Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ไขปริศนา..นักการเมืองบีบ รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ คำต่อคำ น้ำตารินทั่วไทย (ตอน 4)

ไขปริศนา..นักการเมืองบีบ รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ คำต่อคำ น้ำตารินทั่วไทย (ตอน 4)

พิมพ์ PDF

วันที่ 12 ธ.ค.57 ไขปริศนา..นักการเมืองบีบ รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ คำต่อคำ น้ำตารินทั่วไทย (ตอน 4)

ตอนที่แล้วเล่าถึงรัฐบาลจอมพล ป. และปรีดี มีแผนจะสำเร็จโทษผู้มีส่วนร่วมในกบฏบวรเดช รัชกาลที่ 7 ทรงมีเมตตา มีพระประสงค์ละเว้นคดีประหารชีวิต โดยต้องการให้รัฐบาลปล่อยนักโทษทางการเมืองในคดีกบฏบวรเดช หากไม่ตกลง พระองค์ก็พร้อมจะสละราชย์สมบัติ รัฐบาลจอมพล ป. และปรีดี ยิ่งยโสใน จึงปฏิเสธไปเกือบทุกข้อ การเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ

วันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ องค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชหัตถเลขาประกาศสละราชสมบัติ จากบ้านพักพระตำหนักโนล ในประเทศอังกฤษ ที่ทรงลี้ภัยไปพำนักในขณะนั้น

พระราชทานหัตถเลขา ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงสละราชสมบัติ จึงขออัญเชิญมาให้ประชาชนไทยทุกคน ได้รู้ได้เห็นว่า นักการเมืองรังแกพระมหากษัตริย์ไทยอย่างไร ขอให้ตั้งใจอ่านทุกคำ แล้วจะเข้าใจพระองค์อย่างถ่องแท้ ลองเลื่อนดูภาพทีละภาพช้าๆ เพื่อให้เห็นกับตาว่าเป็นของจริงจากลายพระหัตถ และเล่าขานต่อไปถึงลูกหลาน หรือ เพื่อนฝูงทุกคน

----------------------------->
บ้านโนล
แครนลีประเทศอังกฤษ

เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนากับพวก ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองโดยใช้กำลังทหาร ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วได้มีหนังสือมาอัญเชิญข้าพเจ้าให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าได้รับคำเชิญนั้น เพราะเข้าใจว่าพระยาพหลฯ และพวกจะสถาปนารัฐธรรมนูญ ตามแบบอย่างประเทศทั้งหลายซึ่งใช้การปกครองตามหลักนั้น

เพื่อให้ประชาราษฎรได้มีสิทธิ ที่จะออกเสียงในวิธีดำเนินการปกครองประเทศ และนโยบายต่าง ๆ อันจะเป็นผลได้เสียแก่ประชาชนทั่วไป ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใส ในวิธีการเช่นนั้นอยู่แล้ว และกำลังดำริจะจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ของประเทศสยามให้เป็นไปตามรูปแบบนั้น โดยมิได้มีการกระทบกระเทือนอันร้ายแรง

เมื่อมามีเหตุรุนแรงขึ้นเสียแล้ว และเมื่อมีผู้ก่อการรุนแรงนั้น อ้างว่ามีความประสงค์จะสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นเท่านั้น ก็เป็นอันไม่ผิดกับหลักการที่ข้าพเจ้ามีความประสงค์อยู่เหมือนกัน ข้าพเจ้าจึงเห็นสมควรโน้มตามความประสงค์ ของผู้ก่อการยึดอำนาจนั้นได้ เพื่อหวังความสงบราบคาบในประเทศ

ข้าพเจ้าได้พยายามช่วยเหลือ ในการที่จะรักษาความสงบราบคาบ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงอันสำคัญนั้นเป็นไปโดยราบรื่นที่สุดที่จะเป็นได้ แต่ความพยายามของข้าพเจ้าไร้ผล โดยเหตุที่ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หาได้กระทำให้บังเกิดมีความเสรีภาพในการเมืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นไม่ และมิได้ฟังความคิดเห็นของราษฎรโดยแท้จริง และจากรัฐธรรมนูญทั้ง ๒ ฉบับ

