้อำนวยการฝ่ายทหาร ก็มีคำสั่งทันที “พระประศาสน์ฯ ไปจับกรมพระนครสวรรค์ฯ พระยาสีหราชเดโชชัย และพระยาเสนาสงคราม” พระประศาสน์ จึงไปยังบ้านพักของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สมาชิกระดับสูงคนอื่น ๆ ในรัฐบาล และพระบรมวงศานุวงศ์

สมเด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เวลานั้นทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีอำนาจเป็นลำดับ 2 ของประเทศ ขณะที่มีการปฏิวัติ ทรงเป็นผู้รักษาพระนคร นอกจากนั้นยังทรงเป็นประธานอภิรัฐมนตรี เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ และอื่นๆ

ส่วนพลโท พระยาสีหราชเดโชชัย เวลานั้นเป็นเสนาธิการทหารบก “เสือร้ายที่สุดของทหาร” และ พลตรี พระยาเสนาสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ บุคคลทั้งสามมีส่วนชี้เป็นชี้ตายในการปฏิวัติคณะราษฎรครั้งนี้อย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารในพระนคร

กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงถูกจับกุมขณะกำลังบรรทม ที่วังบางขุนพรหม พระประศาสน์ฯ โดยใช้เวลาเจรจาต่อรองพอสมควร ก่อนจะควบคุมตัวมาได้ โดยไม่ยอมให้เวลาเปลี่ยนเครื่องทรงชุดบรรทม จากนั้นก็มุ่งหน้าไปบ้านพระยาสีหราชเดโชชัย ใกล้วัดโพธิ์ แล้วก็ทำสำเร็จโดยไม่มีการขัดขืนต่อสู้แต่อย่างใด

พระยาเสนาสงคราม ซึ่งบ้านอยู่ไกล และนอกเส้นทางปฏิบัติงาน ก็ถูกทีมสำรอง ควบคุมตัวได้ แต่พระยาเสนาสงครามขัดขืนต่อสู้ จึงถูกยิงบาดเจ็บต้องนำตัวส่งโรงพยาบาล เป็นคนเดียวในการก่อการปฏิวัติครั้งนี้ที่ได้รับบาดเจ็บ

ภารกิจจับตัวประกันสำเร็จ พระประศาสน์ฯ ก็รีบนำองค์ประกัน มุ่งหน้าสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า ตามแผน และนำไปกักไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคม กรมพระนครสวรรค์ฯ และพระชายา ขึ้นไปบนพระที่นั่งอนันตสมาคม และถูกจัดที่ประทับอันสมควรถวาย แต่ไม่สมพระเกียรติ ถูกควบคุมไว้อย่างเด็ดขาด

มีเจ้าหน้าที่ทางการเกือบ 40 คน ถูกจับกุม และถูกกักขังในนอนราบรวมไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคม เว้นแต่เสนาบดีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และการสื่อสาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้ซึ่งได้ทรงหลบหนีไปทางหัวรถจักร เพื่อไปกราบบังคมทูลเตือนพระมหากษัตริย์ที่หัวหิน

ภายหลังที่พระยา พหลฯ ได้อ่านคำประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยาทรงฯ ผู้อำนวยการฝ่ายทหาร ได้ต้อนทหารทั้งหมด เข้าประตูรั้วเหล็กของพระที่นั่งอนันตสมาคม เพราะเกรงจะควบคุมกำลังทหารไม่ได้ และเมื่อทหารรู้ความจริงว่าคณะราษฎรเป็นกบฏต่อพระราชา จะเกิดสู้กันนองเลือด

เวลา 08.00 น. ปฏิบัติการยึดอำนาจได้เสร็จสิ้น ผู้ก่อการประสบความสำเร็จ เจ้าหน้าที่รัฐทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือนส่วนใหญ่ ต่อสู้ขัดขืนเพียงเล็กน้อย เพราะพวกเขาคุ้นชินกับการรับคำสั่งและเนื่องด้วยการสื่อสารถูกตัดขาด พวกเขาจึงไม่สามารถทำอะไรได้

หัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน หลวงประดิษฐ (ปรีดี) ได้รีบแจกจ่ายใบปลิว และแผ่นพับโฆษณาชวนเชื่อ ตลอดจนการกระจายเสียงทางวิทยุ ข้อความในประกาศคณะราษฎร ซึ่งเขียนขึ้นโดยหลวงประดิษฐ วิพากษ์วิจารณ์ ใส่ร้าย พระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงมากอย่างลบหลู่พระเกียรติ

จากนั้นประกาศคณะราษฎร ซึ่งลงนามโดย พระยาพหล , พระยาทรง และพระยาฤทธิ์ ถูกส่งโทรเลขไปให้แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่วังไกลกังวล หัวหิน มีใจความข่มขู่ว่า “..หากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงปรารถนาที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

คณะราษฎรจะเต็มใจถอดพระองค์ออก และแทนที่ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น ในโทรเลขดังกล่าวข่มขู่ด้วยว่า หากสมาชิกคณะราษฎรคนใดได้รับบาดเจ็บ พระบรมวงศานุวงศ์ที่ถูกคุมขังก็จะทรงทรมานไปด้วย...” อันเป็นถ้อยความข่มขู่พระมหากษัตริย์ที่ยะโสโอหังมาก

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ทรงทราบล่วงหน้าก่อนโทรเลขแล้วว่ามีเหตุการณ์บางอย่างกำลังเกิดขึ้นในกรุงเทพ เมื่อข้อความด่วนมาถึง ต่อมา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงเดินทางมาถึง เพื่อกราบรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพระนคร

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้านายอีกสองพระองค์ ทรงปรึกษากันถึงทางเลือกหลายทาง ซึ่งรวมไปถึงการเสด็จลี้ภัยไปยังต่างประเทศ การจัดรัฐประหารซ้อน หรือ การยอมจำนนเต็มตัว อย่างไรก็ตาม เมื่อโทรเลขแท้จริงจากคณะราษฎรมาถึงแล้ว พระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัยแล้วได้ทรงตอบอย่างมีเมตตาว่า

“พระองค์เต็มพระทัย ที่จะอยู่ในราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังที่พระองค์ทรงสนับสนุนที่จะให้ประชาชนมีรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด” พระองค์ทรงเขียนถึงการตัดสินพระทัยของพระองค์ ที่ปฏิเสธจะต่อสู้ในภายหลังว่า "... ข้าพเจ้าไม่สามารถนั่งอยู่บนบัลลังก์ที่เปื้อนเลือดได้ “

** หรือด้วยชะรอยที่รัชกาลที่ 4 ทรงพระปรีชาสามารถด้านโหราศาสตร์ เคยฝังเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ เสียใหม่ เพื่อแก้เคล็ด ที่สถาบันกษัตริย์จะมีอยู่ 150 ปี นับจากรัชกาลที่ 1 จึงดลบันดาลให้ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญแทน และดำรงค์สถาบันหลักต่อไป..อ่านช่วงนี้คลิ๊กที่ https://www.facebook.com/media/set/…

คณะราษฎรได้ส่งเรือปืนมารับ เพื่อควบคุมตัวพระองค์ไปยังกรุงเทพ แต่พระองค์ทรงปฏิเสธและเสด็จกลับไปยังพระนครโดยรถไฟหลวง อันแสดงให้เห็นว่าพระองค์มิได้ตกเป็นเชลยของคณะราษฎร ขณะเดียวกัน ผู้ก่อการได้บีบบังคับด้วยอาวุธ ให้เจ้านายทุกพระองค์ ลงพระนามในเอกสารเพื่อให้เกิดสันติภาพ และหลีกเลี่ยงการหลั่งเลือดใดๆ

ในกรุงเทพ ประชาชนทั่วไป แทบจะไม่ทราบต่อรัฐประหารครั้งนี้เลย พวกเขาคิดว่าเป็นการซ้อมรบของทหาร และมีคนจีนก่อเหตุตามข่าวลือ ชีวิตประจำวันของประชาชนในกรุงเทพฯ จึงกลับคืนสู่สภาพปกติ ส่วนที่เหลือต่างจังหวัด ก็ไม่มีทราบเรื่องเช่นเดียวกัน

