Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > วันรัฐธรรมนูญ ต้องพูดถึงคณะราษฎร์

วันรัฐธรรมนูญ ต้องพูดถึงคณะราษฎร์

พิมพ์ PDF

วันนี้วันรัฐธรรมนูญ ...ก็ต้องพูดถึงคณะราษฎร์
ผู้นำการเปลี่ยงแปลงการปกครอง ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ผมสารภาพตรงๆว่าตั้งแต่เริ่มรับรู้ สนใจ และได้อ่าน ได้ยินมาจากแวดวงคนทำกิจกรรมสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ก็จะมีแต่ด้านบวกที่คณะราษฎร์ เป็นพระเอก เป็นฮีโร่ ถ้าไม่มีพวกเขา จะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ประชาธิปไตย ในประเทศนี้
แต่เมื่อก้าวพ้นรั้วมหาวิทยาลัย ออกมาสู่โลกจริงที่ใหญ่โตขึ้น
จึงได้มีโอกาสรับรู้เรื่องราวในอีกมิติหนึ่ง
ทำให้ได้มองประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และกลุ่มบุคคลที่ชื่อ คณะราษฎร ในมุมที่กว้างกว่าเดิม
ไปอ่านเจอมา น่าสนใจ ไม่เคยรู้มาก่อน เลยอยากนำมาแย่งกันอ่าน และหวังว่าจะมีข้อมูลจากผู้รู้อีกฝั่งมาเพิ่มเติม
.........................
จากFB อ.สมเกียรติ โอสถสภา
วันนี้วันรัฐธรรมนูญ ประวัติศาสตร์ที่ไม่มีคนเขียน
====================================
24 มิถุนายน 2475 รถถังสองคันวิ่งเข้ามาปิดประตูทางเข้า ออกสองประตูของโรงเรียนสวนกุหลาบ ปืนรถถังหันเข้าสู่โรงเรียน นักเรียนหนีไม่ได้ เพราะมีแค่สองประตู
ทหารเข้าไปกวาดต้อนนักเรียนเข้าหอประชุม ควบคุมตัวไว้ ในหมู่นักเรียนมีลูกหลานเชื้อพระวงศ์ ข้าราชการ และลูกหลานสามัญชนโดยทั่วไป
การต่อสู้นองเลือดจืงไม่เกิดขื้น เพราะยุทธการจับเด็กเป็นตัวประกัน โคตรแมนเลย
ประวัติศาสตร์ตอนนี้ คณะราษฏร์ไม่เคยบันทืกเป็นประวัติศาสตร์ชาติ แต่คือประวัติศาสตร์โรงเรียนที่บันทืก บอกเล่าสืบต่อกันมา
รัชกาลที่7 มิได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่ทรงหนีภัยไปต่างประเทศ ที่ทรงลงนามก็เพื่อแลกกับความปลอดภัยของพระบรมวงศานุวงศ์
เมื่อคณะราษฎรขื้นมีอำนาจ เห็นว่าโรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนเอกชนทั้งหลายที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์นั้นเป็นภัย จืงจัดการทำให้อ่อนแอเสีย โดยสั่งให้โรงเรียนทั้งปวงยุติการสอนชั้นมัธยมปลาย ตั้งแต่ปี พศ 2480 เป็นต้นมา ใช้วิธีเดียวกับในฝรั่งเศส
การศืกษาของชาติจืงพังทลายลง อาจารย์ชาวต่างประเทศถูกส่งกลับ ครูอาจารย์ดีๆถูกย้ายหรือปลดออกจากราชการ หากการเรียนแบบสองภาษาในยุคนั้นไม่ถูกระงับ ตอนนี้คนไทยจะพูดอังกฤษคล่องแบบนักเรียนมาเลเซีย และสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยที่จุฬา ธรรมศาสตร์ ศิลปากร ขื้นมารองรับนักเรียนที่จะเรียนต่อชั้นมัธยมปลาย ก็โยกย้ายครู อาจารย์จากโรงเรียนที่เปิดสอนชั้นมัธยมปลายเดิมนั่นแหละไปสอน
ฉลาดจัง
โรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศถูกปิดการสอนชั้นมัธยมปลายไปถืงสิบปี เปิดสอนได้อีกครั้งในปี 2491
ที่ได้เปิดสอนอีกครั้ง เพราะศิษย์เก่าจากโรงเรียนต่างๆ ทั้งทหาร ตำรวจ ข้าราชการ นักหนังสือพิมพ์ ต่างร่วมกันกดดันรัฐบาล ครูเก่าเดินไปด่าคณะราษฏรถืงที่
ศืกชิงโรงเรียนคืน ดำเนินไปอย่างดุเดือด เป็นที่มาของการแยกกลุ่ม เปลี่ยนฝ่ายในหมู่คณะราษฏร ตีกันเองเละ ทั้งในบ้าน นอกบ้าน ในหมู่เพื่อนฝูง
