Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ตำบลคือจุดยุทธศาสนตร์ของการพัฒนาประเทศ

ตำบลคือจุดยุทธศาสนตร์ของการพัฒนาประเทศ

พิมพ์ PDF


 ตําบลคือจุดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศไทย

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี

เมื่อ ๘,๐๐๐ ตําบล ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้าน เข้มแข็งจัดการพัฒนาอย่างบูรณาการได้

ทั้งประเทศไทยก็ร่มเย็นเป็นสุข

คนไทยทั้งประเทศพ้นทุกข์ได้

  ถ้าฐานของประเทศแข็งแรงจะรองรับประเทศทั้งหมดให้มั่นคง

โครงสร้างใดๆ ไม่ว่าพระเจดีย์หรือปิระมิด ฐานต้องกว้างและแข็งแรงจึงจะมั่นคง สังคมก็เช่นกัน พระเจดีย์สร้างจากยอดไม่ได้จะพังลงๆ เพราะไม่มีฐานรองรับ การพัฒนา ประเทศไทยที่ผ่านมาทําประดุจการสร้างพระเจดีย์จากยอด อะไรๆ ก็จะเอาแต่ข้างบน ไม่ว่า เศรษฐกิจ การศึกษา หรือการเมือง จึงไม่สําเร็จ เพราะไม่มีฐานรองรับ

ฐานของประเทศไทยคือชุมชนท้องถิ่น

ตําบลประมาณ ๘,๐๐๐ ตําบล หมู่บ้านประมาณ ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้าน เป็นฐานของ ประเทศ ชุมชนท้องถิ่นเหล่านี้ครอบคลุมทุกตารางนิ้วของประเทศ เป็นที่อยู่ร่วมกันของคน ส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นที่อยู่ของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมด เป็นที่สืบต่อ ทางวัฒนธรรม

ถ้าพื้นที่ทั้งหมดมีการพัฒนาอย่างบูรณาการที่ เศรษฐกิจ – จิตใจ – สังคม – สิ่งแวดล้อม – วัฒนธรรม – สุขภาพ – การศึกษา – ประชาธิปไตย เชื่อมโยงอยู่ในกันและ กัน จะเกิดดุลยภาพ ดุลยภาพทําให้เกิดปรกติภาพหรือสุขภาวะ และความยั่งยืน ถ้าต้องการ เห็นความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ยุทธศาสตร์คือยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

ตําบลเป็นจุดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศไทย

เพราะตําบลเป็นจุดเชื่อมประชาชนทั้งหมดข้างล่างกับโครงสร้างของรัฐข้างบน ตําบล เป็นจุดที่มีองค์กรของรัฐที่ใกล้ชิดประชาชนทั้งหมด และมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วถึง เป็นผู้ปฏิบัติการ

อนึ่ง ในขณะที่สังคมไทยกําลังเข้าไปสู่การเป็นสังคมสูงอายุ ระบบเศรษฐกิจเมือง ไม่สามารถแบกรับผู้สูงอายุได้ แต่ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งจะดูแลผู้สูงอายุได้ ทั้งหมดด้วย คุณภาพที่ดีกว่าและต้นทุนที่ถูกกว่า เช่นเดียวกับเรื่องคุณภาพเด็กและเยาวชน รวมทั้งเรื่อง อื่นๆ อีกหลายเรื่องที่สังคมข้างบนทําไม่ได้

  เป้ าหมายของตําบล

เป้าหมายต่อไปนี้เป็นทั้งเป้าหมายเชิงเครื่องมือ กลไก และผลลัพท์

๓.๑. ส่งเสริมให้มีสภาผู้นําชุมชนทุกชุมชน ในตําบล  ในแต่ละชุมชนจะมีผู้นําตามธรรมชาติประมาณ ๔๐ – ๕๐ คน รวมตัวกันเป็นสภาผู้นําชุมชน ทําแผนชุมชนให้สภาชุมชน คือคนทั้งหมู่บ้าน รับรอง และคนทั้งหมดร่วมกันขับเคลื่อนการ พัฒนาอย่างบูรณาการ

