Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > เศรษฐกิจพอเพียง > ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำรงชีวิตคนกรุง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำรงชีวิตคนกรุง

พิมพ์ PDF

ได้ไปค้นเจอบทความเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ผมเคยเขียนและนำเผยแพร่เมื่อปี 2550 เห็นว่ายังทันสมัยอยู่จึงขอนำมาเผยแพร่อีกครั้ง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ระบบทุนนิยมได้เข้ามามีอิทธิพลกับการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนชาวไทยเป็นเวลานาน ทำให้วัฒนะธรรมและอารยะธรรมที่ดีงามของคนไทยขาดหายไป จากการดำรงชีวิตแบบเรียบง่ายรู้จักความพอเพียง มีความรักและโอบอ้อมอารีต่อกัน รู้จักให้และช่วยเหลือแบ่งบัน กลายมาเป็นการดำรงชีวิตแบบตัวใครตัวมัน เกิดการแข่งขันและ ชิงดีชิงเด่น เพื่อให้ตัวเองเหนือกว่าผู้อื่น
นายทุนผู้มีอิทธิพลในการควบคุมนโยบายและบริหารประเทศ ได้นำระบบทุนนิยมมาใช้ในการบริหาร นำหลักการและทฤษฎีในการบริหารธุรกิจมาใช้ในการบริหารประเทศ จึงทำให้สังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างที่เป็นอยู่ เริ่มตั้งแต่การศึกษา ต้องแข่งขันกันสอบเข้าโรงเรียนที่ได้ชื่อว่าดีที่สุด เด็กที่ทำคะแนนสอบได้สูงกว่าก็จะมีโอกาสได้เข้าโรงเรียนที่ได้ชื่อว่าดีที่สุด เด็กที่ผู้ปกครองร่ำรวย จะได้รับการสอนพิเศษเพิ่มเติมเพื่อการสอบแข่งขัน ทำให้ได้เปรียบเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถได้รับการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน
เยาวชนรุ่นใหม่ต่างแย่งกันเรียนเพื่อให้ได้รับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย สถานบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน เห็นโอกาสในการทำธุรกิจด้านการศึกษาเพราะมีความต้องการสูง ต่างแข่งขันกันทำธุรกิจ โดยมิได้คำนึงถึงคุณภาพของนักศึกษามากกว่าผลกำไรของธุรกิจ ประชาชนต้องลงทุนให้กับการเรียนในสถาบันการศึกษาเพื่อให้ได้รับปริญญาตรี เพื่อแข่งขันในการหางานทำ
นิสิตส่วนมากที่จบปริญญาตรีไม่สามารถเข้าทำงานได้เพราะ เรียนมาไม่ตรงกับคุณสมบัติของแรงงานที่ต้องการ เลือกงานเพราะคิดว่าตัวเองจบปริญญาตรีแล้วควรจะได้งานที่ดี และมีรายได้มากว่านี้ ทำให้นิสิตที่จบออกมาไม่มีงานทำเป็นจำนวนมาก
บริษัทใหญ่ๆที่มีทุนมากมีความได้เปรียบกว่าบริษัทเล็กๆ สามารถเลือกจ้างนิสิตจบใหม่ในระดับหัวกระทิได้ก่อน บริษัทเล็กๆไม่ค่อยมีโอกาสได้รับนิสิตจบใหม่ในระดับหัวกระทิ ต้องรับผู้ที่มีคุณสมบัติด้อยลงมา นำมาฝึกฝน เมื่อได้คุณภาพที่ดี ก็จะถูกดึงตัวไปอยู่บริษัทที่ใหญ่กว่า
นิสิตที่ตกงานเป็นจำนวนมากต้องหันไปทำธุรกิจส่วนตัว ขอเงินผู้ปกครองมาลงทุน ผู้ปกครองต้องเป็นหนี้เป็นสิน หรือขายสมบัติเก่ามาให้ แต่ในที่สุดก็ไปไม่รอดเพราะขาดประสบการณ์ หรือสายป่านสั้นไป มีจำนวนไม่น้อยที่เรียนต่อปริญญาโท และ ปริญญาเอก ถ้ามีผู้ปกครองที่ร่ำรวยก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าผู้ปกครองไม่ร่ำรวย แต่เพื่ออนาคตของบุตรหลาน ก็ต้องขายสมบัติเก่า หรือไม่ก็ต้องเป็นหนี้
