Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > เปิดโปง..ปรีดี และนักการเมืองคณะราษฎร พรากกษัตริย์ชนเผ่าไทย อาดูรทั้งแผ่นดิน (ตอนจบ)

เปิดโปง..ปรีดี และนักการเมืองคณะราษฎร พรากกษัตริย์ชนเผ่าไทย อาดูรทั้งแผ่นดิน (ตอนจบ)

พิมพ์ PDF

วันที่ 13 ธ.ค.57 เปิดโปง..ปรีดี และนักการเมืองคณะราษฎร พรากกษัตริย์ชนเผ่าไทย อาดูรทั้งแผ่นดิน (ตอนจบ)

ตอนที่แล้วเล่าถึง ชาวบ้านในหมู่บ้านบิ้ดเด้นเด็น อังกฤษ ต่างรักและเทิดทูน รัชกาลที่ 7 เพราะ ทรงจักรยานตามถนนเล็กๆ ของหมู่บ้าน เพื่อทรงจับจ่ายจากร้านในหมู่บ้าน โดยทรงคำนึงถึงความเป็นธรรม สัปดาห์หนึ่ง จะทรงซื้อของที่ร้านหนึ่ง อีกสัปดาห์หนึ่งที่อีกร้านหนึ่ง...ในตอนนี้ของเตือนก่อนว่า ใครใจไม่แข็งพอ ก็ไม่ต้องอ่านจนจบ ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น !!

นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงเป็นขวัญใจของพวกเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน ขณะนั้นทางรัฐบาลคณะราษฎรของไทย ยังตามราวีรังแก รัชกาลที่ 7 ไม่หยุดหย่อน โดยทรงได้รับโทรเลขแจ้งว่า " รัฐบาลไทยได้ยื่นฟ้องพระองค์ และสมเด็จฯ " โดยกล่าวหาว่าทรงยักยอกเงินแผ่นดิน..ปรีดีและคณะราษฎร คงว่างมากจึงช่างคิดหาวิธีรังแกพระองค์กันเหลือเกิน

พ.ศ.2482 ประเทศอังกฤษ ได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี ดังนั้นรัชกาลที่ 7 เตรียมการที่จะรับกับสถานการณ์สงครามในประเทศอังกฤษ ทรงปิดพระตำหนักเวนคอร์ตไว้ และทรงย้ายอีกครั้ง ไปประทับที่พระตำหนักใหม่ ชื่อว่า คอมพ์ตัน เฮ้าส์ ทรงเช่าระยะยาว 20 ปี พระตำหนักนี้ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเว้นท์เวอร์ธ ในเวอร์จิเนีย

มีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ และนับว่ามีขนาดเล็กที่สุด ในบรรดาพระตำหนักที่เคยประทับมาก่อนหน้านี้ จึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และดูแลง่าย ช่วงนี้เป็นภาวะสงคราม ซึ่งมีเครื่องบินของเยอรมันไปทิ้งระเบิดที่อังกฤษ รัฐบาลจึงให้ทุกบ้านเย็บผ้าสีดำติดกับม่านหน้าต่างทุกบาน

เพื่อมิให้แสงสว่างเล็ดลอดออกไปในตอนกลางคืน ให้เครื่องบินเห็นได้ว่าเป็นอาคาร อังกฤษแจกหน้ากากป้องกันก๊าช ให้ประชาชนทุกคน รวมทั้งแจกจ่ายคูปองแบ่งปันอาหารและน้ำมันด้วย นับว่าเป็นภาวะที่รัชกาลที่ 7 ทรงลำบากเช่นเดียวกับชาวบ้านอังกฤษทั้งหลาย ช่วงนั้นพระองค์ทรงน่าสงสารมาก น้ำตาไหลอาบหน้า เมื่อเล่ามาถึงตอนนี้

พ.ศ. 2483 สงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้น เป็นภัยต่ออังกฤษมาก เพราะเยอรมันบุกฝรั่งเศสได้สำเร็จจนยอมจำนน จึงคาดกันว่าอังกฤษเป็นเป้าหมายต่อไปของฮิตเลอร์ มีการทิ้งระเบิดอย่างหนักในแถบลอนดอน และเขตอุตสาหกรรม พระองค์จึงต้องจำเป็นต้องทรงอพยพครอบครัว ไปประทับที่บ้านเช่าเป็นการชั่วคราวอีกแห่ง

