Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > ประชาสัมพันธ์ > ประชาสัมพันธ์ > รับมือ Covid-19 แบบบูรณาการ-ข้อเสนอแนะของ ศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ บูรณะตรีเวทย์

รับมือ Covid-19 แบบบูรณาการ-ข้อเสนอแนะของ ศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ บูรณะตรีเวทย์

พิมพ์ PDF

รับมือ Covid-19 แบบบูรณาการ - ข้อเสนอแนะของ ศ. ดร. นพ. สุรศักดิ์ บูรณะตรีเวทย์

รับมือ Covid-19 แบบบูรณาการ  - ข้อเสนอแนะของ ศ. ดร. นพ.สุรศักดิ์ บูรณะตรีเวทย์

ผมได้รับอีเมล์ จาก ศ. ดร. นพ. สุรศักดิ์ บูรณะตรีเวทย์ ดังข้างล่าง    และเห็นว่าเสนอแนวความคิดการดำเนินการรับมืการระบาดของโควิด ๑๙ อย่างเป็นระบบ    เป็นการเสนอแนะไม่ใช่บอกว่าต้องทำอย่างที่เสนอทั้งหมด   น่าจะมีมาตรการที่ดีและครบถ้วนกว่านี้   จึงช่วยนำมาบอกต่อ  

 หมดเวลาที่จะมัวชี้นิ้วใส่รัฐบาลและคนอื่นในการจัดการแก้ไขปัญหาCovid-19 แล้ว รอให้ปัญหาคลี่คลายค่อยมาตามจัดการกันถึงเวลาที่เราประชาชนชาวไทยทุกคนจะต้องร่วมด้วยช่วยกันเพื่อให้ผ่านวิกฤต Covid-19 นี้ไปด้วยกัน ช่วยกันคิดช่วยกันทำผมลองคิดเบื้องต้นมาได้ประมาณข้างล่างนี้จะทำปลายเปิดไว้ให้ช่วยใส่เพิ่มเติมได้เรื่อย ๆและช่วยกันส่งต่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและช่วยกันทำหน้าที่ของตนเองทั้งตามหน้าที่การงานและหน้าที่การเป็นพลเมืองที่ดีดูแลตนเองและคนรอบข้างให้ได้มากที่สุด

 1. การเฝ้าระวังและสอบสวนโรค Covid-19 ผมเชื่อมั่นในทีมงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพราะผมรู้จักนักระบาดวิทยาหลายคนที่ทำเรื่องนี้อยู่ว่าเป็นคนจริงจังขนาดไหนแต่เรื่องกำลังคนและแรงกายแรงใจของคนที่ทำอยู่จะไม่เพียงพอ ต้องระดมนักระบาดวิทยามาร่วมด้วยช่วยกันโดยผู้ทำงานต้องมีความปลอดภัยปลอดโรคด้วยสำหรับการเฝ้าระวังผู้กักกันตัวที่บ้านต้องสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เป็นกำลังหลักในการเฝ้าระวังกลุ่มนี้และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยจากการติดโรคสำหรับเจ้าหน้าที่และ อสม. เหล่านี้ด้วย

 2. การตรวจวินิจฉัยโรค Covid-19 อันนี้ผมไม่แน่ใจว่าแนวทางการตรวจคัดกรองโรคในรายที่ไม่มีประวัติอาการเสี่ยงจะมีประโยชน์ในระยะที่ 2 มากน้อยเท่าไร และเมื่อประกาศเป็นระยะที่ 3จะมีประโยชน์มากขึ้นหรือไม่อันนี้ผู้เชี่ยวชาญต้องออกมาร่วมคุยกันและออกแนวทางที่ชัดเจนโดยคำนึงถึงความคุ้มค่า คุ้มทุนมากที่สุด

 3. การรักษาโรค Covid-19 สถานพยาบาลทุกแห่ง ทุกระดับทุกสังกัดต้องเตรียมพร้อมรองรับการรักษาผู้ป่วยโรค Covid-19 ใน กทม ซึ่งระบบบริการสุขภาพมีความซับซ้อนมาก ผู้ว่าราชการ กทมควรนั่งเป็นประธานร่วมกับกลไก คกก ควบคุมโรคติดต่อ กทมวางแนวทางในการรับมือผู้ป่วยใน กทม สำหรับจังหวัดอื่นๆ ผมเสนอแนวทางดังนี้