ในช่วงเย็นวันนั้น ผู้ก่อการคณะราษฎร มั่นใจพอจึงจะเรียกประชุมรัฐมนตรีอาวุโส ในการประชุมนั้น ปรีดี พยายามที่จะเกลี้ยกล่อม ให้ข้าราชการพลเรือนอาวุโส ให้สนับสนุนคณะราษฎร โดยขู่ว่าให้พวกเขายังคงต่อต้าน มิฉะนั้นแล้วเขาจะนำต่างชาติมาแทรกแซงในประเทศ

ปรีดี บังคับให้กระทรวงการต่างประเทศ ส่งข่าวไปยังคณะทูตต่างประเทศทั้งหมด โดยข้อความว่าคณะราษฎรให้คำมั่นว่าจะคุ้มครองชีวิต และธุรกิจของชาวต่างชาติและบรรลุพันธกรณีตามสนธิสัญญาของสยาม

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสถามความเห็นจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ในฐานะคู่ชีวิตว่า "หญิงว่ายังไง" สมเด็จฯ นั้นแม้จะทรงเป็นสตรีเพศ แต่ได้กราบบังคมทูลด้วยความเด็ดเดี่ยวไปว่า "เข้าไปตายไม่เป็นไร แต่ต้องมีศักดิ์ศรีมีสัจจะ" รัชกาลที่ 7 จึงตัดสินพระทัย เสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าพระนคร

วันที่ 26 มิถุนายน 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับถึงกรุงเทพ พระองค์ทรงโปรดให้ผู้ก่อการคณะราษฎรเข้าพบ พระยาทรง ตรวจตราพระองค์อย่างกวดขัน และมีเสียงหาว่าพระองค์ไม่กล้า จะเสด็จไปไหนก็ต้องพกปืนกระบอกเล็กๆ ไปด้วย บางคนก็หัวเราะเยาะว่า ปืนกระบอกเล็กเพียงนั้นจะไปสู้อะไรเขาได้

พระเจ้าอยู่หัวจึงตรัสว่า " ปืนกระบอกนี้มีกระสุนเพียงสองลูก ลูกหนึ่งสำหรับหัวหญิง (สมเด็จพระบรมราชินี) แล้วเป็นของฉันเองอีกลูกหนึ่ง เพราะถ้าจะบังคับให้ฉันเซ็นอะไรที่เป็นการหลอกลวงราษฎรของฉันแล้ว เป็นยิงตัวตาย "

เมื่อสมาชิกคณะราษฎรเข้ามาถึงห้องแล้ว พระองค์ทรงลุกขึ้นประทับยืน และตรัสทักทายว่า "ข้าพเจ้ายืนขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะราษฎร" เป็นพระราชอิริยาบถที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากในวัฒนธรรมสยาม พระมหากษัตริย์ จะทรงประทับนั่งเสมอ

และประชาชนจะถวายบังคม ปรีดี จึงได้กราบทูลและข่มขู่พระองค์ และหลังจากนั้น ประกาศคณะราษฎรทุกเล่มได้ถูกนำกลับ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเมตตาประทับตราบนเอกสารพระราชทานอภัยโทษ แก่สมาชิกคณะราษฎรทุกคนจากการปฏิวัติดังกล่าว

จากนั้นคณะราษฎรได้ปล่อยตัวประกันทั้งหมดที่จับไว้ แต่ส่งกำลังควบคุมไว้ที่บ้าน ยกเว้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้ซึ่งทางคณะราษฎรมองว่ามีพระราชอำนาจมากเกินไป จึงบังคับให้พระองค์เสด็จออกนอกประเทศ

พระองค์จึงเสด็จไปยังเกาะชวา และไม่เคยเสด็จกลับมาประเทศเลย ส่วนเจ้านายพระองค์อื่นถูกคณะราษฎร บังคับให้เสด็จออกไปยังประเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ และบางพระองค์เสด็จไปยังทวีปยุโรป