จะพึงเห็นได้ว่าอำนาจที่จะดำเนินนโยบายต่าง ๆ นั้น จะตกอยู่แก่คณะผู้ก่อการ และผู้ที่สนับสนุนเป็นพวกพ้องเท่านั้น มิได้ตกอยู่แก่ผู้แทนซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือก เช่น ในฉบับชั่วคราว แสดงให้เห็นว่า ถ้าผู้ใดไม่ได้รับความเห็นชอบของผู้ก่อการ จะไม่ให้เป็นผู้แทนราษฎรเลย ฉบับถาวรได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ตามคำร้องขอของข้าพเจ้า

แต่ให้มีสมาชิกซึ่งตนเองเป็นผู้เลือกเอง เข้ากำกับอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรถึงครึ่งหนึ่ง การที่ข้าพเจ้าได้ยินยอมให้มีสมาชิก ๒ ประเภท ก็โดยหวังว่าสมาชิกประเภทที่ ๒ ซึ่งข้าพเจ้าตั้งนั้น จะเลือกจากบุคคลที่รอบรู้การงาน และชำนาญในวิธีดำเนินการปกครองประเทศโดยทั่วๆ ไปไม่จำกัดเป็นพวกใดคณะใด

เพื่อจะได้ช่วยเหลือนำทาง ให้แก่สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นมา แต่ครั้นเมื่อถึงเวลาที่จะตั้งสมาชิกประเภทที่ ๒ ขึ้น ข้าพเจ้าหาได้มีโอกาสแนะนำในการเลือกเลย และคณะรัฐบาลก็เลือกเอกแต่ฉะเพาะผู้ที่เป็นพวกของตนเกือบทั้งนั้น มิได้คำนึงถึงความชำนาญ นอกจานี้คณะผู้ก่อการบางส่วน

ได้มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโครงการณ์เศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง จึงเกิดแตกร้าวขึ้นกันเองในคณะผู้ก่อการและพวกพ้อง จนต้องมีการปิดสภา และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยคำแนะนำของรัฐบาล ซึ่งถือตำแหน่งอยู่ในเวลานั้น

ทั้งนี้เป็นเหตุให้มีการปั่นป่วนในการเมือง ต่อมาพระยาพหลฯ กับพวกก็กลับเข้าทำการยึดอำนาจโดยกำลังทหารเป็นครั้งที่ ๒ และแต่นั้นมาความหวังที่จะให้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นไปโดยราบรื่นก็ลดน้อยลง

เนื่องจากเหตุที่คณะผู้ก่อการมิได้กระทำให้มีเสรีภาพในการเมืองอันแท้จริง และประชาชนไม่ได้มีโอกาสออกเสียง ก่อนที่จะดำเนินนโยบายอันสำคัญต่าง ๆ จึงเป็นเหตุให้มีการกบฎขึ้น ถึงกับต้องต่อสู้ฆ่าฟันกันเองระหว่างคนไทย

เมื่อข้าพเจ้าได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ให้เข้ารูปประชาธิปไตยอันแท้จริง เพื่อให้เป็นที่พอใจแก่ประชาชน คณะรัฐบาลและพวกซึ่งกุ่มอำนาจอยู่บริบูรณ์ในเวลานี้ ก็ไม่ยินยอม ข้าพเจ้าได้ร้องขอให้ราษฎร ได้มีโอกาสออกเสียงก่อน ที่จะเปลี่ยนหลักการและนโยบายอันสำคัญ มีผลได้เสียแก่พลเมืองรัฐบาลก็ไม่ยินยอม

และแม้แต่การประชุมในสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องสำคัญ เช่น เรื่องคำร้องขอต่างๆ ของข้าพเจ้า สมาชิกก็มิได้มีโอกาสพิจารณาเรื่องโดยถ่องแท้ และละเอียดละออเสียก่อน เพราะถูกเร่งรัดให้ลงมติอย่างรีบด่วน ภายในวาระประชุมเดียว นอกจากนี้รฐบาลได้ออกกฎหมายใช้วิธีปราบปรามบุคคล ซึ่งถูกหาว่าทำความผิดทางการเมืองในทางที่ผิดยุติธรรมของโลก

คือไม่ให้โอกาสต่อสู้คดีในศาล มีการชำระโดยคณะกรรมการอย่างลับ ไม่เปิดเผยซึ่งเป็นวิธีการที่ข้าพเจ้าไม่เคยใช้ ในเมื่ออำนาจอันสิทธิขาด ยังอยู่ในมือของข้าพเจ้าเอง และข้าพเจ้าได้ร้องขอให้เลิกวิธีนี้ รัฐบาลก็ไม่ยอม

ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจ และยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใด “ ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้ ”

ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร

บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้า ที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียงในนโยบายของประเทศโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือให้ความคุ้มครองให้แก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว

ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเป็นของข้าพเจ้าอยู่ในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวง อันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมมา ก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์

อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะบ่งนามผู้ใดผู้หนึ่ง ให้เป็นผู้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไปตามที่ข้าพเจ้ามีสิทธิ ที่จะทำได้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์

อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะให้ผู้ใดก่อการไม่สงบขึ้นในประเทศ เพื่อประโยชน์ของข้าพเจ้า ถ้าหากมีใครอ้างใช้นามของข้าพเจ้า พึงเข้าใจว่ามิได้เป็นไปโดยความยินยอมเห็นชอบ หรือความสนับสนุนของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้ามีความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ไม่สามารถจะยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนและประเทศชาติของข้าพเจ้าต่อไปได้ ตามความตั้งใจและความหวัง ซึ่งรับสืบต่อ กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ยังได้แต่ตั้งสัตยอธิษฐาน ขอให้ประเทศสยามจงได้ประสบความเจริญ และขอให้ประชาชนชาวสยามจงได้มีความสุขความสบาย

(พระปรมาภิไธย) ประชาธิปก ปร
วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
เวลา ๑๓ นาฬิกา ๕๕ นาที

----------------------------->
พระองค์ทรงแจกจ่ายพระราชหัตถเลขาไปยังหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ ในอังกฤษ เพื่อให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ทันที และทรงมีพระบรมราชโองการมายังรัฐบาลว่า “ขอให้ประกาศพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัตินั้นแก่ประชาชนให้ทราบทั่วกัน ด้วย “

รัฐบาลขณะนั้น จะพยายามควบคุมการเสนอข่าว เกี่ยวกับการสละราชสมบัติของหนังสือพิมพ์ในประเทศสยามเองอย่างเข้มงวด ให้ตีพิมพ์เฉพาะเอกสารที่รัฐบาลส่งให้เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวพระราชหัตถเลขาสละราชย์ทั้งฉบับนั้น รัฐบาลเพิ่งให้มีการตีพิมพ์ใน 2 เดือนหลังการสละราชย์

พระราชหัตถเลขาของพระองค์ ถูกรัฐบาลพระยาพหล “กลบ” ข่าวอย่างมิดชิด โดยที่ราษฎรไทย 12 ล้านคนของพระองค์ แทบไม่รู้เรื่องเลย หลังจากมีพระราชหัตเลขาสละราชสมบัติ พระองค์ทรงกลับไปใช้พระนามและพระราชอิสริยยศเดิม ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

วันที่ 7 มีนาคม 2477 รัฐบาลพระพหลฯ จึงประชุมปรึกษาหารือกัน โดยปรีดี วางแผนให้หาเจ้านายในเชื้อพระวงศ์ ที่ยังพระเยาว์ เพื่อจะได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการนานๆ คุมอำนาจเบ็ดเสร็จ และครองประเทศ กดขี่ทางชนชั้น ประชาชนต่อไป และวางแผนร้ายทำลายราชงศ์ อย่างถาวรได้

มีการเรียกประชุมสภาผู้แทนราฎร จากการชี้นำของปรีดี ได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาล ให้พระวรวงศ์เธอ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งมีพระมายุเพียง 8 พรรษา สืบราชสมบัติสืบพระราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์ เป็นรัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ยังทรงศึกษาอยู่กับ สมเด็จพระบรมราชชนนี พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลย ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติตั้ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ , พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

วันที่ 27 มิถุนายน 2477 ขณะดำรงตำแหน่ง รมต.กระทรวงมหาดไทย ปรีดี ได้สถาปนา "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" โดยใช้เงินที่มาจากค่าสมัครเข้าเรียนของนักศึกษา และดอกผลที่ได้มาจากธนาคาร ซึ่งปรีดีเป็นผู้ก่อตั้ง โดยให้มหาวิทยาลัยถือหุ้น 80% เพื่อขยายแนวคิดของเขา ในการสร้างผลไม้พิษไปทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง

