Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > วันที่ 17 ธ.ค.57 เปิดโปง..ลับมาก ปรีดี ฆ่าตัดตอนพยาน หวังเป่าคดี ร.8 สวรรคต (ตอน 3)

วันที่ 17 ธ.ค.57 เปิดโปง..ลับมาก ปรีดี ฆ่าตัดตอนพยาน หวังเป่าคดี ร.8 สวรรคต (ตอน 3)

พิมพ์ PDF

วันที่ 17 ธ.ค.57 เปิดโปง..ลับมาก ปรีดี ฆ่าตัดตอนพยาน หวังเป่าคดี ร.8 สวรรคต (ตอน 3)

ตอนที่แล้วเล่าถึงขั้นตอนการวางแผนลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ของ ปรีดี ร.อ.วัชรชัย นายเฉลียว นายชิต นายบุศย์ นายชิต และนายชาติ ( ถ้าใครจะโต้แย้งให้ไปค้นกูเกิ้ลคำว่า "คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 1544/2497 " ) แต่มือปืนที่จ้างมา 4 แสนบาท ไม่กล้าลงมือเพราะเกรงบารมี จึงกลับออกจากวังไป ทำให้ผู้ลงมือคือ ร.อ.วัชรชัย ในช่วงเช้า แต่เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาลปรีดี อย่างมากเพราะประชาชนไม่เชื่อคำแถลงจากรัฐบาล คณะราษฎร

วันที่ 18 มิถุนายน 2489 ปรีดี จึงได้ออกประกาศตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า ”ศาลกลางเมือง” แอบอ้างดื้อๆ ว่า “ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ฯ” ให้ตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีหน้าที่สอบสวนในการที่รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต แล้วให้เสนอรายละเอียด และความเห็นต่อไป ให้อธิบดีกรมตำรวจนำพยานมาสอบสวนต่อหน้ากรรมการ”

ช่วงนั้น มีประกาศเป็นทางการ ให้ผู้ที่รู้เรื่องการสวรรคต มาแจ้งแก่เจ้าพนักงาน ด้วยความพาซื่อบางคนหลงเชื่อตามประกาศ เช่น พ.อ.พระยาวิชิต สรศาสตร์ เข้าร้องเรียนว่า เป็นกรณีลอบปลงพระชนม์ ทำให้ปรีดี สั่งตำรวจจับกุมเขาทันที และฟ้องร้องหาว่าร้องเรียนเท็จ อ้างว่าจะก่อให้เกิดจลาจล...อ้าวว

ช่วงปรีดี เป็นนายก ถ้าผู้ใดยืนยัน รู้เรื่องว่าเป็นการถูกลอบปลงพระชนม์ ก็จะเกิดภัยแก่ตนและคนใกล้ชิด จะถูกรถเก๋งสีดำ ขับมาจอดหน้าบ้าน และถูกอุ้มหายตัวสาบสูญจากตำรวจ (เป็นการฆ่าตัดตอน คล้ายคนแดนไกลทำ) สมัยนั้นประชาชนจึงเป็นที่รู้กันอยู่ไปทั่วว่า ห้ามใครการวิพากษ์วิจารณ์กรณีสวรรคต

ประชาชนก็กลัวเกรงอำนาจเถื่อน ของรัฐบาลเผด็จการปรีดีอย่างมาก ทำให้เป็นการตัดหนทางของพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด ที่จะให้ความจริงกับสังคม เรียกได้ว่าในยุคปรีดี เป็นนายกฯ เขาปกครองแบบเผด็จการไม่ต่างจากฮิตเลอร์ ของนาซีเยอรมัน ไทยไม่เคยมีเสรีภาพใดๆ ของประชาชนเลยแม้เพียงปลายเล็บ