3.1 ผู้ป่วยที่ไม่ใช่โรค Covid-19

3.1.กรณีผู้ป่วยนอก ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องจัดให้มีการโยกย้ายกำลังคนและทรัพยากรด้านสุขภาพไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้พร้อมให้ผู้รับบริการที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรค Covid-19 และจัดการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ในรายที่ไม่สามารถรักษาได้

3.1.2 กรณีผู้ป่วยใน จัดแยกหอผู้ป่วยที่ไม่ใช่โรคCovid-19 แยกห่างจากหอผู้ป่วย Covid-19

3.1.กรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้จัดช่องทางการเข้ารับการรักษาแยกจากผู้ป่วย Covid-19 เพื่อลดการสัมผัสเชื้อให้มากที่สุด

 3.2 ผู้ป่วย Covid-19

3.2.โรงพยาบาลเฉพาะที่จะสร้างใหม่พยายามสร้างให้มีแสงแดดส่องถึงหอผู้ป่วยได้รอบทิศ และทำระบบระบายอากาศให้เหมาะสม การวางแผนนำบุคลากรสุขภาพมาช่วยงานต้องเป็นระบบชัดเจน

3.2.2 โรงพยาบาลที่มีอยู่ทั้งภาครัฐ(ทุกสังกัด) และเอกชนต้องมาวางแผนในการรองรับผู้ป่วยร่วมกันว่าจะให้โรงพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลสังกัดอื่นๆและโรงพยาบาลเอกชนดูแลผู้ป่วย Covid-19 กลุ่มไหนอย่างไรบ้าง3.2.3 การส่งต่อผู้ป่วย Covid-19 ระหว่างสถานพยาบาลต้องมีระบบการส่งต่อที่ป้องกันการแพร่เชื้อโรค

3.2.4 จัดทำระบบข้อมูลทรัพยากรในการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะเครื่องช่วยหายใจ (ventilator) ว่าในแต่ละจังหวัดมีอยู่ที่ไหนและเป็นประเภทอะไรบ้างตลอดจนวางระบบการยืมคืนอย่างชัดเจน

 4. การป้องกันตนเองของประชาชนทั่วไปต้องปฏิบัติตามข้อแนะอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงการออกไปในที่สาธารณะและแออัดหากจำเป็นต้องออกไปต้องใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่ไปสัมผัสพื้นผิววัตถุภายนอกบ้าน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย1 เมตร

 5. หน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชนที่เกี่ยวข้องกับหน้ากากอนามัย เจลล้างมือต้องจัดการผลิต จัดหาและกระจายให้ถึงประชาชนอย่างทั่วถึง

5.1 บริษัทที่ผลิตหน้ากากอนามัย/เจลแอลกอฮอล์ให้รวมกลุ่มกันแจ้งจำนวนที่ผลิตได้ทั้งหมดต่อวัน และร่วมกับภาครัฐภาคประชาชนในการจัดจำหน่ายให้ทั่วถึงประชาชนโดยตรง

 6. ชาวบ้านร้านค้าบ้านเรือนที่อยู่ใกล้ที่ชุมนุมชนจัดเตรียมห้องน้ำและน้ำสบู่เอื้อเฟื้อให้แก่ประชาชนทั่วไปในการเข้าถึงการล้างมือ

 7. บริษัทที่ผลิตอาหารให้รวมกลุ่มกันและประกาศกำลังผลิตอาหารสำเร็จรูปให้ประชาชนรับทราบและจัดช่องทางการกระจายจำหน่ายสินค้าอย่างทั่วถึงตลอดจนวางแผนการผลิตสินค้ากรณีที่สินค้าขาดแคลน

 8. เกษตรกรที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ให้ช่วยเหลือกระจายจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแก่เพื่อนบ้านและคนในชุมชนใกล้เคียง

 9. สถานศึกษา ปิดการเรียนในห้องเรียนจัดระบบเรียนออนไลน์

  10. รัฐบาล 
10.1 บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

10.2 ออกมาตรการกักกันตัว 14 วันสำหรับทุกคนที่เข้ามาในประเทศไทย

10.3 ควบคุมกำกับสินค้าที่จำเป็นไม่ให้มีการกักตุน

10.4 สนับสนุนการดำเนินงานของภาคประชาชน

 11.....................   

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน KMI Thailand


 
Home > ประชาสัมพันธ์ > ประชาสัมพันธ์ > รับมือ Covid-19 แบบบูรณาการ-ข้อเสนอแนะของ ศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ บูรณะตรีเวทย์

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8590558

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า