เมื่อรัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติแล้ว ข้าราชบริพารที่เป็นข้าราชการ ก็ได้รับคำสั่งให้กลับเมืองไทยเพราะหมดหน้าที่แล้ว เหลือแต่พระญาติและข้าราชบริพารในพระองค์ไม่กี่คน คอยรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท พระตำหนักโนล ทรงเช่าจากชาวอังกฤษ ไม่ค่อยเหมาะกับพระอนามัย อีกทั้งค่าเช่าค่อนข้างสูง ทรงจำเป็นต้องประหยัดลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลง ดังนั้นจึงทรงเสาะแสวงหาที่ประทับที่อื่นแทน

พระองค์ทรงซื้อพระตำหนักเกล็นแพมเมิ่นต์ เป็นที่ประทับแห่งใหม่ ตั้งอยู่ใน ตำบลเวอร์จิเนีย วอเตอร์ ใกล้เมืองสเตนส์ ซึ่งอยู่ในจังหวัดมิลเดิลเซกซ์ พระตำหนักมีขนาดย่อมลง แต่ก็ยังใหญ่โตและมีเนื้อที่กว้าง มีที่ให้คนขับรถ หัวหน้าคนรับใช้ชายหนึ่งคนกับลูกน้อง 2 คน ได้พักอาศัย

อีกทั้งมีกระท่อมหลังหนึ่ง สำหรับหัวหน้าคนสวนด้วย พระตำหนักมี 3 ชั้น และห้องหับจำนวนมาก เช่น ห้องโถง ห้องสมุด ห้องรับแขก ห้องอาหาร และห้องนั่งเล่น ห้องเหล่านี้เต็มไปด้วยเครื่องเรือนแบบอังกฤษ แต่ก็มีสิ่งของต่าง ๆ ของไทยอยู่ประปราย เช่น พระแสงประดับเพชรพลอย หีบพระโอสถมวนถมทองและฉากสีแดงภาพตัวละครไทย 2 ตัว

ในห้องทรงพระสำราญ มีไฟจุดอยู่ในเตาผิง มีม่านหนาสีน้ำเงินแขวนอยู่ ซึ่งใช้กั้นส่วนที่ย่อมกว่าของห้อง รัชกาลที่ 7 ประทับยืนอยู่เคียงกับม่านผืนใหญ่นี้ ทำให้พระวรกายยิ่งดูเล็ก ซูบ แต่กระนั้นก็ยืดตรงสง่าผ่าเผย พระโอษฐ์แย้ม แต่พระเนตรมีแววเศร้า พระมัสสุ (หนวด) หนา พระขนง (คิ้ว) เข้ม ทรงฉลองพระองค์สูทสักหลาดแบบทวีด แม้พระชนมพรรษาเพียง 42 พรรษา ดูทรงพระชรามาก แม้ว่า เส้นพระเจ้า (เส้นผม) จะยังคงเป็นสีดำอยู่

ทางด้านขวาของสนามหญ้า มีสวนผักกำแพงล้อมรอบ และเรือนกระจกหลายหลังซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นผลไม้ต่างๆ หลากชนิด อีกทั้งดอกไม้สำหรับตัดปักแจกันตกแต่งพระตำหนัก แสดงว่าทรงถือหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามสมควร รัชกาลที่ 7 โปรดที่จะเสด็จลงมาทรงพระดำเนินกับสุนัขซึ่งทรงเลี้ยงไว้ในช่วงบ่าย ๆ

พระองค์เสวยพระกระยาหารเช้าในห้องพระบรรทม โดยมหาดเล็กคนไทยเชิญเครื่องไปตั้งถวายเช่นเดียวกับที่เคยทรงปฏิบัติในประเทศไทย ในช่วงบ่าย มักจะทรงพระดำเนินเล่นที่ป่าละเมาะ ในช่วงฤดูร้อน ทรงกอล์ฟหรือเทนนิส เสวยพระสุธารสชาในช่วงบ่ายประมาณ 17.00 น. ที่สนามหญ้า ซึ่งบางครั้งเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ไปเสวยตามร้านธรรมดาทั่วไป

เช่น ริมแม่น้ำเทมส์ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยงประชาชน โดยพระองค์ทรงขับรถพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯทรงอ่านแผนที่ถวาย มีหม่อมเจ้าการวิก จักรพันธ์ ทรงขับถวายเมื่อทรงเหนื่อย เป็นการที่ได้ทรงผ่อนคลายพระอารมณ์อย่างหนึ่ง หลังพระกระยาหารค่ำ จะประทับอยู่กับพระประยูรญาติเหมือนพ่อแม่ในครอบครัวที่อบอุ่น พระองค์ ทรงพระอักษรซึ่งส่วนใหญ่ เป็นหนังสือประเภทประวัติศาสตร์ ชีวประวัติ ตำราการทำสวน และนวนิยาย