ปรีดี นายกฯ ย่ามใจ คิดว่าอำนาจของเขาควบคุมได้ และเงินของเขาซื้อทุกอย่าง (ความคิดเขาเหมือนคนแดนไกล) เขาได้ไปเจรจา ศ.น.พ.ชุบ (พยาน) ผู้ ได้ทุนไปเรียนในประเทศอังกฤษตั้งแต่อายุ 13 ปี (ต่อมาเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาฯ ) แพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพของรัชกาลที่ 8 เพื่อให้ยอมไปให้ปากคำว่า เป็นการปลงพระชนม์พระองค์เอง

โดยยื่นสินบนว่า "จะเปิดคลังหลวงให้และให้เอากระเป๋าไป 2 ใบ ใส่เงินเท่าที่ใส่ได้ ให้ไปกินอยู่ตลอดชีวิต แค่อย่าให้ปากคำกับศาลว่า เป็นการลอบปลงพระชนม์" ในสมัยนั้นถ้าใครไม่ยอมทำตามปรีดี ก็จะมี “เก๋งดำ” หรือรถยนต์เก๋งสีดำมาจอดหน้าบ้าน นั้นหมายถึงว่าตายทุกราย จึงเกิดข่าวลือว่า ศ.นพ.ชุบ ตายแล้ว

แต่ ศ.น.พ.ชุบ เป็นคนจริงจึงไม่ยอม และไม่กลัวตาย เขาจ้างทหารมาเป็นยาม ถือปืนลูกซองอยู่ในบ้านใครเข้ามาให้ "ยิงทิ้งทันที" แถม พล.ต.ต.พระพินิจชนคดี ก็สืบสวนเข้าใกล้ตัวปรีดี เข้าไปทุกที ท่ามกลางอุปสรรคขัดขวางนานับประการ แม้ ปรีดี จะใช้อำนาจข่มขู่เขา หรือ ติดสินบน ศ.นพ.ชุบ เท่าใดก็ไม่สำเร็จ

ช่วงนั้น ร.ท.สมพันธ์ นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทยเป็นคนแรก วิพากษ์วิจารณ์ปรีดีในคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8 ผ่านสื่ออย่างตรงไปตรงมา เขาถูกปรีดี สั่งตำรวจจับกุม และถูกตั้งข้อหากบฏทันที เพราะสมัยนั้นตำรวจจะจับใครในคดีนี้ ต้องให้ปรีดี อนุมัติก่อนเท่านั้น..น้าน !!

วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2489 ด้วยสถานการณ์ทางเมืองภายในประเทศ ล่อแหลมส่อเค้ามีภยันตราย และอีกทั้งในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังทรงมีภารกิจในการศึกษาต่อ เพราะมีพระราชภารกิจในการปกครองประเทศเป็นสำคัญ จึงทรงเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมพระราชชนนี และพระพี่นาง กลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ แทนสาขาวิศวกรรมศาสตร์

ในขณะที่ในหลวง ทรงประทับรถพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เพื่อทรงเดินทางไปศึกษาเพิ่มเติม ก็ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนว่า "ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" จึงทรงนึกตอบในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้"

วันที่ 23 สิงหาคม 2489 แรงกดดันรอบด้าน และจากประชาชนมีมากทวีคูณ ส่อเค้าจะเกิดเหตุวุ่นวายในพระนคร เหมือนคราปฏิวัติรัสเซีย ปรีดี คาดไม่ถึง จึงวางแผนผ่อนคลายกระแสกดดันสังคม ด้วยการจำใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หวังหยุดชลอคดี และอารมณ์ลุกลามของประชาชน

เพื่อความปลอดภัยของตนเอง วันนั้นเอง ปรีดี ชี้นำสภาผู้แทนนอมินีให้เลือก พล.ร.ต.ถวัลย์ ( นอมินี ของปรีดี เหมือนคนแดนไกลทำ) ขึ้นเป็นนายกฯ ต่อจากเขา เพื่อควบคุมอำนาจต่อไป แล้วเขาก็หลบออกไปต่างประเทศ พร้อมกับ ร.อ.วัชรชัย , ต่อมา พลเรือตรีถวัลย์ นายกฯ นอมินี ได้ปลด พล.ต.ต.พระพินิจชนคดี ที่เป็นนายตำรวจที่ทำคดี รัชกาลที่ 8 ออกจากราชการ เพื่อปกป้องคดีความไม่ให้โยงมาถึง ปรีดี...ชัดแจ๋วไหมคนไทย ??