ผู้ที่มีอิทธิพลในการบริหารประเทศชาติส่วนใหญ่ มาจากประชาชน สองกลุ่ม คือ กลุ่มนายทุน และกลุ่มนักวิชาการที่จบการศึกษา ระดับ ปริญญาเอก และ ปริญญาโท จากต่างประเทศ ท่านเหล่านี้ส่วนมากประสบผลสำเร็จเพราะท่านเป็นลูกหลานของผู้มีเงิน หรือ ผู้มีอำนาจ ท่านมีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆได้ไปศึกษาเล่าเรียนต่างประเทศ ได้จดจำทฤษฎีต่างๆของต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นทฤษฎีระบบทุนนิยม ท่านคิดว่าดี และได้นำมาใช้กับประเทศไทย โดยมิได้นำความรู้ที่ท่านได้เล่าเรียนมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย สังคมไทยจึงกลายเป็นสังคมของทุนนิยม มีแต่การแข่งขัน ความไม่รู้จักพอ การทำอะไรที่ได้เปรียบถึงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง สังคมจึงสับสนและแตกแยกกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นอันตราต่อประเทศชาติอย่างมาก
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญา ในการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยมาแต่อดีต รัฐบาลปัจจุบันได้มองเห็นความสำคัญของปรัชญานี้ และได้นำขึ้นใช้เป็นแผนในการบริหารประเทศชาติ พวกเราชาวไทยควรจะยินดีที่ผู้นำรัฐบาลมีความเข้าใจ และตัดสินใจยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ แต่ก็น่าเสียดายที่ยังมีคนไทยเป็นจำนวนมาก ที่ยังไม่เข้าใจความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง และได้พยายามทำให้เกิดการสับสน
มนุษย์ไม่ได้อยู่ลำพัง เราอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว และสังคม การดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงถือเป็นรากฐานของการดำรงชีวิต เริ่มที่ตัวเราเองก่อน เราต้องทำความเข้าใจ สถานะของตัวเองว่าเราอยู่ในสถานะใด เราต้องรับผิดชอบใครบ้าง อันดับแรกก็ต้องคิดถึงการดูแลตัวเองก่อน ทำอย่างไรที่จะไม่ให้เราเป็นภาระของผู้อื่น หรือถ้าเรายังอยู่ในการดูแลของพ่อแม่ เรายังไม่สามารถดูแลตัวเองได้เต็มที่ เราก็ต้องรู้จักสถานะของตัวเราว่าเราเป็นผู้ได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ ทำอย่างไรที่เราจะแบ่งปันภาระของพ่อแม่ ต้องรู้ว่าหน้าที่หลักของเราคือการเรียนหนังสือเราก็ต้องพยายามเรียนหนังสือให้ดีที่สุด ไม่ให้เป็นภาระของพ่อแม่ และครูบาอาจารย์ ใช้จ่ายน้อยที่สุดเพราะเรายังหาเงินเองไม่ได้ หรือถ้ามีโอกาสหาเงินได้เพื่อนำมาช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเรา โดยไม่ทำให้หน้าที่หลักของเราเสียหาย ก็ดำเนินการ ขณะเดียวกันก็ทำตัวให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก ทำให้ตัวเราเองมีความสุข ไม่ต้องไปคิดอยากได้ของๆคนอื่น พอใจกับสถานะที่เราเป็นอยู่และพยายามศึกษาเรียนรู้และเลือกทำในสิ่งที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
