Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร

สิทธิลาคลอด

พิมพ์ PDF

สิทธิลาคลอด สำหรับการเลี้ยงดูลูกเป็นเรื่องหลายประเทศให้ความสำคัญ สำหรับไทยได้ให้สิทธิแม่ลาได้ 90 วัน แต่สวีเดนกลับให้สิทธิลาคลอดถึง 480 วัน!!! แถมคุณพ่อยังลาเลี้ยงลูกได้ด้วย

สิทธิลาคลอด ของสวีเดน VS ไทย

สิทธิลาคลอด ของคุณแม่ในประเทศสวีเดนเห็นแล้วคุณแม่หลายคนต้องอิจฉา เพราะว่ารัฐบาลของประเทศสวีเดนได้ให้ความสำคัญของสถาบันครอบครัว ที่เด็ก ๆ ควรได้รับความอบอุ่นจากพ่อแม่ตั้งแต่ที่คลอดออกมาลืมตาดูโลกเป็นอย่างมาก เพื่อพัฒนาการที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

โดยข้อมูลจากเว็บ ไทยไลฟ์อินสวีเดน กล่าวไว้ว่า ชาวสวีเดน ให้ความสำคัญกับครอบครัวเป็นอย่างมาก แม้จะเป็นครอบครัวขนาดเล็ก แต่เมื่อถึงโอกาสวันหยุดเทศกาลสำคัญ ต่าง ๆ เช่น เทศกาลคริสต์มาส อีสเตอร์ งานฉลองคล้ายวันเกิด มักมีการพบปะสังสรรค์กันระหว่างหมู่ญาติพี่น้องเป็นประจำ

สิทธิลาคลอดของสวีเดน

ในด้านการเลี้ยงดูบุตร รัฐบาลสวีเดนจึงส่งเสริมให้พ่อแม่ได้มีเวลาอยู่กับลูก สามารถลาเลี้ยงดูบุตรได้โดย

  • ลารวมกันได้และสามารถรับเงินชดเชยได้นานถึง 480 วัน สำหรับคนเป็นพ่อลาได้ 60 วัน
  • สามารถขอลาดูแลบุตรที่ป่วยได้เป็นเวลา 120 วันต่อปี
  • นอกจากนี้ยังจัดให้มีเบี้ยเลี้ยงค่าเลี้ยงดูบุตรสำหรับบุตรอายุต่ำกว่า 16 ปี เป็นเงิน 1,050 โครนาสวีเดนต่อคนต่อเดือน
  • และหากมีลูกมากกว่าสองคนขึ้นไปรัฐบาลจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงค่าเลี้ยงดูพิเศษเพิ่มอีก!!

และที่ดีงามก็คือถ้าพ่อและแม่มีการแบ่งวันลาให้เท่าๆ กันก็จะได้รับโบนัสเพิ่มเติมด้วย ซึ่งก็เป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้พ่อได้มีเวลาเลี้ยงลูกและใกล้ชิดกับเจ้าตัวน้อยมากขึ้นด้วย

แต่ถึงจะได้รับสิทธิพิเศษมากมายขนาดนี้ก็ดูเหมือนว่า มีเพียงคุณพ่อจำนวนน้อยเท่านั้นที่ลางานมาเลี้ยงลูก เพราะส่วนใหญ่เลือกที่จะทำงานต่อมากกว่า และเพียง 14 เปอร์เซ็นต์ของพ่อแม่ทั้งหมดในประเทศสวีเดนที่จะเลือกแบ่งวันลาให้เท่ากันเพื่อมาเลี้ยงลูก และหน้าที่หลักก็ยังคงเป็นคุณแม่

สิทธิลาคลอดของไทย

ในขณะที่ประเทศไทยเองก็มีข่าวว่าจะขยายสิทธิลาคลอดออกไปอีกเป็น 6 เดือน ซึ่งพล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ครั้งที่ 5/2560 ณ ทำเนียบรัฐบาล ได้กล่าวถึงสิทธิลาคลอด หลังมีการหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเด็นการขยายสิทธิการลาคลอดเป็น 180 วัน หรือ 6 เดือน ว่า

“การลาคลอดนั้น เราส่งเสริมคุณแม่ควรจะให้นมลูกอย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือน แล้วหลังจากนั้นอาจจะมีอาหารเข้ามาเสริมได้บ้าง แต่ที่ผ่านมา เรามีกฎหมายอนุญาตให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน อนุญาตให้คุณแม่ลาคลอดได้จำนวน 90 วัน ดังนั้น รัฐควรออกกฎหมาย โดยอาจอนุญาตให้ สิทธิแม่ลาคลอด 6 เดือน ซึ่งคุณแม่สามารถลาคลอดได้ 180 วัน หรือ 6 เดือน ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยจะมีการรับฟังความคิดเห็นในช่วงเดือน ตุลาคมนี้ คาดว่าจะออกประกาศได้ภายในเดือน มี.ค. 2561″

ทีมา: www.catdumb.com, thaipbs, ข่าวสด

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 09 มีนาคม 2018 เวลา 11:37 น.  

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8560231

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า