วันที่ 29 ตุลาคม 2489 รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ประกาศยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ ที่ใช้มาตั้งแต่ พระยามโนปกรณ์ พ.ศ.2476 เพื่อปูทางให้ปรีดี คิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง เป็นระบอบคอมมิวนิสต์เต็มรูปแบบ โดยไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2490 นายชื้น บรรณาธิการหนังสือพิมพ์อิทธิธรรม ทำข่าวเรื่องการสวรรคตของ รัชกาลที่ 8 อย่างเจาะลึกล้วงลับ เจ้าของหนังสือพิมพ์เขาถูกปาระเบิด และในที่สุดเขาโดนยิง ตายข้างถนนอย่างอุกอาจ โดยตำรวจจับใครไม่ได้ และยังมีการสร้างรัฐตำรวจลอบยิง ผู้ที่คิดจะปากโป้งในคดีสวรรคคตนี้อีกหลายคน (ฆ่าตัดตอน คล้ายคนแดนไกลทำ)

พฤศจิกายน 2490 ฝ่ายค้าน ได้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ คณะราษฎร ยาวนานถึง 7 วัน 7 คืนติดต่อกัน ในกรณีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการอื้อฉาว เช่น การนำเงินไปซื้อจอบเสียม แจกจ่ายให้ราษฎรทำการเกษตร แต่เป็นจอบเสียมที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเรียกกันว่า "กินจอบกินเสียม" (นักการเมืองสมัยปรีดี โกงกินแม้แต่จอบเสียม สมัยเผาไทยโกงจำนำข้าว)

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ด้วยสาเหตุที่รัฐบาลไม่สามารถคลี่คลายคดีสวรรคต ร.8 ลงได้ ประกอบกับการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างโจ่งแจ้ง รวมทั้งจะเปลี่ยนประเทศเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ คณะทหารแห่งชาติ 4 คน นำโดยจอมพลผิน , พันเอกสฤษดิ์ ฯลฯ และโดยการสนับสนุนจาก CIA อเมริกา

เห็นท่าไม่ดี จึงทำรัฐประหาร ตัดไฟแต่ต้นลมโค่นล้มอำนาจของ พล.ร.ต.ถวัลย์ โดย กองกำลังรถถังส่วนหนึ่งบุกเข้าไปที่ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เพื่อทำการควบคุมตัว พล.ร.ต.ถวัลย์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในงานราตรีการกุศล

รถถังอีกส่วนหนึ่ง บุกเข้ายิงทำเนียบท่าช้างวังหน้าซึ่ง ปรีดี และครอบครัวอาศัยอยู่ แล้วพยายามจะจับกุมตัวปรีดี แต่เขา ได้หลบหนีไปก่อนหน้านั้นไม่นานด้วยเรือ ครอบครัว ปรีดีขณะนั้นเหลือเพียง พูนศุข ภรรยาปรีดี (ญาตินามสกุลเดิม เหมือนหญิงกระบังลมปัจจุบัน) และลูกๆ

ปรีดี ร.อ.วัชรชัย ร.ต.อ.เฉียบ นายสงวน ผู้เกี่ยวข้องกับขบวนการลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ได้หลบหนีไปพักอยู่กับเพื่อนทหารเรือที่สัตหีบอยู่ระยะหนึ่ง ต่อด้วยลี้ภัยไปสิงคโปร์ และออกจากประเทศไทยไปทางเรือสู่ฮ่องกง และประเทศจีน อาศัยที่ตรอกเสี่ยวหยางเหมา กรุงปักกิ่ง