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ผลที่ตามมาในทันทีหลังจากการปฏิวัติ ปรีดี เป็นผู้ร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 แล้วให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย

ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว จำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยยกเลิกพระราชอำนาจที่มีมาแต่โบราณ อาทิ พระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย การพระราชทานอภัยโทษ และพระราชสิทธิ ในการยืนยันผู้สืบราชสมบัติและรัชทายาท

จำกัดอำนาจทั้งหมดของพระมหากษัตริย์ โดยยังมิได้ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ไปเท่านั้น รัฐธรรมนูญ ยังได้จัดตั้งคณะกรรมการราษฎรเป็นฝ่ายบริหาร และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภา (ส.ส.) ที่ได้มาจากการแต่งตั้ง 70 คน

ช่วงแรก สมาชิกรัฐสภาทั้งหมดจะถูกแต่งตั้งโดยสี่ทหารเสือ ซึ่งเป็นฝ่ายทหารเท่านั้น สมาชิกรัฐสภาเหล่านี้จะใช้อำนาจแทนประชาชน และสมัยแรกมีกำหนดวาระ 6 เดือน

ช่วงที่สอง อันเป็นช่วงเวลาซึ่งประชากรของไทยขณะนั้นมี 12 ล้านคน ส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้จำต้องเรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง รัฐสภาจะถูกเปลี่ยนเป็นประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งอยู่กึ่งหนึ่ง และอีกกึ่งหนึ่งได้รับการเลือกตั้งเข้ามา ตามแบบประชาธิปไตยทางอ้อม แต่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง จะต้องได้รับการตรวจสอบจากคณะราษฎรก่อนการเลือกตั้งทุกครั้ง

ช่วงที่สามและช่วงสุดท้าย พระราชบัญญัติธรรมนูญบัญญัติว่าการเป็นตัวแทนประชาธิปไตยเต็มตัวในรัฐสภานั้นจะบรรลุได้ เฉพาะเมื่อเวลาผ่านไปแล้วสิบปี หรือประชากรมากกว่ากึ่งหนึ่งสำเร็จการศึกษาเกินกว่าระดับประถมศึกษา แล้วแต่ว่าอย่างไหนจะเกิดก่อน

วันที่ 28 มิถุนายน 2475 มีการประชุมแรกของ ส.ส.ในพระที่นั่งอนันตสมาคม และปรีดี มีบทบาทสำคัญ ในการผลักดันให้สภามีมติแต่งตั้ง พระยามโนปกรณ์ (ก้อน) อดีตเป็นองคมนตรี และเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็น “ประธานคณะกรรมการราษฎร” คนแรกของไทย

ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในการบริหาร (เทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน) เหตุที่บรรดาผู้นำขอบคณะราษฎร พากัน "เขิน" ไม่กล้าขึ้นเป็นนายกฯ เอง เพราะจะถูกหาว่ายึดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ เพื่อต้องการจะเป็นใหญ่ และมั่นใจว่าคุมกำลังทหารไว้ได้หมดแล้ว

ปรีดีมองว่า พระยามโนปกรณ์ เป็นผู้ใกล้ชิดกับพระปกเกล้าฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ จึงมีภาพพจน์ว่าเป็น "คนกลาง" น่าจะเป็นผู้สามารถสมานรอยร้าวให้บรรเทาลงได้ คณะราษฎรทุกคนก็เห็นชอบกับข้อเสนอของปรีดี

ในตอนที่ประกาศชื่อพระยามโนปกรณ์ ขึ้นเป็นนายกฯ นั้น ฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่กำลังท้อแท้ ก็ตะลึงกันอย่างไม่คาดคิด และกลับมีกำลังใจขึ้นมาอีก เพราะเขาเป็นขุนนางผู้ใหญ่ ที่มีความใกล้ชิดกับพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งคุณหญิงของเขา ก็เคยเป็นนางสนองพระโอษฐ์ พระนางเจ้ารำไพพรรณีด้วย (แต่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ปี 2473 เมื่อรัชกาลที่ 7 ทรงทราบโปรดสร้างอนุสาวรีย์เสาหินรูปหน้านาง 4 หน้า เพื่อเก็บอังคารของคุณหญิง ที่วัดปทุมวนาราม)