คนไทยในอังกฤษ หากบังเอิญอยู่ในร้านอาหารเดียวกันกับพระองค์ ก็จะไม่เข้าไปเฝ้าฯ หรือแม้แต่ถวายความเคารพ เพราะเกรงว่าจะมีภัยมาถึงตน หรือรัฐบาลคณะราฎร จะทำร้ายครอบครัวในเมืองไทย แต่ก็มีบางคนที่กล้าลุกขึ้นยืนถวายคำนับ ในขณะที่เพื่อนๆ นั่งก้มหน้า ทำเป็นมองไม่เห็น

พ.ศ. 2479 รัฐบาลคณะราษฎร และปรีดี สมัยนั้น ออก พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ยึดทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ทั้งหมด ที่เดิมทีเป็นพระราชทรัพย์ของราชวงศ์จักรี และจัดตั้งหน่วยงานรัฐบาลขึ้นมาดูแล คือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีสถานะเป็นหน่วยราชการระดับกอง ในสังกัดกระทรวงการคลัง ให้ รมต.คลังของรัฐ เป็นประธานควบคุมดูแล

ต่อมามีการแก้ไขปรับปรุง จนจัดตั้งยกระดับหน่วยงานขึ้นมาดูแลใหม่ มีสถานะเป็นนิติบุคคล ที่ตั้งอยู่ที่ วังแดง ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่ดินของราชวงศ์ ก็ถูกยึดมาใช้ประโยชน์เรียกว่า ที่ดินราชพัสดุ , สมบัติที่ยึดมาทั้งหมด กระทรวงการคลัง ก็ดูแลออกดอกออกผล อยู่จนถึงบัดนี้

ปัจจุบันลงทุนในธุรกิจต่างๆ เช่น ปูน พลังงาน ฯลฯ หลายสิบบริษัท จนมีเงินเพิ่มพูนไปเรื่อยๆ ราว 4 แสนล้านบาท เงินต้น ดอกผล เหล่านี้กลับมาเป็นของกระทรวงการคลัง 100 เปอร์เซ็นต์ กลายเป็นงบประมาณประจำปีของรัฐบาล และกลับมาถึงประชาชนทุกคนรอบๆ ตัวของท่านเอง

โดยทรัพย์สินส่วนนี้จึงไม่ต้องเสียภาษีเพราะเป็นของรัฐเอง ใครเป็นรัฐบาลก็จะได้ใช้ประโยชน์ ธนาคารออมสิน รัชกาลที่ 6 ก็ทรงตั้งด้วยเงินส่วนพระองค์เริ่มต้นเอง ท่านวางระเบียบไว้เดิมให้เสนาบดีพระคลังเป็นคนดูแล (ปัจจุบันมีเงินเพิ่มพูนเป็นแสนล้านบาท ก็กลายเป็นธนาคารของรัฐ 100 เปอร์เซ็นต์ไปแล้ว )

ปัจจุบัน รมต.คลัง ก็เป็นคนดูแลควบคุมเอง ตั้งกรรมการได้เอง รัฐจึงเอาเงินไปใช้ได้สะดวก..ชื่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ฝรั่งไม่เข้าใจเห็นเพียงชื่อก็เหมารวมเป็นตุเป็นตะ ครั้นจะเปลี่ยนชื่อหน่วยงานนี้ไปเป็นอย่างอื่น ก็ไม่เหมาะสม เพราะเป็นของพระมากษัตริย์โบราณ มาถึงกว่า 800 ปี

ที่ทุกพระองค์ ( รวม 52 พระองค์) ก็ทรงให้กับราษฎรของพระองค์อยู่แล้วตลอดมา แต่ทีเวลาศาลตัดสินยึดทรัพย์นักการเมืองที่โกงชาติไป ทุกคนตลอดมาตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 และล่าสุดมาถึง คนแดนไกล 4.6 หมื่นล้านบาท นักการเมืองเอง ก็ไม่เคยออกกฎหมายตั้ง "สำนักงานทรัพย์สินส่วนนักการเมือง" เลยสักครั้งแปลกไหม ?

