Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ทำความเข้าใจที่ถูกต้องกับ "ประชาธิปไตย"

ทำความเข้าใจที่ถูกต้องกับ "ประชาธิปไตย"

พิมพ์ PDF

ผมได้อ่านบทความของ ผู้ใช้นามปากกาว่า "ซามูไร อโยธยา" เห็นว่าน่าสนใจ จึงขอนำมาเผยแพร่ต่อครับ 

หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท

๒ มีนาคม ๒๕๖๒


ประเทศไทยไม่เคยมีประชาธิปไตยที่แท้จริงเชื่อกันว่าการเขียนรัฐธรรมนูญบังคับใช้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งต้องทำความเข้าใจกันเสียใหม่โดยประชาชนต้องทำความเข้าใจระบอบและนโยบายในการสร้างประชาธิปไตย ( ๔ )

๖ วัฒนธรรม

๖.๑ กำจัดวัฒนธรรมต่ำทรามที่แพร่หลายมาจากต่างประเทศ และรับวัฒนธรรมต่างประเทศโดยกลั่นกรอง

วัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบอันสำคัญอย่างหนึ่งของระบบสังคม และมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับองค์ประกอบสำคัญอีกสองประการ คือ เศรษฐกิจและการเมือง ฉะนั้น การแก้ปัญหาวัฒนธรรมจึงต้องประสานกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง เศรษฐกิจซึ่งระบบผูกขาดของเอกชนครอบงำการครองชีพของประชาชน และการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย นอกจากจะบั่นทอนวัฒนธรรมอันดีงาม ยังเป็นแหล่งรองรับวัฒนธรรมต่ำทรามที่แพร่มาจากต่างประเทศอีกด้วย การพัฒนาระบบเศรษฐกิจระบบเสรีนิยมที่ก้าวหน้าและพัฒนาการเมืองให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง คือ มาตรการพื้นฐานในการป้องกันและกำจัดวัฒนธรรมต่ำทรามต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและที่แพร่มาจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็ใช้มาตรการทางกฎหมายและทางการศึกษาอบรมควบคู่กันไปด้วย วัฒนธรรมต่ำทรามนั้นไม่เป็นสิ่งพึงประสงค์ไม่ว่าของเทศใดๆ แต่วัฒนธรรมที่ดีของแต่ละชาติก็ไม่ใช่ว่าจะยอมรับซึ่งกันและกันใด้เสมอไป วัฒนธรรมซึ่งชาติหนึ่งถือว่าดี อีกชาติหนึ่อาจถือว่าไม่ดีก็ได้ เช่น ประเพณีความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงซึ่งชาติหนึ่งถือว่าดีงาม แต่อีกชาติหนึ่งถือว่าเป็นการอนาจารไปก็มี ฉะนั้น การรับวัฒนธรรมจากต่างชาติ จึงต้องคัดเลือกกลั่นกรองเอาแต่เฉพาะที่ไม่ขัดกับวัฒนธรรมไทย แม้ว่าวัฒนธรรมเหล่านั้นจะไม่ใช่วัฒนธรรมต่ำทรามก็ตาม

๖.๒ เชิดชูวัฒนธรรมไทยอันสูงส่งมาแต่บรรพกาล

ภูมิแห่งจิตใจของชนชาติไทยซึ่งแสดงออกทางขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ วรรณคดี และความสัมพันธ์กับต่างชาติ เป็นต้นนั้นสูงส่งอย่างยิ่ง ซึ่งจะต้องรักษาและเชิดชูไว้ตลอดไป วัฒนธรรมอันสูงส่งย่อมอาศัยระบอบประชาธิปไตยเป็นพื้นฐาน เพราะวัฒนธรรมอันสูงส่งก็คือวัฒนธรรมของประชาชน ถ้าไม่มีประชาธิปไตย วัฒนธรรมของประชาชนก็จะไม่สามารถพัฒนาอย่างเต็มที่ได้ การปกครองประเทศไทยมีลักษณะประชาธิปไตยมาตั้งแต่บรรพกาล นี่คือ ปัจจัยสำคัญให้วัฒนธรรมของประชาชนได้พัฒนาอย่างเต็มที่ จึงส่งเสริมให้วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่สูงส่ง ฉะนั้น มาตรการพื้นฐานของการเชิดชูวัฒนธรรมไทยก็คือ การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับประเทศไทยนั่นเอง ประสานกับการส่งเสริมวัฒนธรรมใดด้านต่าง ๆ โดยตรงด้วย