ฝ่ายอนุรักษ์นิยม จึงเข้าหว่านล้อมพระยามโนปกรณ์ และ 3 ใน 4 ทหารเสือ ของคณะราษฎร คือ พระยาทรง พระยาฤทธิ์ และ พระประศาสน์ ก็เกิดแตกคอกับคณะราษฎร หันไปให้ความสนับสนุนพระยามโนปกรณ์แทน

ทั้งยังดึงพลเรือโท พระยาราชวังสัน ผู้เป็นปฏิปักษ์กับปรีดี อย่างรุนแรง เข้ามาเป็นรัฐมนตรีกลาโหม ดังนั้นล้อมรอบตัวพระยามโนปกรณ์ จึงล้วนแล้วแต่เป็นผู้โกรธแค้น คณะราษฎร ซึ่งมีปรีดี เป็นตัวแทน

ในไม่กี่วันจากนั้น คณะราษฎรได้เปลี่ยนสยามไปเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียว โดยมีสถาบันที่ชื่อฟังเหมือนคอมมิวนิสต์ อย่างเช่น "สภาประชาชน" และตำแหน่ง "ประธานคณะกรรมการราษฎร” ในระยะนั้น เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ มาตั้งแต่สงครามโลกครัั้งที่ 1 ไทยเองเงินเกลี้ยงพระคลัง

จากนั้นปรีดี เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ครอบงำในการร่างรัฐรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แต่กระบวนการดังกล่าวไม่เคยมีการระดมความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป หรือประชาชนในต่างจังหวัดเลย พวกเขาไม่มีความรู้ด้วยซ้ำว่าประชาธิปไตยคืออะไร เป็นการกลัดกระดุมเม็ดแรกผิด มาจนถึงทุกวันนี้

สิงหาคม 2475 รัชการที่ 7 ทรงพระราชหัตถเลขาว่า “ฉันรู้สึกเสียดายอย่างยิ่ง ที่เขามิได้คิดจะถอดฉัน และฉันยังเสียใจอยู่จนบัดนี้ ความรู้สึกขั้นแรก ก็คือจะลาออกทันที แต่สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ แนะนำว่าไม่ควรทำ เพราะถ้าทำเช่นนั้นอาจมีการรบกันจนนองเลือด

ทั้งยุ่งยากต่างๆ จนอาจมีฝรั่งเข้ามายุ่งและชาติเราอาจเสียอิสรภาพได้ ถ้าเราจะรบโดยใช้ทหารหัวเมืองหรือ นั่นเป็นของแน่ที่เราอาจทำได้ แต่ฉันไม่ยินยอมเลยแม้แต่ชั่วขณะเดียว เพราะเจ้านายในกรุงเทพฯอาจจะถูกฆ่าหมด ฉันรู้สึกว่าฉันจะนั่งอยู่บนราชบัลลังก์ที่เปื้อนโลหิตไม่ได้ ”

** วันนี้เมื่อ 82 ปีที่แล้ว คือ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของสยาม เป็นบรรทัดฐานของการปกครองในระบอบใหม่ และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

โดยกำหนดสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 152 คน เลือกตั้ง 76 คน และอีก 76 คนได้รับการแต่งตั้ง ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ยึดอำนาจพระมหากษัตริย์ไปให้คณะรัฐมนตรี และการตรากฎหมายไปให้สภาผู้แทนฝ่ายนิติบัญญัติ แต่พระยามโนปกรณ์ ยังเป็นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2

ช่วงนั้นมีการจัดงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญอย่างยิ่งใหญ่ ท่ามกลางความยังไม่ค่อยเข้าใจของประชาชนในพระนคร มีขบวนเชิญรัฐธรรมนูญ ขบวนทหาร ขบวนนักเรียน ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ฯลฯ (ดูภาพประกอบหายาก ที่แทบหาดูไม่ได้แล้วทีละภาพ)