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2490 คณะทหารแห่งชาติ สามารถยึดอำนาจนายกฯ พล.ร.ต.ถวัลย์ ได้อย่างสำเร็จ จึงให้ นายควง หัวหน้าพรรค ปชป. ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดการเลือกใหม่ พรรค ปชป.ได้คะแนนเสียงข้างมาก นายควง อภัยวงศ์ จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ และควบ รมต.มหาดไทย

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2490 พล.ต.ต.หลวงชาติตระการ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ได้ออกคำสั่งรื้อฟื้นคดี รัชกาลที่ 8 โดยลงนามว่า "โดยที่ทางราชการฝ่ายทหาร ได้ส่งหลักฐานแผนการของบุคคลคณะหนึ่ง สมคบกันดำเนินการประทุษร้ายองค์พระมหากษัตริย์ มีการลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และเตรียมการเปลี่ยนระบอบการปกครองแผ่นดินโดยทำลายล้างรัฐบาล มาให้กรมตำรวจสอบสวนดำเนินคดี "

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2490 ตำรวจ จับ นายชิต , นายบุศย์ และนายเฉลียว อดีตสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน อดีตราชเลขาธิการในสมัยรัชกาลที่ 8 คนใกล้ชิดปรีดี ในกรณีลอบปลงพระชนม์สวรรคต และรัฐบาลยุคนั้น และเห็นช่องทาง ในการล้างบางเสี้ยนหนามอำนาจ คณะราษฎรสายปรีดี เพื่อช่วงชิงอำนาจความเป็นใหญ่

นายปาล บุตรชายปรีดี ซึ่งขณะนั้นอายุ 20 ปี ถูกศาลตัดสินจำคุก 20 ปี โดยข้อหากบฏต่อมา พ.ศ.2500 เขาได้รับการปล่อยตัว เพราะ จอมพล ป. ได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะเกิดขัดแย้งกับจอมพลสฤษดิ์ และ จอมพล ป.จะนำปรีดี กลับมาไทย

วันที่ 11 มีนาคม 2491 นายตี๋ (พยาน) ซึ่งเป็นคนคุ้นเคยได้ไปพักอยู่ที่บ้านขุนเทพฯ (พยาน) หลังจากพักอยู่แล้วสองสามวันแล้ว คืนวันหนึ่ง นายชวน (พยาน) มาคุยที่บ้านขุนเทพฯ ตามที่เคยมา นายตี๋ ร่วมวงคุยด้วย คุยกันถึงเรื่องกรณีสวรรคต ร.8 โต้เถียงกันระหว่างขุนเทพฯ กับนายชวนว่า

ใครเป็นคนปลงพระชนม์ ปรีดีจะรู้เห็นด้วยหรือไม่ ถ้ารู้ได้รู้แต่เบื้องต้น หรือรู้เมื่อภายหลัง นายตี๋ได้ฟังการโต้เถียงนั้นแล้วอดไม่ได้ พูดโพล่งออกมาว่า "ลื้อสองคนไม่รู้จริงหรอก อั๊วนี่ถึงจะรู้จริงว่าใครฆ่า ร.8 " ขุนเทพฯ และนายชวน จึงช่วยกันซักถามต่อไป นายตี๋ ตอบว่า ปรีดี เป็นหัวหน้าคิดปลงพระชนม์

เขาเล่าต่อว่า ก่อนปลงพระชนม์ เขามีการประชุมกันมาตั้งเดือนแล้ว ที่บ้านข้าราชการผู้ใหญ่ผู้หนึ่งผู้มีบุญคุณ และ นายตี๋ อยู่ในบ้านนั้นด้วยจึงรู้ นายตี๋ ได้กำชับเป็นหนักหนาว่า รู้แล้วอย่างนี้ อย่าพูดให้ใครฟังต่อไป ต่อมานายตี๋ ขยายความให้ขุนเทพฯ ฟังต่อไปว่า มีคนไปประชุมกันที่บ้าน พล.ร.ต.กระแส หลายคน และหลายครั้ง คือ ปรีดี นายเฉลียว นายชิต นายตุ๊ (ร.อ.วัชรชัย) และคนอื่นๆ