๖.๓ ส่งเสริมเสรีภาพของกลุ่มชนต่างเชื้อชาติในประเทศไทยในการพัฒนาวัฒนธรรมของตน

คนไทยประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ นอกจากเชื้อชาติไทยแล้วยังมีชนเชื้อชาติอื่นๆ เช่น ชาวเขา ชาวมาเลย์ เป็นต้น ความแตกต่างทางเชื้อชาติย่อมกำหนดความแตกต่างทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ระบอบประชาธิปไตยยอมรับ ฉะนั้น ระบอบประชาธิปไตยจึงต้องให้เสรีภาพทางวัฒนธรรมแก่ชนเชื้อชาติต่างๆ ภายในประเทศ เพื่อให้วัฒนธรรมของประชาชนเชื้อชาติเหล่านั้นได้พัฒนาไปอย่างเต็มที่ แม้ว่าวัฒนธรรมของชนเชื้อชาติอื่นจะแตกต่างกับวัฒนธรรมของชนเชื้อชาติไทยก็ตาม แต่เมื่อเป็นวัฒนธรรมของประชาชนก็ย่อมเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามทั้งสิ้น ฉะนั้น การให้เสรีภาพทางวัฒนธรรมจึงมีผลดี โดยเฉพาะคือ ผลดีในการกระชับความสามัคคีแห่งชาติ

๖.๔ พัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองบนรากฐานของการส่งเสริมทรรศนะที่ถือว่า การเมืองคือคุณธรรมตามคตินิยมของคนไทยแต่โบราณ

โดยลักษณะการเมืองคือคุณธรรม เพราะมีความมุ่งหมายเพื่อความสุขของประชาชน ความจริงข้อนี้คนไทยได้ถือเป็นคตินิยมมาแต่โบราณ เช่น ทศพิธราชธรรม เป็นต้น

ในบรรดาระบอบการปกครองทั้งหลาย ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่มีคุณธรรมสูงสุด เพราะระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน ดังนั้น ประชาธิปไตยก็คือธรรมาธิปไตย นั่นเอง จึงไม่มีการเมืองใดจะมีคุณธรรมสูงส่งเสมอด้วยการเมืองประชาธิปไตย และดังนั้นถ้าจะเป็นประชาธิปไตยก็จำเป็นจะต้องกำจัดทรรศนะที่เห็นการเมืองเป็นของสกปรกและกลับไปสู่ทรรศนะเดิม คือ การเมืองเป็นคุณธรรมต่อไป และบนรากฐานของทรรศนะที่ถูกต้องนี้ ดำเนินการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เช่นความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความอดทนต่อความเห็นที่ตรงกันข้ามกับของตน ความมีวินัย ความยอมรับเสียงข้างมาก ความยืนหยัดในหลักการที่ถูกต้องแม้ว่าจะเป็นฝ่ายข้างน้อย ความใจกว้าง ความยอมแพ้ต่อเหตุผล ความเคารพในหลักวิชา ความอุทิศตนเพื่อประเทศชาติเพื่อประชาชน และเพื่อคุณธรรม เป็นต้น ให้มีทรรศนะที่เห็นการเมืองเป็นคุณธรรม และให้สมบูรณ์ด้วยวัฒนธรรทางการเมืองอย่างมากที่สุด

๖.๕ ส่งเสริมความบริสุทธิ์ผุดผ่องของพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติไทย รวมทั้งศาสนาอื่นๆ ในประเทศไทย

พระพุทธศาสนาเป็นองค์ประกอบอันสำคัญที่สุดของวัฒนธรรมไทย เพราะหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสอดคล้องอย่างลึกซึ้งกับลักษณะพิเศษประจำชาติไทย โดยเฉพาะคือ อหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) เป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของคนไทย และหลักธรรมอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนาคือ อหิงสา ปรโม ธมฺโม (ความไม่เบียดเบียนเป็นธรรมอย่างยิ่ง) ด้วยเหตุนี้ คนไทยซึ่งรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ จึงเข้ากับศาสนาอื่นได้เป็นอย่างดี ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยไม่เคยมีการเลือกปฏิบัติต่อศาสนาอื่น และไม่เคยมีเหตุการณ์ร้ายแรงอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางศาสนา การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะนับถือพุทธศาสนาของคนไทยนั้น โดยพื้นฐานเป็นการนับถือหลักธรรมอันแท้จริง แม้ว่าจะประกอบด้วยพิธีการ และลัทธินิยมอื่นๆ มากมาย แต่โดยพื้นฐานก็มิได้ละทิ้งหลักธรรมอันแท้จริง หลักธรรมอันแท้จริงนี่เอง คือ ความบริสุทธิ์ผุดผ่องของศาสนา ซึ่งควรเน้นหนักในการส่งเสริมโดยร่วมมือกับบรรดานักปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง.

เมื่อได้ปฏิบัติหลังการต่างๆที่ยกมาข้างต้นปรากฏเป็นจริงอย่างรอบด้านต่อสังคมไทยแล้วตัวแทนประชาชน(ตัวแทนเขตและตัวแทนทุกสาขาอาชีพ)ที่มาจากการเลือกตั้ง มาพิจารณาร่างกฎหมายรัฐธรรมนูนเพื่อรักษาทุกสิ่งทุกอย่างข้างต้น เพื่อแสดงถึงการถืออำนาจอธิปไตยของปวงชนตลอดไปเหมือนกับอนารยะประเทศทั้งหลายที่เป็นประชาธิปไตยแล้วทั่วโลก

 
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ทำความเข้าใจที่ถูกต้องกับ "ประชาธิปไตย"

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8560401

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า