การปิดโรงเรียนสิบปี ทำให้นักเรียนที่จบชั้นมัธยมต้น ต่างหลั่งไหลไปเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าอย่างต่อเนื่อง การเดินทางไปเตรียมจุฬา ยุคนั้นไกลมาก เดินไปราชดำเนินนอกง่ายกว่า ค่ารถรางแพงมาก แต่ต้องไปเรียนที่เตรียมจุฬามากเหมือนกัน พวกมีตังค์
คนที่รู้สืกว่าตนเองถูกรังแก โรงเรียนถูกยืดเมื่อไปเรียนทหารต่อเนื่องกันทุกรุ่นได้ คุมกำลัง คุมอาวุธ จืงเข้ายืดอำนาจรัฐคืน เอาโรงเรียนคืน
เมื่อเปลี่ยนการปกครอง จุฬาถูกรอนอำนาจ คณะ การสอนที่เกี่ยวกับการปกครอง บริหารประเทศถูกสั่งยุบ ให้ย้ายไปธรรมศาสตร์คือ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ ให้คงไว้เฉพาะคณะภาษา วิทยาศาสตร์ วิศวะ คณะแพทย์โอนไปมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ทำให้เล็กลง เดิมไม่ได้มีมหาวิทยาลัยชื่อชื่อมหิดลนะครับ
รัฐศาสตร์ จุฬามาเปิดใหม่ปี 2492 หลังโรงเรียนต่างๆสู้ได้สำเร็จ โอนย้ายคณะต่างๆกลับมามาก กโลบายตัดขาดประชาชนกับพระมหากษัตริย์จืงยุติลง
ที่จริงจอมพล ป พิบูลสงครามต้องการถูกจารืกชื่อในฐานะผู้ก่อตั้งจุฬา ม แพทยศาสตร์ โรงเรียนเตรียมจุฬา ส่วนท่านปรีดีก็เป็นบิดาของตมธก ธรรมศาสตร์
อ เกษม สุวรรณกุล. อดีตอธิการบดี จุฬา จืงงหาทางสร้างอนุสาวรีย์สองรัชกาลขื้น ท่านบอกผมว่า ไม่งั้น จะมีใครมาสร้างอนุสาวรีย์ของตนเองขื้น แล้วทืกทักว่าตนเองเป็นผู้สร้่างจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ถ้าไม่มีการต่อสู้จากศิษย์เก่าโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ. จุฬาคงเปลี่ยนไปแล้ว. ชื่อมหาวิทยาลัยคงถูกเปลี่ยน พระเกี้ยวจะถูกเปลี่ยนเป็นตราไก่ ตราประจำปีเกิดของท่านจอมพล
การเอาโรงเรียนทั่วประเทศคืนคือ การเอาประชาธิปไตยในการศืกษาคืนมา
เมื่อพวกเขารวมเป็นหนื่ง การปฏิวัติจืงเกิดต่อเนื่อง เพราะคนที่ถูกรังแกเหล่านี้ ไม่ศรัทธานักการเมืองที่เอารถถังไปยืดโรงเรียนของเขา ทำร้าย ทำลายผู้ที่พวกเขาเคารพนับถือ
น่าเสียดาย นักเรียนที่เก่งที่สุดของประเทศสามร้อยกว่าคน ที่ถูกส่งไปเรียนวิชาการต่างๆด้วยทุนของรัฐบาลในสมัยรัชกาลที่5 ไม่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการ ถูกส่งเข้าคุกก็มาก
ประเทศไทยเสียโอกาสความเจริญก้าวหน้าไปมาก
วันรัฐธรรมนูญจืงมีประวัติความเป็นมาที่ประหลาดๆ
พูดเรื่องใหญ่ๆแต่ทำเรื่องเล็กๆไม่เป็น
แต่ก็ทำให้พวกหากินกับงานร่างรัฐธรรมนูญมีอาชีพ
กลับมาร่างครั้งนี้ คงฉลาดกว่าครั้งก่อนๆๆๆๆๆนะ
แต่ดูแล้วไม่ได้มีอะไรใหม่ดอก กล้าซะเมื่อไหร่
สวัสดีครับ วันรัฐธรรมนูญ เดี๋ยวจะไปนอนล่ะ
============================================
เมื่อฝ่ายคณะราษฏรเสื่อมอำนาจลง การเปลี่ยนแปลงโยกย้ายคณะวิชาระหว่างมหาวิทยาลัยจืงเกิดขื้นครั้งใหญ่ นิสิตนักศืกษาที่เรียนแพทย์ เภสัช รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และที่เรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆย่อมรู้ประวัติคณะ และประวัติมหาวิทยาลัยของตนดี
ความขัดแย้งระหว่างจุฬา ธรรมศาสตร์ก็เกิดขื้นด้วย. ผู้ที่จบจุฬาเมื่อเข้ารับราชการได้รับเงินเดือนมากกว่าผู้จบธรรมศาสตร์ 50บาท ซื่งไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง. นักเรียนเก่าสวนกุหลาบในสองมหาวิทยาลัยจืงนัดเตะฟุตบอลกันเชื่อมสามัคคี. เพื่อบอกสังคมว่าเพื่อนเหนือการเมือง. และเรียกร้องให้ได้เงินเดือนเท่ากันด้วย คนมาดูกันมาก กลายเป็นฟุตบอลประเพณีระหว่างมหาวิทยาลัย นักฟุตบอลรุ่นแรกๆมีพลตท ต่อศักดิ์. ยมนาค. บิดาของ. อ ต่อตระกูล ยมนาคด้วย