วันที่ 6 เมษายน 2491 คณะนายทหาร ในกลุ่มคณะทหารแห่งชาติ 4 คน ได้ทำการบีบบังคับให้นายควง ลาออกจากนายกฯ ภายใน 24 ชั่วโมง เพราะมีความขัดแย้งกันในอำนาจ เรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่า "ปฏิวัติเงียบ"

วันที่ 8 เมษายน 2491 กลุ่มคณะทหารแห่งชาติ แต่งตั้ง จอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรี คดีของรัชกาลที่ 8 ถูกรื้อฟื้นอีกครั้ง และ มีการแต่งตั้งให้ พล.ต.ต.พระพินิจชนคดี พี่เขยของ ม.ร.ว.เสนีย์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ผู้จงรักภักดี กลับเข้ารับราชการอีกครั้ง เพื่อทำหน้าที่สืบสวนกรณีสวรรคต ร.8 เสียใหม่

วันที่ 30 พฤษภาคม 2491 ขุนเทพ จึงตัดสินใจจะบอกเรื่องนายตี๋ แก่ หลวงแผ้ว (พยาน) ซึ่งเคยรู้จักกันมาตั้งแต่เล็ก ขุนเทพฯ จึ่งโทรเลขถึงนายตี๋ ที่นครสวรรค์ว่า ต้องการพบด่วนที่บ้านขุนเทพฯ และลอบโทรศัพท์ถึงหลวงแผ้วให้มาพบ อย่าแต่งเครื่องแบบ

คุยสักพัก หลวงแผ้ว แสดงตัวว่าเป็นตำรวจ นายตี๋ ตกตะลึงนิ่งอึ้งอยู่ ขุนเทพฯ ก็ปลอบว่า จงเห็นแก่ชาติ เกิดมาตายครั้งเดียว นำเรื่องให้ตำรวจทราบ ในที่สุดก็ยอมไปให้ถ้อยคำแก่ตำรวจ หลังจากได้นายตี๋ เป็นพยานแล้ว รัฐบาลสมัยนั้นจึงได้ดำเนินการเรียกตัว พล.ร.ต. กระแส และ น.ส.ทองใบ คนรับใช้ มาสอบสวนเป็นพยานในคดี

วันที่ 7 สิงหาคม 2491 กรมตำรวจ ได้ออกหมายจับประกาศทั่วประเทศ มีใจความว่า “นายปรีดี อดีตนายกรัฐมนตรี กับ ร.อ.วัชรชัย ได้สมคบกับพวก ตระเตรียมวางแผนการลอบปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล ถึงแก่สวรรคต และปกปิดทำลายหลักฐานในการกระทำเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นอาญา “ ...นี่คือหลักฐานทางราชการ ที่ปรากฎกับสาธารณชน

วันที่ 1 ตุลาคม 2491 จอมพล ป. ได้จับกุมนายทหาร และนักการเมืองหลายคน ที่กำลังวางแผนจะก่อการยึดอำนาจรัฐบาล เรียกว่าว่า “กบฏ 1 ต.ค. 2491” มีผู้หลบหนีการจับกุมได้ส่งคนไปพบปรีดี ที่จีน เพื่อก่อกบฎโค่นรัฐบาล จอมพล ป. โดยให้ปรีดี เป็นผู้นำก่อการ ร่วมมือกับทหารเรือ และคอมมิวนิสต์ ที่ปรีดีเป็นหัวหน้าลับๆ มานานแล้ว