นี่แหละที่คนแดนไกล ถึงเคยพูดว่าให้รัฐบาล ปูข้าวเน่า ตั้งเขาเป็นที่ปรึกษา สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่เป็นของรัฐบาล เพราะว่าเขาอยากจะเข้าไปถลุงสมบัติชาตินี้ ไปเป็นของตระกูลตนเอง..ประชาชนตาสว่าง รู้เท่าทันนักการเมืองหรือยัง ?

ใครกล่าวร้ายว่าพระองค์ท่านร่ำรวยที่สุดในโลกนั้น กำลังผิดอย่างมหันต์ เพราะทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ปัจจุบันนี้ “ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับสถาบันเบื่องสูงเลยแม้แต่น้อยนิด “ พระราชวงค์ไม่มีสิทธิ์ใดๆ ในทรัพย์สิน หรือในธนาคารใดๆ เลย จะพูดก็ได้ว่า ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงยากจนทรัพย์มากด้วยซ้ำไป

ที่เป็นทรัพย์ของส่วนพระองค์จริงๆ ก็เกิดการที่ประชาชนสาขาต่างๆ บริจาคให้ตามพระราชอัธยาศัย หรือโดยเสด็จพระราชกุศลเข้ามูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิชัยพัฒนา ฯลฯ ทรัพย์ที่บริจาคก็ เช่น ที่ดิน ทุนทรัพย์ ฯลฯ ที่เราเห็นทางทีวีบ่อยๆ นั่นเอง แต่มีไม่มากนัก ทรัพย์ส่วนนี้เรียกว่า "ทรัพย์สินส่วนพระองค์"

และในหลวงท่าน ก็จะชำระภาษีอากรทุกปีตามอัตรากฎหมายกำหนด เท่าเทียมเหมือนประชาชนทั่วไป และได้รับใบเสร็จจากกระทรวงการคลัง ทรัพย์สินส่วนนี้ดูแลโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง

ยามประชาชนเดือนร้อน และทุกข์ยาก ในหลวง พระราชินี และองค์รัชทายาท เชื้อพระวงศ์ ท่านก็จะพระราชทานให้นำทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น กลับคืนมาสู่ราษฎรของพระองค์อีก เช่น ทรงบริจาคที่ดินทำกินประเดิมให้ผู้ยากจน ถุงยังชีพพระราชทานยามเกิดอุทกภัย หรือภัยพิบัติ หรือโครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้ ในพระบรมราชานุเคราะห์ ส่วนพระองค์ต่างๆ

พ.ศ. 2478 – 2480 รัชกาลที่ 7 ประทับอยู่ที่พระตำหนักเกล็นแพ็มเมิ่นต์ ไม่ค่อยทรงสบาย ทรงแพ้อากาศหนาวชื้น พระอาการประชวรหนักขึ้น ประกอบกับไม่ต้องทรงรักษาพระเกียรติยศมากเท่าเดิมแล้ว จึงทรงตัดสินพระราชหฤทัยขายพระตำหนัก และซื้อพระตำหนักใหม่ “เวนคอร์ต” ที่มีขนาดเล็กเหมาะแก่การดูแลรักษามากกว่า ที่หมู่บ้านบิ้ดเด็นเด็น ใกล้เมืองแอชฟอร์ด ในจังหวัด เคนท์

ห่างจากกรุงลอนดอนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 200 ไมล์ ที่มีภูมิอากาศดี เพราะใกล้ทะเลกว่า แต่ความที่ไม่ห่างจากช่องแคบโดเวอร์ มากนัก แต่ด้วยเหตุที่การเดินทางจากบิ้ดเด็นเด็น ไปกรุงลอนดอน ไป-กลับ ในวันเดียวกันทำได้ไม่สะดวกรวดเร็ว เท่าจากพระตำหนักเดิม

พระองค์ จึงทรงเช่าห้องชุด ชุดหนึ่งไว้ในกรุงลอนดอนที่ อีตัน เฮ้าส์ เลขที่ 61 ถนนอัพเพ่อร์ โกรฟเวินเน่อร์ ในย่านเมย์แฟร์ ใกล้กับสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อจะประทับแรม เมื่อทรงมีพระราชกิจธุระ เสด็จทอดพระเนตรสิ่งต่างๆ หรือทรงจับจ่ายซื้อของ