๓.๒. มีสถาบันการเงินของชุมชนระดับตําบล ในทุกตําบล สถาบันการเงินของชุมชนระดับตําบล เป็น เครื่องมือเชิงสถาบันของชุมชน เพื่อการออม สวัสดิการ อาชีพ การศึกษา ที่เคยทํามาแล้ว มี เงินสะสมถึงกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ใน ๑ ตําบล ทั้ง ๘,๐๐๐ ตําบล จะมีเงินของชุมชนกว่า ๘๐๐,๐๐๐ ล้านบาท 

๓.๓. วัดทุกวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน แต่ละตําบลมีวัดโดยเฉลี่ย ๕ วัด วัดควรร่วมกับ ชุมชนในการพัฒนาจิตใจ สังคมสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ผู้สูงอายุ   การศึกษา

๓.๔. โรงเรียนทุกโรงเรียนในตําบล บูรณาการการเรียนรู้กับเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉลี่ยแต่ละตําบลมี ๕ โรงเรียน โรงเรียน ควรร่วมกับชุมชนในการพัฒนาอย่างบูรณาการ อาจเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม

๓.๕. สถานประกอบการในตําบลมีบทบาท ในการพัฒนาอย่างบูรณาการ    สถานประกอบการทั้งหมดในตําบล ควรเป็น แหล่งเรียนรู้ และมีบทบาทในการพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม

  ๓.๖ มีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ สัมมาชีพหมายถึงอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ การมีสัมมาชีพ เต็มพื้นที่ เป็นปัจจัยของความร่มเย็นเป็นสุข และศีลธรรม 

๓.๗.มีทักษะวิชาช่างทุกแขนง การที่คนในชุมชนมีทักษะวิชาช่างทุกแขนง ทํา ให้ชุมชนมีสมรรถนะ และหายจน ถนนผ่าน ตําบลใดตําบลนั้นดูแลซ่อมแซม มีส่วนแบ่ง รายได้ รถใครมาเสียในตําบล ดูแลให้ปลอดภัย และมีช่างซ่อมให้ ช่างจากชุมชนสามารถไป ทํางานในเมืองแบบเช้าไปเย็นกลับ

๓.๘. มีตลาดชุมชนและการจัด การท่องเที่ยวชุมชน  ตลาดชุมชน และการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ทําให้สามารถขยายสินค้าชุมชน สร้างรายได้ กระตุ้นการอนุรักษ์วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

๓.๙. จัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน จัดการขยะ ชุมชนมีภูมิทัศน์สวยงา มร่มรื่น อนุรักษ์ป่าต้นนํ้าลําธาร จัดการใช้อย่า งเป็น ธรรม สามารถสร้างพลังงานทางเลือกมากที่สุด

๓.๑๐. เป็นสังคมที่คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน  สํารวจผู้อาจถูกทอดทิ้ง เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก กําพร้า คนพิการ จัดให้มีอาสาสมัคร ดูแลหมด ทุกคน โดยใช้กองทุนสุขภาพชุมชน และเงิน สนับสนุนสวัสดิการ จากสถาบันการเงินของ ชุมชนระดับตําบล

๓. ๑๑.มีองค์กรจัดการอาสาสมัคร เพื่อชุมชน รัฐบาลควรมีนโยบายให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และพนักงาน ภาคธุรกิจ เป็นอาสาสมัครเพื่อชุมชน เราจะมี คนช่วยดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ เต็ม แผ่นดิน เป็นการถักทอคนไทยเข้ามาด้วยกัน เป็นการสร้างจิตสํานึก และการเรียนรู้ความจริง ของแผ่นดินไทย

๓.๑๒.พัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน หมดทุกคน เด็กและเยาวชนเป็นอนาคตของชาติ ทุกตําบล ต้องสามารถดูแลเรื่องพัฒนาคุณภาพเด็ก และ เยาวชนหมดทุกคน คนจนต้องมีอาสาสมัคร ช่วย

๓.๑๓.ทุกตําบลเป็นตําบลปลอดภัย ไม่มีการข่มขืน จี้ปล้น ฆ่า อุบัติภัยบนท้องถนน อุบัติเหตุ เด็กจมนํ้าตาย ทุกตําบลต้องเป็น ตําบลปลอดภัย