มีชื่อว่า สแตดดอน อยู่ที่เมืองแอปเปิ้ลดอร์ ทางตอนเหนือของจังหวัดเดวอน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะอังกฤษ ตั้งอยู่ในเมืองชาวประมงเล็กๆ เป็นบ้านนอกจริงๆ ห่างไกลจากเมืองใหญ่มาก พระองค์และครอบครัว ประทับอยู่ที่จังหวัดเดวอน เพียงไม่กี่เดือน ก็ได้ตัดสินพระราชหฤทัยย้ายที่ประทับอีกครั้งเพื่อให้ปลอดภัยจริงๆ

โดยเสด็จไปประทับที่ โรงแรมเลคเวอร์นี่ ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูง ใจกลางแคว้นเวลส์ตอนเหนือ ที่ซึ่งเป็นที่พักตากอากาศ ไม่มีเมืองใหญ่อยู่ใกล้เลย จึงปลอดภัยจากลูกระเบิด ทรงเช่าห้องชุด สำหรับสองพระองค์และครอบครัว ในระหว่างนั้นทรงหนังสือพิมพ์ และทรงฟังข่าววิทยุเกี่ยวกับความเป็นไปของสงคราม ซึ่งมีการทิ้งลูกระเบิดที่อังกฤษตลอดเวลา..น่าเศร้าสุดๆ

บางครั้งทรงพระราชนิพนธ์พระราชประวัติตนเอง ทรงประทับอยู่ที่โรงแรมนี้ จนกระทั่งถึงฤดูหนาว อากาศที่นั่นหนาวชื้นมาก พระโรคพระหทัยของพระองค์กำเริบหนัก ทรงมีพระอาการหอบมาก และเจ็บพระหทัย ทรงอ่อนเพลียมาก จึงตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จกลับ ไปประทับที่ตำหนักคอมพ์ตัน เฮ้าส์ อีกครั้งหนึ่ง..

นี่คือชีวิตจริงๆ ขอพระมหากษัตริย์ไทย ที่ปรีดี กับคณะราษฎร รังแกพระองค์ พระองค์รับสั่งว่า “ถ้าฉันจะตาย ก็ขอให้ตายสบายๆ ในบ้านช่องของเราเองดีกว่าที่จะมาตายในโรงแรม…” ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์พระราชประวัติของพระองค์เอง โดยทรงวางแผนว่าจะทรงเล่าตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์ ถึงทรงสละราชสมบัติ

ด้วยต้องพระประสงค์จะให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบ น่าเสียดายที่พระโรค ทำให้ทรงพระนิพนธ์ ถึงแค่เมื่อทรงมีพระชนมพรรษา 25 พรรษาเท่านั้น ในช่วงที่เหลือคือช่วง 26 - 47 พรรษา พระองค์พระราชนิพนธ์ไม่จบ..โถ่ พระราชาทูนหัวของเกล้ากระหม่อม !!

พ.ศ.2484 สัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคมปีนั้น พระชะตาชีวิตโหมกระหน่ำทั้งสองพระองค์อีกครั้ง เมื่อทรงทราบว่า พระตำหนักเวนคอร์ตที่ทรงปิดไว้ ถูกยึดครอง เป็นที่ทำการของฝ่ายทหารอังกฤษไปแล้ว จึงจะทรงส่งคนไปเก็บสิ่งของมีค่าในพระตำหนัก ก่อนที่จะส่งมอบตำหนักอย่างเป็นทางการต่อไป

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงอาลัยพระตำหนักนี้มาก จึงทรงมีพระราชดำริ จะเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระองค์เอง แต่พระอาการประชวรของ รัชกาลที่ 7 ทรุดหนักลง พระบาทบวมอยู่ 2-3 วัน ซึ่งเป็นอาการอันเนื่องมาจากที่ประชวรพระหทัย