พ.ศ. 2498 มีการสืบพยานตามระบบกฎหมายไทยขณะนั้นทุกประการ ด้วยอำนาจสายปรีดี หมดลง จึงไม่สามารถช่วยนายชิต , นายบุศย์ และนายเฉลียวได้ ต่อมาผู้ต้องหาทั้ง 3 คน ถูกศาลพิพากษาประหารชีวิต ( ถ้าใครจะโต้แย้งให้ไปค้นกูเกิ้ลคำว่า "คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 1544/2497 " ) และพวกเขาได้ขอพระราชทานอภัยโทษ

แต่รัฐบาลขณะนั้นถวายคำแนะนำว่าไม่สมควรให้ เพราะเป็นคดีร้ายแรงของชาติ ทั้ง 3 คนในคดีลอบปลงพระชนม์จึงถูกประหารชีวิต ในส่วน ปรีดี และ ร.อ.วัชรชัย นั้น ถึงแม้จะมีพยานที่ให้ถ้อยคำต่อศาลพาดพิงถึง แต่เหตุที่ปรีดี ร.อ.วัชรชัย ไม่โดนคำพิพากษา เพราะเขาลี้ภัยไปอยู่จีน

เขากลายเป็นผู้หนีความผิดตามหมายจับ (คล้ายคนแดนไกล) จึงไม่เคยมาขึ้นศาลเลยสักนัด การไต่สวนเขาตามระบบยุติธรรมก็ถูกตัดตอน ตำเนินการตามระบบไปต่อไม่ได้เพราะขาดผู้ต้องหา ศาลจะตัดสินเขาก็ทำไม่ได้ตามกฎหมายไทยในขณะนั้น..สรุป ปรีดี และ ร.อ.วัชรชัย กลัวความผิดจึงหนีคดีไม่กล้าสู้ในกระบวนการยุติธรรมไทย

แม้เหตุการณ์ปรีดี สั่งการลอบปลงพระชมน์จะผ่านมาแล้วถึง 68 ปี แต่ก็ยังมีนักวิชากำกวม สิ่งคล้ายคน ที่เป็นผลไม้พิษจากปรีดี มีความอาฆาตมาดร้าย ต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้พยายามออกมาแถชี้นำให้ร้ายต่อเบื้องสูงปัจจุบันตลอดมา พวกนี้ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ ในเรื่องการสืบสวนสอบสวน หรือ ข้อกฎหมายคดีความ

แต่บางคน เช่น หงอก เจียม ที่ถูกพ่อตนเองทุบตีตั้งแต่เด็กๆ จึงเกิดปมด้อย ไม่อยากเห็นใครเก่งเหมือนพ่อตนเอง และหลงตัวเองว่าเป็นผู้รอบรู้ในทุกเรื่อง จึงเลือกนำเหตุการณ์บางตอนออกมา แล้วแก้ไขประวัติศาสตร์ คำพิพากษาของศาล ใส่ความคิดอคติต่อสถาบันในทางลบของตนเองเข้าไป

เพื่อชี้นำให้พวกหัวอ่อน ใส่สีตีไข่ปลุกระดมให้นักศึกษา และประชาชน ที่กินแต่หญ้าอัดเม็ด และฟางแคปซูล จนขาดวิตะมินสมอง หลงเชื่อคิดเห็นคล้อยตามตามที่ต้องการ เพื่อใส่ความให้ร้ายต่อเบื้องสูงในเรื่องที่ไม่เป็นความจริงมาตลอดเวลา

------------------------------>
จิตใจความเป็นอสูรร้ายของปรีดี ยังไม่จางหาย “เมื่อตนเองอยู่ไม่ได้ คนอื่นๆ ก็อย่าหวังว่าจะได้อยู่อย่างสงบ “ ดังนั้นระหว่างอยู่ที่ปักกิ่ง ปรีดี เจรจากับทางจีน ขอความช่วยเหลือด้านอาวุธ เพื่อจะเอาไปมอบให้คอมมิวนิสต์ในไทย เพื่อใช้ในการทำสงครามกลางเมืองกับรัฐบาลไทย และเขาจ้องรังแก แอบอ้างเบื้องสูง รัชกาลปัจจุบันอีกครั้ง