๓.๑๔.นวัตกรรมระบบสุขภาพตําบล นอกเหนือจาก รพ.สต. ควรมีพยาบาลชุมชน ๑ คน ต่อ ๒ หมู่บ้าน มีผู้ช่วยพยาบาลหมู่บ้าน ละ ๑ คน กินเงินเดือน อบต. กองทุนสุขภาพ ตําบล และสถาบันการเงินของชุมชนระดับ ตําบล สามารถดูแลประช าชนโดยใกล้ชิด ประดุจญาติ ทุกตําบลควรมีศูนย์การแพทย์ แผนไทย ๑ แห่ง เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม

๓.๑๕.แหล่งเรียนรู้ตําบล     ทุกตําบลมีห้องสมุดตําบล พิพิธภัณฑ์ตําบล ศูนย์ศิลปะ ศูนย์กีฬา ศูนย์เรียนรู้พิเศษ เพื่อ ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เต็มตําบล

๓.๑๖.มีความสามารถในการดึง ความสนับสนุนจากภายนอก แหล่งสนับสนุนจากภายนอกมีมากมายทั้งเรื่อง ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ทางวิชาการ และ เทคโนโลยี กฎหมาย การอาชีพ การเงิน นโยบาย ตําบลต้องสามารถดึงความสนับสนุน ที่ต้องการ

๓.๑๗. เป็นตําบลแห่งการทําความดี  มีตัวอย่างที่ทั้งตําบลเชื่อมโยงกัน ด้วยการทํา ความดี เช่น ช่วยเหลือผู้อื่น ดูแลผู้สูงอายุ ดูแล สิ่งแวดล้อมอนุรักษ์วัฒนธรรม ปฏิบัติธรรม ทุก ตําบลต้องเป็นตําบลแห่งการทําความดี

 ถ้าตําบลสามารถบรรลุเป้าหมายทั้ง ๑๗ จะเป็นตําบลเข้มแข็ง มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ เป็นตําบลน่าอยู่ที่สุด รวมกันทั้งประเทศเป็นประเทศไทยที่น่าอยู่ที่สุด

 ทุกภาคส่วนสนับสนุนยุทธศาสตร์ตําบล

เรามีหน่วยงานต่างๆ มากมายทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ ภาค การสื่อสาร ภาคประชาสังคม เกินพอที่จะสนับสนุนตําบล ได้ครบทั้ง ๘,๐๐๐ ตําบล

รัฐบาลควรมีนโยบายให้ทุกภาคส่วนสนับสนุนตําบล ให้บรรลุเป้ าหมายการ พัฒนาอย่างบูรณาการ โดยองค์กรเล็กสนับสนุน ๑ ตำบล องค์กรใหญ่สนับสนุนหลายตำบลดังที่ ปตท สนับสนุนอยู่ ๘๔ ตำบล บริษัทมิตรผลก็กำลังให้เจ้าหน้าที่ ๑๒ คนเรียนรู้งานพัฒนาตำบลอยู่ นัยว่าจะสนับสนุนเป็นร้องตำบล หากองค์กรการสื่อสาร เช่นสถานีโทรทัศน์ต่างๆ สนับสนุนตำบลจำนวนหนึ่ง จะทำให้สามารถสื่อสารเรื่องการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ควรทำการตกลงกันว่า องค์กรใดจะสนับสนุนตำบลอะไรบ้างแล้วประกาศให้สาธารณะรับรู้ องค์กรของภาครัฐต่างๆ ที่จะสนับสนุนตำบลมีดังนี้

กรม กอง ของกระทรวงต่างๆ บริษัทต่างๆ กองทัพ ตํารวจ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจทั้งหมด หนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัย มูลนิธิ สมาคม  การให้ทุกองค์กรแยกกันรับผิดชอบสนับสนุนเป็นรายตําบล เพื่อให้องค์กรแต่ละ องค์กรมีโอกาสเรียนรู้การพัฒนาอย่างบูรณาการด้วยตนเอง ทั้งนี้โดยอาจมีองค์กรเช่น พอช. สสส. มูลนิธิปิดทองหลังพระ ช่วยแนะนํา

ตําบลทั้ง ๘,๐๐๐ ตําบล กับองค์กรทุกประเภทที่สนับสนุนตําบลจะเชื่อมโยง เป็นเครือข่ายการเรียนร่วมกันในการปฏิบัติ ( Interactive Learning through action) ของคนไทยทั้งประเทศที่ใหญ่สุดในประวัติศาสตร์

“การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ” เป็นการเรียนรู้ที่สําคัญที่สุดในการผ่านความยาก ไปสู่ความสําเร็จ และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน ( Transformation) แก่ทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง เช่น การเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของคนทุกคนที่เกี่ยวข้อง เกิดภราดรภาพ ความเชื่อถือไว้วางใจกันเกิดเป็นปัญญาร่วม เกิดนวัตกรรม และเกิดความสุข ประดุจบรรลุนิพาน

 จัดมหกรรมการลงนามในสัญญาพัฒนาประเทศไทย

ควรจัดมหกรรมลงนามในสัญญาพัฒนาประเทศไทยโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยองค์กรทั้งหมดทุกภาคส่วนที่ตกลงจะสนับสนุนตําบล ในการพัฒนาอย่างบูรณาการทั้ง ๘,๐๐๐ ตําบล มาลงนามสัญญาต่อนายกรัฐมนตรี ว่าองค์กรใดจะสนับสนุนตําบลอะไรบ้าง แล้วประกาศให้รับรู้ทั่วกัน มีกระบวนการติดตามประเมินความก้าวหน้า ของงานสนับสนุนการพัฒนาตําบลทุก ตําบล และรายงานต่อสาธารณชนเป็นระยะๆ โดยวิธีนี้การพัฒนาตําบลจะก้าวหน้าขยาย ตัวอย่างรวดเร็ว อาจจัดให้มีการประชุมร่วมระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ

 นั่นคือการถักทอกันเป็นพลังแผ่นดินไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

ทั้งๆ ที่มีทรัพยากรมาก แต่สังคมไทยไม่มีพลังการพัฒนาและองค์ประกอบต่างๆ แยก ส่วนไม่เข้ามาประกอบกัน เหมือนสังคมเคลื่องหลุด รูปแบบที่เสนอในยุทธศาสตร์ตําบลนี้ คือ การถักทอทางสังคมที่คนไทยเข้ามาถักทอกันเพื่อพัฒนาประเทศไทย เมื่อคนไทยทุกภาค ส่วนเข้ามาถักทอกันก็จะเกิดภูมิพละหรือพลังแผ่นดิน อันเป็นพลังมหาศาลแห่งความสําเร็จ

เมื่อชุมชนท้องถิ่นอันเป็น ฐานของประเทศเข้มแข็ง จะรองรับประเทศทั้งหมดให้ มั่นคง ในขณะที่เศรษฐกิจข้างบนวูบไหววิกฤตอยู่เป็นประจําเพราะเงินที่วิ่งวนอยู่ในโลก ๙๙ เปอร์เซ็นต์ ไม่มีเศรษฐกิจจริงรองรับ เศรษฐกิจชุมชนเป็นเศรษฐกิจจริง ที่บูรณาการอยู่ กับชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม เมื่อเศรษฐกิจชุมชนเติบโตขึ้นจึงเป็นความมั่งคั่งที่แท้จริง เพราะ อยู่บนฐานการมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่และความเป็นธรรม

กระบวนการชุมชนที่มีสภาผู้นําชุมชนและคนทั้งชุมชนมีส่วนร่วม คือ ประชาธิปไตย ชุมชน ประชาธิปไตยชุมชนเป็นประชาธิปไตยทางตรง ที่มีฐานกว้างและมีคุณภาพสูงสุด จะ เป็นฐานรองรับให้ประชาธิปไตยระดับชุมชนมีคุณภาพดีขึ้น ผู้นําชุมชนท้องถิ่นที่มีคุณภาพสูง จะมีเป็นล้านๆ คน เฉพาะสภาผู้นําชุมชน หมู่บ้านละ ๕๐ คน ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้าน รวมกันก็มีถึง ๔ ล้านคนแล้ว ฐานผู้นําที่กว้างและมีคุณภาพจะเป็นพลังในการพัฒนาประเทศไทย

ชุมชนที่เข้มแข็งทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจจะ สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ทั้งหมดในขณะ ที่ระบบเศรษฐกิจข้างบนไม่สามารถรองรับสังคมผู้สูงอายุได้ คุณภาพเด็กและเยาวชนซึ่งเป็น อนาคตของชาติ ไม่มีคําตอบเลยในสังคมแบบเดิมที่มีความเหลื่อมลํ้าสุดๆ แต่ชุมชนที่เข้มแข็งใน การพัฒนาอย่างบูรณาการ จะสามารถดูแลการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนได้ทั้งหมด