วันที่ 30 พฤษภาคม 2484 ยังทรงฉลองพระองค์ชุดบรรทม เป็นสนับเพลาแพร และฉลองพระองค์แขนยาว ทรงตื่นพระบรรทมแต่เช้าตรู่ พระอาการดูดีขึ้นมาก จึงรับสั่งกับสมเด็จฯ ว่าหากจะเสด็จไปพระตำหนักเวนคอร์ตก็ได้ ไม่ต้องทรงเป็นพระกังวล คำตรัสครั้งสุดท้ายคือ "จะไปไหนก็ได้ ฉันสบายดี".... "อยู่ได้ ไม่เป็นไร ไม่ต้องห่วง จะอ่านหนังสือพิมพ์"

สมเด็จฯ จึงเสด็จออกไปโดยรถยนต์พระที่นั่งตั้งแต่เวลา 08.00 น.รัชกาลที่ 7 ทรงเสวยไข่ลวกนิ่มๆ ซึ่งนางพยาบาลประจำพระองค์จัดถวาย ทรงหนังสือพิมพ์ แล้วบรรทมต่อ สักพักหนึ่งก็ทรงบ่นว่ามีอาการวิงเวียน ไม่สบาย นางพยาบาลจึงลุกไปหยิบยา

พอกลับมาก็เห็นพระหัตถ์ตกห้อยลงมาอยู่ข้างๆ หนังสือพิมพ์ตกอยู่กับพื้น หลับพระเนตรเหมือนกำลังหลับอย่างสบาย ประมาณ 09.00 น. นางพยาบาลจับพระชีพจรดู จึงรู้ว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เสด็จสวรรคตเสียแล้วด้วยพระหทัยวาย... ไม่มีผู้ใดทราบว่าเวลาใดแน่...นี่หรือ คือสิ่งที่ปรีดี และคณะราษฎร กระทำย่ำยีข่มเหงต่อพระมหากษัตริย์ของไทย

แต่ตามคติไทยก็คือทรงพระบุญญาธิการยิ่งนัก จึงเสด็จสวรรคตอย่างสงบนิ่ง สิริรวมพระชนม์มายุพระองค์เพียง 48 พรรษา เท่านั้น และเป็นเวลา 6 ปี 3 เดือน นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ

ขณะที่รถพระที่นั่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ วิ่งออกจากพระตำหนักได้สักพักใหญ่ และต้องชะลอแล่นช้าเพราะหมอกลง พลันพระองค์ทอดพระเนตรเห็น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ประทับยืนขวางอยู่ “เห็นพิลึกแท้” ทรงสังหรณ์พระราชหฤทัยยิ่งนัก ต่อมาตำรวจอังกฤษ สกัดรถพระที่นั่งสมเด็จฯ เพื่อแจ้งข่าว

สมเด็จฯ ทรงรีบเสด็จพระราชดำเนินกลับพระตำหนักคอมพ์ตันเฮาส์ทันที เมื่อเสด็จฯ กลับถึงพระตำหนัก ทรงควบคุมพระสติอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยม ทรงเข้มแข็ง ทรงจัดการพระบรมศพเป็นการภายใน โดยอัญเชิญพระบรมศพประดิษฐาน ณ พระตำหนักคอมพ์ตัน โดยรัฐบาลอังกฤษ ได้อนุญาตเป็นกรณีพิเศษ ในการประดิษฐานพระบรมศพเป็นเวลา 4 วัน

เพื่อให้ประยูรญาติที่อยู่ห่างไกลมาถวายบังคมลาเป็นครั้งสุดท้าย การจัดการพระบรมศพนั้นเป็นไปอย่างเงียบ ๆ โดยไม่มีการบำเพ็ญพระราชกุศล ทรงพระพุทธศาสนา เพราะไม่มีพระสงฆ์ รวมทั้ง ไม่มีการพระราชพิธีอื่น ๆ ตามราชประเพณีด้วย หลังจากทราบข่าวการเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ที่ยังอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศล ทักษิณานุปทานอุทิศถวายรัชกาลที่ 7 ขึ้น ที่พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพ ตามราชประเพณี โดยมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์

วันที่ 3 มิถุนายน 2484 อัญเชิญพระบรมศพองค์เล็กๆ ของรัชกาลที่ 7 ขึ้นประดิษฐาน บนรถซึ่งตกแต่งอย่างงดงาม มีธงมหาราชคลุมพระบรมศพ แลเชิญพระชัยวัฒน์ไว้ทางเบื้องพระเศียร รถเคลื่อนขบวนออกจากพระตำหนักคอมพ์ตัน ไปยังสุสานโกดเดอร์สกรีน ซึ่งอยู่ทางเหนือของกรุงลอนดอน อังกฤษ มีรถตามเสด็จประมาณ 5 คัน

