Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ (๒) หักดิบความคิด

บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ (๒) หักดิบความคิด

พิมพ์ PDF

บันทึกชุดนี้ ได้จากการถอดความมาจากหนังสือ Learning by Doing : A Handbook for Professional Learning Communities at Work. 2nd Ed, 2010 เขียนโดย Richard DuFour, Rebecca DuFour, Robert Eaker, Thomas Many

ตอนที่ ๒ นี้จับความจาก Chapter 1 : A Guide to Action for Professional Learning communities at Work

วงการศึกษาของเราเดินทางผิดมาช้านาน  โดยที่ทางถูกคือ คนเราเรียนรู้ได้ดีที่สุดโดยการลงมือทำ ขงจื๊อกล่าวว่า “ฉันได้ยิน แล้วก็ลืม  ฉันเห็น ฉันจึงจำได้   เมื่อฉันลงมือทำ ฉันจึงเข้าใจ”   หากจะให้ศิษย์เรียนรู้ได้จริง เรียนรู้อย่างลึก อย่างเชื่อมโยง ครูต้องหักดิบความเคยชินของตน เปลี่ยนจากสอนโดยการบอก เป็น ให้นักเรียนลงมือทำ   ครูเปลี่ยนบทบาทจากครูสอน ไปเป็นครูฝึก

นอกจากนั้น ในแนวทางใหม่นี้ เน้นเรียนโดยร่วมมือ มากกว่าแข่งขัน   และแข่งกับตัวเอง มากกว่าแข่งกับเพื่อน

บทบาทของครูที่เปลี่ยนไป  ที่จะต้องเน้นให้แก่ศิษย์ ได้แก่

เน้นให้ศิษย์เรียนรู้จากการลงมือทำ ใน PBL (Project-Based Learning)


ส่งเสริมแรงบันดาลใจ ให้กำลังใจ (reinforcement) ในการเรียนรู้


ส่งเสริมและสร้างสรรค์จินตนาการ

ส่งเสริมให้กล้าลอง ลงมือทำ


เป็นครูฝึก ใน PBL

ออกแบบ PBL


มีทักษะในการชวนศิษย์ทำ Reflection จากประสบการณ์ใน PBL


ชวนทำความเข้าใจคุณค่าของประสบการณ์จากแต่ละ PBL

PLC ไม่ใช่ ...


เพื่อให้เข้าใจ PLC อย่างแท้จริง   จึงควรทำความเข้าใจว่าสิ่งใดไม่ใช่ PLC   กิจกรรมแคบๆ ตื้นๆ สั้นๆ ต่อไปนี้ ไม่ใช่ PLC

o โครงการ (project)
o สิ่งที่ฝ่ายบริหารกำหนดให้ทำ


o สิ่งที่ทำ ๑ ปี หรือ ๒ ปี แล้วจบ


o สิ่งที่ซื้อบริการที่ปรึกษาให้ทำ


o การประชุม  (โรงเรียนใดอ้างว่ามี PLC จากการที่มีครูจำนวนหนึ่งนัดมาประชุมร่วมกันสม่ำเสมอ  แสดงว่ายังไม่รู้จัก PLC ของจริง   ซึ่งนอกจากการประชุมแล้ว ยังต้องมีองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไป)


o การรวมตัวกันของครูกลุ่มหนึ่งในโรงเรียน   (PLC ที่แท้จริง ต้องเป็นความพยายามร่วมกันของทั้งโรงเรียน หรือทั้งเขตการศึกษา)


o การรวมกลุ่มกันเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู  (PLC ที่แท้จริง ต้องเป็นกิจกรรมเพื่อเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานของทั้งองค์กร หรือทั้งเขตการศึกษา


o สโมสร ลปรร. จากการอ่านหนังสือ (book club)

PLC คืออะไร

PLC คือกระบวนการต่อเนื่อง ที่ครูและนักการศึกษาทำงานร่วมกัน   ในวงจรของการร่วมกันตั้งคำถาม   และการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ   เพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้นของนักเรียน   โดยมีความเชื่อว่า หัวใจของการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้ดีขึ้น อยู่ที่การเรียนรู้ที่ฝังอยู่ในการทำงานของครูและนักการศึกษา

PLC เป็นกิจกรรมที่ซับซ้อน (complex)  มีหลากหลายองค์ประกอบ  จึงต้องนิยามจากหลายมุม   โดยมีแง่มุมที่สำคัญต่อไปนี้


- เน้นที่การเรียนรู้
- วัฒนธรรมร่วมมือเพื่อการเรียนรู้ของทุกคน ทุกฝ่าย
- ร่วมกันตั้งคำถามต่อวิธีการที่ดี และตั้งคำถามต่อสภาพปัจจุบัน
- เน้นการลงมือทำ
- มุ่งพัฒนาต่อเนื่อง
- เน้นที่ผล (หมายถึงผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของศิษย์)