เมื่อเราสำเร็จการศึกษาจนสามารถเข้าทำงานมีรายได้ เราก็ต้องรู้สถานะของตัวเองว่าขณะนี้เราเป็นผู้ใหญ่แล้ว ต้องพึ่งพาตัวเอง และเตรียมการที่จะให้การดูแลผู้อื่นบ้าง เช่น พ่อแม่ต้องทำงานหนักเพื่อเลี้ยงดูเรามาจนเราสามารถพึ่งตัวเองได้ เราก็ต้องคิดที่จะตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ที่เลี้ยงเรามา เราต้องมาคิดถึงรายได้และรายจ่ายของเรา ถ้ารายได้เรามีมากพอที่จะเลี้ยงดูพ่อแม่ได้ เราก็อาจให้พ่อแม่เลิกทำงาน ให้ท่านได้พักผ่อน และเราเป็นผู้เลี้ยงดูท่านเอง หรือถ้าเรายังมีรายได้ไม่เพียงพอก็ต้องพยายามให้พ่อแม่ได้ทำงานน้อยลง และเราก็ให้ค่าเลี้ยงดูท่านพอที่เราจะอยู่ได้ บริหารรายรับรายจ่ายให้เหมาะสม กับสถานะความเป็นจริงของตัวเราเองและผู้ที่อยู่ในความดูแลของเรา ถ้ารายได้ยังน้อยกว่ารายจ่าย ก็ต้องหาวิธีที่จะลดค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มรายได้ แต่ถ้ามีรายได้มากกว่ารายจ่าย ก็ต้องวางแผนในการดำรงชีวิตในวันข้างหน้า อาจต้องมีภาระต้องให้การเลี้ยงดูผู้อื่น เช่น การแต่งงาน การมีลูก เป็นต้น ทุกอย่างต้องมีแผน และคำนวณ ราย รับรายจ่ายให้เหมาะสม
คำว่าพอดี และเหมาะสม เป็นเรื่องที่พูดง่าย แต่ปฏิบัติยาก เช่นบางครั้งเราจำเป็นต้องเป็นหนี้ เพื่อหวังผลในวันข้างหน้า เช่นการลงทุนเรื่องการศึกษาหาความรู้เพื่อที่จะทำให้เราสามารถหางานใหม่ที่มีรายได้มากกว่าปัจจุบันและคุ้มกับการลงทุน ก็ไม่ได้ถือว่าหลักการนี้ไม่ถูกต้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง อย่างไรก็ตามแต่ละคนจะมีความพอเพียง และเหตุผลของความเหมาะสมที่แตกต่างกัน เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่เป็นพื้นฐานของธรรมชาติ อย่าไปคิดอะไรมากเพียง แค่ทำความเข้าใจเรื่องธรรมชาติและนำความรู้ที่เป็นธรรมชาตินำไปปฏิบัติในการดำรงชีวิตของตัวเราเองเพื่อให้เกิดความสุขกับตัวเองและผู้อยู่รอบข้างโดยไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
ผมอยากวิงวอนให้ประชาชนคนไทยทุกคนหันมาให้ความสนใจและศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปปฏิบัติในการดำรงชีวิตประจำวันของทุกคน โดยขอให้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในทุกหมู่บ้าน และทุกชุมชน โดยขอให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางของแต่ละชุมชน มีการเรียนรู้และปฏิบัติร่วมกัน สร้างชุมชนให้เข้มแข็งโดยการ นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน จัดตั้งชมรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละชุมชน ผมว่าวิธีนี้จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยกันทำให้วัฒนะธรรม และอารยะธรรมที่ดีๆของสังคมไทยกลับมาอยู่ในสังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2016 เวลา 13:04 น.  
Home > Articles > เศรษฐกิจพอเพียง > ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำรงชีวิตคนกรุง

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559230

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า