ขณะกำลังเคลื่อนพระบรมศพ ออกจากพระตำหนัก สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ประทับทอดพระเนตรอยู่ที่พระแกล (หน้าต่าง) เป็นการส่วนพระองค์ ทรงกลั้นพระกรรแสงไว้ไม่ไหวอีกต่อไป ทรงรับสั่งว่าเบาๆ ว่า “เขาเอาไปแล้ว”

พระบรมศพทรงพระภูษา (โจงกระเบน) สีแดง ฉลองพระองค์สีแดง เช่นกัน ตามที่เคยรับสั่งกับหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท ให้จัดถวายให้เหมือนกับพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในรัชกาลที่ 4 พระบรมวงศานุวงศ์ จะทรงพระภูษาแดงทุกวันพระ ในรัชกาลนั้น แดงจึงถือเป็นสีของพระราชวงศ์

มีผู้มาคอยเฝ้ารับเสด็จอยู่มากทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศ ชาวอังกฤษ ซึ่งเคยรับราชการอยู่เมืองไทยและเป็นทนายความประจำพระองค์ และเป็นพระสหายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อ่านสุนทรพจน์สรรเสริญพระเกียรติคุณ ผู้ที่ไปชุมนุม ณ ที่นั้นถวายความเคารพทีละคน

ไม่มีพิธีสงฆ์ใดๆ เพราะไม่มีพระภิกษุสงฆ์อยู่ในประเทศอังกฤษในขณะนั้น มีแต่คนไทยซึ่งเคยบวชในพระพุทธศาสนา ได้สวดมนต์ถวายพระราชกุศล แล้วมีการบรรเลงเพลง เมนเดลโซน ไวโอลิน คอนแชร์โต ซึ่งเป็นเพลงที่พระองค์โปรดเป็นพิเศษ ถวายเป็นครั้งสุดท้ายเท่านั้น

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จขึ้นไปถวายบังคมพระบรมศพเป็นพระองค์แรก ตามด้วยพระประยูรญาติและผู้ใกล้ชิดทั้งไทยและเทศ พนักงานกดสวิตช์อัญเชิญหีบพระบรมศพ เลื่อนไปตามรางเหล็กสู่เตาไฟฟ้าจนลับตา หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นแล้ว พระบรมอัฐิและพระบรมสรีรางคาร ถูกอัญเชิญกลับไปประดิษฐานยังพระตำหนักคอมพ์ตัน อันเป็นที่ประทับของพระองค์

หลังรัชกาลที่ 7 เสด็จสวรรคต ช้างเผือกคู่พระบารมีพระองค์ที่อยู่เมืองไทย ที่ได้มาจากเชียงใหม่ พระเศวตคชเดชน์ดิลก ขณะอายุย่างเข้า 20 ปี เริ่มมีอาการไม่ปกติ และต่อมาในเมืองไทยเกิดอาเพศน้ำท่วมใหญ่ ช้างเผือกคู่พระบารมี ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควรจากรัฐบาลคณะราษฎร ขาดการเอาใจใส่ เจ็บมากขึ้น ไม่จับหญ้า ในที่สุดก็ล้มลงเสียชีวิตไปตามพระองค์

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คนไทยในอังกฤษส่วนใหญ่พากันเดินทางกลับประเทศไทย เพราะอังกฤษถือว่าไทยเป็นชนชาติศัตรู แต่สมเด็จฯ ยังคงประทับอยู่ต่อไป ทั้งๆ ที่เครื่องอุปโภคบริโภคขาดแคลนโดยทั่วไปมีการแบ่งสันปันส่วนอาหาร ไข่ไก่ก็ต้องใช้วิธีถนอมไว้ใช้โดยการลอยน้ำ

ข้าวสารก็ไม่มีต้องใช้ลูกเดือยหุงแทน แต่รัฐบาลอังกฤษได้ถวายพระเกียรติโดยอนุญาตให้ทรงใช้รถยนต์ และจัดน้ำมันเบนซินถวาย