ผมขอเสริมนิยาม PLC ตามความเข้าใจของผม ว่าหมายถึงการรวมตัวกันของครูในโรงเรียนหรือเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อ ลปรร. วิธีการจัดการเรียนรู้ให้ศิษย์เรียนรู้ได้ทักษะ 21st Century Skills   โดยที่ผู้บริหารโรงเรียน  คณะกรรมการโรงเรียน  ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บริหารการศึกษาระดับประเทศ เข้าร่วมจัดระบบสนับสนุน   ให้เกิดการ ลปรร. ต่อเนื่อง   มีการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของศิษย์อย่างต่อเนื่อง   เป็นวงจรไม่รู้จบ   ในภาษาของผม นี่คือ CQI (Continuous Quality Improvement) ในวงการศึกษา   หรืออาจเรียกว่าเป็น R2R ในวงการศึกษาก็ได้

PLC ที่แท้จริงต้องมีการทำอย่างเป็นระบบ  มีผู้เข้าร่วมขับเคลื่อนในหลากหลายบทบาท  โดยมีเป้าหมายพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของการเรียนของศิษย์

ทำไมเราไม่ลงมือทำสิ่งที่เรารู้


คำตอบคือ เพราะคนเรามีโรค "ช่องว่างระหว่างการรู้กับการลงมือทำ" (Knowing - Doing Gap)   บันทึกที่จับความจากหนังสือเล่มนี้ จะช่วยถมหรือเชื่อมต่อช่องว่างนี้ โดยเปลี่ยนโรงเรียนไปเป็น PLC เพื่อ

ช่วยให้นักการศึกษามีถ้อยคำที่เข้าใจตรงกันต่อกระบวนการหลักของ PLC   จริงๆ แล้วครูและนักการศึกษาใช้คำว่า professional learning communities, collaborative teams, goals, formative assessment, etc กันเกร่อ   ในความหมายที่แตกต่างกัน
หลักการหนึ่งของการบริหารการเปลี่ยนแปลง คือการมีถ้อยคำที่ใช้ร่วมในความหมายที่เข้าใจชัดเจนร่วมกัน   การเปลี่ยนโรงเรียนตามจารีตเดิมไปเป็น PLC จะต้องมีถ้อยคำเหล่านี้   ซึ่งจะปรากฎในตอนต่อๆ ไปของบันทึก   และค้นได้ที่เว็บไซต์ go.solution-tree.com/PLCbooks


ยืนยันให้ประจักษ์ว่าการใช้กระบวนการ PLC จะก่อประโยชน์ทั้งต่อนักเรียนและต่อครูและนักการศึกษา   คือทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึก กว้าง และเชื่อมโยง ทั้งต่อนักเรียนและต่อครู   ที่สำคัญยิ่งในความเห็นของผมก็คือ ช่วยเผยศักยภาพที่แท้จริงของปัจเจกออกมา ผ่านกระบวนการกลุ่ม


ช่วยครูและนักการศึกษาประเมินสถานการณ์จริงในโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาของตน   หลักการคือ ในการเปลี่ยนแปลงจากจุด ก ไปสู่จุด ข นั้น จะง่ายขึ้นหากผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนว่าจุด ข เป็นอย่างไร   และจุด ก ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เป็นอย่างไร   การจัดการการเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปมักมั่ว เพราะไม่มีความชัดเจนทั้งต่อจุด ก และจุด ข   บันทึกจากการตีความหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจทั้งจุด ก และจุด ข ได้ชัดเจน ในเรื่องจารีต วัฒนธรรม กระบวนทัศน์ ฯลฯ ที่ครูและนักการศึกษาเคยชินอยู่กับมันจนละเลยหรือขาดความสามารถในการทำความชัดเจน   การดำเนินการตามคู่มือจะช่วยให้มองสภาพความเป็นจริงจากสายตาของคนนอก   ช่วยให้มองผ่านม่านบังตาได้


หาทางทำให้ครูและนักการศึกษาใช้หรือร่วมกิจกรรม PLC   หนังสือฉบับนี้เป็นคู่มือเพื่อการลงมือดำเนินการ   เป็นเครื่องมือเชื่อมความรู้กับการลงมือทำ   คำถามในเรื่องนี้ไม่ใช่ “จะหาความรู้ในเรื่องที่เราจะทำได้อย่างไร”   คำถามที่ถูกต้องคือ “จะลงมือทำในสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วได้อย่างไร”     โดยมีคู่มือดำเนินการค้นได้ที่ go.solution-tree.com/PLCbooks

ลงมือทำ


ประสบการณ์ของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ จากการทำงานร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ (ในสหรัฐอเมริกา) มานานกว่า ๑๐ ปี   เขตพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จสูงคือเขตที่ลงมือทำอย่างไม่รีรอ   ประสบความสำเร็จมากกว่าเขตที่มัวแต่ตระเตรียมความพร้อม

วิจารณ์ พานิช
๑๙ ก.ค. ๕๔




 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ (๒) หักดิบความคิด

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8590052

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า