Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๒๕. ตรวจสอบและแก้ไขเมื่อนักเรียนไม่สนใจ

ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๒๕. ตรวจสอบและแก้ไขเมื่อนักเรียนไม่สนใจ

พิมพ์ PDF
  จุดสำคัญที่สุดของยุทธศาสตร์นี้คือ ครูเอาใจใส่ความสนใจของศิษย์ และหาทางแก้ไขเมื่อนักเรียนแสดงอาการ ไม่สนใจ หรือเรียนไม่รู้เรื่อง  

ศาสตร์และศิลป์ของการสอน  : ๒๕. ตรวจสอบและแก้ไขเมื่อนักเรียนไม่สนใจ

บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano   ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง

 

ภาค ๗  ใช้ยุทธศาสตร์สร้างพันธกิจสัมพันธ์ของนักเรียนต่อการเรียน

 

ภาค ๗  ใช้ยุทธศาสตร์สร้างพันธกิจสัมพันธ์ของนักเรียนต่อการเรียน ตีความจาก  Chapter 7  : Using Engagement Strategies   มี ๑๐ ตอน  คือตั้งแต่ตอนที่ ๒๕ ถึงตอนที่ ๓๔    คำว่า engagement มีความหมายลึก และศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน แปลเป็นคำไทยว่า “พันธกิจสัมพันธ์”    โดยมีนัยยะว่ามีหลายฝ่ายร่วมกันเป็นภาคี (partner) ในกิจกรรมที่ทำร่วมกัน    โดยภาคีร่วมกัน  (๑) กำหนดเป้าหมาย  (๒) วางแผนดำเนินการ  (๓) ทำกิจกรรมหรือดำเนินการ  และ (๔) รับผล    ดังนั้น หากคิดตามความหมายนี้    การใช้คำว่า “พันธกิจสัมพันธ์ของนักเรียน” (student engagement) ย่อมมีนัยยะว่ากิจกรรมการเรียนเป็นเรื่องที่มีหลาย “เจ้าของร่วม”    ทั้งที่เป็นนักเรียน (หลายคน) ครู  และผู้ปกครอง     โดย “เจ้าของ” สำคัญที่สุดคือนักเรียน    เป้าหมายของสาระในภาค ๗ นี้ คือ  แนะนำวิธีที่ครูทำให้นักเรียนเป็น “หุ้นส่วนใหญ่”  ของการเรียนรู้

หากมองในเชิงอุดมคติ การเรียนเป็นเรื่องของนักเรียน เป็นกิจกรรมของนักเรียน    การเรียนรู้และกระบวนการ ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้จึงควรมีนักเรียนเป็นเจ้าของ    แต่เมื่อมองจากมุมของครู เรื่องการดึงความสนใจของนักเรียน และจัดให้นักเรียนแสดงบทบาท (student engagement) เป็นเรื่องสำคัญ และครูต้องเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ฝึกทักษะเพื่อการนี้    ดังระบุใน ภาค ๗

หนังสือ The New Art and Science of Teaching บอกว่า พันธกิจสัมพันธ์ของนักเรียนเป็นปฐมบทของการสร้าง สภาพจิตใจของนักเรียน ให้พร้อมต่อการเรียนรู้    โดยหากดำเนินการอย่างได้ผล สภาพจิตใจของนักเรียนคือ “สนใจ  มีพลัง  อยากรู้  และมีแรงบันดาลใจ”     ดังนั้น คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการจัดการเรียนรู้ตามภาค ๗ นี้ คือ ครูจะดำเนินการอย่างไรเพื่อสร้างสภาพจิตใจของนักเรียนที่ สนใจ  มีพลัง  อยากรู้  และมีแรงบันดาลใจ

 

ตอนที่ ๒๕ ตรวจสอบและแก้ไขเมื่อนักเรียนไม่สนใจ  ตีความจาก Element 23 : Noticing and Reacting When Students Are Not Engaged  เป็นตอนแรกของ ภาค ๗  ใช้ยุทธศาสตร์สร้างพันธกิจสัมพันธ์ของนักเรียนต่อการเรียน

นี่คือปัจจัยสำคัญที่สุดใน ๑๐ ยุทธศาสตร์ของภาค ๗   คือครูต้องรู้ทันที และมีการดำเนินการแก้ไขทันที เมื่อเห็นว่านักเรียนไม่สนใจ 

คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการวางแผนจัดระบบให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน  คือ    “ครูจะสังเกตเห็นว่านักเรียนไม่สนใจเรียนได้อย่างไร และจะดำเนินการแก้ไขได้อย่างไร”

ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูใช้ตรวจสอบและแก้ไขเมื่อนักเรียนไม่สนใจ  มีดังต่อไปนี้

 

ยุทธศาสตร์

วิธีการ

ตรวจสอบความสนใจของนักเรียนแต่ละคน

ครูคอยตรวจตราว่ามีนักเรียนคนไหนแสดงอาการไม่สนใจการเรียน ทั้งในห้องใหญ่ ในกลุ่มย่อย และตอนทำงานคนเดียว

ตรวจสอบความสนใจของทั้งชั้น

ครูตรวจสอบความสนใจของทั้งชั้น  ไม่ใช่ที่นักเรียนเป็นรายคน หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ

ใช้วิธีการให้นักเรียน รายงานความสนใจ

ครูจัดระบบให้นักเรียนรายงานความน่าสนใจของชั้นเรียนเป็นระยะๆ   หรือครูถามนักเรียน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งโดยตรง  

ดึงความสนใจกลับมา

เมื่อครูพบว่านักเรียนคนหนึ่งคนใดขาดความสนใจ ก็หาวิธีดึงความสนใจกลับมา

ยกระดับพลังของชั้นเรียน

เมื่อครูสังเกตว่าพลังของชั้นเรียนลดลง   ครูประกาศว่าตอนนี้พลังของชั้นเรียนตกต่ำ  ขอเชิญนักเรียนช่วยกันเสนอแนะทางออก

 

จุดสำคัญที่สุดของยุทธศาสตร์นี้คือ ครูเอาใจใส่ความสนใจของศิษย์ และหาทางแก้ไขเมื่อนักเรียนแสดงอาการ ไม่สนใจ หรือเรียนไม่รู้เรื่อง

เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล    จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

  • นักเรียนตระหนักว่าครูเอาใจใส่ตรวจสอบความสนใจของนักเรียน
  • นักเรียนพยายามนกระดับความสนใจของตน
  • หากสอบถาม นักเรียนบอกได้ว่าครูเอาใจใส่พันธกิจสัมพันธ์ของนักเรียน

วิจารณ์ พานิช

๙ เม.ย. ๖๐

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน สภามหาวิทยาลัย

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2017 เวลา 13:20 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๒๕. ตรวจสอบและแก้ไขเมื่อนักเรียนไม่สนใจ

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8590215

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า