พ.ศ. 2485 นอกจากภัยสงครามแล้ว สมเด็จฯ ต้องทรงเผชิญกับความเศร้าโศกในครอบครัว ของพระองค์เองอีกครั้งหนึ่งในเดือน เมื่อพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจิระศักดิ์ พระโอรสบุญธรรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ผู้ทรงเป็นเรืออากาศเอกในกองทัพอังกฤษ ได้สิ้นพระชนม์ลงทันที เมื่อเครื่องบินของ Air Transport Auxiliary ประสบอุบัติเหตุตก เพราะชนภูเขาในภาวะอากาศมีหมอกหนา

พ.ศ.2488 หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ยังคงประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษต่อไป เพราะเมืองไทยยังมีความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนนายกฯ และรัฐบาลหลายครั้ง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จสวรรคต ใน พ.ศ.2489

สำเด็จฯ ทรงมีพระราชดำริ จะเสด็จฯ กลับไทย หากรัฐบาลไทยอัญเชิญเสด็จฯ อย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุผลสามประการ คือ หนึ่ง การประทับอยู่เมืองนอกนั้นค่าใช้จ่ายสูงมาก ทรงเกรงว่าต่อไปจะไม่ทรงมีพระราชทรัพย์เพียงพอ สอง คนไทยอยู่ที่ไหนก็ไม่เหมือนอยู่บ้านเรา การประทับอยู่ในอังกฤษเป็นการขออาศัยอยู่ในบ้านเมืองของเขาเท่านั้น

และสาม ที่สำคัญ หากได้เสด็จฯ กลับประเทศไทย จะได้ทรงงานให้เป็นประโยชน์ในด้านสังคมสงเคราะห์หรือในด้านศาสนา รวมทั้งให้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ กลับมาด้วยอย่างสมพระเกียรติแห่งพระมหากษัตริย์ จึงจะเสด็จฯ กลับ มิฉะนั้นแล้วจะทรงยอมทนประทับอยู่ในเมืองนอกต่อไป แสดงว่าทรงถือว่า พระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งเหนืออื่นใด

พ.ศ.2491 รัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีมติเห็นชอบตามที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงแนะนำให้กราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ อัญเชิญเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่ประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ

พ.ศ. 2492 สมเด็จ ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงองค์ประธานผู้สำเร็จฯ ความสำคัญว่า “ส่วนเรื่องที่จะต้องจ่ายเงินแผ่นดินก้อนใหญ่ ดังที่รับสั่งบอกมานั้น หม่อมฉันก็ไม่ต้องการที่จะให้เป็นเช่นนั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลบอกมาว่าจะจัดเช่นนั้น หม่อมฉันเป็นแต่ผู้ปฏิบัติตาม

แต่ถ้าคณะผู้สำเร็จราชการหรือรัฐบาล เห็นว่าจะมีทางใดที่จะตัดรายจ่ายลงแล้ว หม่อมฉันก็ยินดีจะปฏิบัติตาม เพราะไม่อยากให้เป็นการสิ้นเปลืองมากเกินควรมาตั้งแต่แรกแล้ว” เพราะทรงระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน ดุจดังพระบรมราชสวามีไม่มีผิด

วันที่ 1 พฤษภาคม 2492 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับสู่ประเทศไทย เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ร่วมกับสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในพระบรมมหาราชวัง

จากท่าเรือเมืองเซาแธมตัน โดยเรือวิลเฮ็ม ไรซ์ ของเนเธอร์แลนด์ สู่สิงคโปร์ ในการนี้รัฐบาลอังกฤษได้จัดกองทหารถวายพระเกียรติยศส่งเสด็จฯ วงดุริยางค์ทหารอังกฤษ บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี และกองทหารลดธงประจำกองลงถวายความเคารพขณะที่ขบวนพระบรมอัฐิเคลื่อนผ่าน เพราะเป็นเวลาเกือบ 14 ปีแล้ว ที่ไม่มีเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี บรรเลงสำหรับรัชกาลที่ 7 และทรงเสียสละเพื่อชาวไทยทั้งชาติ

เมื่ออัญเชิญพระบรมอัฐิลงสู่เรือ ที่สิงคโปร์ เสด็จฯ อัญเชิญพระบรมอัฐิลงเรือภาณุรังษีของเดนมาร์ก สู่เกาะสีชัง แล้วจึงเสด็จฯ ลงเรือรบหลวงแม่กลอง ของราชนาวีไทยถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2492

