Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ (๔) โฟกัสเป้าหมายที่การเรียนรู้ (ไม่ใช่การสอน)

บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ (๔) โฟกัสเป้าหมายที่การเรียนรู้ (ไม่ใช่การสอน)

พิมพ์ PDF

บันทึกชุดนี้ ถอดความมาจากหนังสือ Learning by Doing : A Handbook for Professional Learning Communities at Work. 2nd Ed, 2010 เขียนโดย Richard DuFour, Rebecca DuFour, Robert Eaker, Thomas Many

ตอนที่ ๔ นี้จับความจาก Chapter 3 : Create a Focus on Learning

อย่าลืมว่าครูมีงานมากอยู่แล้ว กิจกรรม PLC ต้องไม่เพิ่มภาระแก่ครู   และครูทุกคนมีสิ่งที่เขาภูมิใจ ระวังการเปลี่ยนแปลงมีผลไปกระทบศักดิ์ศรีของเขา   หรือกล่าวในทางตรงกันข้าม   PLC ต้องเข้าไปช่วยเพิ่มพูนศักดิ์ศรีของความเป็นครู

เพื่อพุ่งเป้าของ PLC ไปที่การเรียนรู้ของนักเรียน   จึงมีคำถามหลัก ๒ คำถาม สำหรับ PLC
๑. ต้องการให้นักเรียนเรียนอะไร
๒. รู้ได้อย่างไร ว่านักเรียนแต่ละคนได้เรียนรู้สิ่งนั้นๆ

หลักการสำคัญคือ นักเรียนทุกคนได้เรียนเท่าที่จำเป็น (essential learning) ตาม เป้าหมายอันทรงพลัง (power standards) ไม่ใช่เรียนให้จบตามที่กำหนดในหลักสูตร

เพื่อให้การเรียนรู้ของศิษย์ เน้นที่ essential learning  มีเครื่องมือในการเลือกความรู้ที่จำเป็นจริงๆ ๒ ประการ ดังนี้


๑. ใช้เกณฑ์ ๓ คำถาม (๑) ความรู้นี้จะคงทนจดจำไปในอนาคตหรือไม่  (๒) ความรู้นี้จะช่วยเป็นพื้นฐานต่อการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ หรือไม่  (๓) ความรู้นี้จะช่วยความสำเร็จในการเรียนรู้ในชั้นต่อไปหรือไม่

๒. ใช้การประชุมระดมความคิดในกลุ่มครูที่เป็นสมาชิก PLC ด้วยบัตร ๓ คำ keep, drop, create  ทำอย่างน้อยทุกๆ ๓ เดือน

 

ครูที่เป็นสมาชิก PLC ทำกระบวนการร่วมกันเพื่อ "เห็นช้างทั้งตัว" ในเรื่องเป้าหมายการ เรียนรู้ที่จัดให้แก่นักเรียน  และ ลปรร. ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น   ไม่ใช่แค่เข้าใจส่วนของวิชาหรือชั้นเรียนที่ตนรับผิดชอบเท่านั้น   แต่เข้าใจส่วนของวิชาและชั้น อื่นๆ ด้วย   คือเข้าใจภาพรวมจริงๆ   และเข้าใจลึกถึงระดับคุณค่า   และเข้าใจจนมองเห็นลำดับ ความสำคัญ   มองเห็นประเด็นของ formative assessment ที่จะดำเนินการเพื่อช่วยปรับปรุง กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน

ผมขอเพิ่มเติมจากการตีความของผมเองว่า  การที่สมาชิก PLC “เห็นช้างทั้งตัว” นั้น   ต้องเห็นจากมุมมอง หรือความเข้าใจของศิษย์ด้วย   ไม่ใช่จากมุมมองของครูเท่านั้น

ใช้การประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของนักเรียน (formative assessment) ที่ทำอย่างดี มีคุณภาพ และบ่อย เป็นเครื่องมือช่วยการเรียนรู้   โดยเข้าใจร่วมกันอย่างชัดเจนว่า การทดสอบแบบนี้ไม่ใช่เพื่อการตัดสินได้-ตก แบบการทดสอบระดับประเทศ (summative evaluation)   แต่เป็นการทดสอบเพื่อช่วยการเรียนรู้ของนักเรียน ให้นักเรียนรู้สถานะการเรียนรู้ ของตน  เป็นเครื่องมือกระตุ้นการเรียนรู้   และให้ครูรู้ว่ามีศิษย์คนไหนบ้างที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษในวิชาใด   รวมทั้งเป็นการ feedback แก่ครู ว่าควรปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ที่ตนให้แก่ศิษย์อย่างไรบ้าง

วิธีการจัดการประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นประเด็นสำคัญของ การเรียนรู้ร่วมกันของครู ใน PLC   คือเป็นเรื่องที่ครูจะต้องเรียนรู้เรื่อยไปไม่มีวันจบ  และต้อง เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม   เอาประสบการณ์จริงมา ลปรร. กัน   เพื่อหาวิธีทำให้การประเมินมีพลัง กระตุ้นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ของศิษย์   รวมทั้งเพื่อเป็นประเด็นการเรียนรู้ของครู ในการทำความเข้าใจ "จิตวิทยาการเรียนรู้" (cognitive psychology) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีการทำให้เกิดปัจจัยด้านจิตวิทยาเชิงบวก

มีผลการวิจัยมากมาย (ในสหรัฐอเมริกา) ว่าการดำเนินการ และพัฒนา กระบวนการ ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียน ที่ทำเป็นทีม โดยครูที่สอนชั้นเดียวกัน   ผ่านการปรึกษาหารือ  การใช้วิธีการประเมินแบบที่ร่วมกันพัฒนา  และนำผลการประเมินมาร่วมกันตีความ เพื่อนำผลไปใช้ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งใช้ปรับปรุง วิธีการประเมิน   จะทำให้ผลการเรียนของนักเรียนดีกว่าวิธีการที่ครูต่างคนต่างทำ

คณะผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ มีความเห็นที่รุนแรงต่อการที่ครูต้องทำงานประเมินเป็นทีม   โดยใช้แบบประเมินเดียวกันที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นใช้   ต้องไม่ยอมให้ครูคนใดคนหนึ่งแยกตัว โดดเดี่ยวออกไปทำคนเดียว   เพราะผลการวิจัยชี้ชัดว่าการกระทำเช่นนั้นจะเป็นโทษต่อนักเรียน   เพราะผลการเรียนจะไม่ดีเท่าดำเนินการประเมินเป็นกลุ่ม

จุดที่สำคัญคือ การที่ครูร่วมกันเป็นทีม เอาใจใส่การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน   จะเป็นการสร้างวัฒนธรรมที่เน้นการเรียนรู้ (learning) ไปในตัว   เปลี่ยนจากวัฒนธรรมที่เน้นการสอน (teaching) ที่เราคุ้นเคย

กระบวนการกลุ่มของครูในการพัฒนาการประเมินแบบ formative assessment อย่างต่อเนื่อง   ผ่านการปฏิบัติจริง คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความคุ้นเคยของครู   ให้ค่อยๆ เปลี่ยนการทำหน้าที่ "ครูสอน" (teacher) มาเป็น "ครูฝึก" (coach) โดยไม่รู้สึกว่าต้องฝืนใจ

จะเห็นว่ากระบวนการรวมกลุ่มครู ร่วมกันพัฒนา ปฏิบัติ และเรียนรู้ การประเมินการเรียนรู้ของศิษย์อย่างต่อเนื่อง   ก็คือการตอบคำถาม (๑) เราต้องการให้ศิษย์เรียนรู้อะไรบ้าง   และ (๒) รู้ได้อย่างไรว่าศิษย์ได้เรียนรู้ตามเป้าหมายในข้อ (๑) จริง   เป็นการตั้งคำถาม และตอบคำถามทั้งสองซ้ำแล้วซ้ำเล่า   วนเวียนเป็นวัฏจักร   มีผลให้เกิดการยกระดับการเรียนรู้ ทั้งของศิษย์ และของครู

ปัญหาการเรียนรู้ในโรงเรียนโดยทั่วไปไม่ได้เกิดจากสอนน้อยไป   แต่เกิดจากสอนมากไป แต่นักเรียนได้เรียนรู้น้อย   ยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปการเรียนรู้ คือ สอนน้อย เรียนมาก   เรื่องราวในบทนี้ เน้นที่การจัดให้นักเรียนได้เรียนรู้ประเด็นที่สำคัญ   ไม่ใช่เรียนแบบเหวี่ยงแห   ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิผลน้อย

สิ่งที่จะต้องเอาชนะก็คือ การที่ครูหลงจัดการสอนในเรื่องที่ตนชอบ   ไม่ใช่จัดให้ศิษย์ เรียนรู้เรื่องที่สำคัญต่อศิษย์

อย่าหลงที่การสร้างผลงาน หาทางลัดโดยการซื้อบริการวิธีจัดการเรียนรู้เอามาให้ครูทำ   กระบวนการ    เพราะจะไม่มีผลต่อเนื่องยั่งยืน

การเดินทาง PLC ที่ครูร่วมกันคิด ร่วมกันทำ   และร่วมกันตีความทำความเข้าใจผลที่เกิด ขึ้น   นำมาคิดหาวิธีปรับปรุงการเรียนรู้ของศิษย์   วนเวียนเป็นวัฏจักรไม่รู้จบ   เป็นหนทางที่ ต่อเนื่องยั่งยืนของการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน

 

วิจารณ์ พานิช
๒๖ ก.ค. ๕๔  ปรับปรุง ๙ ส.ค. ๕๔




 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ (๔) โฟกัสเป้าหมายที่การเรียนรู้ (ไม่ใช่การสอน)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8560032

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า