ตามที่เล่าตอนแรกว่า วันที่ 1 ธันวาคม 2485 ผู้ที่เลื่อมใสลัทธิคอมมิวนิสต์ในไทย ได้ประกาศจัดตั้ง พรรคคอมมิวนิสต์ไทย มีสมาชิกร่วมก่อตั้ง 57 คน มีการประชุมสมัชชาพรรค ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจุดเริ่มของกองกำลังก่อการร้ายของปรีดี ในหลายปีต่อมา

พ.ศ. 2492 คอมมิวนิสต์ในประเทศจีน นำโดยเหมาเจ๋อตุง ขึ้นสู่อำนาจ และก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างนั้นบรรดาประเทศโลกที่สาม ต่างก็รับระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาเป็นระบอบการปกครอง พรรคคอมมิวนิสต์จีน จึงได้แผ่อิทธิพลส่งผู้ปฏิบัติงานมาร่วมมือกับ พคท. ทำการเคลื่อนไหวในภาคอีสานของไทย โดยจัดตั้งชาวนาเพื่อการปฏิวัติ

แผนการช่วงนั้นของปรีดี และคณะราษฎร พ้องเลียนแบบการชิงอำนาจ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่นำโดยกองกำลังปฏิวัติประชาชน เหมาเจ๋อตุง กับ นายพลเจียงไคเช็ค ผู้นำทางทหาร โดย ถ้าการยึดอำนาจไทยสำเร็จ จะสถาปนาระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์ขึ้น ในประเทศไทย โดย ปรีดี จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี คล้ายเหมาเจ๋อตุง ส่วนนายฟอง จะเป็นนายกรัฐมนตรี นายเตียง และ ทองอินทร์ จะเป็นอัครเสนาบดี

วันที่ 30 ม.ค.2492 ปรีดี หลังชนฝา ต้องการได้อำนาจคืน เดินทางจากฮ่องกง มาที่เกาะเสม็ด และเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อทำการก่อ “กบฏวังหลวง” เพื่อปฏิวัติรัฐบาล จอมพล ป. โดยมีนายอรรถกิตติ ผู้เป็นญาติ จ่ายเงินสนับสนุนการก่อการครั้งนี้จำนวน 10 ล้านบาท ผู้ก่อการกบฎวังหลวงก็คือ ขบวนการเสรีไทย และคอมมิวนิสต์ในไทย นั่นเองหาใช่ใครอื่น

มีด้วยกัน 4 สายคือ สายคณะราษฎร นำโดย ปรีดี , สาย ส.ส.เลือกตั้ง นำโดย เตียง (ขุนพลคอมมิวนิสต์ภูพาน ต่อมาถูกฆ่าตาย) , สายกลุ่มธรรมศาสตร์และการเมือง นำโดย เดือน และสายกำลังทหาร นำโดย พ.ต.โผน (ต่อมาถูกฆ่าตาย) และ ร.อ.วัชรชัย...จำชีื่อนี้ได้ไหม ?? ตาสว่างทั้งแผ่นดินหรือยัง (ถ้ายังจำไม่ได้ให้คลิ๊กไปอ่านตอนเดิมที่ลิ้งย่อหน้าที่สอง)

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 ปรีดี รัฐบุรุษอาวุโสผู้ทรราช ได้ออกจากบ้านที่หลบซ่อนในกรุงเทพฯ มุ่งหน้าไปปรากฏตัวที่ธรรมศาสตร์ ตามที่ได้มีการนัดกันกับคณะปฏิวัติ พรรคพวกของปรีดี ได้ลำเลียงอาวุธ ซึ่งได้มาเมื่อคราวเป็นเสรีไทย เข้าไปรวบรวมที่นี่เป็นจำนวนมาก ปรีดี สั่งการยึดอำนาจเหมือนคราวปี 2475 โดยใช้กำลังส่วนหนึ่งนำโดย ร.อ.วัชรชัย เข้ายึดธรรมศาสตร์เอาไว้ เป็นกองบัญชาการ และรวบรวมสรรพกำลัง