ณ ท่าราชวรดิษฐ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไปทรงรับพระบรมอัฐิ และรับเสด็จสมเด็จฯ เจ้าพนักงานอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ (ซึ่งอัญเชิญจากหีบตั้งแต่เมื่อลงเรือรบหลวงแม่กลอง) ขึ้นประดิษฐานเหนือบุษบกราเชนทรรถ เข้าขบวนพยุหยาตราใหญ่สู่พระบรมมหาราชวัง เทียบเกยหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท แล้วประดิษฐานอีกครั้ง เหนือพระที่นั่งพุดตานบรมราชาอาสน์บนพระราชบัลลังก์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร แสดงถึงการถวายพระเกียรติยศอย่างเต็มที่

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีทักษิณานุปทานอุทิศถวายตามพระราชประเพณี โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ หอพระบรมอัฐิ ซึ่งอยู่ชั้นบนของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

ส่วนพระบรมสรีรางคาร รัชกาลที่ 7 นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุไว้ที่พระพุทธบัลลังก์ พระพุทธอังคีรส ภายในพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ อย่างสมพระเกียรติยศของพระราชา ตามโบราณราชประเพณี

ปัจจุบัน พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ ณ อุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณสี่แยกผ่านฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ภาพสุภาพบุรุษหันหลังในสูทดำที่เห็นนี้ หลายคนอาจจะดูไม่ออกว่าท่านผู้นี้คือใคร..ท่านก็คือ "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 "ของปวงชนชาวไทยนั่นเอง แม้แต่หิ้งพระยังต้องใช้หนังสือรองซ้อนกัน ชีวิตของพระองค์ ต้องพบกับความยากลำบากมาโดยตลอด เป็นความลำบาก ที่พระองค์ไม่ได้สร้างขึ้นเลยแม้แต่น้อย

รัชกาลที่ 7 ใช้ชีวิตในต่างแดนอย่างสมถะ และพอเพียง ทรงมีพระราชนิพนธ์สุดท้ายว่า “...แต่ถ้าเราทำการใดๆ ไป โดยมีความสุจริตในใจ และโดยเต็มความสามารถแล้ว ก็ต้องนับว่าได้พยายามทำการงานตามหน้าที่สุดกำลังแล้ว...”

วิธีการที่ ปรีดี และ นักการเมืองคณะราษฎรไม่กี่คน กระทำย่ำยีกับพระเจ้าอยู่หัวของคนไทยทั้งชาติ เป็นธรรมแล้วหรือ ?? รัชกาลที่ 7 พระองค์เป็นถึงพระราชโอรส ของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีคุณูปการ กับแผ่นดินไทยมากมายนานับประการ และ กีดกันไม่ให้รัชกาลที่ 7 พบราษฎรในแผ่นดินไทย

ที่บรรพบุรุษของพระองค์ ที่ออกศึกสงครามจนเลือดทาหลั่ง ได้แผ่นดินสุวรรณภูมินี้มา ให้คนเผ่าไทยได้อยู่อาศัยอย่างสุขสบายมาจนถึงทุกวันนี้ พระมหากษัตริย์ไทย ทรงสร้างบ้าน แปงเมือง นำพาเหล่าทหารนักรบเคียงพระบาท เข้าโรมรันศัตรู หลั่งเลือดทาแผ่นดินเป็นสายแม่น้ำ กองร่างกายเท่าภูเขา

จู่ๆ คณะราษฎร์ และปรีดี ที่ไม่เคยทำความดีอะไรประจักษ์มาก่อนเลย ก็มาปล้นชิงแผ่นดิน จากพระมหากษัตริย์ไปอย่างหน้าตาเฉย แล้วเสวยสุขท่ามกลางความทุกข์ยากของพระมหากษัตริย์ และราษฎรของพระองค์ ทำให้พระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของไทย ให้ต้องสวรรคตในต่างแดน ที่อังกฤษ แม้ในยามสวรรคตพระศพ ยังต้องถวายพระเพลิงพระบรมศพในต่างแดนอีกด้วย