แม้ว่าปรีดี จะมีอุดมการณ์อันสูงส่งและได้รับการศึกษาแบบตะวันตกมา แต่รูปแบบประชาธิปไตยของเขาได้เผชิญกับสถานการณ์ลำบาก แบบเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเผชิญ ซึ่งเป็นปัญหาง่ายๆ คือ สยาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรในชนบท “ ยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย”

เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว สภาจึงเร่งให้มีการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยด่วน และทวงถาม พระยามโนปกรณ์ ทุกครั้งที่มีการประชุมสภา ว่าจะใช้ระบบเศรษฐกิจแนวไหน เขาจึงมอบให้ ปรีดีเป็นผู้ร่างโครงการเศรษฐกิจขึ้น

การปฏิวัติดังกล่าว มีผลกระทบใหญ่หลวงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถูกจำกัดพระราชอำนาจ และเอกสิทธิ์ที่มีมาแต่โบราณ พระองค์ก็ยังทรงอยู่ในความหวาดกลัว

พ.ศ. 2475 ช่วงปลายปี พระองค์ทรงวิตกว่า การเผชิญหน้าระหว่างพระองค์ กับคณะราษฎรในภายภาคหน้า จะทำให้พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จะทรงได้รับอันตราย พระองค์ทรงมีลายพระหัตถเลขาถึงพระนัดดา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เกี่ยวกับการตัดสินพระทัยเสด็จกลับกรุงเทพมหานครว่า "... เราทั้งหมดต่างก็ค่อนข้างรู้ดีว่าเราอาจกำลังจะตาย"

พ.ศ. 2476 เดือนกุมภาพันธ์ ปรีดี ได้จัดทำโครงการเศรษฐกิจ "สมุดปกเหลือง" เสร็จ เขานำขึ้นทูลเกล้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงพิจารณา และยังได้ยื่นต่อคณะรัฐมนตรีอีกทางหนึ่งด้วย เพราะปรีดี ไม่เคย เคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยเขาฝังใจวัยเด็กที่เป็นลูกชาวนายากจน จ. อยุธยา จึงมีความคิดล้มสถาบันฯ อยู่ในใจตลอดเวลา

โครงการเศรษฐกิจ "สมุดปกเหลือง" ของปรีดี ฉบับนี้ รัชกาลที่ 7 พระองค์ท่านไม่เห็นชอบด้วย เพราะรัฐบาลจะต้องเป็นผู้จัดการเศรษฐกิจเสียเอง โดยแบ่งการเศรษฐกิจนั้นออกเป็นสหกรณ์ต่างๆ และเค้าโครงสมุดปกเหลืองชุดนี้อีกหลายส่วน กำลังนำพาประเทศไทยสู่ระบอบ “คอมมิวนิสต์” แบบรัสเซีย

คนร่ำรวย จะเป็นชนชั้นนำ จะได้เปรียบคนยากจน ทั้งที่ราษฎรไทยยังไม่มีความพร้อมเรื่องการเปลี่ยนเป็นระบอบคอมมิวนิสต์เลย และต้องโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ลง ซึ่งพระราชวินิจฉัยฉบับนี้ ทรงมีความเห็นว่า โครงการเศรษฐกิจฉบับนี้ เป็นคอมมิวนิสต์ มีข้อความตอนหนึ่งว่า

"...แต่มีข้อสำคัญอันหนึ่ง ที่เห็นได้ชัดเจนอย่างไม่ต้องเป็นที่สงสัยว่า โครงการนี้ เป็นโครงการอันเดียวอย่างแน่นอน ดังที่ประเทศรัสเซียใช้อยู่ ส่วนใครจะเอาอย่างใครนั้น ข้าพเจ้าไม่ทราบ สตาลินเอาอย่าง หลวงประดิษฐ์ฯ (ปรีดี) หรือหลวงประดิษฐ์ฯ จะเอาอย่างสตาลิน ก็ตอบไม่ได้ ตอบได้ข้อเดียวว่า โครงการทั้งสองนี้เหมือนกันหมด