เป็นประเพณีว่ากีฬาคือการส่งเสริมมิตรภาพ. ความเป็นเพื่อนจากโรงเรียนเหนือคำพูดยุแหย่ใดๆ. จะเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติ ต้องรู้ที่มาที่ไปของคน ประวัติบุคคล. มาร์กซ์เป็นใครไม่รู้จัก แต่พวกเขารู้จักเพื่อนของเขาดี. ความรักมีค่าเหนือการเมืองของผู้กระหายอำนาจทุกฝ่าย.
ผู้ใหญ่ดูเด็กๆรักกันบ้างก็ดี. จะได้มีวิวัฒนาการ
=========================================
การทำลายการศืกษาเพื่อเถลิงอำนาจทำให้โรงเรียนประจำมณฑล โรงเรียนประจำจังหวัดทุกแห่ง. โรงเรียนในเครือมิสซัง และเครือเซนต์คาเบรียลทั่วประเทศต้องปิด มปลายด้วย นักเรียนชายในต่างจังหวัดไม่มีที่เรียน ม ปลาย ต้องมาอาศัยวัด ใต้ถุนกุฎิในกรุงเทพเป็นที่นอน เพื่อจะได้เรียน มปลาย. เข้ามหาวิทยาลัย แนวเหมาเลย
เป็นการหยุดการศืกษาของนักเรียนหญิงไปร่วมสิบปี ทั่วประเทศ
เด็กวัดดังยุคนี้แหละ ต้องเข้ากรุงเทพมาอาศัยวัดนอนจะได้เรียนหนังสือ อาศัยไม้กระดานปูนอนใต้ถุนกุฏิก็มาก เช่นน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
===========================================
ประวัติโรงเรียนสวนกุหลาบบันทืกว่า
>> ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้นมีรถถังแล่นมาจอดขวางประตูโรงเรียน มีนายทหารและพลเรือน ชื่อนายสงวน ตุลาลักษณ์ ผู้ก่อการได้เข้ามาในโรงเรียนเชิญอาจารย์ใหญ่ซึ่งขณะนั้นคือ อาจารย์เอซี เชอร์ชิล และนักเรียน ม.6-ม.8 เข้าหอประชุมสามัคคยาจารย์สมาคมประกาศว่า ทุกคนได้รับทราบว่าขณะนี้ได้มีการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองขอให้ทุกคนอยู่ในความสงบ
นักเรียนสวนกุหลาบได้ลุกขึ้นถามว่า “ทำไมต้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง” นายสงวน ตุลาลักษณ์ตอบว่า “ไม่ต้องถามเวลานี้ ถ้าต้องการรายละเอียดต้องตอบด้วยปืน (คำสัมภาษณ์ คุณสมจิตต์ โฆสวรรณะ)
การกระทำครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะควบคุมความสงบของครูและนักเรียนในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยซึ่งเป็นโรงเรียนใหญ่ และในขณะนั้นถือว่าใกล้ชิดกับราชวงศ์และข้าราชการชั้นสูงของกระทรวงธรรมการนั่นเอง
จากเหตุการณ์ตอนนี้พอสันนิษฐานว่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นโรงเรียนที่มีบทบาทสำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งคณะราษฎร์จำเป็นจะต้องควบคุมสถานการณ์ไว้ ครูอาจารย์ และ นักเรียน ก็น่าจะเป็นพลังที่จะต่อต้านคณะปฏิวัติ ซึ่งก่อให้เกิดความระส่ำระส่ายที่ยากคณะราษฎร์จะดูแลได้จึงได้ใช้วิธีนำรถถังมาปิดโรงเรียนและควบคุมสถานการณ์ดังกล่าว
========================================
อ้อ มีใช้ปืนยิงถล่มโรงเรียนหอวังด้วย ปิดไปนาน เพิ่งเปิดสอน จัดตั้งกลับมาเมื่อไม่นานมานี้ ไว้จะหาประวัติหอวังมาเพิ่มเติม

Credit : Paramet Bhuto

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2016 เวลา 23:54 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > วันรัฐธรรมนูญ ต้องพูดถึงคณะราษฎร์

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559858

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า