สรุป..นักการเมืองคณะราษฎร แก่งแย่งพระราชอำนาจจากพระมหากษัตริย์ มาเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับของพวกตนเอง จากนักการเมืองรุ่นหนึ่ง สู่อีกรุ่นหนึ่ง สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยอ้างการเลือกตั้งเป็นฉากหน้า แต่เหยียบย่ำหากินกันบนความยากไร้ของประชาชน

จาก พ.ศ.2475 เวลาผ่านไป 82 ปี คณะราษฎร์ ชิงสุกก่อนห่ามเอาพระราชอำนาจจากพระมหากษัตริย์ไปปู้ยี่ปู้ยำ ยัดเยียด “ประชาธิปไตยไร้รากแก้ว” ให้กับคนไทย บ้านเมืองเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ระบบราชการที่ฉ้อฉล ระบบการศึกษาที่ตกต่ำ คนไทยไม่ได้อะไรเลยในเวลา 82 ปีที่สูญหายไป

เรามีประชาธิปไตยแท้จริงแล้วหรือยัง ?..มีการเลือกตั้งก็แล้ว..ได้ชิงพระราชอำนาจจากพระมหากษัตริย์มาก็แล้ว..ถึงวันนี้ประเทศไทย ก็ยังล้มลุกคุกคลาน เริ่มต้นตั้งไข่ใหม่มานับครั้งไม่ถ้วน เวลาที่ผ่านมาเป็นบทพิสูจน์เป็นรูปธรรม ว่า " ประชาธิปไตยของไทยไม่เคยมีอยู่จริง จากน้ำมือนักการเมือง"

ระบอบการเมืองการปกครอง จะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่..สิ่งสำคัญคือขอเพียงให้ประเทศไทย และประชาชนคนไทย มีความสงบสุขเจริญ มั่งคั่ง อยู่ในศีลในธรรมของแต่ละศาสนาก็พอ และต้องยึดประเพณี อารยธรรมแบบไทย ๆ แต่โบราณไว้อย่างมั่นคง

มีระบบปกครองที่เป็นเอกลักษณ์ของเราเอง โดยคนไทย และเพื่อปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง โดยไม่ติดกับดักคำว่าประชาธิปไตย ดั่งบทเรียน 82 ปีที่ผ่านมา ราษฎรไทย ถวิลหาผู้ปกครองที่ทรงคุณธรรม ไม่ใช่ระบอบที่ชาติตะวันตก สร้างมาครอบหัวของเรา เพื่อบิดเบือนเป็นข้ออ้างหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน

ใครที่ยังมองปรีดี และคณะราษฎร ว่ามีคุณงามความดี ให้เข้าใจเถอะว่าได้เข้าใจผิดมาตลอดทั้งชีวิต จนมาตาสว่างในวันนี้ วิธีการของปรีดี จึงสืบทอดมาสู่หญิงกระบังลม ที่เป็นหลานภรรยาปรีดี คนแดนไกล และขบวนการล้มเจ้าเสื้อแดงในที่สุด จนกลายเป็นแก๊งค์เผาไทย ในปัจจุบัน ที่กำลังพยามยามทำแบบเดิมเมื่อ 82 ปีที่แล้ว

วิธีการ ปรีดี ในวันนั้น ก็คือ คนแดนไกลในวันนี้ และวิธีการคณะราษฎรในวันนั้น ก็คือ แก็งค์เผาไทยในวันนี้ นั่นเอง คนไทยรู้หรือยัง ว่าจะต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์ของเราอย่างไร ให้พ้นภัยจากมืออสูรกาย "คณะราษฎรเผาไทย" กลายพันธุ์ !!

** ด้วยมีเนื้อที่ปริมาณจำกัด จึงขอยกการ แฉ เบื้องลึกสุดลับ ที่แสนจะตะลึงพรึงเพริด ในการวางแผนปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8 ของปรีดี , ร.อ.วัชรชัย ,ชิต , บุศย์ และเฉลียว อดีตสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ไปในตอนต่อไปคลิีกที่ https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/300405693482798

คัดลอกจาก facebook@topsecrethai

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 12:39 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > เปิดโปง..ปรีดี และนักการเมืองคณะราษฎร พรากกษัตริย์ชนเผ่าไทย อาดูรทั้งแผ่นดิน (ตอนจบ)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3047
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8594424

facebook

Twitter


บทความเก่า