เหมือนกัน จนรายละเอียดเช่นที่ใช้และรูปของวิธีการกระทำ จะผิดกันก็แต่รัสเซียนั้น แก้เสียเป็นไทย หรือไทยนั้นแก้เป็นรัสเซีย ถ้าสตาลินเอาอย่างหลวงประดิษฐ์ฯ ข้าวสาลี ก็แก้เป็นข้าวสาร หรือข้าวสาร แก้เป็นข้าวสาลี รัสเซียเขากลัวอะไร ไทยก็กลัวอย่างนั้นบ้าง รัสเซียเขาหาวิธีตบตาคนอย่างไร ไทยก็เดินวิธีตบตาคนอย่างนั้นบ้าง.."

ช่วง พ.ศ.2476 - 2500 เกือบทุกปี รัฐบาลสมัยนั้น ต้องการแสดงอำนาจเหนือสถาบันกษัตริย์ จึงจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญอย่างยิ่งใหญ่ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยให้มีการจัดงานใหญ่เฉลี่ยปีละ 7 วัน คือระหว่างวันที่ 8 -14 ธันวาคม ของทุกปี โดยจัดงานที่สนามหลวง, วังสราญรมย์, สวนลุมพีนี, สวนอัมพร และเขาดินวนา สลับสับเปลี่ยนกันไป

ในงานฉลองรัฐธรรมนูญมีมหรสพต่างๆ อย่างเอิกเริก เช่น การประกวดนางงาม ลิเก ละคร โขน งิ้ว และภาพยนตร์ ซึ่งเป้าหมายหลักของงานนี้คือ การประชาสัมพันธ์ระบอบรัฐธรรมนูญให้ประชาชนได้รู้จัก จะได้ลืมเลือนคุณงามความดีของสถาบันกษัตรย์ที่ผ่านมากว่า 800 ปี

พ.ศ.2501 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ นายพลผู้จงรักภักดี เพื่อฟื้นฟูระบอบอนุรักษ์นิยมขึ้นมาใหม่ งานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ ถูกสั่งยกเลิกไป เหลือเพียงแค่วันหยุดราชการวันเดียวมาจนถึงในปัจจุบัน

สรุป..ตอนนั้นแม้ประเทศสยามจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนได้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก ตั้งแต่นั้นปรีดี และคณะราษฎร์ฝ่ายพระยาพหล ก็ยังไม่ล้มเลิกที่จะล้มล้างสถาบันกษัตริย์ แต่ติดขัดที่ 3 ทหารเสือ แปรพักตร์ ไปเข้ากับฝ่ายพระยามโนปกรณ์ จึงทำได้ไม่สำเร็จ จึงพลิกแพลงมาเป็นเสนอโครงการเศรษฐกิจ แบบระบอบคอมมิวนิสต์แทน

ด้วยความไม่พร้อมของสังคมไทย ที่ได้ "รัฐธรรมนูญแบบไม่มีรากแก้ว" แม้จะรัฐธรรมนูญมาถึงฉบับปัจจุบันถึง 19 ฉบับ แต่นักการเมือง ก็ยังไม่ยอมเป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง หวังใช้รัฐธรรมนูญ ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานให้กับราษฎรทั้งปวง มาแอบแฝงหาประโยชน์เข้าพกเข้าห่อ โกงกินชาติบ้านเมือง ต่อเนื่องกันมาถึง 82 ปี

** เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป และ พระยามโนปกรณ์ จะปฏิวัติโดยใช้ปากกาด้ามเดียวอย่างไร และปรีดี จะถูกเนรเทศออกนอกประเทศตอนไหน อ่านตอนต่อไป คลิ๊กที่https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/298471590342875

คัดลอกจาก Facebook แฉ......ความลับ @TOPSECRE

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 12:07 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ไขปริศนา..เบื้องลึกเบื้องหลังรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย กับภาพลับหายาก (ตอน 2

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5601
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8585699

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า