กำลังส่วนหนึ่ง เข้าสั่งให้ “ยึดพระบรมมหาราชวังของพระมหากษัตริย์” ไว้ เป็นกองบัญชาการชั่วคราว...โห้..เอาอีกแล้ว สรรพอาวุธอยู่ที่กองสัญญาณทหารเรือ ที่ศาลาแดง กำลังอีกส่วนหนึ่ง ปรีดี ได้บัญชาการให้ไปยึดบริเวณวัดพระเชตุพน เพื่อเป็นการตรึงกำลังทหาร ร.พัน.1 ไว้ ช่วงนี้ปรีสั่งกองกำลังคอมมิวนิสต์ ไทยและต่างชาติ ให้เคลื่อนเข้ามาสมทบในเมืองหลวงโดยเร็วที่สุด

นายชาญ ผู้นำกำลังหัวหินเข้าสู่พระนคร , นายชวน นำกำลังภาคตะวันออก ต่างด้าว ได้แก่ ลาว ญวณ เข้ามาทางอรัญประเทศ (ดูภาพที่ 3 ประกอบ) , นายทองอินทร์ นายจำลอง นายถวิล และนายเตียง นำกำลังคอมมิวนิสต์ยึดภาคอีสาน แล้วค่อยนำเข้ามาสมทบในพระนคร , นายเปลว นำกำลังจากเมืองกาญจนบุรี เข้ามาสมทบ

ทหารเรือ พวกปรีดี เช่น พล.ร.ต.สังวร พล.ร.ต.ทหาร นำกำลังทหารเรือบางส่วน จากสัตหีบ ชลบุรี ระยอง เคลื่อนมารวมกำลังที่ชลบุรี ต่อจากนั้นจะมุ่งสู่กรุงเทพฯ เพื่อดำเนินตามแผนการณ์ที่วางไว้ , ร.อ.วัชรชัย นำรถยนต์ 4 คัน ภายในรถมีอาวุธและพลพรรคเต็มคันรถ เคลื่อนออกจากธรรมศาสตร์ มุ่งยึด “พระบรมมหาราชวัง” มุ่งร้ายเบื้องสูงอีกครา..หมอนี่ราวีเบืี้องสูงตลอด

เมื่อไปถึง ร.อ.วัชรชัย เรียกให้ผู้กองรักษาการณ์ประจำพระบรมมหาราชวัง ออกมาพบที่หน้าประตู เมื่อ ทหารออกมา ก็ถูกเอาปืนจี้บังคับให้ปลดอาวุธโดยทันที จากนั้นเขาและพวก ก็บุกเข้าไปปลดอาวุธทหารที่รักษาการณ์ทั้งหมด แล้วเข้ายึดพระบรมมหาราชวังไว้ แล้วลำเลียงอาวุธสงครามนานาชนิดเข้าไปในวังหลวง เพื่อทำเป็นสถานีรบกับทหารไทยทันที

** เหตุการณ์ระทึกใจจะเป็นเช่นไร ใครจะเป็นฝ่ายชนะศึก และปรีดี จะแอบอ้างพระราชโองการเบื้องสูงอย่างไรอีก และเขาจะกลายเป็นผู้นำคอมมิสนิสต์สู้กับทหารไทยอย่างไร ติดตามตอนต่อไปคลิ๊กที่https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/301464146710286

คัดลอกจากfacebook@topsecrethai

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 13:00 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > วันที่ 17 ธ.ค.57 เปิดโปง..ลับมาก ปรีดี ฆ่าตัดตอนพยาน หวังเป่าคดี ร.8 สวรรคต (ตอน 3)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8591683

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า