พ.ศ. 2481 สงครามโลกครั้งที่สองได้ตั้งเค้า รัชกาลที่ 7 แน่พระราชหฤทัยว่า สงครามจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน จึงทรงเตรียมพร้อมด้วยการประหยัดทุกทาง ทรงเลิกเช่าห้องชุดที่ลอนดอน เพื่อลดพระราชภาระใช้จ่าย เนื่องจากห้องชุดนี้ ค่าเช่าแพงมาก

ที่ตำหนักเวนคอร์ต ทั้งสองพระองค์เสด็จลงสวนทรงรดน้ำพรวนดินในสวน รัชกาลที่ 7 ทรงวางผังปลูกต้นไม้ และไม้ดอกด้วยพระองค์เอง เวลานั้นบรรดาคนไทย และนักเรียนไทยในอังกฤษ มีความกล้ามากขึ้น ที่จะมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต แข่งขันเทนนิส ที่สนามส่วนพระองค์

ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นกันเองมากกับนักเรียนไทย และยังมีเสรีไทยช่วงสงครามโลกเข้าเฝ้าปรึกษาพระองค์เป็นประจำด้วย พระองค์ประทับที่พื้นสนามพระตำหนักกับเหล่าพวกเขา ขณะเสวยพระสุธารสชาในช่วงฤดูร้อน แวดล้อมไปด้วยพฤกษานานาพันธุ์ ต่อมาจึงเสด็จฯไปทรงร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ ที่นักเรียนไทยจัดขึ้นปีละครั้ง

หากสงครามเกิดขึ้น จังหวัดเค้นท์ ซึ่งอยู่ใกล้ช่องแคบอังกฤษ อาจถูกเยอรมันบุก จึงจะถูกประกาศเป็นเขตทหาร รัชกาลที่ 7 ทรงหาที่ประทับใหม่อีกครั้ง เพื่อหลบภัยสงคราม ชื่อว่า เวนท์เวอร์ธ เอสเตท ในแถบเวอร์จิเนีย วอเตอร์ ไม่ไกลจากพระตำหนักเกล็นแพ็มเมิ่นต์

รัชกาลที่ 7 เสด็จประพาสอียิปต์ และทางรัฐบาลไทยช่วงนั้น ตามราวีพระองค์ไม่เลิก โดยปล่อยข่าวลือว่า พระองค์จะทรงไปตั้งกองบัญชาการที่พม่า เตรียมทรงรับพระราชอำนาจคืน โดยที่พระองค์ไม่ทรงทราบเรื่องนี้เลย หลังเสด็จประพาสอียิปต์อยู่นานถึงเดือนเศษ จึงเสด็จฯ กลับอังกฤษ

ชาวบ้านในหมู่บ้านบิ้ดเด้นเด็น ต่างรักและเทิดทูนพระองค์ ด้วยทรงพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาคุณ พวกเขาได้เฝ้าฯ บ่อย ๆ เพราะแทนที่จะทรงสั่งซื้อของ และให้ร้านในเมืองไปส่งที่พระตำหนัก พระองค์กลับทรงจักรยานตามถนนเล็กๆ ของหมู่บ้าน เพื่อทรงจับจ่ายจากร้านค้า โดยทรงคำนึงถึงความเป็นธรรมมาก

เพราะสัปดาห์หนึ่ง จะทรงซื้อของที่ร้านหนึ่ง อีกสัปดาห์หนึ่งที่อีกร้านหนึ่ง โปรดที่จะทรงซื้อช็อคโกแล็ต ที่ร้านกาแฟประจำหมู่บ้านทำเอง และบางครั้งเสวยพระกระยาหารมื้อย่อมๆ ที่ร้านนั้นด้วย ในช่วงฤดูร้อน ทรงพระกรุณาเป็นองค์ประธานพระราชทานถ้วยรางวัล ในงานประกวดดอกไม้ และงานแข่งม้ากระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง

** ตอนต่อไปจะเล่าถึง ประวัติศาสตร์ที่หายมืดไป ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 และพระพระนางเจ้ารำไพพรรณี ท่านจะต้องถึงกับช็อค น้ำตาไหลริน และสงสารทั้ง 2 พระองค์จับใจในวาระสุดท้ายของชีวิต คลิ๊กไปที่ https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/299189100271124

คัดลอกจาก facebook @topsecrethai

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 12:34 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ไขปริศนา..นักการเมืองบีบ รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ คำต่อคำ น้ำตารินทั่วไทย (ตอน 4)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8590804

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า