วิกฤตการณ์ทางศีลธรรมที่ระบาดทั่วโลก มองไม่เห็นความหวังจากการสอนวิชา ศีลธรรม แต่ชุมชนเข้มแข็งคือคําตอบ เพราะศีลธรรมคือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างคน กับคนและระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม ชุมชนคือวิถีชีวิตร่วมกัน จึงเป็นที่อยู่ของศีลธรรม

 ในขณะที่สังคมข้างบนเป็นเรื่องของอํานาจ เงิน และมายาคติ จึงไม่มีที่อยู่ของศีลธรรม แม้มี การสอนวิชาศีลธรรม ศีลธรรมก็ไม่เกิดเพราะศีลธรรมไม่ใช่วิชา แต่เป็นวิถีชีวิตร่วมกัน

การศึกษาซึ่งมีปัญหามาก แต่ปฏิรูปเท่าไหร่ก็ไม่สําเร็จ เพราะระบบการศึกษา เข้าไปสู่ การเป็นหิน แต่ในการพัฒนาอย่างบูรณาการของชุมชน โรงเรียนที่ร่วมในกระบวนการพัฒนา อย่างบูรณาการกับชุมชน ก็จะปฏิรูปการเรียนรู้ ไปในตัว เช่นเดียวกับพระศาสนาที่จะปฏิรูป ที่ส่วนบนยากมาก แต่ถ้าวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนและร่วมกับชุมชนในการพัฒนาอย่าง บูรณาการวัดกับชุมชนต่างก็จะกํากับซึ่งกันและกันให้อยู่ในความถูกต้อง

มหาวิทยาลัยซึ่งเคยอยู่กับการสอนโดยเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ทําให้ไม่รู้ความจริงของ ประเทศไทย จึงขาดปัญญาทางนโยบาย ถ้ามหาวิทยาลัยมาทํางานกับตําบลตามที่เสนอใน ยุทธศาสตร์นี้ นอกจากจะนําความรู้และเทคโนโลยี ไปช่วยลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าให้แก่ ชุมชนแล้ว ยังทําให้มหาวิทยาลัยเข้าใจความเป็นจริงของประเทศ ทําให้สามารถสังเคราะห์ นโยบายสาธารณะได้ การที่มหาวิทยาลัยจะสังเคราะห์นโยบายสาธารณะได้ จะทําให้ มหาวิทยาลัยสามารถเป็นหัวรถจักรทางปัญญาพาชาติออกจากวิกฤตได้

ภาคธุรกิจซึ่งมีคนเก่งๆ และมีความสามารถในการจัดการมากที่สุด การที่ไป ร่วมในยุทธศาสตร์ตําบล ในทํานอง ๑ บริษัท ๑ ตําบล หรือ ๑ ธนาคารต่อ ๑ ตําบล จะทําให้ พลังของภาคธุรกิจไปช่วยสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่และต่อเชื่อมเศรษฐกิจมหภาคกับเศรษฐกิจ ชุมชนให้เกื้อกูลกัน ซึ่งเป็นกุญแจของความมั่งคั่งและยั่งยืน

การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติระหว่างทุกฝ่าย จะเป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่ใหญ่และ ที่สําคัญที่สุดในประเทศไทย อันก่อให้เกิดความเสมอภาค ภราดรภาพ และสามัคคีธรรม ส่ง ให้เกิดภูมิพละหรือพลังแผ่นดิน เพื่อสร้างประเทศไทยในฝัน ให้เป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุด เพื่อ อนาคตของเราร่วมกัน

ในอนาคตเมื่อมีรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ขอให้รัฐบาลใหม่ดําเนินการ พัฒนาประเทศด้วยยุทธศาสตร์ตําบล ตามที่เสนอมานี้ต่อไปด้วย เพราะการที่คนไทยถักทอ กันพัฒนาประเทศไทย ย่อมลดความหนักใจของรัฐบาลทุกๆ รัฐบาล และพรรคการเมืองจะ พบว่า การพัฒนาอย่างบูรณาการจะเป็นฐานให้ประชาธิปไตยแข็งแรง ______________________________

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2017 เวลา 15:37 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ตำบลคือจุดยุทธศาสนตร์ของการพัฒนาประเทศ

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8601109

facebook

Twitter


บทความเก่า